เว็บไซต์เก่า

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์

MU DENT faculty of dentistry

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์

Previous slide
Next slide

ความเป็นมา

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 เดิมสำนักงานภาควิชาตั้งอยู่ ณ อาคาร 1 ชั้น 5 และมีห้องพักอาจารย์ตั้งอยู่ อาคาร 1 ชั้น 7 ซึ่งต่อมาย้ายไปยังอาคาร 1 ชั้น 6 และในปี พ.ศ. 2550 คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้ทำการรื้อถอนอาคาร 1 ภาควิชาฯ จึงย้ายไปยังอาคารศูนย์การเรียนรู้และนันทนาการ ชั้น 4 และได้ทาการย้ายอีกครั้งไปยังอาคารพรีคลินิก ชั้น 8 จนปัจจุบัน

ปัจจุบันภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ประกอบด้วยคณาจารย์ 10 คน, เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 1 คน, นักวิทยาศาสตร์ 2 คน, ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 1 คน และพนักงานประจำห้อง ทดลอง 1 คน

การดำเนินการจัดการเรียนการสอนในช่วงแรกได้ฝากนักศึกษาเข้าเรียนที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาในปีการศึกษา 2515 ภาควิชาฯ เริ่มจัดการเรียนการสอนเอง รับผิดชอบเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ทั้งระดับปริญญาตรีตลอดจนบัณฑิตศึกษาทุกระดับ รวมทั้งหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาวต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ

ภาระงานสอนของภาควิชา ครอบคลุมการสอนรายวิชาต่าง ๆ คือ มหกายวิภาคศาสตร์ จุลกายวิภาคศาสตร์ วิทยาเอ็มบริโอ และประสาทกายวิภาคศาสตร์ ให้แก่นักศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 นักศึกษาเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีทันตกรรม (ต่อเนื่อง 2 ปี) และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอีกจำนวนหนึ่ง โดยการเรียนการสอนจะเน้นหนักในรายละเอียดที่บริเวณศีรษะและคอเป็นพิเศษ นอกจากนี้ภาควิชายังร่วมกับอีก 4 ภาควิชาทางพรีคลินิกรับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาชีววิทยาช่องปาก นอกจากนี้ภาควิชายังจัดให้มีพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์สำหรับบริการทางวิชาการอีกด้วย

โครงสร้างการบริหารงาน

ปรัชญา

ความรู้กายวิภาคศาสตร์ที่ดีของทันตแพทย์ คือ ความสำเร็จของการศึกษาทันตแพทยศาสตร์

ปณิธาน

สร้างทันตแพทย์ให้มีความรู้กายวิภาคศาสตร์ (โดยเฉพาะบริเวณศีรษะและคอ) ที่มีลักษณะ “แม่นยำ กว้างไกลและใฝ่รู้อย่างสม่ำเสมอ”

วิสัยทัศน์

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานที่มีความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอนและการวิจัย ในสาขากายวิภาคศาสตร์ และสาขาชีววิทยาช่องปาก

พันธกิจ

1. จัดการเรียนการสอนทางกายวิภาคศาสตร์ให้กับทันตบุคลากรทุกระดับ ให้มีคุณภาพระดับสากล
2. ส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรของภาควิชาทำการวิจัย เพื่อพัฒนาวิชาการและเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของประเทศ
3. เผยแพร่ความรู้และให้บริการทางวิชาการด้านกายวิภาคศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับช่องปากให้แก่สังคม
4. เสริมสร้างบุคลากรให้มีคุณธรรม จริยธรรม และส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างทันตบุคลากรและนักวิจัยที่มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรม
2. เพื่อสร้างผลงานวิจัยที่ได้มาตรฐาน และมีประโยชน์ต่อประเทศ
3. เพื่อให้ความรู้และให้การบริการวิชาการที่มีคุณภาพ
4. เพื่อสนับสนุนการทำนุบำรุงศิลปวัฒธรรมและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม