Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

MU DENT faculty of dentistry

อันตรายจาก…ฟันเทียมเถื่อน

อ.ทพญ. ปุญญานิช รุ่งนาวา

ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

ฟันเทียม คือ ฟันที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ฟันเทียมมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ ฟันเทียมชนิดติดแน่น และ ฟันเทียมชนิดถอดได้
ฟันเทียมเถื่อน คือ ฟันเทียมที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นจากบุคคลที่มิใช่ทันตแทพย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพ

 

1. ฟันเทียมที่ทำโดยทันตแพทย์ต่างกับฟันเทียมที่ทำตามแผงลอยอย่างไร ?
ฟันเทียมที่ทำโดยทันตแพทย์นั้นจะมีการออกแบบ และทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักการ ซึ่งฟันเทียมที่ได้จะมีการยึดอยู่ และถ่ายทอดแรงสู่ฟันธรรมชาติและเนื้อเยื่อได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ต่างจากฟันเทียมเถื่อนที่มีการออกแบบได้ไม่ถูกต้องตามหลักการ และอาจรวมถึงกระบวนการทำที่ไม่สะอาดปลอดภัย ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้

 

2. อันตรายจากการทำฟันเทียมเถื่อน
– เนื้อเยื่อภายในช่องปากอักเสบ บวมแดง อาจรุนแรงถึงขั้นมีการละลายตัวของกระดูกขากรรไกร

 

– ฟันโยก แตก หรือหัก เหงือกรอบตัวฟันอักเสบ บวมแดง เป็นหนอง

 

– เกิดการติดเชื้อบริเวณใบหน้าขากรรไกร จากการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดถูกหลักอนามัย หรือการใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม

 

3. การแก้ไข และการรักษาเมื่อมาพบทันตแพทย์
ฟันเทียมเถื่อนโดยมากไม่สามารถแก้ไขได้ และควรทำชุดใหม่ ทันตแพทย์จะตรวจภายในช่องปาก และถ่ายภาพรังสีในช่องปากอย่างละเอียดอีกครั้ง ก่อนพิจารณาวางแผนการรักษาและออกแบบฟันเทียมชุดใหม่

 

4. คำแนะนำ
ผู้ป่วยส่วนมากเลือกที่จะทำฟันเทียมเถื่อนเพราะสะดวก รวดเร็ว และราคาถูกกว่าการทำฟันเทียมกับทันตแพทย์ ทันตแพทย์อยากให้ผู้ป่วยตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการใส่ฟันเทียมเถื่อนให้มาก ซึ่งบางครั้งอาจไม่คุ้มค่ากับเวลาเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามการทำฟันเทียมกับทันตแพทย์จะได้ฟันเทียมที่สวยงาม ใช้งานได้นาน และได้มาตรฐานสะอาดปลอดภัย แม้จะใช้เวลาที่มาพบทันตแพทย์หลายครั้งและราคาสูงกว่า

 

5. สรุป
ทันตแพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยเลี่ยงการทำฟันเทียมกับผู้ที่ไม่ใช่ทันตแพทย์ และมารับการรักษาที่ดีการทันตแพทย์จะดีที่สุด

Post Views: 341