ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย
:
หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
สาขาทันตกรรมประดิษฐ์
ภาษาอังกฤษ
:
Residency Training Program
in Prosthodontics
คุณวุฒิ
ชื่อเต็ม
ภาษาไทย
:
ประกาศนียบัตรหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน
สาขาทันตกรรมประดิษฐ์
ภาษาอังกฤษ
:
The Certificate
of Residency Training
Program in
Prosthodontics
เงื่อนไข
1.
เมื่อฝึกอบรมครบมีผลผ่านตามเกณฑ์ของแต่ละหลักสูตร
ทันตแทพย์ประจำบ้าน
จะได้รับประกาศนียบัตรการจบการฝึกอบรม
จากคณะทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
2.
การได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
จากทันตแพทยสภา
ทันตแพทย์ประจำบ้านจะต้องสอบข้อเขียน
สอบปากเปล่า และรายงานผู้ป่วย
ตามเกณฑ์ของแต่ละสาขา
ปรัชญาของหลักสูตร
พัฒนาทันตแพทย์ให้มีความรู้ความชำนาญทางทันตกรรมประดิษฐ์ และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่เหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพ
คำนิยาม
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อจัดการฝึกอบรมทันตแพทย์ให้เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ที่ได้มาตรฐานระดับสากล มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรม มีมนุษยสัมพันธ์อันดี ต่อผู้ป่วยและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ทันตแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.ความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน สามารถประยุกต์ใช้เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ได้เป็นอย่างดี
2.มีความรู้ความสามารถในสาขาทันตกรรมประดิษฐ์เป็นอย่างดี
3.มีความรู้ มีประสบการณ์ และมีการพัฒนางานวิจัยทันตกรรมประดิษฐ์อย่างต่อเนื่อง
4.มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม มีคุณธรรม จรรยาบรรณ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่อให้ทันตแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ มีความรู้ความชำนาญ ดังนี้
1.วินิจฉัยสมุฏฐานการเกิดความวิการหรือความสูญเสียของฟันธรรมชาติและอวัยวะของช่องปากที่เกี่ยวข้องได้
2.วางแผนการรักษาและทำนายผลการรักษาได้
3.ให้การรักษาสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ได้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย ได้แก่ งานทันตกรรมประดิษฐ์ชนิดถอดได้ งานทันตกรรมประดิษฐ์ชนิดติดแน่น ทันตกรรมรากฟันเทียมวิทยาประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร วิทยาระบบบดเคี้ยว การฟื้นฟูสภาพช่องปาก งานทันตกรรมประดิษฐ์ดิจิทัล เป็นต้น
4.ให้การรักษาร่วมกับทันตแพทย์ หรือบุคลากรการแพทย์สาขาอื่น ๆ ได้
5.สามารถทบทวนวรรณกรรม นำเสนอรายงานผู้ป่วย ทั้งสาขาทันตกรรมประดิษฐ์และสาขาวิชาอื่น ๆ ได้
6.ตีผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศ ก.พ.อ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ หรือมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพอย่างน้อย 1 เรื่อง โดยผลงานวิจัย หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยนั้น ต้องได้รับการประเมินผ่านจากคณะอนุกรรมการพิจารณางานวิจัยของทันตแพทย์ประจำบ้าน ในคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ และได้รับความเห็นชอบจากราชวิทยาลัย
มีคุณสมบัติตามข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาต่าง ๆ พ.ศ. ๒๕๕๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ ๔๐ โดยผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ
ทันตกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗
ทันตแพทยสภาอาจอนุมัติให้ผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของต่างประเทศที่ทันตแพทยสภา รับรอง เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรในสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ได้เมื่อ
1.มีสถาบันฝึกอบรมรับเข้าฝึกอบรม และ
2.ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ โดยความเห็นชอบจากราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย
3.จำนวนรับผู้มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของต่างประเทศ เป็นไปตามสัดส่วนที่ทันตแพทยสภากำหนด
ผู้อำนวยการหลักสูตร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทพญ.ฉันทนา ตุลาพรชัย
E-mail: chantana.tul@mahidol.ac.th
โทร. 02-200-7817
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
งานบริหารการศึกษาหลังปริญญา
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 02 200 7634, 7641
E-mail : dtmupostgrad@mahidol.ac.th
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้
ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมประดิษฐ์
ภาษาอังกฤษ : Residency Training Program in Prosthodontics
คุณวุฒิ
ชื่อเต็ม ภาษาไทย : ประกาศนียบัตรหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาทันตกรรมประดิษฐ์
ภาษาอังกฤษ : The Certificate of Residency Training Program in Prosthodontics
เงื่อนไข 1. เมื่อฝึกอบรมครบมีผลผ่านตามเกณฑ์ของแต่ละหลักสูตร ทันตแทพย์ประจำบ้าน จะได้รับประกาศนียบัตรการจบการฝึกอบรม จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. การได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ จากทันตแพทยสภา ทันตแพทย์ประจำบ้านจะต้องสอบข้อเขียน สอบปากเปล่า และรายงานผู้ป่วย ตามเกณฑ์ของแต่ละสาขา
ปรัชญาของหลักสูตร
พัฒนาทันตแพทย์ให้มีความรู้ความชำนาญทางทันตกรรมประดิษฐ์ และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่เหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพ
คำนิยาม
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อจัดการฝึกอบรมทันตแพทย์ให้เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ที่ได้มาตรฐานระดับสากล มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรม มีมนุษยสัมพันธ์อันดี ต่อผู้ป่วยและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ทันตแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.ความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน สามารถประยุกต์ใช้เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ได้เป็นอย่างดี
2.มีความรู้ความสามารถในสาขาทันตกรรมประดิษฐ์เป็นอย่างดี
3.มีความรู้ มีประสบการณ์ และมีการพัฒนางานวิจัยทันตกรรมประดิษฐ์อย่างต่อเนื่อง
4.มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม มีคุณธรรม จรรยาบรรณ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่อให้ทันตแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ มีความรู้ความชำนาญ ดังนี้
1.วินิจฉัยสมุฏฐานการเกิดความวิการหรือความสูญเสียของฟันธรรมชาติและอวัยวะของช่องปากที่เกี่ยวข้องได้
2.วางแผนการรักษาและทำนายผลการรักษาได้
3.ให้การรักษาสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ได้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย ได้แก่ งานทันตกรรมประดิษฐ์ชนิดถอดได้ งานทันตกรรมประดิษฐ์ชนิดติดแน่น ทันตกรรมรากฟันเทียมวิทยาประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร วิทยาระบบบดเคี้ยว การฟื้นฟูสภาพช่องปาก งานทันตกรรมประดิษฐ์ดิจิทัล เป็นต้น
4.ให้การรักษาร่วมกับทันตแพทย์ หรือบุคลากรการแพทย์สาขาอื่น ๆ ได้
5.สามารถทบทวนวรรณกรรม นำเสนอรายงานผู้ป่วย ทั้งสาขาทันตกรรมประดิษฐ์และสาขาวิชาอื่น ๆ ได้
6.ตีผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศ ก.พ.อ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ หรือมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพอย่างน้อย 1 เรื่อง โดยผลงานวิจัย หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยนั้น ต้องได้รับการประเมินผ่านจากคณะอนุกรรมการพิจารณางานวิจัยของทันตแพทย์ประจำบ้าน ในคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ และได้รับความเห็นชอบจากราชวิทยาลัย
มีคุณสมบัติตามข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาต่าง ๆ พ.ศ. ๒๕๕๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ ๔๐ โดยผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ
ทันตกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗
ทันตแพทยสภาอาจอนุมัติให้ผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของต่างประเทศที่ทันตแพทยสภา รับรอง เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรในสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ได้เมื่อ
1.มีสถาบันฝึกอบรมรับเข้าฝึกอบรม และ
2.ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ โดยความเห็นชอบจากราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย
3.จำนวนรับผู้มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของต่างประเทศ เป็นไปตามสัดส่วนที่ทันตแพทยสภากำหนด
ผู้อำนวยการหลักสูตร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทพญ.ฉันทนา ตุลาพรชัย
E-mail: chantana.tul@mahidol.ac.th
โทร. 02-200-7817
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
งานบริหารการศึกษาหลังปริญญา
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 02 200 7634, 7641
E-mail : dtmupostgrad@mahidol.ac.th
ภาควิชาการ ได้แก่ การบรรยาย การประชุมวิชาการ การสัมมนา วารสารสโมสร แบ่งเป็นการศึกษาความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน เป็นระยะเวลาประมาณร้อยละ 30 และการศึกษาความรู้ทางทันตกรรมประดิษฐ์หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ประมาณร้อยละ 70 รวมรายวิชาเลือก
(1). วิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน
ทพทป 701 ชีวสถิติ (Biostatistics)
ทพทป 705 ระเบียบวิธีวิจัย และจรรยาบรรณ (Research Methodology and Ethics)
ทพทป 703 ชีววิทยาช่องปากประยุกต์ (Applied Oral Science)
ทพทป 704 พฤติกรรมศาสตร์ พฤฒาวิทยาและทันตกรรมผู้สูงอายุ (Behavioral Sciences and geriatric dentistry)
ทพรบ 733 หลักการสบฟันประยุกต์ (Applied Occlusion)
ทพรบ 734 ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของระบบบดเคี้ยว (Functional disorders of the occlusion system )
(2). วิชาสาขาทันตกรรมประดิษฐ์และวิชาที่เกี่ยวข้อง
ทพทป 721 ชีววัสดุศาสตร์ประยุกต์ (Applied Dental Biomaterials)
ทพทป 722 ฟันเทียมถอดได้ (Removable prosthodontics)
ทพทป 723 ฟันเทียมติดแน่น (Fixed Prosthodontics)
ทพทป 725 ทันตกรรมประดิษฐ์ทันตกรรมรากเทียม (Implant Prosthodontics)
ทพทป 726 เทคนิคทันตกรรมรากเทียม (Technique for Dental Implant)
ทพทป 738 การทบทวนวรรณกรรมทันตกรรมประดิษฐ์ (Prosthodontic Literature Review)
ทพทป 739 การทบทวนวรรณกรรมสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรมประดิษฐ์(Other Specialty Literature Review Related to Prosthodontics)
ทพทป 730 สัมมนาการฟื้นฟูสภาพช่องปาก (Oral Rehabilitation Seminar)
ทพทป 731 สัมมนาการรายงานผู้ป่วย 1 (Case Presentation Seminar I)
ทพทป 732 สัมมนาการรายงานผู้ป่วย 2 (Case Presentation Seminar II)
ทพทป 733 สัมมนาการรายงานผู้ป่วย 3 (Case Presentation Seminar III)
ทพทป 741 ประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร (Maxillofacial Prosthodontics)
ทพทป 742 ทันตกรรมประดิษฐ์ดิจิทัล (Digital Prosthodontics)
ทพทป 771 ทักษะทางทันตกรรมประดิษฐ์ (Additional skills in prosthodontics)
ทพทป 772 การถ่ายภาพประยุกต์และการนำเสนอผลงาน (Applied photography and presentations)
ทพทป 776 เทคนิคและปฏิบัติการทันตกรรมประดิษฐ์ (Prosthodontic practice and laboratory technique
(3). วิชาเลือก
ทพทป 775 แลกเปลี่ยนประสบการณ์วิชาชีพ (Student Exchange of Professional Experience)
ภาคปฏิบัติ ได้แก่ การฝึกอบรมทางคลินิกสาขาทันตกรรมประดิษฐ์
(1) มีระยะเวลาฝึกปฏิบัติงานคลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 6 ภาคการศึกษา
ทพทป 761 คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 1 (Prosthodontic Clinic I)
ทพทป 762 คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 2 (Prosthodontic Clinic II)
ทพทป 763 คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 3 (Prosthodontic Clinic III)
ทพทป 764 คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 4 (Prosthodontic Clinic IV)
ทพทป 765 คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 5 (Prosthodontic Clinic V)
ทพทป 766 คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 6 (Prosthodontic Clinic VI)
(2) ปริมาณงานขั้นต่ำ (Minimum requirements)
ทพทป 791 วิจัย (Prosthodontic Research)
ชั้นปี | รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | |||||
1 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | ||||
ทพทป 722 | ฟันเทียมถอดได้ | 16 ชม. | ทพทป 701 | ชีวสถิติ | 30 ชม. | |
ทพทป 723 | ฟันเทียมติดแน่น (บรรยาย) | 20 ชม. | ทพทป 705 | ระเบียบวิธีวิจัยและจรรยาบรรณ | 36 ชม. | |
ทพทป 723 | ฟันเทียมติดแน่น (ปฏิบัติ) | 6 ชม. | ทพทป 703 | ชีววิทยาช่องปากประยุกต์ | 20 ชม. | |
ทพทป 776 | เทคนิคปฏิบัติการทันตกรรมประดิษฐ์ | 45 ชม. | ทพทป 721 | ชีววัสดุศาสตร์ประยุกต์ | 15 ชม. | |
ทพทป 742 | ทันตกรรมประดิษฐ์ดิจิทัล | 18 ชม. | ทพทป 731 | สัมมนาการรายงานผู้ป่วย 1 | 30 ชม. | |
ทพทป 725 | ทันตกรรมประดิษฐ์ทันตกรรมรากเทียม | 17 ชม. | ทพรบ 733 | การสบฟันประยุกต์ | 15 ชม. | |
ทพทป 726 | เทคนิกทันตกรรมรากเทียม | 28 ชม. | ทพทป 762 | คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 2 | ||
ทพทป 738 | การทบทวนวรรณกรรมทันตกรรมประดิษฐ์ | 45 ชม. | ทพทป 791 | วิจัย | ||
ทพทป 730 | สัมมนาการฟื้นฟูช่องปาก | 42 ชม. | ||||
ทพทป 772 | การถ่ายภาพประยุกต์และการนำเสนอผลงาน | 18 ชม. | ||||
ทพทป 761 | คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ | |||||
รวม 255 ชั่วโมง | รวม 146 ชั่วโมง |
ชั้นปี |
รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) |
|||||
2 |
ภาคเรียนที่ 1 |
ภาคเรียนที่ 2 |
||||
ทพทป 739 |
การทบทวนวรรณกรรมสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรมประดิษฐ์ |
16 ชม. |
ทพทป 741 |
ประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร |
17 ชม. |
|
ทพรบ 734 |
ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของระบบบดเคี้ยว |
14 ชม. |
ทพทป 732 |
สัมมนาการรายงานผู้ป่วย 2 |
30 ชม. |
|
ทพทป 743 |
คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 3 |
ทพทป 791 |
วิจัย | |||
ทพทป 791 |
วิจัย |
ทพทป 764 |
คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 4 | |||
รวม 30 ชั่วโมง |
รวม 47 ชั่วโมง |
ชั้นปี | รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | |||||
3 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | ||||
ทพทป 704 | พฤติกรรมศาสตร์ พฤฒาวิทยาและทันตกรรมผู้สูงอายุ | 20 ชม. | ทพทป 733 | สัมมนาการรายงานผู้ป่วย 3 | 30 ชม. | |
ทพทป 765 | คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 5 | ทพทป 771 | ทักษะทางทันตกรรมประดิษฐ์ | 30 ชม. | ||
ทพทป 791 | วิจัย | ทพทป 791 | วิจัย | |||
ทพทป 766 | คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 6 | |||||
รวม 20 ชั่วโมง | รวม 60 ชั่วโมง 2 ภาคการศึกษา |
ทพทป 701 ชีวสถิต
ศึกษาความรู้ชีวสถิติที่สัมพันธ์กับการวิจัย ได้แก่ การทดสอบมาตรฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยความแปรปรวนจากตัวแทน ด้วยวิธีที่เหมาะสม การวิเคราะห์ความแปรปรวน การจำแนกแบบทางเดียวและสองทาง การวิเคราะห์ความถดถอย และสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบไม่มีพารามิเตอร์ โดยใช้ตัวอย่างข้อมูลทางการแพทย์ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้จากวิธีสถิติมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยทางการแพทย์และที่เกี่ยวข้องได้
ทพทป 705 ระเบียบวิธีวิจัย และจรรยาบรรณ
ศึกษาขั้นตอนและชนิดของงานวิจัย การนำขบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการออกแบบงานวิจัย การตั้งสมมุติฐานงานวิจัย การรวบรวมข้อมูล ความหมายประชากร วิธีการเลือกตัวอย่าง การเขียนรายงาน เกณฑ์การประเมินผล เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลศึกษา วิเคราะห์อภิปรายผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และทักษะในการทำวิจัยสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ เรียนรู้จรรยาบรรณในวิชาชีพ ให้เป็นไปตามข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2538
ทพทป 703 ชีววิทยาช่องปากประยุกต์
ศึกษาโครงสร้าง การเจริญพัฒนา และหน้าที่ของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในช่องปากความสัมพันธ์กับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เกี่ยวข้อง รวมถึงน้ำลาย โปรตีนที่เกี่ยวข้อง และจุลชีพในช่องปากโดยศึกษาทั้งในสภาวะปกติและสภาวะไม่ปกติหรือที่เปลี่ยนไป นวัตกรรมของวิทยาการที่สามารถประยุกต์สู่งานทันตกรรมประดิษฐ์
ทพทป 704 พฤติกรรมศาสตร์ พฤฒาวิทยาและทันตกรรมผู้สูงอายุ
ศึกษาหลักการและพัฒนาการการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม รวมถึงประสิทธิภาพและผลกระทบในการติดต่อสื่อสาร การส่งเสริมมนุษย์สัมพันธ์อันดีต่อชุมชน ผู้ป่วย บุคคลากรทางสาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ ศึกษาพื้นฐานชีววิทยาของผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีผลต่อสภาพร่างกาย จิตใจ พฤติกรรม ภาวะ การเจ็บป่วย โภชนาการที่จำเป็นของผู้สูงอายุ ที่มีผลต่อการรักษาทางทันตกรรม และ แนวคิดการให้การรักษาทางทันตกรรม กับผู้สูงอายุ การวางแผน การรักษาการเลือกใช้ทันตวัสดุ วิธีการรักษา การติดตาม ประเมินผล
ทพรบ 733 หลักการสบฟันประยุกต์
นิยามและคำจำกัดความที่ใช้สำหรับการสบฟันตำแหน่งต่าง ๆ การเคลื่อนขากรรไกรความสัมพันธ์ระหว่างขากรรไกร การตอบสนองของอวัยวะปริทันต์ต่อแรงบดเคี้ยวการสบฟันธรรมชาติ การสบฟันก่อบาดเจ็บ แนวคิดการสร้าง การสบฟันสำหรับงานทันตกรรมประดิษฐ์ความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนขากรรไกรและอิทธิพลต่อรูปร่างฟัน แนวคิดการสร้างหรือแก้ไขการสบฟันธรรมชาติ การสบฟันกับการทำหน้าที่ผิดปกติของระบบบดเคี้ยว การตรวจสบฟันการบันทึกความสัมพันธ์ระหว่างขากรรไกร การใช้และข้อจำกัดในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การสบฟัน
ทพรบ 734 ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของระบบบดเคี้ยว
ทบทวนกายวิภาคศาสตร์ด้านการทำหน้าที่ของระบบบดเคี้ยว สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของความพิการร่วมขมับ และขากรรไกร หลักการตรวจพิเคราะห์วินิจฉัย และแนวคิดการบำบัดรักษาความพิการร่วมขมับและขากรรไกร การรักษาการสบฟันและการใช้เฝือกสบฟัน
ทพทป 721 ชีววัสดุศาสตร์ประยุกต์
ศึกษาชีววัสดุที่ใช้ในงานทันตกรรมประดิษฐ์ คุณสมบัติทางกายภาพ เคมีเชิงกล และชีวภาพ ข้อบ่งใช้ ข้อห้าม ข้อดี ข้อเสีย และมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหาทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับทันตวัสดุ ความสัมพันธ์กับเทคนิคการใช้งาน เพื่อการเลือกใช้วัสดุได้ถูกต้องเหมาะสม และมีประสิทธิภาพในผู้ป่วยแต่ละราย โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
ทพทป 722 ฟันเทียมถอดได้
ศึกษาทฤษฎี ปรัชญา เทคนิค และแนวคิดในการรักษา ผู้ป่วยด้วยฟันเทียมทั้งปาก โดยเน้นการให้การรักษาผู้ป่วย ที่มีขั้นตอนการรักษาซับซ้อน สันเหงือกแบนราบ ฟันเทียมทั้งปากชนิดใส่ทันที ฟันเทียมเดี่ยว ฟันเทียมทั้งปากชนิดคร่อมฟันหลัก ศึกษาการวางแผนการรักษางานฟันเทียมบางส่วนถอดได้ ทบทวนการออกแบบฟันเทียม การบูรณะช่องปาก โดยใช้ฟันเทียมบางส่วนถอดได้แบบธรรมดา แบบที่ผิดไปจากแบบธรรมดา และแบบที่ใช้ตัวยึดหรือสลักยึดในรายปกติอย่างยาก รายที่เป็นโรคปริทันต์ และรายที่มีการสึกเหตุบดเคี้ยว โดยมุ่งเน้นการป้องกันและรักษาสภาพอวัยวะในช่องปาก ศึกษาผลเสียที่เกิดจาก การใส่ฟันเทียม และสามารถให้การบำบัดหรือฟื้นฟูสภาพช่องปากได้
ทพทป 723 ฟันเทียมติดแน่น
ศึกษาทฤษฎี ปรัชญา เทคนิค และแนวคิดในการรักษาผู้ป่วยด้วยฟันเทียมบางส่วนติดแน่น การทำเดือยฟันและครอบฟันภายหลังการรักษาคลองรากฟัน การทำฟันเทียมติดแน่นในผู้ป่วยที่มีปัญหาปริทันต์ การสบฟันผิดปกติ ฟันสึกมาก หรือ สูญเสียฟันไปมากซี่ การใช้ตัวยึดหรือสลักยึด การทำครอบฟันชั้นนอก การทำครอบฟันรับตะขอฟันเทียมบางส่วนถอดได้ การบูรณะด้วยฟันเทียมติดแน่นที่ตระหนักเน้นความสวยงาม (Esthetic restorations)
ทพทป 725 ทันตกรรมประดิษฐ์ทันตกรรมรากเทียม
ศึกษาทฤษฎี ปรัชญา เทคนิค วัสดุ ลักษณะพื้นผิวของโลหะ ข้อบ่งชี้ ข้อห้าม ข้อดี ข้อเสียในการใช้รากเทียม กลไกการยึดเกาะกระดูกและเนื้อเยื่อต่อสิ่งปลูกฝังชนิดต่าง ๆ และการเร่งการยึดเกาะกับกระดูกด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ ชีววิทยาเชิงกลของการรักษา การเสริมกระดูกด้วยวัสดุและเทคนิคต่าง ๆ ผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในช่องปาก ผลต่อสภาพจิตใจ ชนิดของรากเทียม เปรียบเทียบรากเทียมระบบต่าง ๆ วิธีการเลือกผู้ป่วย การวางแผนการรักษา ความสำคัญของภาพถ่ายรังสี การประเมินผลด้วยภาพถ่ายรังสี การออกแบบฟันเทียมชนิดต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับรากเทียม การนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและการขึ้นรูป ขั้นตอนทางศัลยกรรม การใส่ฟัน เทคนิคในห้องปฏิบัติการ การวิเคราะห์ความล้มเหลว และวิธีการแก้ไขป้องกัน ความร่วมมือกับทันตแพทย์สาขาอื่น ๆ ในการให้การรักษาด้วยรากฟันเทียม
ทพทป 726 เทคนิคทันตกรรมรากเทียม
การประเมินผลด้วยภาพถ่ายรังสีดิจิทัลและภาพรังสีชนิดฟิล์ม การวางแผนการรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ การออกแบบฟันเทียมให้เหมาะสมกับรากเทียม ขั้นตอนทางศัลยกรรมและการฝังรากเทียมในรายไม่ซับซ้อน การใส่ฟัน เทคนิคในห้องปฏิบัติการความร่วมมือกับทันตแพทย์สาขาอื่นในการให้การรักษาด้วยรากเทียม การวิเคราะห์ความสำเร็จ ความล้มเหลว การป้องกันและแก้ไขอาการแทรกซ้อน ข้อควรระมัดระวัง
ทพทป 738 การทบทวนวรรณกรรมทันตกรรมประดิษฐ์
สัมมนาเอกสารวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตวัสดุ ทันตกรรมรากเทียม วิเคราะห์ถึงแนวคิดและทฤษฎีของวรรณกรรมนั้น เพื่อนำมาบูรณาการและประยุกต์ใช้ในการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์
ทพทป 739 การทบทวนวรรณกรรมทันตกรรมประดิษฐ์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
สัมมนาวรรณกรรม บทวิชาการจากตำราทันตกรรมประดิษฐ์ ประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เพิ่มข้อมูลความรู้ทันสมัยเป็นปัจจุบัน นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานทันตกรรมประดิษฐ์ทั้งด้านคลินิกและวิจัย
ทพทป 730 สัมมนาการฟื้นฟูช่องปาก
ศึกษาทฤษฎี ปรัชญา และแนวคิดของสาเหตุการเกิดความผิดปกติทางกายภาพ และความผิดปกติ ในการทำหน้าที่ของอวัยวะในช่องปากและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ศึกษาทฤษฎีเทคนิค และแนวคิดในการแก้ไข เพื่อบำบัด หยุดยั้งหรือชะลอความผิดปกติ หรือเพื่อบำบัดฟื้นฟูสภาพของอวัยวะ ให้กลับทำหน้าที่ได้อย่างปกติ โดยคำนึงถึงความสวยงามและสภาพจิตใจของผู้ป่วย
ศึกษาข้อบ่งชี้ ข้อห้าม ในการเปลี่ยนแปลงมิติในแนวดิ่ง และแนวนอน การวิเคราะห์ความล้มเหลว วิธีป้องกัน และแก้ไข การประสานความรู้พื้นฐานและความรู้ขั้นสูง ในการรักษาทางทันตกรรมสาขาต่าง ๆ เพื่อวางแผนการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับความผิดปกติในผู้ป่วยแต่ละรายโดยการใช้ฟันเทียมชนิดเดียวหรือหลายชนิด หรือผสมกับการใช้เครื่องมืออุปกรณ์อื่น
ทพทป 731 สัมมนาการรายงานผู้ป่วย 1
ทพทป 732 สัมมนาการรายงานผู้ป่วย 2
ทพทป 733 สัมมนาการรายงานผู้ป่วย 3
นำเสนอรายงานผู้ป่วยในรูปแบบต่าง ๆ วิธีการรักษาที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว ตั้งแต่เริ่มพบผู้ป่วย การวางแผนการรักษา กระบวนการให้การรักษา จนกระทั่งเสร็จสิ้นการรักษา และได้ติดตามผลเป็นเวลาพอสมควร โดยเน้นให้เห็นแนวคิด การตัดสินใจ และรูปแบบการรักษาใหม่ให้เด่นชัด รวบรวมความรู้ เหตุผล รวมถึงการค้นหาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรักษานั้น ๆ มานำเสนอ ถกประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนแนวคิด วิธีการรักษานั้น
ทพทป 741 ประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร
ทฤษฎี ปรัชญา เทคนิค และแนวคิดในการให้การรักษา การบูรณะฟื้นฟูความพิการของอวัยวะบริเวณช่องปากและใบหน้า การเตรียมสภาพช่องปากของผู้ป่วย การป้องกัน และการทำเครื่องมือชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้ร่วมกับงานศัลยกรรม รังสีบำบัด และเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งบริเวณใบหน้าขากรรไกร วัสดุและเทคนิคต่าง ๆ ในการรักษาสาขาประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร การทำอวัยวะเทียมประเภทต่าง ๆ สำหรับการบูรณะฟื้นฟูความพิการของอวัยวะบริเวณใบหน้าขากรรไกร ทั้งประเภทที่เป็นตั้งแต่กำเนิด (congenital defects) และที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired defects) การทำความสะอาดและวิธีดูแลรักษาอวัยวะเทียม
ทพทป 742 ทันตกรรมประดิษฐ์ดิจิทัล
แนวคิด และเทคนิคการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการตรวจ วางแผนการรักษาและให้การรักษา รวมถึงการประเมินผลการรักษาทางทันตกรรม และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์
ทพทป 771 ทักษะทางทันตกรรมประดิษฐ์
ทักษะที่ครอบคลุมทางทันตกรรมประดิษฐ์ งานสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี เกี่ยวข้องกับงานในคลินิกและพรีคลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ การทำสื่อการสอน การ recall ผู้ป่วย การตรวจคัดกรองผู้ป่วย และการรักษาฉุกเฉิน
ทพทป 772 การถ่ายภาพประยุกต์และการนำเสนอผลงาน
ศึกษาหลักทั่วไปของการถ่ายภาพ การเลือกกล้อง และอุปกรณ์เกี่ยวข้องเพื่อการใช้งานหลักการ วิธีการ และขั้นตอนการถ่ายภาพผู้ป่วยทางคลินิก ฝึกปฏิบัติถ่ายภาพผู้ป่วยในสตูดิโอในช่องปาก การถ่ายภาพโมเดล ชิ้นงานต่าง ๆ การถ่ายภาพจากเอกสาร เพื่อการรายงานผู้ป่วยอย่างถูกต้องตามจริง การถ่ายภาพในงานวิจัยบางประเภท แนะนำ application เพื่อประโยชน์ในการนำเสนอรูปแบบต่าง ๆ
ทพทป 776 เทคนิคปฏิบัติการทันตกรรมประดิษฐ์
การกรอแต่งฟันหลักสำหรับฟันเทียมติดแน่นบนขากรรไกรจำลองในหัวหุ่นเสมือนจริงการทำครอบฟันโลหะ เคลือบพอร์ซเลนในห้องปฏิบัติการ รวมถึงเทคนิคการ stain การออกแบบและขึ้นรูปงานครอบและสะพานฟันสำหรับฟันธรรมชาติและทันตกรรมรากเทียม งานฟันเทียมบางส่วนถอดได้ด้วยคอมพิวเตอร์ สาธิตการขึ้นรูปงานบูรณะทันตกรรมประดิษฐ์ด้วยวัสดุร่วมสมัยการทำงานทันตกรรมประดิษฐ์และทันตกรรมรากเทียมด้วยระบบ digital workflow
ทพทป 761 คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 1
ทพทป 762 คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 2
ทพทป 763 คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 3
ทพทป 764 คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 4
ทพทป 765 คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 5
ทพทป 766 คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 6
ฝึกหัดปฏิบัติงานทันตกรรมประดิษฐ์ในผู้ป่วย โดยปฏิบัติงานฟันเทียมทั้งปาก ฟันเทียมบางส่วนถอดได้ และฟันเทียมติดแน่น ประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร รากเทียมทางทันตกรรมผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับวิทยาระบบบดเคี้ยว และผู้ป่วยที่ต้องการฟื้นฟูสภาพช่องปาก ให้ผู้ป่วยมีสุขภาพช่องปากที่ดี รวมทั้งการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินทางทันตกรรมประดิษฐ์ โดยประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีมาใช้ปฏิบัติในผู้ป่วย และเน้นให้มีการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม
ทพทป 775 แลกเปลี่ยนประสบการณ์วิชาชีพ
พัฒนาทักษะและความรู้ทางวิชาการและวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมภายใต้โปรแกรมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระดับหลังปริญญา
ทพทป 775 แลกเปลี่ยนประสบการณ์วิชาชีพ
พัฒนาทักษะและความรู้ทางวิชาการและวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ทางวัฒนธรรมภายใต้โปรแกรมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระดับหลังปริญญา
อัตราค่าลงทะเบียนหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาทันตกรรมประดิษฐ์
ค่าธรรมเนียม/ ภาคการศึกษา (บาท) | ค่า INTERNET/ ปีการศึกษา (บาท) | ค่าสนับสนุนการทำวิจัยร่วมถึงการประชุมวิชาการ(บาท) | ค่าลงทะเบียน/ ภาคการศึกษา (บาท) | ค่าลงทะเบียน/ ปีการศึกษา (บาท) | ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร (ระยะเวลา 3 ปี) | |
แรกเข้า | ต่ออายุ | |||||
3,700 | 650 | 600 | 50,000* | 120,000 | 240,000 | 720,000 |
หมายเหตุ :
เลขที่ 888 ม.6 ถ.บรมราชชนนี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
เบอร์ตรง 0-2849-6600