หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก
ภาษาอังกฤษ : Residency Training Program in Pediatric Dentistry
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก
ชื่อย่อ : ว.ท. (ทันตกรรมสำหรับเด็ก)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Diploma of the Thai Board of Pediatric Dentistry
ชื่อย่อ : Dip.,Thai Board of Pediatric Dentistry
ปรัชญาของหลักสูตร
พัฒนาทันตแพทย์ให้มีจริยธรรม ความรู้ ความชำนาญทางวิชาการ การดูแล รักษา ส่งเสริม ป้องกัน แบบองค์รวม ควบคู่กับการค้นคว้าวิจัย และเป็นส่วนหนึ่งของสหวิชาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และชี้นำสังคมด้านสุขภาพเด็ก ให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล เพื่อประชาชนอย่างยั่งยืน
คำนิยาม
“ทันตกรรมสำหรับเด็ก” หมายถึง สาขาทันตกรรมเฉพาะทางที่ให้การดูแลสุขภาพช่องปาก ทั้งงาน ทันตกรรมป้องกันและการรักษาตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ตลอดจนถึงงานทันตกรรมพร้อมมูล ให้แก่เด็กปกติและเด็กที่ต้องการการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ (Special health care need children) ตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น (18 ปีบริบูรณ์)
วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความรู้ด้านพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ กระบวนการวิจัย และมีความรู้ด้าน ทันตกรรมสำหรับเด็ก ในการตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัย วางแผนการรักษา พยากรณ์โรค การป้องกันและรักษาโรคฟันผุ โรคเหงือกและรอยโรคของเนื้อเยื่อในช่องปาก การฟื้นฟูสภาพช่องปาก การจัดการภยันตรายต่อฟัน ทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องปราม การปรับพฤติกรรมเด็กโดยวิธีทางจิตวิทยาและการใช้ยา โดยใช้ความรู้แบบองค์รวม ตามหลักฐานเชิงประจักษ์
2. มีความชำนาญในการตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัย วางแผน พยากรณ์ รักษา และป้องกันโรคในช่องปากรวมถึงเทคนิคการปรับพฤติกรรมทั้งแบบพื้นฐานและขั้นสูง ในกลุ่มประชากรตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น (0-18 ปีบริบูรณ์) รวมทั้งเด็กที่ต้องการการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. สามารถวิพากษ์ วิเคราะห์ ข้อมูลวิชาการ และดำเนินการวิจัยทางทันตกรรมสาหรับเด็ก หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการในสาขา นำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย
4. สามารถสื่อสาร ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดความรู้ต่อผู้ป่วย ผู้ปกครอง บุคลากรด้านสุขภาพ ให้การรักษาร่วมหรือส่งต่อผู้ป่วยอย่างถูกต้องเหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ
5. สามารถนำเสนองานทางวิชาการในที่ประชุมทั้งในระดับชาติ หรือนานาชาติ และใช้เทคโนโลยีเพื่อสืบค้นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้พัฒนาศักยภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง
6. มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและรับผิดชอบต่อสังคม ดูแล ผู้ป่วย บนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม โดยยึดคติ อตฺตาน อุปม กเร
คุณสมบัติของผู้รับการฝึกอบรม
- 1. ได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยของรัฐหรือมหาวิทยาลัยอื่นที่ ทันตแพทยสภารับรอง และ
- 2. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 และ
- 3. ปฏิบัติงานทางทันตกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ทั้งนี้ทันตแพทยสภาอาจอนุมัติให้ผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางทันตกรรมของต่างประเทศที่ทันตแพทยสภารับรองเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรในสาขาทันตกรรมสำหรับเด็กได้เมื่อ
(1) มีสถาบันฝึกอบรมรับเข้าฝึกอบรม และ
(2) ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขานั้น โดยความเห็นชอบจากราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย
(3) การรับผู้มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ทันตกรรมของต่างประเทศ ให้เป็นไปตามสัดส่วนที่ทันตแพทยสภากำหนด
ผู้อำนวยการหลักสูตร : รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงยุวดี อัศวนันท์
E-mail: yuwadee.asv@mahidol.ac.th
โทร. 02-200-7821
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
งานบริหารการศึกษาหลังปริญญา
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 02 200 7634, 7641
E-mail : dtmupostgrad@mahidol.ac.th
โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
ภาควิชาการ ได้แก่ การบรรยาย การประชุมวิชาการ การสัมมนา วารสารสโมสร แบ่งเป็นหมวดรายวิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานเป็นระยะเวลาประมาณร้อยละ 30 และรายวิชาความรู้เฉพาะสาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ประมาณร้อยละ 70
การฝึกอบรมทางคลินิกหรือภาคสนาม โดยมีระยะเวลาฝึกปฏิบัติไม่น้อยกว่า 2 ปี
การวิจัย ต้องมีความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีการวิจัยและสถิติที่เกี่ยวข้องและมีผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
ชั้นปี |
รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) |
|||||
1 |
ภาคเรียนที่ 1 |
ภาคเรียนที่ 2 |
||||
ทพทด 702 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็ก I | (7) | ทพทด 704 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็ก II | (8) | |
ทพทด 714 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กที่มีความต้องการการดูแลเป็นพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบ I | (1) | ทพทด 716 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กที่มีความต้องการการดูแลเป็นพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบ II | (1) | |
ทพทด 726 | คลินิกทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกันI | (1) | ทพทด 728 | คลินิกทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกันII | (1) | |
ทพผส 514 | ระเบียบวิธีวิจัย | (2) | ทพทด 746 | การฝึกอบรมปฏิบัติงานด้านวิสัญญี | (1) | |
ทพผส 515 | ชีววิทยาช่องปาก I | (2) | ทพทด 717 | สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็กที่มีโรคทางระบบและเด็กที่มีความต้องการการดูแลเป็นพิเศษ I | (1) | |
ทพปว 501 | หลักการของชีววิทยาระดับโมเลกุล | (1) | ทพทด 713 | สัมมนาการเจริญเติบโตของใบหน้า กระโหลกศีรษะ และทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องปราม | (2) | |
ทพทด 701 | สัมมนาการป้องกันและการรักษาโรคฟันผุ | (2) | ||||
ทพทด 715 | สัมมนาการปรับพฤติกรรมใน ทันตกรรมสำหรับเด็ก | (1) | ||||
ทพทส 761 | ชีวสถิติ 1 | (2) | ||||
ทพทส 762 | ชีวสถิติ 2 | (1) | ||||
วิชาเลือก | (1) | |||||
รวม 21 หน่วยกิต | รวม 14 หน่วยกิต |
ชั้นปี | รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | |||||
2 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | ||||
ทพทด 706 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็ก III | (7) | ทพทด 708 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็ก IV | (9) | |
ทพทด 756 | คลินิกทันตกรรมป้องกันแม่และเด็กและชุมชน | (1) | ทพทด 720 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กที่มีความต้องการการดูแลเป็นพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบ IV | (1) | |
ทพทด 718 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กที่มีความต้องการการดูแลเป็นพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบ III | (1) | ทพทด 732 | คลินิกทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกัน IV | (1) | |
ทพทด 730 | คลินิกทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกัน III | (1) | ทพทด 740 | คลินิกทันตกรรมโดยการใช้ยาลดความกังวลและการดมยาสลบ II | (1) | |
ทพทด 738 | คลินิกทันตกรรมโดยการใช้ยาลดความกังวลและการดมยาสลบ I | (1) | ทพทด 750 | การสอนทางทันตกรรมสำหรับเด็ก I | (1) | |
ทพทด 721 | การค้นคว้าอิสระ | (3) | ทพทด 723 | ฝึกปฏิบัติงานวิจัยทางทันตกรรมสำหรับเด็ก | (2) | |
ทพทด 705 | สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็ก I | (1) | ทพทด 707 | สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็ก II | (1) | |
ทพผส 702 | จิตวิทยาและจรรยาบรรณ | (1) | ทพทด 703 | ทันตสาธารณสุขสำหรับเด็ก | (1) | |
วิชาเลือก | (3) | |||||
รวม 19 หน่วยกิต | รวม 17 หน่วยกิต |
ชั้นปี | รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | |||||
3 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | ||||
ทพทด 710 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็ก V | (6) | ทพทด 712 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กVI | (6) | |
ทพทด 722 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กที่มีความต้องการการดูแลเป็นพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบ V | (2) | ทพทด 724 | ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กที่มีความต้องการการดูแลเป็นพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบ VI | (2) | |
ทพทด 734 | คลินิกทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกัน V | (1) | ทพทด 736 | คลินิกทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกันVI | (1) | |
ทพทด 742 | คลินิกทันตกรรมโดยการใช้ยาลดความ กังวลและดมยาสลบ III | (1) | ทพทด 744 | คลินิกทันตกรรมโดยใช้ยาลดความกังวล และดมยาสลบ IV | (2) | |
ทพทด 752 | การสอนทางทันตกรรมสำหรับเด็ก II | (1) | ทพทด 754 | การสอนทางทันตกรรมสำหรับเด็ก III | (1) | |
ทพทด 719 | สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็กที่มีโรคทางระบบและเด็กที่มีความต้องการการดูแลเป็นพิเศษ II | (1) | ทพทด 709 | สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็ก III | (1) | |
รวม 12 หน่วยกิต | รวม 13 หน่วยกิต |
ชีววิทยาช่องปาก (Oral Biology)
การพัฒนา โครงสร้าง ชีววิทยา และหน้าที่ของเนื้อเยื่อในช่องปาก และอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ในสุขภาวะและมีพยาธิสภาพ จุลินทรีย์ในช่องปาก การตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ความเจ็บปวด และภาวะภูมิไวเกิน ยาที่ใช้ในทางทันตกรรม ข้อพิจารณาทางจริยธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพ
ชีววิทยาระดับโมเลกุลทางทันตแพทยศาสตร์ (Molecular Biology in Dentistry)
โครงสร้างและการทางานระดับโมเลกุลของเซลล์ รวมถึง ยีน พันธุกรรมระดับโมเลกุล การสร้างโปรตีน การโคลนยีน ชีววิทยาโมเลกุลและโรคในช่องปาก โรคฟันผุ โรคปริทันต์ รอยโรคในช่องปากและโรคมะเร็งช่องปาก เทคนิคขั้นสูงทางชีววิทยาโมเลกุล และการประยุกต์ชีววิทยาโมเลกุลในการวิจัยทางชีววิทยาช่องปากและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ชีวสถิติ (Biostatistics)
วิธีการทางสถิติเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข การแจกแจงความน่าจะเป็น การแจกแจงสิ่งตัวอย่าง การประมาณค่าพารามิเตอร์ การทดสอบนัยสำคัญ โดยสถิติแบบพาราเมตริก และนันพาราเมตริก การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบความสัมพันธ์ แบบสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอย
ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)
แนวคิดในการวิจัย วิธีการวิจัย ขั้นตอนการวิจัยในงานวิจัยที่แตกต่างกัน การวิจัยทางคลินิก และการวิจัย ในห้องปฏิบัติการ การคิดปัญหาวิจัย การออกแบบการวิจัย การทดสอบสมมติฐาน กระบวนการเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การใช้สถิติในงานวิจัย การเขียนรายงาน การวิเคราะห์วิจารณ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ ที่ตีพิมพ์ การนำเสนองานวิจัย จรรยาบรรณการวิจัย
สัมมนาการปรับพฤติกรรมในงานทันตกรรมสำหรับเด็ก (Behavior Management Seminar)
การพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของเด็กในวัย ต่าง ๆ ผลของสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจและพฤติกรรมของเด็ก หลักการกระตุ้นและการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กทั่วไป หลักการปรับพฤติกรรมตามแนวความคิดของจิตแพทย์ นักจิตวิทยา และทันตแพทย์ วิธีการปรับพฤติกรรม โดยใช้ยาลดความกังวลและการดมยาสลบ
สัมมนาการป้องกันและการรักษาโรคฟันผุ (Prevention and Management of Dental Caries Seminar)
ขบวนการของโรคฟันผุ การจำแนกเด็กตามความเสี่ยงของการเกิดโรคฟันผุ วิธีการป้องกันโรคฟันผุซึ่งครอบคลุมตั้งแต่วัยแรกเกิด จนถึงวัยรุ่นโดยมีใน การเพิ่มความแข็งแรงของฟัน การควบคุมอาหารคาร์โบไฮเดรต และการลดปริมาณแบคทีเรียโดยวิธีการต่างๆ การรักษาการจัดการรอยโรคฟันผุด้วยวิธีการต่าง ๆ
สัมมนาการเจริญเติบโตของใบหน้า กะโหลกศีรษะและทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องปราม (Craniofacial Growth, Preventive and Interceptive Orthodontics Seminar)
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของศีรษะ ใบหน้า กระดูกขากรรไกรบนและล่าง ตั้งแต่ระยะตัวอ่อน จนถึงวัยรุ่นรวมทั้งความผิดปกติของใบหน้า ขากรรไกรและการสบฟัน หลักการวิเคราะห์วินิจฉัย การวางแผนการรักษาและวิธีการรักษาในขอบเขตของงานทันตกรรมจัดฟันเพื่อการป้องกัน และการส่งต่อผู้ป่วยในกรณีที่เหมาะสม กลุ่มอาการของกระโหลกศีรษะ ใบหน้าและคอ ความรู้ทางพันธุศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการดังกล่าว
สัมมนาทันตกรรมสาหรับเด็กที่มีโรคทางระบบและเด็กที่มีความต้องการการดูแลเป็นพิเศษ I (Dentistry for Medically Compromised and special healthcare needs I)
ความรู้ทางการแพทย์ และด้านพันธุศาสตร์ ของความผิดปกติในเด็กพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบแต่ละประเภท ข้อควรระวังในการให้การรักษาทางทันตกรรม ปัญหาของสภาวะในช่องปากที่สัมพันธ์กับความผิดปกติ และการรักษาทางทันตกรรม คำแนะนำด้านทันตกรรมป้องกันและวิธีการรักษาสุขภาพช่องปากแก่เด็ก ผู้ปกครองและบุคลากรทางการแพทย์
สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็กที่มีโรคทางระบบและเด็กที่มีความต้องการดูแลเป็นพิเศษII (Dentistry for Medically Compromised and Special Child II)
ความรู้ทางการแพทย์ในการวินิจฉัยในโรคต่างๆ ของความผิดปกติในเด็กพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบแต่ละประเภท การส่งปรึกษาแพทย์และการอ่านผลตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ข้อควรระวังในการให้การรักษาทางทันตกรรม โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบและยังต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
ทันตสาธารณสุขสำหรับเด็ก (Child Dental Public Health)
ปัญหาทันตสาธารณสุขของเด็กไทยและเด็กทั่วโลก แนวการป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคในช่องปาก ที่เหมาะสม เน้นหลักของทันตกรรมป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพของชุมชน
สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็ก II (Pediatric Dentistry Seminar II)
การนำเสนอและอภิปรายถึงบทความวิชาการ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรมสาหรับเด็กและกรณีศึกษาที่น่าสนใจในการปฏิบัติงานคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็ก
สัมมนาทันตกรรมสำหรับเด็ก III (Pediatric Dentistry Seminar III)
การทบทวน ประมวลความรู้เนื้อหาทั้งหมดในวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก
การค้นคว้าอิสระ (Independent study)
กำหนดปัญหาเพื่อการวิจัย ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง เก็บรวมข้อมูล จัดการกับข้อมูล วิเคราะห์แปลความหมายข้อมูลและเขียนโครงงานการวิจัยบนพื้นฐานจริยธรรมการวิจัย
ฝึกปฏิบัติงานวิจัยทางทันตกรรมสำหรับเด็ก(Practices for Pediatric Dentistry Research)
หลักการและวิธีการทางคลินิกและวิธีใช้เครื่องมือชนิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางทันตกรรมสำหรับเด็ก
(รายละเอียดการฝึกอบรม กรุณาติดต่อภาควิชาทันตกรรมเด็ก)
คลินิกชั้นสูงสำหรับเด็ก I-VI (Advanced Clinical Pediatric Dentistry I-VI)
ฝึกปฏิบัติการในคลินิกทางทันตกรรมสาหรับเด็ก เพื่อให้มีทักษะและเกิดความเชี่ยวชาญในการป้องกันรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่นทั้งที่มีปัญหาทางพฤติกรรม และปัญหาทางทันตกรรม กระบวนการเรียน การสอนทำในรูปแบบของการให้การรักษาผู้ป่วยแบบฉุกเฉิน และการให้การรักษาแบบ พร้อมมูล โดยมีการรวบรวมข้อมูล การบันทึกประวัติ การวินิจฉัยแยกโรค การวางแผนการรักษา การนำเสนอแผนการรักษาต่อผู้ปกครอง และการส่งต่อผู้ป่วยไปยังผู้ชำนาญการที่เหมาะสม โดยมีลักษณะการปฏิบัติงานในผู้ป่วยเด็ก
คลินิกทันตกรรมป้องกันแม่และเด็กและ ทันตกรรมชุมชน (Preventive dentistry for maternal and child health and community)
การฝึกปฏิบัติงาน ตรวจ วินิจฉัย วางแผนโครงการทันตกรรมป้องกันที่เหมาะสมในเด็กเล็กและหญิง มีครรภ์ การสอนทันตสุขศึกษา การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริโภค การใช้ฟลูออไรด์ สารต้านแบคทีเรีย มาตรการป้องกันฟันผุและเหงือกอักเสบอื่น ๆ การทำสื่อการสอนเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก การดูแลสอนการทำความสะอาดช่องปากในเด็กเล็กให้แก่นักศึกษาทันตแพทย์ การออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ การออกหน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ
ทันตกรรมคลินิกชั้นสูงสำหรับเด็กที่มีความต้องการการดูแลเป็นพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบ I-VI (Advanced Clinical Pediatric Dentistry for Special Healthcare Needs and Medically Compromised Child I-VI )
การตรวจ วินิจฉัย การทานายโรค การวางแผนการรักษา การเตรียมผู้ป่วยก่อนการรักษา การให้การรักษาทางทันตกรรมที่ไม่ซับซ้อน การอุดฟัน การครอบฟัน และทันตกรรมป้องกัน แก่ผู้ป่วยเด็กพิเศษและเด็กที่มีโรคทางระบบ
คลินิกทันตกรรมโดยการใช้ยาลดความกังวลและการดมยาสลบ I-IV (Sedation and General Anesthesia in Pediatric Dentistry Clinic I-IV )
ตรวจ วินิจฉัย การคัดเลือกผู้ป่วย เตรียมตัวผู้ป่วยและให้การรักษาทางทันตกรรมโดยการใช้ยาลดความกังวลชนิดสูดดมไนตรัสออกไซด์-ออกซิเจน และ/หรือ ยาลดความกังวลชนิดรับประทาน การให้การรักษาภายใต้การดมยาสลบ การตรวจติดตามสัญญาณชีพของผู้ป่วยในระหว่างการรักษา การดูแลผู้ป่วยภายหลัง การรักษาเสร็จสิ้น การรักษาฉุกเฉินหากเกิดภาวะแทรกซ้อน
การฝึกอบรมการปฏิบัติงานด้านวิสัญญี (General Anesthesia Rotation)
การดูงานและ/หรือฝึกปฏิบัติ ร่วมกับวิสัญญีแพทย์และทีมงานในห้องผ่าตัด เพื่อศึกษาหลักการและกระบวนการดมยาสลบผู้ป่วยเด็ก วิธีการอ่านและแปลผลบันทึกการดมยา ขั้นตอนในการเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการดมยา ดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้นและการช่วยเหลือกู้สัญญาณชีพขั้นพื้นฐาน
การสอนทางทันตกรรมสำหรับเด็ก I-III (Teaching in Pediatric Dentistry I-III)
การช่วยสอนการฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการของนักศึกษาระดับทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต ในเรื่องการใส่แผ่นยางกั้นน้ำลาย ครอบฟันเหล็กไร้สนิม การบูรณะฟันน้ำนม การรักษาคลองรากฟันน้ำนมชนิดพัลพ์เพ็คโต มีการฝึกช่วยสอนให้คำแนะนำและดูแลการทำงานในคลินิกของนักศึกษาระดับทันตแพทยศาสตรบัณฑิตและ ทันตแพทย์ประจำบ้าน การทำสื่อการสอนและการเผยแพร่ความรู้ทางด้านทันตสุขศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป
การตั้งปัญหา เสนอโครงร่าง ดำเนินการวิจัยและเขียนนิพนธ์ต้นฉบับงานวิจัยทางทันตกรรมสำหรับเด็ก หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการในสาขา นำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
ค่าลงทะเบียนเหมาจ่าย 70,000 บาท/ภาคการศึกษา
ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร 420,000 บาท (ระยะเวลา 3 ปี)