INTRANET

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

สภาอาจารย์

สภาอาจารย์

สภาอาจารย์

ประวัติความเป็นมา

        คณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2517 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์อิศระ ยุกตะนันท์ คณบดีในสมัยนั้นเห็นสมควรให้มีสภาอาจารย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนของคณาจารย์ ประสานและดำเนินกิจการต่างๆ รวมทั้งเสนอและให้คำปรึกษาแก่คณบดี เพื่อประโยชน์ของคณะเป็นส่วนรวม โดยออกเป็นระเบียบสภาอาจารย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2524 และมี รองศาสตราจารย์สุขุม ธีรดิลก เป็นประธานสภาอาจารย์คนแรก ต่อมามีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบสภาอาจารย์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นธรรมนูญสภาอาจารย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2532 ในสมัยที่ รองศาสตราจารย์นิสา เจียรพงศ์ เป็นคณบดี และมีประกาศ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง สภาอาจารย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2555 โดยมี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ดร.ทันตแพทย์หญิงธีรลักษณ์ สุทธเสถียร เป็นคณบดี ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

 

อำนาจและหน้าที่ของสภาอาจารย์

สภาอาจารย์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณบดี ในกิจการของคณะ

2. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่กรรมการประจำคณะฯ เกี่ยวกับมาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของอาจารย์และพนักงาน ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

3. ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิ์ เสรีภาพ อันชอบธรรมของข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน

4. พิจารณาเรื่องที่คณบดีมอบให้พิจารณา

5. เป็นตัวแทนของข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน

6.วางระเบียบปฏิบัติของสภาอาจารย์เกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาอาจารย์ที่ไม่ขัดต่อประกาศของคณะและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

 

สิทธิของสมาชิกสภาอาจารย์

1. สมัครรับเลือกตั้งและลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการสภาอาจารย์ ในประเภทที่กำหนดตามประกาศ

2. เข้าฟังการประชุมของสภาอาจารย์ เว้นแต่กรณีที่เป็นการประชุมลับ

3. เสนอเรื่องต่างๆต่อสภาอาจารย์

4. ขอให้สภาอาจารย์ เรียกประชุมวิสามัญได้ ตามข้อ 45 หมวด 6

5. ให้คณะกรรมการสภาอาจารย์ทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งได้ โดยสมาชิกสภาอาจารย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสมาชิกสภาอาจารย์ทั้งหมดมีมติไม่ไว้วางใจ

 

สมาชิกสภาอาจารย์

สมาชิกสภาอาจารย์ ประกอบด้วย

1. ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานมหาวิทยาลัย(ส่วนงาน) ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำของคณะ

2. ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานมหาวิทยาลัย(ส่วนงาน) สายสนับสนุนซึ่งเป็นบุคลากรประจำของคณะและกรณีคุณวุฒิไม่ถึงระดับอนุปริญญาจะต้องปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

 

องค์ประกอบและวาระการดำรงตำแหน่ง

ให้สภาอาจารย์ประกอบด้วยกรรมการ ดังนี้

1. ประเภทผู้แทนจากคณาจารย์ประจำให้มีจำนวน 4 คน เพื่อเป็นกรรมการและให้คัดเลือกหนึ่งในจำนวนนี้ ดำรงตำแหน่งประธานสภาอาจารย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นสภาชิกสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทผู้แทนส่วนงานด้วย

2. ประเภทผู้แทนทั่วไปให้มีจำนวน 5 คน จากบุคลากรสายวิชาการซึ่งเป็นอาจารย์ประจำของคณะ และข้าราชการ พนักงานสายสนับสนุนซึ่งเป็นบุคลากรประจำของคณะโดยมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิก