ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลร่วมกับการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Residency Training Program in Oral and Maxillofacial Surgery Combined with Doctor of Medicine
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
ชื่อย่อ : ว.ท. (ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Diploma of the Thai Board of Oral and Maxillofacial Surgery
ชื่อย่อ : Dip.,Thai Board of Oral and Maxillofacial Surgery
ปรัชญาของหลักสูตร
เพื่อพัฒนาบุคลากรทันตแพทย์ให้มีความรู้ความชำนาญด้านศัลยกรรมและการวิจัย สาขาศัลยศาสตร์ ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากลเพื่อรับใช้สังคม
คำนิยาม
ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เป็นสาขาวิชาเฉพาะของทันตแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัย การรักษาทางศัลยกรรม รวมทั้งการรักษาอื่นๆ เพื่อแก้ไขโรค การบาดเจ็บ และภาวะวิกลรูปทั้งในแง่การทำหน้าที่และความสวยงามของอวัยวะ ซึ่งครอบคลุมทั้งเนื้อเยื่ออ่อน เนื้อเยื่อแข็งในบริเวณช่องปาก ขากรรไกร ใบหน้าและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตศัลยแพทย์ที่มีพื้นฐานทันตแพทยศาสตร์และแพทยศาสตร์ที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลที่ได้มาตรฐานสากล มีขีดความสามารถในการรักษาทางศัลยกรรมครอบคลุมถึงความผิดปกติ ความวิการและโรคที่เกี่ยวเนื่องตั้งแต่กะโหลกศีรษะใบหน้าและคอ โดยเน้นผลิตบุคลากรเพื่อทำงานในโรงพยาบาลหรือสถาบันที่เป็นศูนย์กลางของการรักษา และหรือการฝึกอบรมทางศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลที่ซับซ้อน และเป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และผู้ร่วมงานทุกระดับชั้น ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ ช่างสังเกต วิเคราะห์และวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ใหม่ๆ
คุณสมบัติของผู้รับการฝึกอบรม
1. เป็นผู้ที่ได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยที่ทันตแพทยสภารับรอง
2. ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมจากทันตแพทยสภาตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537
3. เป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ
4. เป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรมในสาขาตามระเบียบของราชวิทยาลัย
5. ทันตแพทยสภาอาจอนุมัติให้ผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของต่างประเทศที่ทันตแพทยสภารับรอง เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรในสาขาใดได้เมื่อ
(1) มีสถาบันฝึกอบรมรับเข้าฝึกอบรม และ
(2) ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขานั้น โดยความเห็นชอบจากราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย
(3) การรับผู้มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของต่างประเทศให้เป็นไปตามสัดส่วนที่ทันตแพทยสภากำหนด
ผู้อำนวยการหลักสูตร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ทันตแพทย์เกียรติอนันต์ บุญศิริเศรษฐ
E-mail: kiatanant.boo@mahidol.ac.th
โทร. 02-200-7845
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
(รายละเอียดแผนการฝึกอบรม กรุณาติดต่อภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล)
ภาควิชาการ ได้แก่การบรรยาย การประชุม วิชาการ การสัมมนา วารสารสโมสร แบ่งเป็นการศึกษา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องเป็นระยะเวลาประมาณ ร้อยละ 30 และการศึกษาความรู้ในสาขานั้น หรือสาขาที่เกี่ยวข้องประมาณร้อยละ 70
ภาคปฏิบัติงาน ต้องมีระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติงาน ในสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ไม่น้อยกว่า 32 เดือน
งานวิจัยต้องมีผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
เรียนรู้ระบบงานศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลของ สถาบันฝึกอบรมหลักและสถาบันสมทบโดยมีทันตแพทย์ประจำบ้านรุ่นพี่ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เริ่มคิดหัวข้องานวิจัยและการทำ literature review เพื่อจัดทำ proposal
ศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์หรือสถาบันแพทยศาสตร์ เป็นเวลา 5 ปี ศึกษาต่อหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เป็นเวลา 5 ปีตามหลักสูตรของคณะหรือสถาบันนั้นๆ จนจบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ปฏิบัติหน้าที่ทันตแพทย์ประจำบ้านในงานศัลยศาสตร์ช่องปาก และแม็กซิลโลเฟเชียลของสถาบันฝึกอบรมหลักและสถาบันสมทบ โดยหน้าที่รับผิดชอบในสถาบันหลักคือ รองหัวหน้าทันตแพทย์ประจำบ้านซึ่งช่วยดูแลระบบงานและการสัมมนา ระหว่างภาควิชาหรือสถาบันอื่น หมุนเวียนไปสถาบันสมทบในสาขาการแพทย์เฉพาะทาง เช่น แผนกหู คอ จมูก และสรุปงานวิจัย เพื่อสอบวิจัย และส่งตีพิมพ์
ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าทันตแพทย์ประจำบ้านในงานศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลของสถาบันฝึกอบรมหลักและ สถาบันสมทบ หมุนเวียนไปสถาบันสมทบในสาขาการแพทย์ เฉพาะทาง เช่น แผนกศัลยกรรมตกแต่ง มีวิชาเลือกเสรีที่ สามารถเลือกได้ตามความสนใจโดยมีคณาจารย์คัดกรองตาม ความเหมาะสม และดำเนินการวิจัยให้เสร็จและส่งตีพิมพ์
1. พื้นฐานการวิจัยและสถิติ
– ระเบียบวิธีวิจัย (Research methodology)
– ชีวสถิติ (Biostatistics)
2. ชีววิทยาช่องปาก (Oral biology)
3. วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (Biomedical Sciences) ประกอบด้วย
– กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy)
– สรีรวิทยา และชีวเคมี (Physiology)
– เภสัชวิทยา (Pharmacology)
– จุลชีววิทยา (Microbiology)
– พยาธิวิทยา (Pathology)
– ภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunology)
ผู้รับการฝึกอบรมสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล จะต้องหมุนเวียนไปปฏิบัติงานในสาขาการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้และประสบการณ์ในด้าน
ก. การซักประวัติและตรวจร่างกาย
ข. ประเมินผู้ป่วยก่อนทำผ่าตัด
ค. จัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างและภายหลังการผ่าตัด
ง. ให้การดูแลผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด
โดยสาขาการแพทย์ที่ต้องหมุนเวียนไปปฏิบัติงานประกอบด้วย วิสัญญีวิทยา ศัลยศาสตร์ทั่วไปและ/หรือ ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ อายุรศาสตร์ทั่วไป ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง ประสาท ศัลยศาสตร์ และ โสต ศอ นาสิก
ประกอบด้วยการดูแลผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และการดูแลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน ผู้รับการฝึกอบรมต้องเข้าร่วมในการทำผ่าตัดใหญ่ ผ่าตัดเล็ก ตลอดระยะเวลาของการฝึกอบรม ภายใต้การดูแลของคณาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรมโดยต้องมีจำนวนและชนิดของผู้ป่วยทางศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลเพียงพอแยกประเภทเป็นกลุ่มต่าง ๆ 8 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 การผ่าตัดเกี่ยวกับฟันและกระดูกรองรับรากฟัน (Dentoalveolar Surgery)
กลุ่มที่ 2 การติดเชื้อในบริเวณช่องปากและใบหน้า (Orofacial Infection)
กลุ่มที่ 3 การรักษาการบาดเจ็บในบริเวณขากรรไกรและใบหน้า (Maxillofacial Injuries)
กลุ่มที่ 4 การแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรและใบหน้า (Dentofacial Deformities) และภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ (cleft lip and cleft palate)
กลุ่มที่ 5 ศัลยกรรมรากเทียมและศัลยกรรมเพื่อการใส่ฟันเทียม (Implant and Preprosthetic Surgery)
กลุ่มที่ 6 การรักษาพยาธิสภาพในช่องปาก กระดูกขากรรไกรและใบหน้าทั้งชนิดร้ายแรงและไม่ร้ายแรง(benign and malignant pathologic condition of maxillofacial region)
กลุ่มที่ 7 การผ่าตัดเสริมสร้างเนื้อเยื่อ (Reconstructive Surgery)
กลุ่มที่ 8 การผ่าตัดอื่น ๆ (Miscellaneous Surgery)
(รายละเอียดแผนการฝึกอบรม กรุณาติดต่อภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล)
เลขที่ 888 ม.6 ถ.บรมราชชนนี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
เบอร์ตรง 0-2849-6600