Curriculum Name
Thai | หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) |
English | Master of Science Program in Dentistry (International Program) |
Name of Degree and Major
Full Title | Thai | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ทันตแพทยศาสตร์) |
English | Master of Science (Dentistry) | |
Abbreviation | Thai | วท.ม. (ทันตแพทยศาสตร์) |
English | M.Sc. (Dentistry) |
Vision, Mission, and Philosophy of the curriculum
Vision of the program
International study program with international standards committed to aim at creating and developing excellent graduates for international society under sustainable management
Mission of the program
To provide high quality postgraduate education, training in dentistry and research in 8 areas including advanced general dentistry, community dentistry, endodontics, maxillofacial prosthetics, oral and maxillofacial radiology, oral and maxillofacial surgery, oral medicine, and pediatric dentistry. in order to improve oral health nationwide and internationally.
Philosophy of the curriculum
This curriculum aims to produce Master’s degree students who are knowledgeable, expertise and high-level skills in dentistry in the 9 majors. The students should be able to apply the knowledge to treat patients with advanced technology by studying and researching clinical practice or dental public health including research to create knowledge which will beneficial to people. These knowledge and skills must be based on ethics and code of ethics and professional.
Objectives of the curriculum
By the end of the study, the Master is qualified according to the graduate qualification standards as follows:
1.Possess moral standards and professional ethics
2.Understand the principles and theories related to the fields: (1) Advanced General Dentistry (2) Community Dentistry (3) Endodontics (4) Maxillofacial Prosthetics (5) Oral and Maxillofacial Radiology (6) Oral and Maxillofacial Surgery (7) Oral Medicine (8) Pediatric Dentistry and can provide treatment and proper clinical practice accordingly
3.Observe Initiate, analyze, summarize, criticize research and conduct research in Dentistry according to major or other health science based on the professional moral and right procedure of research and apply the knowledge for the dental field
4.Achieve good communication team work skills with leadership and high responsibility
5.Apply information technology to search for learning, conducting research, data analysis and effective presentation
Expected learning outcomes (ELO)
When students have graduated, the graduated student will have the following qualifications.
Career Opportunities of the Graduates
Entry requirements
a) TOEFL iBT score of at least 54 or
b) TOEFL lTP score of at least 480 or
c) IELTS score of at least 5.0 or
d) MU Grad TEST score of at least 60
Contact detail for further enquiries
Coordinator : Assist. Prof. ML. Theerathavaj Srithavaj
E-mail : t-kung@hotmail.com
Tel. 0-2200-7736-7
or
Postgraduate Educational Administration Division
Faculty of Dentistry, Mahidol University
No. 6, Yothi Road, Ratchathewi District, Bangkok 10400 THAILAND
Tel: +66(0)2-200-7634, 7642
E-mail : dtmupostgrad@mahidol.ac.th
ภาควิชาการ 450 ชั่วโมง
จำนวนชั่วโมงวิชาบังคับพื้นฐาน 135 ชั่วโมง
จำนวนชั่วโมงวิชาบังคับเฉพาะสาขา 315 ชั่วโมง
ภาคทฤษฏี 255 ชั่วโมง
วิชาเลือกไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง
ปฏิบัติงานในปีที่ 1- ปีที่ 3
ปฏิบัติงานในปีที่ 1- ปีที่ 3
ชั้นปี |
รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) |
|||||
1 |
ภาคเรียนที่ 1 |
ภาคเรียนที่ 2 |
||||
ทพทด 702 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็ก 1 | (7) | ทพทด 704 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็ก 2 | (8) | |
ทพทด 714
|
ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กพิเศษ
และเด็กที่มีโรคทางระบบ 1 |
(1)
|
ทพทด 716 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบ 2 | (1)
|
|
ทพทด 726 | คลินิกทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกัน 1 | (1) | ทพทด 728 | คลินิกทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกัน 2 | (1) | |
ทพผส 514 | ระเบียบวิธีวิจัย | (2) | ทพทด 746 | การฝึกอบรมปฏิบัติงานด้านวิสัญญี | (1) | |
ทพผส 515
|
ชีววิทยาช่องปาก 1
|
(2) | ทพทด 713 | สัมมนาการเจริญเติบโตของใบหน้า กระโหลก ศีรษะ และทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องปราม | (2)
|
|
ทพปว 501 | หลักการของชีววิทยาระดับโมเลกุล | (1) | ทพทด 717 | สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็กที่มีโรคทางระบบและเด็กพิเศษ 1 | (1) | |
ทพทด 701 | สัมมนาการป้องกันและการรักษาโรคฟันผุ | (2) | ทพผส 603 | ชีวสถิติ | (3) | |
ทพทด 715 | สัมมนาการปรับพฤติกรรมในทันตกรรมเด็ก | (2) | ||||
วิชาเลือก | (1) | |||||
รวม 19 หน่วยกิต |
รวม 17 หน่วยกิต |
ชั้นปี |
รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) |
|||||
2 |
ภาคเรียนที่ 1 |
ภาคเรียนที่ 2 |
||||
ทพทด 706 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็ก 3 | (7) | ทพทด 708 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็ก 4 | (8) | |
ทพทด 756 | คลินิกทันตกรรมป้องกันแม่และเด็กและชุมชน | (1) | ทพทด 720 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กพิเศษที่มีปัญหาโรคทางระบบ 4 | (1) | |
ทพทด 718 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบ 3 | (1) | ทพทด 732 | คลินิกทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกัน 4 | (1) | |
ทพทด 730 | คลินิกทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกัน 3 | (1) | ทพทด 740 | คลินิกทันตกรรมโดยการใช้ยาลดความกังวลและการดมยาสลบ 2 | (1) | |
ทพทด 738 | คลินิกทันตกรรมโดยการใช้ยาลดความกังวลและการดมยาสลบ 1 | (1) | ทพทด 750 | การสอนทางทันตกรรมสำหรับเด็ก 1 | (1) | |
ทพทด 721 | การค้นคว้าอิสระ | (3) | ทพทด 723 | ฝึกปฏิบัติงานวิจัยทางทันตกรรมสำหรับเด็ก | (2) | |
ทพทด 705 | สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็ก 1 | (1) | ทพผส 702 | จิตวิทยาและจรรยาบรรณ | (1) | |
วิชาเลือก | (3) | ทพทด 707 | สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็ก 2 | (1) | ||
ทพทด 703 | ทันตสารธารณสุขสำหรับเด็ก | (1) | ||||
รวม 18 หน่วยกิต |
รวม 17 หน่วยกิต |
ชั้นปี |
รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) |
|||||
3 |
ภาคเรียนที่ 1 |
ภาคเรียนที่ 2 |
||||
ทพทด 710 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็ก 5 | (6) | ทพทด 712 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็ก 6 | (6) | |
ทพทด 722 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กพิเศษที่มีปัญหาโรคทางระบบ 5 | (2) | ทพทด 724 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กพิเศษที่มีปัญหาโรคทางระบบ 6 | (2) | |
ทพทด 734 | คลินิกทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกัน 5 | (1) | ทพทด 736 | คลินิกทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกัน 6 | (1) | |
ทพทด 742 | คลินิกทันตกรรมโดยการใช้ยาลดความกังวลและดมยาสลบ 3 | (1) | ทพทด 744 | คลินิกทันตกรรมโดยใช้ยาลดความกังวลและดมยาสลบ 4 | (2) | |
ทพทด 752 | การสอนทางทันตกรรมสำหรับเด็ก 2 | (1) | ทพทด 754 | การสอนทางทันตกรรมสำหรับเด็ก 3 | (1) | |
ทพทด 719 | สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็กที่มีโรคทางระบบและเด็กพิเศษ 2 | (1) | ทพทด 709 | สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็ก 3 | (1) | |
รวม 12 หน่วยกิต |
รวม 13 หน่วยกิต |
ชีววิทยาช่องปาก I 30 ชั่วโมง
(Oral Biology I)
การพัฒนา โครงสร้าง ชีววิทยา และหน้าที่ของเนื่อเยื่อในช่องปาก และอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ในสุขภาวะและมีพยาธิสภาพ จุลินทรีย์ในช่องปาก การตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ความเจ็บปวด และภาวะภูมิไวเกิน ยาที่ใช้ในทางทันตกรรม ข้อพิจารณาทางจริยธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพ
ชีววิทยาระดับโมเลกุลทางทันตแพทยศาสตร์ 15 ชั่วโมง
(Molecular Biology in Dentistry)
โครงสร้างและการทำงานระดับโมเลกุลของเซลล์ รวมถึง จีน พันธุกรรมระดับโมเลกุล การสร้างโปรตีน การโคลนจีน ชีววิทยาโมเลกุลและโรคในช่องปาก โรคฟันผุ โรคปริทันต์ รอยโรคในช่องปากและโรคมะเร็งช่องปาก เทคนิคขั้นสูงทางชีววิทยาโมเลกุล และการประยุกต์ชีววิทยาโมเลกุลในการวิจัยทางชีววิทยาช่องปากและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ชีวสถิติ 45 ชั่วโมง
(Biostatistics)
วิธีการทางสถิติเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และแปลผลข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข การแจกแจงความน่าจะเป็น การแจกแจงสิ่งตัวอย่าง การประมาณค่าพารามิเตอร์ การทดสอบนัยสำคัญ โดยสถิติแบบพาราเมตริก และนันพาราเมตริก การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบความสัมพันธ์แบบสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอย
ระเบียบวิธีวิจัย 30 ชั่วโมง
(Research Methodology)
แนวคิดในการวิจัย วิธีการวิจัย ขั้นตอนการวิจัยในงานวิจัยที่แตกต่างกัน การวิจัยทางคลินิก และการวิจัยในห้องปฏิบัติการ การคิดปัญหาวิจัย การออกแบบการวิจัย การทดสอบสมมติฐาน กระบวนการเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การใช้สถิติในงานวิจัย การเขียนรายงาน การวิเคราะห์วิจารณ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ การนำเสนองานวิจัย จรรยาบรรณการวิจัย
จิตวิทยาและจรรยาบรรณ 15 ชั่วโมง
(Psychology and Ethics)
จิตวิทยาของผู้ป่วยในการรักษาทางทันตกรรม และจรรยาบรรณสำหรับทันตแพทย์จะต้องคำนึงถึง และกฏหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบวิชาชีพ
สัมมนาการปรับพฤติกรรมในงานทันตกรรมสำหรับเด็ก 30 ชั่วโมง
(Behavior Management Seminar)
การพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของเด็กในวัย ต่าง ๆ ผลของสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมของเด็ก หลักการกระตุ้นและการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กทั่วไป หลักการปรับพฤติกรรมตามแนวความคิดของจิตแพทย์ นักจิตวิทยา และทันตแพทย์ วิธีการปรับพฤติกรรม โดยใช้ยาลดความกังวลและการดมยาสลบ
สัมมนาการป้องกันและการรักษาโรคฟันผุ 30 ชั่วโมง
(Prevention and Management of Dental Caries Seminar)
ขบวนการของโรคฟันผุ การจำแนกเด็กตามความเสี่ยงของการเกิดโรคฟันผุ วิธีการป้องกันโรคฟันผุซึ่งครอบคลุมตั้งแต่วัยแรกเกิด จนถึงวัยรุ่นโดยมีใน การเพิ่มความแข็งแรงของฟัน การควบคุมอาหารคาร์โบไฮเดรต และการลดปริมาณแบคทีเรียโดยวิธีการต่างๆ การรักษาการจัดการรอยโรคฟันผุด้วยวิธีการต่าง ๆ
สัมมนาการเจริญเติบโตของใบหน้า กะโหลกศีรษะ และทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องปราม 30 ชั่วโมง
(Craniofacial Growth, Preventive and Interceptive Orthodontics Seminar)
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของศีรษะ ใบหน้า กระดูกขากรรไกรบนและล่าง ตั้งแต่ระยะตัวอ่อน จนถึงวัยรุ่นรวมทั้งความผิดปกติของใบหน้า ขากรรไกรและการสบฟัน หลักการวิเคราะห์วินิจฉัย การวางแผนการรักษาและวิธีการรักษาในขอบเขตของงานทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกัน และการส่งต่อผู้ป่วยในกรณีที่เหมาะสม กลุ่มอาการของกระโหลกศีรษะ ใบหน้าและคอ ความรู้ทางพันธุศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการดังกล่าว
สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็กที่มีโรคทางระบบและเด็กพิเศษ I-II 30 ชั่วโมง
(Dentistry for Medically Compromised and special child I)
ความรู้ทางการแพทย์ของโรคต่างๆ การวินิจฉัยในโรคต่างๆ และด้านพันธุศาสตร์ ของความผิดปกติในเด็กพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบแต่ละประเภท ข้อควรระวังในการให้การรักษาทางทันตกรรม ปัญหาของสภาวะในช่องปากที่สัมพันธ์กับความผิดปกติ และการรักษาทางทันตกรรม คำแนะนำด้านทันตกรรมป้องกันและวิธีการรักษาสุขภาพช่องปากแก่เด็ก ผู้ปกครองและบุคคลากรทางการแพทย์ การส่งปรึกษาแพทย์และการอ่านผลตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ข้อควรระวังในการให้การรักษาทางทันตกรรม โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบและยังต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
ทันตสาธารณสุขสำหรับเด็ก 15 ชั่วโมง
(Child Dental Public Health)
ปัญหาทันตสาธารณสุขของเด็กไทยและเด็กทั่วโลก แนวการป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคในช่องปากที่เหมาะสม เน้นหลักของทันตกรรมป้องกันและการส่งเสิมสุขภาพของชุมชน
สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็ก 45 ชั่วโมง
(Pediatric Dentistry Seminar)
การนำเสนอและอภิปรายถึงบทความวิชาการ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรมสำหรับเด็ก และกรณีศึกษาที่น่าสนใจในการปฏิบัติงานคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็ก
การทบทวน ประมวลความรู้เนื้อหาทั้งหมดในวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก
การค้นคว้าอิสระ 45 ชั่วโมง
(Independent study)
กำหนดปัญหาเพื่อการวิจัย ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง เก็บรวมข้อมูล จัดการกับข้อมูล วิเคราะห์แปลความหมายข้อมูล และเขียนโครงงานการวิจัย บนพื้นฐานจริยธรรมการวิจัย
ฝึกปฏิบัติงานวิจัยทางทันตกรรมสำหรับเด็ก 30 ชั่วโมง
(Practices for Pediatric Dentistry Research)
หลักการและวิธีการทางคลินิก และวิธีใช้เครื่องมือชนิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางทันตกรรมสำหรับเด็ก
ไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง
ในปีที่ 1-ปีที่ 3
ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็ก I-VI
(Advanced Clinical Pediatric Dentistry I-VI)
ฝึกปฏิบัติการในคลินิกทางทันตกรรมสำหรับเด็ก เพื่อให้มีทักษะและเกิดความเชี่ยวชาญในการป้องกันรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่นทั้งที่มีปัญหาทางพฤติกรรม และปัญหาทางทันตกรรม
กระบวนการเรียนการสอนทำในรูปแบบของการให้การรักษาผู้ป่วยแบบฉุกเฉิน และการให้การรักษาแบบพร้อมมูล โดยมีการรวบรวมข้อมูล การบันทึกประวัติ การวินิจฉัยแยกโรค การวางแผนการรักษา การนำเสนอแผนการรักษาต่อผู้ปกครอง และการส่งต่อผู้ป่วยไปยังผู้ชำนาญการที่เหมาะสม โดยมีลักษณะการปฏิบัติงานในผู้ป่วยเด็กดังนี้
1. การปรับพฤติกรรมในเด็กที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือโดยวิธี Non-pharmacological approach เช่น Communicative management (Tell show do, Positive reinforcement, Distraction, Parental present/absence, Voice control) และ Immobilization treatment เป็นต้น
2. งานทันตกรรมป้องกันโดยจัดวางแผนทันตกรรมป้องกันให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้จะต้องครอบคลุมถึงการใช้ฟลูออไรด์ การสอนทันตสุขศึกษา (Oral hygiene instructions) การให้คำแนะนำพฤติกรรมการบริโภค (Diet counseling) และการผนึกหลุมร่องฟัน (Sealants)
3. การให้การรักษาพยาธิสภาพที่พบในผู้ป่วย เช่น สภาวะการติดเชื้อในปาก (Oral infection) รอยโรคในช่องปาก (Oral lesions)
4. การให้การรักษาทางทันตกรรมได้แก่ การบูรณะฟัน การถอนฟันในเด็ก การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม
5. การดูแลรักษาฟันและเนื้อเยื่อรองรับที่ได้รับภยันตราย (Traumatic injuries to teeth and supporting structures) การติดตามดูแลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุ
6. การปรับพฤติกรรมในเด็กที่ไม่ร่วมมืออย่างมากที่ต้องอาศัยทักษะการปรับพฤติกรรมในขั้นสูง
นอกจากนั้น ยังรวมถึง การบูรณะฟันที่ซับซ้อน การใส่ฟันในเด็ก และการบูรณะฟันเพื่อความสวยงาม การรักษารากฟันแท้ในเด็กไม่เกินอายุ 12 ปี การทำศัลยกรรมในเด็ก ผ่าตัดฟันเกิน ฟรีเน็คโตมี การรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาการบดเคี้ยว ปัญหาของข้อต่อขากรรไกร
คลินิกทันตกรรมป้องกันแม่และเด็กและทันตกรรมชุมชน
(Preventive dentistry for maternal and child health and community)
การฝึกปฏิบัติงาน ตรวจ วินิจฉัย วางแผนโครงการทันตกรรมป้องกันที่เหมาะสมในเด็กเล็กและหญิงมีครรภ์ การสอนทันตสุขศึกษา การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริโภค การใช้ฟลูออไรด์ สารต้านแบคทีเรีย มาตรการป้องกันฟันผุและเหงือกอักเสบอื่น ๆ การทำสื่อการสอนเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก การดูแลสอนการทำความสะอาดช่องปากในเด็กเล็กให้แก่นักศึกษาทันตแพทย์ การออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ การออกหน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ
ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบ I-VI
(Advanced Clinical Pediatric Dentistry for Special Child and Medically Compromised Child I-VI)
การตรวจ วินิจฉัย การทำนายโรค การวางแผนการรักษา การเตรียมผู้ป่วยก่อนการรักษา การให้การรักษาทาง ทันตกรรมที่ไม่ซับซ้อน การอุดฟัน การครอบฟัน และทันตกรรมป้องกันแก่ผู้ป่วยเด็กพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบ
การรักษาทางทันตกรรมที่ซับซ้อน การใส่ฟัน การอุดฟันเพื่อความสวยงาม แก่ผู้ป่วยเด็กพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและปัญหาของโรคที่ซับซ้อนมากขึ้น
การรักษาทางทันตกรรม และทันตกรรมป้องกันแก่ผู้ป่วยเด็กพิเศษ และเด็กที่มีโรคทางระบบที่ไม่ให้ความร่วมมือ จำเป็นต้องให้การปรับพฤติกรรมภายใต้การใช้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยสงบ และการฝึกปฏิบัติงานในระบบโรงพยาบาล (Hospital Dentistry) การดูงานทันตกรรมของโรงพยาบาล
การให้การรักษาทางทันตกรรม และทันตกรรมป้องกันแก่ผู้ป่วยเด็กพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบที่ไม่ให้ความร่วมมือ จำเป็นต้องให้การปรับพฤติกรรมภายใต้การดมยา โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบที่มีปัญหาซับซ้อนมาก เด็กที่มีแผนการใช้รังสีรักษาหรือเคมีบำบัด หรือที่ได้รับมาแล้ว
การให้การรักษาทางทันตกรรม และทันตกรรมป้องกันแก่ผู้ป่วยเด็กพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการรักษาทางทันตกรรม และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ และการดูการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรมขั้นสูงในเด็กที่มีปัญหาต้องการการดูแลเป็นพิเศษ การดูแลผู้ป่วยแรกเกิดที่มีปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่ การวางแผนการรักษา และการให้ทันตกรรมป้องกันแก่เด็กกลุ่มนี้
การรักษาทางทันตกรรมและการป้องกันแก่ผู้ป่วยเด็กและเด็กที่มีโรคทางระบบที่มีปัญหาทางทันตกรรมซับซ้อน และต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล จำเป็นต้องให้การรักษาเป็นทีมร่วมกับแพทย์และทันตแพทย์สาขาต่างๆ โดยจะฝึกปฏิบัติงานที่แผนกทันตกรรม ของโรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลศิริราช
คลินิกทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกัน I-VI
(Preventive and Interceptive Orthodontic Clinic I-VI)
การตรวจ การวินิจฉัย การทำนายโรค และการวางแผนการรักษาผู้ป่วย รวมทั้งสัมมนาคลินิกเกี่ยวกับความผิดปกติของการสบฟัน ทั้งที่มีสาเหตุจากนิสัยที่ผิดปกติ ตัวฟัน และขากรรไกร
การป้องกันและการรักษาในระยะเริ่มแรก และการให้การรักษา รวมทั้งสัมมนาคลินิกเกี่ยวกับความผิดปกติของการสบฟัน ทั้งที่มีสาเหตุจากนิสัยที่ผิดปกติ ตัวฟัน และขากรรไกร ตลอดจนวิธีการแก้ไขสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าว
การป้องกันและการรักษาในระยะเริ่มแรกด้วยเครื่องมือชนิดถอดได้รวมทั้งสัมมนาคลินิกเกี่ยวกับความผิดปกติของการสบฟัน ทั้งที่มีสาเหตุจากนิสัยที่ผิดปกติ ตัวฟัน และขากรรไกร ตลอดจนวิธีการแก้ไขสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าว
การป้องกันและการรักษาในระยะเริ่มแรกด้วยเครื่องมือชนิดถอดได้ ร่วมกับการแก้ไขการหมุนของฟันบางซี่ด้วยเครื่องมือชนิดติดแน่นรวมทั้งสัมมนาคลินิกเกี่ยวกับความผิดปกติของการสบฟัน ทั้งที่มีสาเหตุจากนิสัยที่ผิดปกติ ตัวฟัน และขากรรไกร ตลอดจนวิธีการแก้ไขสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าว
การป้องกันและการรักษาในระยะเริ่มแรกรวมถึงการรักษาความผิดปกติของขากรรไกรโดยวิธีการขยายขากรรไกรด้วยเครื่องมือแบบถอดได้
การรักษาความผิดปกติของขากรรไกรโดยวิธีการขยายขากรรไกรด้วยเครื่องมือแบบถอดได้และติดแน่น ควอทฮีลิกส์
การรักษาด้วยเครื่องมือชนิดถอดได้และติดแน่น และการแก้ไขการสบฟันผิดปกติของขากรรไกรด้วยเครื่องมือถอดได้ ฟังชั่นนอลแอบไพลแอนส์
คลินิกทันตกรรมโดยการใช้ยาลดความกังวลและการดมยาสลบ I-IV
(Sedation and General Anesthesia in Pediatric Dentistry Clinic I-IV)
ตรวจ วินิจฉัย การคัดเลือกผู้ป่วย เตรียมตัวผู้ป่วยและให้การรักษาทางทันตกรรมโดยการใช้ยาลดความกังวลชนิดสูดดมไนตรัสออกไซด์-ออกซิเจน และ/หรือ ยาลดความกังวลชนิดรับประทาน การให้การรักษาภายใต้การดมยาสลบ การตรวจติดตามสัญญาณชีพของผู้ป่วยในระหว่างการรักษา การดูแลผู้ป่วยภายหลังการรักษาเสร็จสิ้น การรักษาฉุกเฉินหากเกิดภาวะแทรกซ้อน
การฝึกอบรมการปฏิบัติงานด้านวิสัญญีวิทยา
(General Anesthesia Rotation)
การดูงานและ/หรือฝึกปฏิบัติ ร่วมกับวิสัญญีแพทย์และทีมงานในห้องผ่าตัด เพื่อศึกษาหลักการและกระบวนการดมยาสลบผู้ป่วยเด็ก วิธีการอ่านและแปลผลบันทึกการดมยา ขั้นตอนในการเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการดมยา ดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น และการช่วยเหลือกู้สัญญาณชีพขั้นพื้นฐาน
การสอนทางทันตกรรมสำหรับเด็ก I-III
(Teaching in Pediatric Dentistry I-III)
การช่วยสอนการฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการของนักศึกษาระดับทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต ในเรื่องการใส่แผ่นยางกั้นน้ำลาย ครอบฟันเหล็กไสนิม การบูรณะฟันน้ำนม การรักษาคลองรากฟันน้ำนมชนิดพัลพ์เพ็คโตมี
การฝึกช่วยสอน ให้คำแนะนำ และดูแลการทำงานในคลินิกของทันตแพทย์ประจำบ้าน การทำสื่อการสอนและการเผยแพร่ความรู้ทางด้านทันตสุขศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป
ต้องมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งต้องตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือเกณฑ์ที่คณะอนุกรรม การฝึกอบรมและสอบเห็นชอบหรือมีการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ หรือนานาชาติ
เลขที่ 888 ม.6 ถ.บรมราชชนนี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
เบอร์ตรง 0-2849-6600