Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
แนวทางการเข้ารับบริการคลินิกทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง

MU DENT faculty of dentistry

โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

" คณะทันตแพทยศาสตร์ชั้นนำระดับนานาชาติที่ได้มาตรฐานสากล โดยมุ่งประโยชน์ต่อสังคมภายใต้การจัดการอย่างยั่งยืน "

แนวทางการเข้ารับบริการคลินิกทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง

 

ระบบการเรียนการสอน

เปิดให้บริการจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น.

ยกเว้นพุธบ่าย

 

ให้บริการโดย

นักศึกษาทันตแพทย์หลังปริญญา

  • หลักสูตรทันตแพทย์ประจำบ้านระดับวุฒิบัตรปีที่ 1 : 10 คน
  • หลักสูตรทันตแพทย์ประจำบ้านระดับวุฒิบัตรปีที่ 2 : 6 คน
  • หลักสูตรทันตแพทย์ประจำบ้านระดับวุฒิบัตรปีที่ 3 : 8 คน
  • หลักสูตรปริญญาโท 5 คน
  • หลักสูตรประกาศนียบัตร 4 คน

การลงปฏิบัติงานของนักศึกษาหลังปริญญาอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ประจำภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูงและอาจารย์พิเศษ

 

การเข้าถึงและการเข้ารับบริการ

  1. ผู้ป่วยนัดหมาย โดยนักศึกษาทันตแพทย์หลังปริญญาจะทำการโทรนัดกับผู้ป่วยเอง และสามารถมาตามวันเวลาที่นัดหมาย
  2. ผู้ป่วยฉุกเฉิน

           –  ผู้ป่วยที่มีอาการเร่งด่วนจะได้รับบริการในวันที่มาติดต่อโดยนักศึกษาทันตแพทย์หลังปริญญาที่อยู่เวร

           –  ผู้ป่วยที่โทรศัพท์เข้ามาสอบถามและแจ้งอาการ จะได้รับการนัดหมายให้มารับบริการ

  1. ผู้ป่วย recall 3  และ 6 เดือน

           –  ผู้ป่วยที่ได้รับไปรษณียบัตร และโทรศัพท์ติดต่อกลับมาได้รับการบริการโดยทันตแพทย์ที่อยู่เวร

  1. ผู้ป่วยส่งต่อจากนักศึกษทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6

           –  ผู้ป่วยของนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ที่มีความยุ่งยากซับซ้อน โดยได้เข้าคิวในคลังของคลินิกเพื่อจ่ายให้กับนักศึกษาทันตแพทย์หลังปริญญา

  1. การให้บริการผู้ป่วยเด็กพิเศษ

          –  ผู้ป่วยที่อายุเกิน 12 ปี ได้รับการส่งต่อจากคลินิกทันตกรรมเด็กภายใต้การพิจารณาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ

          –  ผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อจากคลินิกทันตกรรมจัดฟันภายใต้การพิจารณาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ

          –  ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุ โดยการส่งทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์
ให้การบริการตามวันที่นัดหมายภายใต้การดูแลของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ

 

สิทธิการรักษา

1.สิทธิสวัสดิการเบิกจ่ายตรง ได้แก่

-ข้าราชการ ลูกจ้างประจำส่วนราชการ (สังกัดกระทรวง/สังกัดกรุงเทพมหานคร)

-ข้าราชการ/พนักงาน (สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

2.สิทธิสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ(หน่วยงานในสังกัดรัฐวิสาหกิจ) เช่น กสทช.การประปา,การไฟฟ้า,การกีฬา,การท่องเที่ยว,การรถไฟ,การท่าเรือ,ไปรษณีย์ไทย,การบินพลเรือน,ธนาคารออมสิน,ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.),ธนาคารกรุงไทย,ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น

3.สิทธิสวัสดิการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) (บัตรทอง หรือ บัตร 30 บาท)

4.สิทธิสวัสดิการประกันสังคม(สปส.) มาตรา 33,39 และ 40

5.สิทธิสวัสดิการบุคลากรสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

6.สิทธิสวัสดิการสำหรับผู้ป่วยในโครงการวิจัยของอาจารย์

7.สิทธิสวัสดิการสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล

8.สิทธิสวัสดิการสำหรับบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์

9.ผู้ป่วยที่ได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล

Post Views: 1,882