หมวดหมู่: Uncategorized
2.มีแผนงานและงบประมาณดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาที่ชัดเจน
Posted on by admin
2.มีแผนงานและงบประมาณดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาที่ชัดเจน
คณะทันตแพทยศาสตร์ได้กำหนดแผนงานดำเนินการด้านความปลอดภัย ที่ระบุรายละเอียดกิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบ ที่ชัดเจน ซึ่งระบุวันที่ที่ลงนามอนุมัติหรือรับรองโดยผู้บริหารและดังนี้
- งานจ้างบริการตรวจเช็คบำรุงรักษา ประจำปีงบประมาณ 2560 ซึ่งงานกายภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแล บำรุงรักษาระบบต่างๆประจำอาคาร รวมไปถึงเครื่องมือทางด้านทันตกรรมและเครื่องมือแพทย์ รวมทั้งสิ้น 38 รายการ รวมเป็นเงิน 15,616,28 บาท
- งบประมาณในการจัดทำโครงการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยได้ประมาณในการดำเนินงาน ปี พ.ศ 2560 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,760,000 บาท ตามเอกสารแจ้งผลพิจารณางบประมาณรายจ่าย ปี 2560
- โครงการอบรมการฝึกทบทวนการดับเพลิงในอาคารขั้นสูง วันที่ 5 พฤศจิกายน 2560 โดยคณะฯส่งทีมผจญเพลิงเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้จำนวน 20 คน ใช้งบประมาณในการจัดอบรม 160,000 บาท
1.จัดจ้างแม่บ้านทำความสะอาด
2.งบบำรุงรักษา
3.งบโครงการ
[เอกสารประกอบของกิจกรรม]
ผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัย
ไขปัญหาระหว่างการจัดฟัน
Posted on by admin
MU DENT faculty of dentistry
ไขปัญหาระหว่างการจัดฟัน
อ.ทพ.ดร.ณัฐพล ตั้งจิตร
ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน
ไขปัญหาระหว่างการจัดฟัน
1. จัดฟันแล้วพูดไม่ชัด,น้ำลายหก เกิดจากสาเหตุใด
Ans : ในระยะแรกที่เริ่มติดเครื่องมือจัดฟันไป ผู้ป่วยส่วนมากจะพบปัญหาการพูดไม่ชัด บางคนถึงขั้นน้ำลายหกโดยไม่รู้สึกตัว เนื่องจากผู้ป่วยยังไม่ชินกับอุปกรณ์ที่ทันตแพทย์ติดที่ผิวฟัน รวมทั้งลวด อุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่มีผลทำให้ขัดขวางการออกเสียง หรือปิดปากได้ไม่สนิท แต่อาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไป หลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มปรับตัวได้โดยที่ร่างกายเราจะปรับตัวได้เอง ซึ่งระยะเวลาในการปรับตัวนั้นช้าหรือเร็วแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ เพราะฉะนั้นคนที่เริ่มจัดฟันไม่ต้องเป็นกังวลไปนะครับ หลังจากติดเครื่องมือไปใหม่ๆ พยายามจิบน้ำเปล่าบ่อยๆ ไม่ให้ปากแห้ง จะช่วยลดการเสียดสีของเครื่องมือกับริมฝีปากและกระพุ้งแก้มได้ ป้องกันการเป็นแผลในช่องปากและช่วยให้เราปรับตัวกับเครื่องมือได้ง่ายขึ้น
2. จัดฟันแล้วมีปัญหากลิ่นปาก
Ans : ปัญหากลิ่นปากเกิดจากการที่มีเศษอาหารตกค้างอยู่ภายในช่องปากเป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ติดเครื่องมือจัดฟันไป จะทำให้เศษอาหารตกค้างได้ง่ายกว่าปกติ และทำความสะอาดได้ยาก ดังนั้นระหว่างที่จัดฟันอยู่จำเป็นต้องดูแลทำความสะอาดฟันให้มากกว่าปกติ แปรงฟันทุกครั้งหลังทานอาหารและก่อนนอน ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันที่ออกแบบมาสำหรับคนที่กำลังจัดฟัน นอกจากนี้อาจใช้ร่วมกับแปรงซอกฟันและน้ำยาบ้วนปากหลังจากที่แปรงฟันเสร็จแล้ว หลังจากแปรงฟันเสร็จ อย่าลืมแปรงลิ้นด้วยนะครับ เพราะลิ้นเป็นอีกแห่งที่มีการสะสมของคราบจุลินทรีย์ได้ง่าย นอกจากนี้หมั่นไปตรวจสุขภาพช่องปากและรับการขูดหินปูนเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
3. เผลอกลืนอุปกรณ์จัดฟันลงคอ ควรทำอย่างไร
Ans : ในบางครั้งอาจมีการหลุดของอุปกรณ์จัดฟันอย่างเช่น แบร็คเก็ต ยางจัดฟัน ผู้ป่วยบางรายอาจเผลอกลืนลงไป แต่ไม่ต้องกังวลครับ เนื่องจากอุปกรณ์จัดฟันทำมาจากวัสดุที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย ยกเว้นอุปกรณ์ที่ติดกับหมอเถื่อน ไม่ทราบแหล่งที่มาของอุปกรณ์ได้แน่ชัด อันนี้หมอไม่รับประกันนะครับ โดยปกติหลังจากกลืนลงคอไปแล้ว ร่างกายจะกำจัดออกมาทางการขับถ่ายตามปกติ คำแนะนำจากหมอคือพยายามปฏิบัติตามที่ทันตแพทย์บอก หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีลักษณะแข็ง เหนียว หรือชิ้นใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้อุปกรณ์จัดฟันหลุดได้ นอกจากมีโอกาสกลืนลงคอได้ ยังทำให้การรักษาไม่คืบหน้า ส่งผลให้การรักษาใช้เวลาที่นานขึ้น
4. เหล็กจัดฟันชอบหลุดต้องรอให้ถึงกำหนดนัดหรือไม่
Ans : ในกรณีที่สามารถพบทันตแพทย์จัดฟันได้เร็วกว่ากำหนดนัด ก็แนะนำให้ไปพบได้ก่อนเพื่อให้คุณหมอตรวจและแก้ไขแต่เนิ่นๆ เพราะว่าการที่เหล็กจัดฟันหลุดบ่อยจะมีผลให้การรักษาไม่คืบหน้าและต่อเนื่อง หากเหล็กจัดฟันหลุดในตำแหน่งฟันซี่สุดท้าย มักจะทำให้ปลายลวดทิ่มที่กระพุ้งแก้มเป็นแผลได้ ทางที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่มีผลให้เหล็กจัดฟันหลุดได้ง่าย เช่น การรับประทานอาหารที่แข็งเกินไป หรือมีลักษณะเหนียว เช่น น้ำแข็ง ท้อฟฟี่ ถั่ว ผลไม้ดิบ เป็นต้น แนะนำให้หั่นอาหารเป็นชิ้นเล็กพอคำก่อนทาน แปรงฟันไม่แรงจนเกินไป ระวังปลายหัวแปรงกระแทกกับเหล็ก หรือการใช้ไม้จิ้มฟันไม่ระวังซึ่งอาจทำให้เหล็กจัดฟันหลุดได้
5. ลวดทิ่มแก้มหรือเหงือกจนเป็นแผลทำอย่างไรดี
Ans : หากปลายลวดยื่นออกมาไม่มากนัก แนะนำใช้ขี้ผึ้งที่ได้รับจากทันตแพทย์จัดฟัน ปั้นเป็นก้อนเล็กๆ แล้วแปะทับไปที่ลวดหรือเครื่องมือที่แหลมคม แต่ถ้าปลายลวดยื่นออกมามาก หรือปลายลวดหลุดออกมาจากเหล็กจัดฟัน ให้รีบไปพบแพทย์ที่เรารักษาอยู่ เพื่อแก้ไขได้ทันท่วงที
6. ยางรัดลวดจัดฟันสีสันมีประโยชน์อะไรหรือไม่
Ans : สีสันต่างๆของยางจัดฟัน ไม่ได้มีผลต่อการรักษา เพราะทำมาจากวัสดุชนิดเดียวกัน คุณสมบัติเหมือนกัน เพียงแต่ใส่สีเพื่อความสวยงาม และมีความหลากหลาย กระตุ้นให้ผู้ป่วยอยากมาเปลี่ยนสียางในทุกๆ เดือน แต่ในบางคนที่อยู่ในวัยทำงานหรือผู้ชายมักจะไม่นิยมสีสัน ไม่อยากให้ดูเด่นจนเกินไป ก็มักจะเลือกสียางที่เป็นสีใส สีเหมือนฟันหรือสีเงินกลมกลืนไปกับเหล็กจัดฟัน
7. จัดฟันบนหรือฟันล่างอย่างเดียวได้ไหม เพราะอะไร
Ans : ในกรณีที่จัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติเพียงซี่ สองซี่ สามารถจัดฟันแค่ฟันบนหรือฟันล่างอย่างเดียวได้ แต่โดยทั่วไปแล้วเราจะจัดฟันทั้งฟันบนและฟันล่างเพื่อให้มีการสบฟันที่ดี สบฟันได้สนิท ส่งผลให้ระบบการเคี้ยวอาหารมีประสิทธิภาพ กระจายแรงบดเคี้ยวไปที่ฟันทุกๆ ซี่ ลดปัญหาฟันสึก ประสาทฟันอักเสบ รวมไปถึงป้องกันการเกิดโรคข้อต่อขากรรไกรได้
8. ถ้าต้องย้ายที่อยู่หรือต้องการเปลี่ยนหมอควรทำอย่างไร
Ans : อันดับแรกคือต้องไปปรึกษาหมอที่จัดฟันให้เราอยู่ก่อนว่าเราไม่สะดวกจัดฟันต่อ ขอให้คุณหมอช่วยเขียนหนังสือส่งตัว หรือหนังสือย้ายเคส พร้อมทั้งขอแบบพิมพ์ฟันก่อน / ระหว่างการรักษา ฟิลม์เอ็กซเรย์ รูปถ่ายและประวัติการรักษา เพื่อให้คุณหมอที่จะรับทำต่อ สามารถวางแผนการรักษาต่อไปได้ ตามปกติแล้ว จะไม่แนะนำให้ย้ายเคสโดยไม่มีเหตุจำเป็น เพราะทำให้การรักษาเสียเวลานานขึ้น ค่าใช้จ่ายที่ต้องเริ่มจ่ายใหม่ อีกทั้งหาคุณหมอที่จะรับเคสต่อได้ยาก ดังนั้นก่อนการจัดฟัน เราต้องวางแผนให้ดีก่อนว่าจะสามารถมาทำการรักษากับคุณหมอท่านนั้นได้ต่อเนื่องตลอดการรักษาได้หรือไม่
9. หลังจากที่จัดเสร็จฟันจะมีสภาพเรียงตัวเช่นนี้ได้นานเท่าใด ตลอดชีวิตหรือไม่
Ans : การเรียงตัวของฟันหลังจากถอดเครื่องมือจัดฟันแล้วจะอยู่ได้นานเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอในการใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน หรือเรียกว่า รีเทนเนอร์ (Retainer) เพราะหลังจากจัดฟันแล้ว ฟันจะมีแนวโน้มเคลื่อนกลับไปสู่ตำแหน่งเดิมก่อนการจัดจากแรงของเนื้อเยื่อภายในช่องปาก จึงจำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์จนกว่าเนื้อเยื่อต่างๆ ภายในช่องปากจะปรับตัวเข้าสู่สมดุลภายใต้สภาพการเรียงตัวของฟันใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจัดฟันเสร็จ ส่วนระยะเวลาในการใส่รีเทนเนอร์ของแต่คนละคนจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์จัดฟันผู้ให้การรักษา ซึ่งโดยปกติจะใส่รีเทนเนอร์อย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป
แชร์ บทความนี้
“Practical Dentistry in COVID-19 Pandemic” Academic Conference on Cisco Webex Meetings
Posted on by admin
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดนิทรรศการ และให้บริการทางทันตกรรม ในงาน มหิดล-วันแม่ ประจำปี 2562
Posted on by admin
MU DENT faculty of dentistry
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดนิทรรศการ และให้บริการทางทันตกรรม ในงาน มหิดล-วันแม่ ประจำปี 2562
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดนิทรรศการ
และให้บริการทางทันตกรรม ในงาน มหิดล-วันแม่ ประจำปี 2562
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ โปรดให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จเปิดงาน “มหิดล-วันแม่” ประจำปี 2562 ณ ห้องประชุม ศ.นพ.ชัชวาล โอสถานนท์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการ เรื่อง ลูกฟันดี เริ่มที่แปรงฟัน โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิงวรานันท์ บัวจีบ คณบดี เป็นผู้ถวายรายงาน พร้อมร่วมออกให้บริการทางทันตกรรม (โดยไม่คิดมูลค่า) โดยศูนย์ทันตกรรมพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับโรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร ในวันที่ 9 สิงหาคม 2562 ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอเชิญร่วมชมรายการ “ปันฝันปันยิ้ม” ตอนโครงการบริการทันตกรรมเคลื่อนที่เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ออกอากาศวันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2562 เวลา 13.05 น.
Posted on by admin
MU DENT faculty of dentistry
ขอเชิญร่วมชมรายการ “ปันฝันปันยิ้ม” ตอนโครงการบริการทันตกรรมเคลื่อนที่เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ออกอากาศวันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2562 เวลา 13.05 น.
ข่าวประชาสัมพันธ์จาก : คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ทันตกรรมพระราชทานฯ
ณ บ้านเฟื่องฟ้า นนทบุรี ออกอากาศ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 5
ในวันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2562 เวลา 13.05 น.
ขอเชิญคณาจารย์และบุคลากร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย [พม.] / พนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน) [พส.] / พนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพมาจากข้าราชการ) เข้าร่วมฟังหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพ Flexible Benefit
Posted on by admin
MU DENT faculty of dentistry
ขอเชิญคณาจารย์และบุคลากร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย [พม.] / พนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน) [พส.] / พนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพมาจากข้าราชการ) เข้าร่วมฟังหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพ Flexible Benefit
ข่าวประชาสัมพันธ์จาก : หน่วยสวัสดิการและสิทธิประโยชน์
วันเวลาที่เริ่มงาน : วันที่ 17 ตุลาคม 2562 เวลา 13.30 – 16.00 น.
สถานที่ : ณ ห้องประชุม 302-303 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา (ส่วนหลัง)
การบรรยายชี้แจงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพ Flexible Benefit สำหรับบุคลากร
Posted on by admin
MU DENT faculty of dentistry
การบรรยายชี้แจงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพ Flexible Benefit สำหรับบุคลากร
การบรรยายชี้แจงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการ
แบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพ Flexible Benefit สำหรับบุคลากร
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 หน่วยสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการบรรยายชี้แจงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพ Flexible Benefit สำหรับบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเชิญวิทยากรจากกองทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดล มาร่วมชี้แจง โดยมีคณาจารย์ และบุคลากร ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย (พ.ม.) / พนักงานมหาวิทยาลัย(ชื่อส่วนงาน) (พ.ส.) /พนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพมาจากข้าราชการของคณะฯ เข้าร่วมรับฟัง ณ ห้องประชุม 302-303 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา (ส่วนหลัง)
ขอขอบคุณ คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรและศิษย์เก่า คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ร่วมเป็นอาสาสมัครในการปฏิบัติงานให้บริการทางทันตกรรม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ในวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562 ทำให้งานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
Posted on by admin
MU DENT faculty of dentistry
ขอขอบคุณ คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรและศิษย์เก่า คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ร่วมเป็นอาสาสมัครในการปฏิบัติงานให้บริการทางทันตกรรม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ในวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562 ทำให้งานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ข่าวประชาสัมพันธ์จาก : คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้บริการทางทันตกรรมฟรี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ วันที่ 21 ตุลาคม 2562 ณ โรงพยาบาลทันตกรรมทั้ง 2 แห่ง (กรุงเทพฯ และ นครปฐม)
Posted on by admin
MU DENT faculty of dentistry
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้บริการทางทันตกรรมฟรี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ วันที่ 21 ตุลาคม 2562 ณ โรงพยาบาลทันตกรรมทั้ง 2 แห่ง (กรุงเทพฯ และ นครปฐม)
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้บริการทางทันตกรรมฟรี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
วันที่ 21 ตุลาคม 2562 ณ โรงพยาบาลทันตกรรมทั้ง 2 แห่ง (กรุงเทพฯ และ นครปฐม)
ศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิง วรานันท์ บัวจีบ คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ทุกวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี นอกจากจะเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี แล้ว ยังเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งในวงการทันตแพทย์ไทย นั่นคือ วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
โดยนับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2512 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีจัดตั้งหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ขึ้น เพื่อช่วยรักษาพยาบาลแก่ประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารต่าง ๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ทรงเห็นว่าคนในท้องถิ่นทุรกันดาร เมื่อป่วยเกี่ยวกับโรคฟัน จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีทันตแพทย์ไปปฏิบัติงานร่วมกับแพทย์ เพื่อบำบัดความทุกข์ทรมานด้วยโรคทางช่องปากของประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารด้วย
จวบจนถึง พ.ศ. 2529 มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ได้เริ่มจัดให้มีโครงการรณรงค์ทางทันตสาธารณสุข เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม เป็นครั้งแรก และได้ดำเนินงานต่อเนื่องมาทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ในปี พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติอนุมัติให้วันที่ 21 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ” โดยกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ร่วมใจจัดโครงการบริการทางทันตกรรมในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี “พระมารดาแห่งวงการทันตแพทย์ไทย” และวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ นอกจากนี้เพื่อให้ทันตบุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของคณะทันตแพทยศาสตร์ ได้มีส่วนร่วมในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมและวิชาชีพ และเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางทันตสุขศึกษาแก่ประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาดูแลเอาใจใส่ต่อสุขภาพในช่องปาก พร้อมทั้งรณรงค์และกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการมีสุขภาพช่องปากที่ดีของตน และบุคคลที่ใกล้ชิด โดยการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
ซึ่งในปีนี้ทางคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดให้บริการตรวจรักษาทางทันตกรรม โดยไม่คิดมูลค่าแก่ประชาชนทั่วไป ( 1 คน / 1 การรักษา ) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ได้แก่ อุดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ขูดหินน้ำลาย ทันตกรรมเด็ก และถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรม ในวันที่ 21 ตุลาคม 2562 ณ โรงพยาบาลทันตกรรมทั้ง 2 แห่ง ได้แก่
- โรงพยาบาลทันตกรรมคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เปิดให้บริการ (ผู้ใหญ่ 1,500 ราย / เด็ก 200 ราย / ผ่าฟันคุด 120 ราย) เริ่มแจกบัตรคิวเวลา 6.30 น. จนบัตรคิวหมด
- โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เปิดให้บริการ (ผู้ใหญ่ 350 ราย / เด็ก 50 ราย) เริ่มแจกบัตรคิวเวลา 6.45 น. จนบัตรคิวหมด
สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วยพิธีถวายราชสักการะพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พิธีเปิดการให้บริการทางทันตกรรมแก่ประชาชน โดยไม่คิดมูลค่าถวายเป็นพระราชกุศล และกิจกรรมให้ความรู้ด้านทันตสุขศึกษา พร้อมเล่นเกมชิงรางวัล ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการดูแลผู้สูงอายุ และกิจกรรม ฟ.ฟันหรรษา โดยมีประชาชนให้ความสนใจเข้ารับบริการทางทันตกรรมเป็นจำนวนมาก