INTRANET

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
ความผิดปกติของการสบฟันในผู้ป่วยวัยเด็ก

MU DENT faculty of dentistry

ความผิดปกติของการสบฟันในผู้ป่วยวัยเด็ก

อ.ทพ.พงศธร พู่ทองคำ

ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน

การสบฟันลึก หมายถึง ระยะเหลื่อมแนวดิ่งที่ฟันหน้ามากกว่า 1/3 ของความสูงของฟันหน้าล่าง สามารถรักษาได้ตั้งแต่ระยะฟันน้ำนมและระยะฟันชุดผสม (ช่วงที่ฟันแท้ยังขึ้นไม่ครบและยังมีฟันน้ำนมเหลืออยู่) ในการรักษาจะอาศัยการแก้ไขด้วยเครื่องมือทันตกรรมจัดฟันชนิดถอดได้ หรือเครื่องมือฟังก์ชันนอล เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของขากรรไกรล่าง

การสบฟันเปิด ที่พบได้บ่อย มักพบที่ฟันหน้าบนล่างไม่สบกัน โดยส่วนใหญ่เกิดจากการดูดนิ้ว การกลืนที่ผิดปกติ โดยในการรักษาควรให้ฝึกวางตำแหน่งลิ้นให้กลืนอย่างถูกต้อง ร่วมกับการใช้เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ โดยอาจเป็นเครื่องที่ช่วยในการขยายขากรรไกร หรือเป็นเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น

 

ฟันสบคร่อม หมายถึง ลักษณะที่ฟันล่างสบคร่อมฟันบน (โดยปกติฟันบนจะสบคร่อมฟันล่าง) พบได้ทั้งในฟันหน้าและฟันหลัง ฟันสบคร่อมควรได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ด้วยการใส่เครื่องมือถอดได้ที่ติดสปริงหรือสกรูและเพลทเพื่อยกฟันหลัง และสามารถดันฟันที่สบคร่อมออกมา หรืออาจใช้ร่วมกับเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่นก็ได้

 

ฟันซ้อนเก มักพบในระยะฟันชุดผสม ฟันแท้ที่ขึ้นมาทดแทนจะมีขนาดใหญ่กว่าฟันน้ำนมที่หลุดออกไป ฟันจึงขึ้นมาเบียดซ้อนกัน หรือเกิดจากการสูญเสียฟันน้ำนมบางซี่ไปก่อนกำหนด ทำให้ฟันข้างเคียงเคลื่อนที่เข้ามาแทน การรักษาขึ้นอยู่กับการตรวจวินิจฉัยโดยทันตแพทย์ว่าควรทำเลยหรือรอจนฟันแท้ขึ้นจนครบได้

 

คราวนี้ทุกคนก็พอจะทราบแล้วว่าลักษณะการสบฟันที่ผิดปกติในวัยเด็กเป็นอย่างไร สาเหตุหลักๆ มักมีด้วยกัน 3 ประการ

1. จากการมีลักษณะนิสัยการดูดนิ้ว, การกลืนที่ผิดปกติ ซึ่งเรื่องนี้คุณแม่คุณพ่อก็ต้องดูกันตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ กันเลย
2. การดูแลฟันน้ำนมไม่ถูกต้อง ทำไมต้องดูแลฟันน้ำนมให้ดี เพราะฟันน้ำนมนอกจากจะมีไว้บดเคี้ยวตามธรรมชาติ ช่วยในการออกเสียงแล้วยังเป็นผู้ดูแลช่องว่างเตรียมไว้ให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมาทดแทนด้วย ถ้าเสียฟันน้ำนมไปก่อนเวลาอันควรช่องว่างสำหรับฟันแท้จะมีไม่พอ เกิดปัญหาฟันซ้อนเกตามมาได้
3. สาเหตุจากกรรมพันธุ์ ไม่เพียงแต่มีผลเฉพาะกับฟัน เช่น ลักษณะรูปร่างของฟัน ขนาดฟัน จำนวนฟัน เท่านั้น ยังส่งผลต่อลักษณะของโครงหน้าอีกด้วย เช่น หน้ากลม หน้ารูปไข่ หน้าเหลี่ยม คางสั้น คางยื่น เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมิน วินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสมจากทันตแพทย์เฉพาะทางสาขา ทันตกรรมจัดฟัน

 
Post Views: 76