INTRANET

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
คณะผู้บริหาร เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการดิจิทัลสำหรับจุลกายวิภาคศาสตร์และจุลพยาธิวิทยา ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นการเรียนปฏิบัติการทางจุลกายวิภาคศาสตร์รูปแบบดิจิทัลโดยสมบูรณ์ แห่งแรกของคณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

คณะผู้บริหาร เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการดิจิทัลสำหรับจุลกายวิภาคศาสตร์และจุลพยาธิวิทยา ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นการเรียนปฏิบัติการทางจุลกายวิภาคศาสตร์รูปแบบดิจิทัลโดยสมบูรณ์ แห่งแรกของคณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567 ศาสตราจารย์คลินิก ดร. นายแพทย์ ทันตแพทย์ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์บัณฑิต จิรจริยาเวช รองคณบดี เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการดิจิทัลสำหรับจุลกายวิภาคศาสตร์และจุลพยาธิวิทยา ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ อาคารพรีคลินิก ชั้น 4 ซึ่งเป็นโครงการปรับการเรียนการสอนปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 2 ทั้งหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ให้เป็นรูปแบบดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาที่ได้มาตรฐานสากล และพัฒนาหลักสูตรเข้าสู่ Digital Education และนับเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทยที่จัดให้มีการเรียนปฏิบัติการทางจุลกายวิภาคศาสตร์รูปแบบดิจิทัลโดยสมบูรณ์

สำหรับห้องปฏิบัติการดิจิทัลสำหรับจุลกายวิภาคศาสตร์และจุลพยาธิวิทยา มีส่วนอำนวยความสะดวกเพื่อการสร้างภาพดิจิทัลทางจุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology Digital Imaging Facilities) ประกอบด้วย เครื่องสแกนสไลด์เสมือนจริงแบบดิจิทัล (Slide Scanner) ทำหน้าที่สแกนเก็บภาพจากสไลด์เนื้อเยื่อด้วยความละเอียดภาพสูง เพื่อเก็บไว้ในคลังภาพดิจิทัล (Net image server) ระบบเครือข่ายดิจิทัลแบบสาย (LAN) ที่นำส่งสัญญาณภาพระหว่างเครื่องสแกนสไลด์เสมือนจริงแบบดิจิทัลกับคลังภาพดิจิทัลและเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายสำหรับนักศึกษาจำนวน 36 เครื่อง นักศึกษาสามารถศึกษาจุลกายวิภาคศาสตร์ของเนื้อเยื่อต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วด้วยภาพที่มีความคมชัดสูง และสามารถขยายดูภาพได้อย่างต่อเนื่องไม่มีข้อจำกัดเหมือนการใช้กล้องจุลทรรศน์ในอดีต

นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถเข้าถึงคลังภาพดิจิทัลของเนื้อเยื่อเหล่านี้ได้โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อการศึกษาทบทวนความรู้ด้วยตนเองได้อีกด้วย