INTRANET

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

เสียวฟันทำอย่างไรดี

พฤษภาคม

MU DENT faculty of dentistry

เสียวฟันทำอย่างไรดี

รวมสาเหตุอาการปวดฟัน

พฤษภาคม

MU DENT faculty of dentistry

รวมสาเหตุอาการปวดฟัน

การรักษารากฟัน

พฤษภาคม

MU DENT faculty of dentistry

การรักษารากฟัน

รวมอุปกรณ์ช่วยทำความสะอาดฟัน

พฤษภาคม

MU DENT faculty of dentistry

รวมอุปกรณ์ช่วยทำความสะอาดฟัน

อ.ทพญ.วิชุรัตน์ สกุลภาพทอง

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา

อุปกรณ์ทำความสะอาดฟันมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปาก แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

 

อุปกรณ์หลักในการทำความสะอาดช่องปาก หมายถึง อุปกรณ์ที่เราทุกคนต้องใช้เป็นหลัก จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้ ได้แก่ แปรงสีฟัน และ ไหมขัดฟัน

 

อุปกรณ์เสริมในการทำความสะอาดช่องปาก หมายถึง อุปกรณ์ช่วยเสริมในการทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดยิ่งขึ้น ในกรณีที่มีฟันบางตำแหน่งที่ยากในการเข้าถึง อาจไม่จำเป็นต้องใช้ทุกคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะช่องปากของแต่ละคน อุปกรณ์เสริมเหล่านี้ ได้แก่ แปรงซอกฟัน แปรงกระจุก ซูเปอร์ฟลอสส์ เข็มร้อยไหมขัดฟัน เป็นต้น

 

1. แปรงสีฟัน (Toothbrush)
แปรงสีฟันเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดฟันและลิ้น มี 2 ประเภท หลักๆ คือ แปรงสีฟันธรรมดาและแปรงสีฟันไฟฟ้า

จะเลือกแปรงสีฟันแบบใดจึงจะดี
เลือกแปรงสีฟันที่มีขนาดและรูปร่างของแปรงพอเหมาะกับช่องปาก สามารถทำความสะอาดเข้าถึงได้ทุกบริเวณทั่วช่องปาก ด้ามแปรงตรง จับถนัดมือ ขนแปรงทำจากไนลอน ชนิดนุ่มหน้าตัดตรง ขนแปรงแต่ละเส้นมีการมนปลายเพื่อไม่ให้ปลายคมขรุขระ ทำร้ายเหงือกและฟัน และไม่ว่าแปรงสีฟันธรรมดาหรือแปรงสีฟันไฟฟ้าก็สามารถทำความสะอาดฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันหากใช้อย่างถูกวิธี เราควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เพื่อช่วยป้องกันฟันผุ อีกทั้งควรเปลี่ยนแปรงทุก 3 – 4 เดือน หรือเมื่อขนแปรงเริ่มบาน

 

2. ไหมขัดฟัน (Dental floss)
ไหมขัดฟัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดบริเวณซอกฟันได้ดีที่สุด พึงระลึกไว้เสมอว่า การแปรงฟันอย่างเดียวไม่สามารถทำความสะอาดซอกฟันได้หมดจด จะต้องใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย โดยใช้ไหมขัดฟันหลังจากแปรงฟันเสร็จแล้วทุกครั้ง ไหมขัดฟันเหมาะสำหรับผู้ที่มีช่องว่างระหว่างฟันแคบ แต่หากในผู้ที่มีช่องว่างระหว่างฟันกว้างหรือฟันอยู่ห่างกันมาก อาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยทำความสะอาดซอกฟันอื่นๆ ร่วมด้วย

3. ด้ามยึดไหมขัดฟัน (Floss holder )
ด้ามยึดไหมขัดฟัน เป็นอุปกรณ์ช่วยยึดไหมขัดฟันทดแทนการใช้นิ้วมือควบคุมไหมขัดฟันโดยตรง เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดการใช้ไหมขัดฟันทั่วไป ผู้ที่มีปัญหาในการควบคุมนิ้วมือ หรือผู้ที่อ้าปากได้จำกัด ด้ามนี้จะช่วยให้ไม่ต้องใช้นิ้วเข้าไปในปากเพื่อควบคุมไหมขัดฟัน

4. แปรงซอกฟัน (Interdental bush or interproximal brush)
แปรงซอกฟัน เป็นอุปกรณ์ช่วยทำความสะอาดซอกฟันในผู้ที่มีช่องว่างระหว่างฟันเกิดขึ้น เนื่องจากเหงือกร่นหรือบริเวณซอกฟันมีส่วนคอด นอกจากนี้ยังใช้ทำความสะอาดใต้เครื่องมือจัดฟัน ฟันเทียมแบบติดแน่น หรือรากฟันเทียม (Dental implant) แปรงซอกฟันมีหลายขนาด ให้เลือกที่ขนาดใหญ่กว่าช่องว่างระหว่างฟันเล็กน้อยเพื่อการทำความสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. แปรงกระจุก (End tuff brush or single tuff brush)
แปรงกระจุก เหมาะสำหรับฟันที่อยู่โดดเดี่ยว ไม่มีฟันประชิด ซึ่งเราต้องการทำความสะอาดโดยรอบซี่ฟัน หรือใช้ทำความสะอาดฟันซี่ท้ายสุดของแถว ฟันที่เกและเรียงซ้อนกัน ทำความสะอาดรอบรากเทียม หรืออาจใช้ทำความสะอาดบริเวณใต้ลวดจัดฟันก็ได้

6. เข็มร้อยไหมขัดฟัน (Floss threader)
เข็มร้อยไหมขัดฟันทำจากพลาสติก ด้านหนึ่งเป็นห่วงสำหรับร้อยไหมขัดฟัน อีกด้านหนึ่งมีลักษณะเป็นปลายแหลมเพื่อช่วยนำไหมขัดฟันเข้าทำความสะอาดโดยเฉพาะบริเวณใต้สะพานฟัน ฟันที่เชื่อมกัน (Splinted teeth) หรือซอกฟันที่ติดเครื่องมือจัดฟัน

7. ซูเปอร์ฟลอสส์ (Super floss)
ไหมขัดฟันชนิดนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านพลาสติก ส่วนฟองน้ำ และส่วนไหมขัดฟันปกติ ซูเปอร์ฟลอสส์สามารถใช้ทำความสะอาดโดยใช้ส่วนก้านพลาสติกร้อยใต้สะพานฟัน ฟันที่เชื่อมกัน หรือซอกฟันที่ติดเครื่องมือจัดฟันได้เช่นเดียวกับการใช้ไหมขัดฟันร่วมกับเข็มร้อยไหมขัดฟัน

โรคมือ-เท้า-ปาก

พฤษภาคม

MU DENT faculty of dentistry

โรคมือ-เท้า-ปาก

ศ.ดร.ทพญ.วรานันท์ บัวจีบ

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา

โรคมือ-เท้า-ปาก เป็นอย่างไร ?
โรคมือ- เท้า-ปาก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม enterovirus ซึ่งมักเป็น coxsackievirus A16 และยังอาจเกิดจากเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ ในกลุ่มนี้ได้ เช่น enterovirus 71 โรคมือ-เท้า-ปาก เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัส ทำให้เป็นไข้และมีตุ่มพองเกิดขึ้นที่ มือ เท้า และในปาก

 

ใครมีโอกาสเป็น โรคมือ-เท้า-ปาก ได้บ้าง ?
เด็กเล็กๆ จนถึงอายุ 10 ปี พบว่ามีโอกาสเกิดโรคสูงสุด พบได้จนถึงวัยหนุ่มสาว ผู้ใหญ่ก็ติดเชื้อได้เช่นกันแม้ว่าพบน้อย หลังจากติดเชื้อแล้วจะเกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อสายพันธุ์นั้น แต่ยังมีโอกาสเป็น โรคมือ-เท้า-ปาก ได้อีก จากเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่นในกลุ่มเดียวกัน

 

เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิด โรคมือ-เท้า-ปาก แพร่กระจายทางใด ?
เชื้อไวรัสพบในอุจจาระ สารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย รวมทั้งในตุ่มพองของผู้ป่วย เชื้อจึงแพร่กระจายได้จากการสัมผัสกับอุจจาระ น้ำมูก น้ำลายและน้ำในตุ่มพองของผู้ที่เป็นโรค

 

อาการของ โรคมือ-เท้า-ปาก มีอะไรบ้าง ?
หลังจากสัมผัสเชื้อ 3 – 6 วัน เด็กจะมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอ หลังจากนั้น 1 – 2 วัน เด็กมักจะมีอาการเจ็บในปาก ทำให้ไม่ยอมรับประทานอาหารตามปกติ ทั้งนี้เนื่องจากมีตุ่มพองและแผลเกิดขึ้นในปาก นอกจากนี้ยังพบตุ่มพองที่มือและเท้าด้วย

ลักษณะที่สังเกตพบในปากเป็นอย่างไร ?
ส่วนใหญ่เด็กจะมีอาการเจ็บในปาก ทำให้ไม่รับประทานอาหารตามปกติ ในปากจะเริ่มจากมีจุดแดงแล้วเป็นตุ่มพอง มักพบที่เพดานแข็ง ลิ้น กระพุ้งแก้ม ตุ่มพองนี้มักจะแตกออกหลังจากเกิดขึ้นไม่นาน ทำให้พบลักษณะเป็นแผลตื้นๆ รูปร่างกลมขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตร ขอบแผลแดง พื้นแผลมีสีออกเหลือง แผลเล็กๆ หลายแผลอาจรวมกันเป็นแผลใหญ่ก็ได้

 

ลักษณะที่พบบริเวณมือและเท้าเป็นอย่างไร ?
ผื่นที่ผิวหนังอาจเกิดต่อเนื่อง 1 – 2 วัน เริ่มจากจุดเรียบหรือนูนแดง แล้วกลายเป็นตุ่มพองและแตกออกเป็นแผล พบได้ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า รวมทั้งด้านข้างของนิ้วมือและนิ้วเท้า

 

วินิจฉัยโรคด้วยวิธีใด ?
การวินิจฉัยมักอาศัยประวัติและการตรวจร่างกาย ในกรณีที่จำเป็นอาจตรวจหาเชื้อไวรัส (coxsakievirus หรือ enterovirus ชนิดอื่นๆ) เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัย แต่ค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานาน

 

มีวิธีดูแลรักษาอย่างไร ?
ควรไปพบแพทย์ทันทีที่สงสัยว่าเป็นโรค เนื่องจากแม้ปกติ โรคมือ-เท้า-ปาก เป็นโรคที่ไม่รุนแรงและหายได้เองภายใน 7 – 10 วัน ในปัจจุบันมีรายงานถึงการระบาดของโรคและมีภาวะแทรกซ้อน ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

ป้องกันโรคได้อย่างไร ?
เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิด โรคมือ-เท้า-ปาก พบได้ในอุจจาระ น้ำมูก น้ำลายและน้ำในตุ่มพอง เชื้อติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงและจากการสัมผัสทางอ้อม เช่น ใช้ของร่วมกับผู้ป่วย ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือ การรักษาสุขอนามัย โดยการล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอโดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร หลังจากเข้าห้องน้ำ หลังเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็ก ก่อนเตรียมอาหาร รวมทั้งหลังจากสัมผัสน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย

เมื่อใดและนานเท่าใดที่ผู้ป่วยจะสามารถแพร่เชื้อได้ ?
ผู้ป่วยแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เมื่อเริ่มเป็นโรค จนถึงเมื่อตุ่มพองที่ผิวหนังหายไป เชื้อไวรัสถูกปลดปล่อยออกมาทางอุจจาระนานหลายสัปดาห์

 

มีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่ ?
ปกติ โรคมือ-เท้า-ปาก จะไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่เชื้อไวรัสบางสายพันธุ์อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย เช่น สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และปอดบวม เป็นต้น

 

ป้องกันการกระจายของโรคอย่างไร ?
ควรแยกเด็กที่ป่วย นอกจากนี้ผู้ที่สัมผัสกับน้ำมูก น้ำลายและอุจจาระของผู้ป่วยต้องล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ

 

สรุป
โรคมือ-เท้า-ปาก เป็นโรคที่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี สามารถให้การวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ระยะแรกจากลักษณะอาการของผู้ป่วย โดยเฉพาะในรายที่มีตุ่มพองและแผลในปากร่วมกับตุ่มพองที่มือและเท้า ควรพบแพทย์/ทันตแพทย์เพื่อการดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

นอนกัดฟัน

พฤษภาคม

MU DENT faculty of dentistry

นอนกัดฟัน

แผลร้อนใน กวนตัว กวนใจ

พฤษภาคม

MU DENT faculty of dentistry

แผลร้อนใน กวนตัว กวนใจ

อ.ทพ.เดชศักดิ์ นาคะปักษิราช

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา

แผลร้อนในคืออะไร ?
คือ โรคที่เกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อบุผิวช่องปาก อาจเกิดเพียงหนึ่งหรือหลายแห่ง ทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก โดยจะเกิดเป็นจุดแดงหรือตุ่ม ต่อมาจะพัฒนาแยกออกมาเป็นแผลเปิด มีลักษณะเป็นสีขาว รูปวงรี โดยมีขอบเป็นสีแดงนูนออกมา โดยระยะเวลาของอาการอาจเกิดได้ตั้งแต่ 1 ถึง 2 สัปดาห์ พบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่นจนถึงวัยหนุ่มสาว โดยผู้หญิงพบได้บ่อยกว่าผู้ชาย มักพบที่ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก

 

สาเหตุเกิดจากอะไรหรอ ?

ถ้าเป็นแล้วต้องทำอย่างไร ?
 
– หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด รวมไปถึงขนมหวานที่เหนียว และแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้แผลรุนแรงมากขึ้น
– ให้หลอดดูดน้ำแทนการดื่มน้ำจากแก้วโดยตรง เพื่อเลี่ยงไม่ให้น้ำสัมผัสแผลโดยตรง
– ใช้แปรงสีฟันที่มีขนนุ่ม ถ้าใช้ยาสีฟันที่ผสมมิ้นต์จะทำให้แสบแผล ควรเปลี่ยนมาใช้ยาสีฟันเด็กในช่วงที่เป็นแผลร้อนใน
– ควรบ้วนปากด้วยน้ำเกลือวันละ 2 – 3 ครั้ง
– ในกรณีที่แผลมีอาการรุนแรงใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทาเฉพาะที่ป้ายบริเวณแผล จะลดอาการเจ็บและอักเสบ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
– ถ้าแผลไม่หายภายใน 3 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์

ทำไมต้องขูดหินน้ำลาย

พฤษภาคม

MU DENT faculty of dentistry

ทำไมต้องขูดหินน้ำลาย

รศ.ทพ. ยสวิมล คูผาสุข

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา

หินน้ำลายคืออะไร
หินน้ำลายหรือหินปูน คือ คราบแข็งที่ติดตามตัวฟัน พบบ่อยในฟันหน้าล่าง ด้านใน อาจพบที่บริเวณเหนือเหงือกหรือใต้เหงือก มีสีเหลืองจนถึงน้ำตาลดำ ไม่สามารถกำจัดออกโดยการแปรงฟันต้องให้ทันตแพทย์เป็นผู้กำจัดให้

หินน้ำลายเกิดขึ้นได้อย่างไรและมีผลอะไรต่อช่องปาก
หินน้ำลายเกิดจากการสะสมของคราบอาหารหรือคราบจุลินทรีย์ที่แปรงออกไม่หมด ทำให้เกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุจากน้ำลายและอาหาร จนคราบที่สะสมนั้นมีลักษณะแข็งคล้ายหิน การมีหินน้ำลายจะทำให้มีการอักเสบของเหงือก เพราะหินน้ำลายเป็นที่อยู่ของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสร้างสารพิษออกมาทำอันตรายต่อเหงือกและละลายกระดูกรากเบ้าฟัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีเลือดออกขณะแปรงฟัน มีกลิ่นปาก เหงือกบวมเป็นหนอง และฟันโยก ถ้าฟันโยกมากๆ อาจจะต้องถอนฟันเพราะกระดูกเบ้าฟันไม่สามารถถูกสร้างทดแทนได้

การกำจัดหินน้ำลายมี 3 วิธี

1. การขูดหินน้ำลาย (scaling) เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และหินน้ำลายออกจากผิวฟัน มีเครื่องมือที่ใช้ขูด 2 ชนิด คือ

– เครื่องขูดหินน้ำลายไฟฟ้า (ultrasonic scaler/sonic scaler)
เป็นเครื่องมือที่ใช้พลังงานกลในการกระแทกให้หินน้ำลายหลุดจากผิวฟัน

– เครื่องขูดหินน้ำลายด้วยมือ (hand scaler)
ควรใช้เครื่องมือขูดหินน้ำลายไฟฟ้าและเครื่องมือขูดหินน้ำลาย ด้วยมือร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพของการขูดหินน้ำลายที่ดีที่สุด

2. การเกลารากฟัน (root planning) เป็นการกำจัดเคลือบรากฟัน (cementum) ที่เสียหายออกไป เพื่อทำให้ผิวรากฟันแข็งแรงและเรียบขึ้น ป้องกันไม่ให้คราบจุลินทรีย์เกาะได้ง่าย ทำให้แปรงฟันและดูแลช่องปากได้ดีมากขึ้น และทำให้เหงือกสร้างเนื้อเยื่อที่สามารถยึดเกาะกับผิวรากฟันได้ใหม่

3. การขูดเนื้อเยื่อเหงือกส่วนที่มีการอักเสบตายออก (gingival curettage) คือ การขจัดเนื้อเยื่อเหงือกส่วนที่ตายรอบๆ ร่องลึกปริทันต์ออก เพื่อให้ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อเหงือกขึ้นมาใหม่และยึดเกาะกับรากฟันได้

เนื่องจากรากฟันเคยมีหินน้ำลายเกาะมานาน เมื่อได้รับการขูดหินน้ำลายแล้ว ผิวรากฟันจะมีช่องเปิดสู่โพรงประสาทฟัน ทำให้มีอาการเสียวฟันง่ายเมื่อทานของเย็น แต่ร่างกายสามารถสร้างเนื้อฟันขึ้นมาทดแทนภายในโพรงประสาทฟันได้ เมื่อผู้ป่วยแปรงฟันได้ดี

 

เราสามารถป้องกันการเกิดหินน้ำลายได้ด้วยตัวเราเอง เนื่องจากหินน้ำลายเกิดจากคราบอาหารที่แปรงออกไม่หมด ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่าอดีตที่ผ่านมาผู้ป่วยดูแลตัวเองได้ไม่ดี ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ปกติ

 

ดังนั้นถ้าไม่อยากมีหินน้ำลายเกิดขึ้นในช่องปาก เราต้องแปรงฟันอย่างถูกวิธีและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ และหมั่นไปพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสอบว่าเราแปรงฟันได้ดีเพียงใด ทันตแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำที่ดีแก่ท่าน

โรคเบาหวานกับโรคปริทันต์

พฤษภาคม

MU DENT faculty of dentistry

โรคเบาหวานกับโรคปริทันต์

รศ.ทพ. ยสวิมล คูผาสุข

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา

เป็นโรคเบาหวานน่ากลัวอย่างไร ?
การเป็นโรคเบาหวาน เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเป็นเวลานาน อันเนื่องมาจากความผิดปกติในการหลั่งอินซูลินหรือความผิดปกติในการทำงานของอินซูลิน ทั้งนี้เพราะอินซูลินมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย เมื่อมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดความผิดปกติต่อโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา ไต เส้นประสาท หลอดเลือดและหัวใจ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดหรือการรักษาที่เหมาะสมมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น การอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาทส่วนปลายเกิดอาการชาและการติดเชื้อง่าย มีอาการตามัวไปจนถึงตาบอดได้ การทำงานของไตลดลงจนถึงเป็นโรคไตระยะสุดท้าย เป็นต้น

 

เคยรู้ไหม คนเป็นเบาหวานมักป็นโรคเหงือกอักเสบง่ายกว่า
โรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบเป็นโรคที่มีการอักเสบของอวัยวะรองรับฟัน (เหงือก กระดูกเบ้าฟัน เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน) มีสาเหตุหลักจากเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ภายในช่องปากและสะสมอยู่บริเวณขอบเหงือกและซอกฟัน มีหลายการศึกษาที่บ่งบอกว่าโรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก ซึ่งรวมถึงอาการปากแห้งเนื่องจากน้ำลายไหลน้อยลง อาการปวดแสบปวดร้อน ติดเชื้อในช่องปากง่าย แผลหายช้า มีการศึกษาบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์อักเสบและสูญเสียฟันมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน ยิ่งไปกว่านั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อเป็นโรคปริทันต์อักเสบแล้วยิ่งทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเป็นผลให้การรักษาโรคเบาหวานมักไม่ค่อยได้ผล เรื่องที่น่าสนใจอีกด้านหนึ่งที่ควรรู้คือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดีมีการตอบสนองต่อการรักษาโรคปริทันต์อักเสบใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ในขณะเดียวกันผู้ที่ควบคุมเบาหวานไม่ดีพบว่าเป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรงกว่าและสูญเสียฟันมากกว่าผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีและผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน

 
 

เป็นโรคเบาหวานแต่ไม่อยากสูญเสียฟัน ต้องทำอย่างไร ?
อย่างที่เราทราบแล้วว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแบคทีเรียต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน และเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคปริทันต์อักเสบและเป็นผลให้สูญเสียฟันนั้น มักตกค้างอยู่บนผิวฟันบริเวณขอบเหงือกและซอกฟัน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เราแปรงฟันไม่ถึง ดังนั้นหลักการง่าย ๆ แต่ต้องฝึกฝนอย่างจริงจังในการป้องกันการเกิดโรคปริทันต์อักเสบนอกเหนือจากการได้รับการขูดหินน้ำลายทั้งปากจากทันตแพทย์แล้วคือการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี โดยมีจุดมุ่งหมายในการกำจัดคราบอาหารนอกเหนือจากเศษอาหารที่ติดตามซอกฟัน อย่างไรก็ตามการดูแลทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกต้องและได้ผลที่ดีควรปรึกษาบุคลากรทางทันตกรรมเพื่อรับคำแนะนำและการติดตามผลอย่างต่อเนื่องต่อไป ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานนอกเหนือจากการออกกำลังกาย รับประทานอาหารและยาที่แพทย์แนะนำเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีแล้ว ควรตระหนักถึงการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ เพื่อจะได้มีฟันที่แข็งแรงไว้ใช้เคี้ยวอาหารได้นาน ๆ

คราบหินปูน

พฤษภาคม

MU DENT faculty of dentistry

คราบหินปูน

อ.ทพญ.กญญมณฑ์ ลออคุณ

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา

หินปูนคืออะไร
หินปูน คือ ภาษาชาวบ้านที่ใช้เรียกคราบแข็งที่ติดตามตัวฟัน พบมากและบ่อยในฟันหน้าล่างด้านใน มีสีเหลืองน้ำตาลจนถึงดำมีลักษณะแข็ง อาจพบได้อยู่บริเวณเหนือเหงือกหรือใต้ขอบเหงือก ซึ่งมีความหมายเหมือนหินน้ำลายซึ่งเป็นภาษาทางทันตแพทย์ หินปูนไม่สามารถกำจัดออกโดยการแปรงฟันต้องให้ทันตแพทย์เป็นผู้กำจัดออกให้

หินปูนเกิดขึ้นได้อย่างไร
หินปูนเกิดจากการสะสมของธาตุจุลินทรีย์หรือคราบอาหารที่ผู้ป่วยไม่สามารถแปรงออกได้หมด เมื่อเวลาผ่านไปเกิดการตกตะกอนแต่ธาตุจากน้ำลายและอาหารทำให้แข็งขึ้นทุกวันจนแข็งคล้ายหิน

 

ถ้าปล่อยให้หินปูนเกาะที่ฟันมากๆ จะเกิดอะไรขึ้นกับฟันของเรา
เริ่มแรกจะมีการอักเสบของเหงือกก่อนเพราะหินปูนเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อแบคทีเรียจำนวนมาก เมื่อปล่อยไว้นานเกินไปเชื้อเหล่านี้จะสร้างสารพิษทำอันตรายต่อเหงือกและละลายกระดูกเบ้าฟันทำให้โยก มีกลิ่นปาก และอาจมีเลือดออกง่ายขณะแปรงฟันได้ บางคนฟันโยกมากเคี้ยวอาหารจะเจ็บ สุดทายอาจต้องถอนฟันทิ้งไป เราไม่สามารถสร้างกระดูกเบ้าฟันให้กลับมาเหมือนเดิมได้ เนื่องจากเราเลยวัยเจริญเติบโตไปแล้ว ถ้าไม่รีบป้องกันโรคตั้งแต่วันนี้อาจจะสายเกินไป

วิธีการรักษาหรือกำจัดหินปูนทำอย่างไร
หินปูนสามารถถูกกำจัดออกได้ด้วยการขูดหินปูนโดยทันตแพทย์ การขูดหินปูนไม่จำเป็นต้องฉีดยาชา ยกเว้นในรายที่มีอาการเสียวฟันมากหรือเป็นโรครำมะนาดที่มีหินปูนอยู่ในร่องเหงือกลึกๆ

 

การขูดหินปูนบ่อยๆ จะทำให้ฟันของเราบางหรือสึกจริงหรือไม่
การทำงานของเครื่องมือขูดหินปูนไฟฟ้า คือ การสั่นของปลายเครื่องมือ ความเร็วส่งเพื่อไปกระแทกให้หินปูนหลุดออกมา ไม่ได้ไปสัมผัสกับตัวฟันโดยตรง จึงไม่มีผลต่อเนื้อฟัน

เวลาที่เราขูดหินปูนเสร็จใหม่ๆ จะรู้สึกอย่างไร
ส่วนใหญ่จะรู้สึกปากสะอาด โล่งสบาย แต่บางท่านอาจมีอาการเสียวฟันเมื่อดื่มน้ำเย็นได้ ซึ่งเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ถ้าในกรณีเป็นโรครำมะนาดที่มีหินปูนเกาะมากเป็นแผง หลังขูดหินปูนออกอาจรู้สึกเหมือนฟันโยก เนื่องจากเชื้อโรคได้ทำลายกระดูกรอบรากฟันไปบางส่วนทำให้ฟันแข็งแรงน้อยลง พอกำจัดหินปูนออกไปฟันที่เคยถูกเชื่อมยึดกันเป็นแผงก็เป็นอิสระต่อกันจึงรู้สึกว่าฟันโยกได้

 

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดหินปูนจะทำอย่างไร
เนื่องจากหินปูนเกิดจากการตกตะกอนของแร่ธาตุบนคราบอาหารที่ค้างอยู่ ดังนั้นการป้องกันการเกิดหินปูน คือการแปรงฟันให้ถูกวิธีและใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดคราบอาหารนั้นออกให้หมด ไม่ใช่กำจัดเพียงเศษอาหารชิ้นใหญ่ๆ เท่านั้นจึงจะสามารถป้องกันได้จริงๆ