Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
แนวทางการเข้ารับบริการของหน่วยสังคมสงเคราะห์และประกันสังคม

MU DENT faculty of dentistry

โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

" คณะทันตแพทยศาสตร์ชั้นนำระดับนานาชาติที่ได้มาตรฐานสากล โดยมุ่งประโยชน์ต่อสังคมภายใต้การจัดการอย่างยั่งยืน "

แนวทางการเข้ารับบริการของหน่วยสังคมสงเคราะห์และประกันสังคม

 

 

ผู้ให้บริการ

1. นักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ (social worker)  3 ตำแหน่ง

2. นักจิตวิทยา (psychologist) 1 ตำแหน่ง

ภาระกิจหลัก1.  งานด้านสังคมสงเคราะห์ เช่น สืบค้นและรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้าน เพื่อการประเมินภาวะทางจิตสังคมและสภาพปัญหาทางสังคมของผู้ป่วยทั้งรายบุคคล/กลุ่ม  รวมทั้งประเมินให้การสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาล
เป็นต้น2. งานศูนย์ประสานสิทธิและรับ-ส่งต่อผู้ป่วย เช่น ให้บริการประชาชนที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(บัตรทอง/30บาท),ผู้ที่ใช้หนังสือส่งตัวผู้ป่วย(ทุกสิทธิ) รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรณีปกติและผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นต้น

3. งานด้านจิตวิทยา เช่น การให้ความรู้ แนะนำ ให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิตรายบุคคล ,การประเมินสุขภาพจิต    (mental health) อารมณ์ ความเครียด รวมทั้งวิธีการปรับตัวเมื่อเผชิญกับปัญหาที่ทำให้เกิด ความรู้สึกอึดอัดใจ คับข้องใจ เป็นทุกข์ ความตึงเครียดทางอารมณ์ เป็นต้น

 

 

ภาระกิจที่ 1.

งานด้านสังคมสงเคราะห์

 

ผู้ให้บริการนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ (social worker)
ช่วงเวลาที่ให้บริการ

เวลาราชการ  ตั้งแต่ วันจันทร์ – ศุกร์ (เริ่ม 08.30-16.30 น.)

(ยกเว้น วันหยุดตามประกาศของคณะฯ)

สถานที่ให้บริการหน่วยสังคมสงเคราะห์และประกันสังคม  ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษาฯ
ช่องทางการติดต่อ

–  เบอร์ติดต่อ(ภายใน) 7768 / มือถือ 090-1790079

– ช่องทางออนไลน์ Line Official ของหน่วยฯ ID : ldz4009z

กลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการประชาชนกลุ่มเปราะบางทางสังคม เช่น ผู้สูงอายุ, ผู้พิการ, เด็ก-เยาวชน,ผู้ที่มีปัญหาสถานะทางสังคม,ผู้ด้อยโอกาสที่มีปัญหาทางการเงิน รวมทั้งทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนระบบการเรียนการสอนของนักศึกษาให้เกิดความคล่องตัว เป็นต้น
สิทธิการรักษาที่รับทุกสิทธิการรักษา

เงื่อนไขการให้บริการ

 

1.  ให้บริการเฉพาะประชาชนชาวไทย และ ที่มีเลข 13 หลักจากทะเบียนราษฏร์ (เท่านั้น)

2. ต้องอยู่ในระบบการเรียนการสอนของนักศึกษา โดยมีอาจารย์เป็นผู้ควบคุม

3.  แนวทางการช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาด้านค่ารักษาพยาบาล โดยต้องผ่านความเห็นจากผู้ให้การรักษา(นศ./ทันตแพทย์) และอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นเบื้องต้นก่อน

4. รายการหัตการที่ขอสงเคราะห์ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ทางโรงพยาบาลทันตกรรม           คณะทันตแพทย์ฯ กำหนด

5. การเสนอขออนุมัติค่ารักษาพยาบาลเป็นไปตามที่ประกาศคณะทันตแพทย์ฯกำหนด            โดยผ่านการคัดกรองจากนักสังคมสงเคราะห์(วิชาชีพ)

 

ภาระกิจที่ 2.งานศูนย์ประสานสิทธิ และรับ-ส่งต่อผู้ป่วย

 

ผู้ให้บริการนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ (social worker)
ช่วงเวลาที่ให้บริการ

เวลาราชการ  ตั้งแต่ วันจันทร์-ศุกร์ (เริ่ม 07.30-16.30 น.)

(ยกเว้น วันพุธบ่ายและวันหยุดตามประกาศของคณะฯ)

นอกเวลาราชการ  ตั้งแต่ วันจันทร์ – ศุกร์  (เริ่ม 16.30-19.30 น.)

วันเสาร์  -อาทิตย์ (เริ่ม 08.00-16.00 น.)

*หมายเหตุ…นอกเวลาราชการ

กรณีมีผู้ป่วยปกติทั่วไป  ติดต่อหน่วยเวชระเบียน  โทร.1021  (ปฏิบัติงานแทน)

กรณีมีผู้ป่วยฉุกเฉิน     ติดต่อหน่วยบริหารเครดิต โทร.7587  (ปฏิบัติงานแทน)

สถานที่ให้บริการศูนย์ประสานสิทธิ์การรักษาและผู้ป่วยสัมพันธ์(จุดบัตรทองและหนังสือส่งต่อ)
ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษาฯ
ช่องทางการติดต่อ

–  เบอร์ติดต่อ(ภายใน) 1033  / มือถือ  090-1790079

–  ช่องทางออนไลน์ Line Official ของหน่วยฯ ID : ldz4009z

กลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ

 

1. ประชาชนที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บัตรทอง/บัตร30 บาท) ทั้งที่มีและ
ไม่มีหนังสือส่งตัว(Refer)2. ประชาชนที่ใช้สิทธิหนังสือใบส่งตัว(Refer) จากหน่วยงานต้นสังกัด(ทุกสิทธิ)   เช่น สิทธิประกันสังคม,สิทธิรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

3. ประชาชนที่เข้ารับการรักษาทางทันตกรรมและช่องปากด้วยอาการฉุกเฉิน อันเป็นไปตามคำวินิจฉัยของทันตแพทย์ผู้รักษา

4. ประสานงานกับหน่วยงานต้นสังกัด กรณีผู้ป่วยมารับการรักษาด้วยอาการฉุกเฉิน
และกรณีที่หนังสือส่งต่อพบปัญหาการใช้และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

สิทธิการรักษาที่รับสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บัตรทอง/บัตร 30 บาท) ,สิทธิฉุกเฉินทางการแพทย์
(พรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ 2551) และทุกสิทธิการรักษาที่ส่งต่อมาจากหน่วยงาน
ต้นสังกัด(*เฉพาะ ที่มีหนังสือส่งต่อ+หนังสือรับรองค่าใช้จ่าย)
เงื่อนไขการให้บริการ

1. การรักษาพยาบาลเป็นไปตามโรคที่ระบุไว้ตามหนังสือส่งต่อเท่านั้น ยกเว้น ทันตแพทย์ผู้รักษาวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น โดยต้องให้เจ้าหน้าที่ประสานหน่วยงานต้นสังกัดทราบและอนุญาติก่อน จึงทำการรักษาได้

2. กรณีค่าใช้จ่ายที่ไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขตามสิทธิรับรอง  ผู้รับการรักษาต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

3. ให้การบริการในคลินิก/หน่วย/ศูนย์ ที่อยู่ในระบบการเรียนการสอนเท่านั้น ยกเว้น เมื่อผู้รับบริการต้องการจะใช้สิทธิรับการรักษาที่คลินิก/หน่วย/ศูนย์ ในระบบบริการ ต้องรับทราบเงื่อนไขการใช้สิทธิ ก่อนเข้าการรับบริการและจึงจะให้ใช้สิทธิดังกล่าวได้

 

*หมายเหตุ แนบแผนผังการปฏิบัติ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติงาน กรณีผู้ป่วยที่ใช้หนังสือส่งต่อ(Refer)ทุกสิทธิ/
กรณีฉุกเฉิน(Emergency) และกรณีคณะทันตแพทยศาสตร์ฯปิดทำการ  (เอกสารคุณภาพ PW-WI-007-0011)

ภาระกิจที่ 3 งานด้านจิตวิทยา

 

ผู้ให้บริการนักจิตวิทยา (psychologist)
ช่วงเวลาที่ให้บริการ

เวลาราชการ ตั้งแต่ วันจันทร์ – ศุกร์ (เริ่มเวลา 08.30 – 16.30 น.)

(ยกเว้น วันหยุดตามประกาศของคณะฯ)

สถานที่ให้บริการหน่วยสังคมสงเคราะห์และประกันสังคม ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษาฯ
ช่องทางการติดต่อ

– เบอร์ติดต่อ ภายใน 7768 โทรศัพท์มือถือ  090-1790079

–  ช่องทางออนไลน์

Line Official ของหน่วยฯ ID : @292vagge

Instagram  : mudent.mindspace

กลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ

 

1. บุคลากรของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์

2. นักศึกษาของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ทั้งก่อนและหลังปริญญา)

3. กลุ่มผู้ป่วยเปราะบางทางสังคมที่นักสังคมสงเคราะห์ ทันตแพทย์ อาจารย์ ประเมินว่า
มีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพจิต

สิทธิการรักษาที่รับทุกสิทธิการรักษา
การเข้าถึงบริการ

1. กรณีนัดหมายล่วงหน้า

1.1 ผู้รับบริการนัดหมายนักจิตวิทยาตามวันและเวลาทำการ ผ่านช่องทางออนไซต์
(on-site) ,ช่องทางโทรศัพท์,และ ช่องทางออนไลน์(online) ที่ Line Official ของหน่วยฯ

1.2 ผู้รับบริการแจ้งข้อมูลและกรอกแบบประเมินผ่านช่องทาง Google Form และ Consent Form ก่อนเข้ารับบริการ

1.3 เข้ารับบริการตามวัน เวลา และสถานที่ๆได้นัดหมาย

2. กรณีมาพบด้วยตนเอง( Walk-in )

2.1 ผู้รับบริการเข้ามาพบนักจิตวิทยาในวันและเวลาทำการที่ สำนักงานหน่วยสังคมสงเคราะห์และประกันสังคม

2.2 ผู้รับบริการแจ้งข้อมูล กรอกแบบประเมิน และ Consent Form ในกระดาษ หรือผ่านช่องทาง Google Form

2.3 เข้ารับบริการได้ตามปกติ

3. กรณีมีความเสี่ยงทางสุขภาพจิต นักจิตวิทยาทำการส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์หน่วยบริการสุขภาพ โรงพยาบาลทันตกรรมฯ หรือ จิตแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย คือ โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่นักศึกษามีสิทธิ์การรักษาพยาบาล

เงื่อนไขการให้บริการ

 

1.มีการเก็บข้อมูลและบันทึกประวัติผู้รับบริการเพื่อใช้ในการดำเนินงานของนักจิตวิทยา

2.มีการรักษาความลับตามจรรยาบรรณนักจิตวิทยา

ยกเว้น เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนดไว้ให้เปิดเผย หรือ มีความจำเป็นต่อการรักษาของทันตแพทย์/แพทย์ และหรือกรณีที่มีเหตุอันสมควรโดยที่ไม่ส่งผลกระทบในการดำเนินชีวิตของผู้ใช้บริการ

3.เมื่อเห็นว่าอยู่ในสถานการณ์ภาวะฉุกเฉิน ด้านสุขภาพจิตเป็นภาวะวิกฤติของผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจที่มีการแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมที่รุนแรง โดยอาจเป็นอันตรายทั้งต่อตนเอง ทรัพย์สิน และสังคมรอบข้าง จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

*แจ้งผู้บังคับบัญชาทันที , โทร.สายด่วน 1669 , เหตุด่วน 1000 (รปภ.คณะทันตฯ)

 

Post Views: 315