โรคของเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ในช่องปาก
ในช่องปากนอกจากโรคฟันผุและโรคปริทันต์ที่ทุกท่านคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ยังสามารถพบโรคหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้กับเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก่ม ริมฝีปาก ลิ้น เพดาน ฯลฯ
โรคของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากที่พบได้บ่อยและสาเหตุ
โรคของเนื้อเยื่ออ่อนที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป เช่น แผลแอฟทัสหรือแผลร้อนใน ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่กระตุ้นให้เกิดแผลร้อนในในช่องปากได้ เช่น ความเครียดการเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนในร่างกาย ส่วนประกอบบางอย่างในอาหาร เช่น สารกันบูด สารแต่งกลิ่น สี รส การขาดเหล็ก โฟเลท หรือวิตามินบี ๑๒ ฯลฯ
นอกจากนี้อาจพบรอยโรคจากการระคายเคืองเรื้อรัง การระคายเคืองจากยาหรือสารเคมี เช่น ยาแก้ปวด นํ้ายาบ้วนปาก ยาสีฟัน ลิปสติก ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการปวดฟัน อาจนํายาแกัปวดไปวางไวัที่ร่องกระพุ้งแก้ม ใกล้กับ ตําแหน่งฟันที่ปวด ยาแก้ปวดจะไประคายเคืองเนื้อเยื่ออ้อนบริเวณนั้นเกิดเป็นแผลได้ หรือผู้ป่วยบางรายเปลี่ยนยาสีฟัน หรือลิปสติกใหม่ๆ อาจทําให้เกิดอาการแพ้ หรือการระคายเคืองจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้
การติดเชื้อในช่องปาก เช่น การติดเชื้อรา การติดเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งรอยโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันบางชนิด ทําให้มีความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากได้ เช่น ไลเคนแพลนัส เพมฟิกัส เพมฟิกอยด์ ฯลฯ อีกทั้งหลังการรักษามะเร็งด้วยเคมีบําบัด หรือรังสีรักษา สามารถทําให้เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากเกิดความผิดปกติได้ เช่นกัน
การใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ตลอดเวลาแม้ในช่วงเวลานอนตอนกลางคืน ร่วมกับการดูแลทําความสะอาดฟันเทียมที่ไม่ดี อาจทําใหัเพดานที่ฟันเทียมทับอยู่มีการอักเสบได้ และสุดท้าย คือ อาการปากแห้ง เนื่องจากผลข้างเคียงของยารักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ยาคลายกังวล ยาต้านอาการซึมเศร้า ฯลฯ ยาเหล่านี้ล้วนมีผลข้างเคียง ทําให้เกิดอาการปากแห้ง และทําให้มีความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อนตามมาได้ง่าย ซึ่งความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นบางชนิดที่กล่าวมานี้ ถ้าทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาอาจทําให้รอยโรคมีโอกาสเปลี่ยนเป็นมะเร็งได้
ลักษณะความผิดปกติและอาการ
โดยปกติเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากจะมีพื้นผิวเรียบสีชมพู ถ้ามีความผิดปกติหรือเกิดโรคเหล่านี้ขึ้น จะทําให้เนื้อเยื่อเหล่านี้มีรอยถลอกหรือกลายเป็นแผล นอกจากนี้โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันหรือการติดเชื้อรา จะทําให้เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากบางลง ความผิดปกติเหล่านี้ทําให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดหรือแสบโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลารับประทานอาหารรสจัด นอกจากนี้ความผิดปกติบางอย่าง อาจทําให้เนื้อเยื่อหนาตัวหรือบวมโตขึ้นมา ซึ่งผู้ป่วยรู้สึกถึงความผิดปกติได้โดยง่าย
วิธีการดูแลรักษา
เมื่อผู้ป่วยมีความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก ผู้ป่วยควรดูแลความสะอาดในช่องปาก ซึ่งเป็นสิ่งจํา เป็นและสําคัญที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซํ้าไปที่แผลหรือความผิดปกตินั้น อาจต้องเปลี่ยนยาสีฟันเป็น ยาสีฟันที่ไม่ทําให้ผู้ป่วยรู้สึกแสบยิ่งขึ้น ใช่ไหมขัดฟันทําความสะอาดฟัน ไม่แนะนําให้ใช้นํ้ายาบ้วนปากใดๆ เพราะอาจทําให้ผู้ป่วยเจ็บแสบยิ่งขึ้น แนะนําให้พบทันตแพทย์หรือทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ช่องปาก เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละโรค ซึ่งมีได้ตั้งแต่กําจัดสาเหตุ การให้ยาทาเฉพาะที่หรือยารับประทานเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการของโรค
วิธีป้องกันและปฏิบัติตน
การดูแลสุขภาพร่างกายโดยทั่วไป โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ ๕ หมู่ การออกกําลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การงดสูบบุหรี่ การใช้ยาเส้นยาสูบ หมาก นํ้ายาบ้วนปาก ต่างๆ มีผลต่อสุขภาพที่ดีของเนื้อเยื่อในช่องปากร่วมกับการดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีอยู่เสมอไม่ให้มีฟันผุหรือเหงือกอักเสบ โดยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน ถ้าใส่ฟันเทียมชนิดถอดไดัตัองลัางทําความสะอาดฟันเทียมและถอดแช่นํ้าไวัโดยไม่ใส่ฟันช่วงเวลานอนหลับ เหล่านี้จะช่วยให้เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากมีความแข็งแรง ลดโอกาสเกิดความรุนแรงหรือความผิดปกติดังที่กล่าวมาแล้ว
เมื่อท่านรู้สึกมีความผิดปกติในช่องปาก มีอาการเจ็บปวดหรือแสบร้อน มีแผลเรื้อรังในช่องปาก แนะนําให้ท่านไปพบทันตแพทย์หรือทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ช่องปาก เพื่อตรวจดูความผิดปกตินั้น และรับการรักษาที่เหมาะสมเพราะการมีแผลเรื้อรังในช่องปากอาจมีโอกาสเกิดมะเร็งช่องปากได้ ไม่แนะนําให้ผู้ป่วยซื้อยามาทาเอง เพราะความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก มิได้เป็นแผลร้อนในชนิดเดียว อาจเป็นโรคหรือความผิดปกติอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
เลขที่ 888 ม.6 ถ.บรมราชชนนี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
เบอร์ตรง 0-2849-6600