หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาวิชาทันตกรรมหัตถการ
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมหัตถการ
ภาษาอังกฤษ : Residency Training Program in Operative Dentistry
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมหัตถการ
ชื่อย่อ : ว.ท. (ทันตกรรมหัตถการ)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Diploma of the Thai Board of Operative Dentistry
ชื่อย่อ : Dip., Thai Board of Operative Dentistry
ปรัชญาของหลักสูตร
เพื่อผลิตทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทันตกรรมหัตถการ สร้างมาตรฐานทางด้านการบูรณะฟัน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ฟันได้อย่างเหมาะสม มีความสวยงามทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ สร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนางานทางด้านทันตกรรมหัตถการ
คำนิยาม
ทันตกรรมหัตถการ หมายถึง ศาสตร์และศิลป์ในการวินิจฉัยการวางแผนการรักษา การรักษาและ การทำนายผลการรักษา ความบกพร่องของฟัน ซึ่งประกอบด้วย การป้องกัน การยับยั้งพยาธิสภาพของตัวฟันและเนื้อเยื่อข้างเคียงในช่องปาก การบูรณะฟันให้มีรูปร่างที่ถูกต้อง มีความสวยงามและสามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติหรือดีกว่าเดิม โดยคงคุณสมบัติทางสรีรวิทยา และให้สามารถทำงานสอดคล้องกับเนื้อเยื่อข้างเคียง ในช่องปาก อันเป็นผลต่อการมีสุขภาพที่ดีของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตทันตแพทย์ สาขาทันตกรรมหัตถการ ให้มีความรู้ความชำนาญ ดังนี้
1. มีความรู้ ความชำนาญอย่างสูง ทางวิชาการทันตกรรมหัตถการในภาคทฤษฏีและปฏิบัติทั้งแนวลึกและแนวกว้าง
2. มีความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์คลินิกที่เกี่ยวข้องกับวิชาทันตกรรมหัตถการเป็นอย่างดี เข้าใจการเกิดและการดำเนินของโรค สามารถนำมาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรค การบำบัดรักษา บูรณะซ่อมแซมและติดตามผลการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในสาขาทันตกรรมหัตถการที่ยุ่งยากซับซ้อน โดยให้การตรวจพิเคราะห์วินิจฉัย วางแผน พยากรณ์และบำบัดรักษาบูรณะได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
4. มีความรู้ความเข้าใจปัญหาสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย สามารถให้การรักษาร่วมหรือส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
5. สามารถให้คำปรึกษาทางด้านทันตกรรมหัตถการแก่ทันตแพทย์ผู้ร่วมงานเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย
6. พัฒนาตนเองทางด้านวิชาการเพื่อความรู้ที่ทันสมัยตลอดเวลา
7. มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการทำงานวิจัย สามารถทำวิจัยและนำเสนอผลงานวิจัยได้
8. มีความสามารถในการวิจารณ์ และประเมินผลงานวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์
9. เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคมตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรม จรรยาบรรณ และมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลทั่วไป
- 1. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537
- 2. ปฏิบัติงานทางทันตกรรมมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี นับจากวันที่ได้ใบประกอบวิชาชีพทันตกรรมจนถึงวันเปิดภาคการศึกษา และมีหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากหัวหน้าหน่วยงาน
- 3. ในกรณีมีต้นสังกัดหน่วยงานรัฐ จะต้องมีหนังสืออนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากต้นสังกัด
- 4. มีความรู้ภาษาอังกฤษ โดยผู้สมัครต้องยื่นผลสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี (นับถึงวันที่สมัคร) ได้แก่– MU-GRAD Plus ที่ระดับคะแนน 70 ขึ้นไป (การเขียน = 10 ขึ้นไปและการพูด = 10 ขึ้นไป)
– TOEFL iBT ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 64 ขึ้นไป (การเขียน = 17 ขึ้นไปและการพูด = 15 ขึ้นไป)
– TOEFL ITP ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 480 ขึ้นไป
– IELTS ที่ระดับคะแนน 5.0 ขึ้นไป (การเขียน = 5.0 ขึ้นไปและการพูด = 5.0 ขึ้นไป)
ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ สาขาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลโดยความเห็นชอบของทันตแพทยสภา อาจอนุมัติให้ผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของต่างประเทศที่ทันตแพทยสภารับรอง เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรในสาขาทันตกรรมหัตถการ โดยมีข้อกำหนดคือ
(1) มีสถาบันฝึกอบรมรับเข้าฝึกอบรม และ
(2) ผ่านการพิจารณาของ คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ สาขาทันตกรรมหัตถการ โดยความเห็นชอบจากราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย
(3) การรับผู้มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของต่างประเทศ ให้เป็นไปตามสัดส่วนที่ทันตแพทยสภากำหนด
ผู้อำนวยการหลักสูตร : อาจารย์ ทันตแพทย์หญิงมุนินทร์ ชัยชโลธร
E-mail: munin.cha@mahidol.ac.th
โทร. 02-200-7825
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ สาขาทันตกรรมหัตถการ
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
E-mail: Skawtip.sah@mahidol.ac.th
งานบริหารการศึกษาหลังปริญญา
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 02 200 7634, 7641
E-mail : dtmupostgrad@mahidol.ac.th
โครงสร้างหลักสูตรและการฝึกอบรม
จัดการฝึกอบรมตามระบบเป็นไปตามข้อบังคับทันตแพทยสภาฯ ข้อ 38 และ 39 ประกอบด้วย
โครงสร้างหลักสูตรและการฝึกอบรม
ภาควิชาการ ประกอบด้วย การบรรยาย การประชุมวิชาการ การสัมมนาวารสารสโมสร ดังนี้
1.วิทยาศาสตร์พื้นฐาน หรือ วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
เป็นระยะเวลา ประมาณร้อยละ 30 ประกอบด้วย
– วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางทันตกรรมหัตถการ (Research methodology in Operative Dentistry)
– ชีววิทยาช่องปาก 1 (Oral biology 1)
– สถิติวิจัยทางทันตกรรม (Statistical for Dental Science)
– ชีววิทยาของเนื้อเยื่อในและพัลพ์ (Biology of pulpo-dentinal complex)
– จิตวิทยาและจรรยาบรรณ (Psychology and Ethics)
2.วิชาเฉพาะสาขาทันตกรรมหัตถการและวิชาที่เกี่ยวข้อง
เป็นระยะเวลาประมาณร้อยละ 70 ประกอบด้วย
– วิทยาโรคฟันผุ (Cariology)
– ทันตวัสดุศาสตร์และเครื่องมือสำหรับบูรณะฟัน (Restorative materials and devices)
– ทันตกรรมหัตถการและทันตกรรมเพื่อความสวยงาม (Operative dentistry and esthetic dentistry)
– ทันตกรรมหัตถการพื้นฐานสำหรับคลินิก (Basic operative dentistry for clinic)
– สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 1 (Operative Dentistry Seminar I)
– สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 2 (Operative Dentistry Seminar II)
– สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 3 (Operative Dentistry Seminar III)
– สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 4 (Operative Dentistry Seminar IV)
– สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 5 (Operative Dentistry Seminar V)
– ทันตกรรมหัตถการทฤษฎีขั้นสูง (Advanced Operative Dentistry Theory)
ภาคปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติงานในสาขาทันตกรรมหัตถการ เวลาในการฝึกปฏิบัติงาน 6 ภาคการศึกษา
- ทันตกรรมหัตถการคลินิกขั้นสูง 1 ( Advanced clinical operative dentistry I )
- ทันตกรรมหัตถการคลินิกขั้นสูง 2 (Advanced clinical operative dentistry II )
- ทันตกรรมหัตถการคลินิกขั้นสูง 3 (Advanced clinical operative dentistry III )
- ทันตกรรมหัตถการคลินิกขั้นสูง 4 (Advanced Clinical operative dentistry IV)
- ทันตกรรมหัตถการคลินิกขั้นสูง 5 (Advanced Clinical operative dentistry V)
- ทันตกรรมหัตถการคลินิกขั้นสูง 6 (Advanced Clinical operative dentistry VI)
- งานวิจัยทางทันตกรรมหัตถการ 1 (Research in Operative Dentistry 1)
- งานวิจัยทางทันตกรรมหัตถการ 2 (Research in Operative Dentistry 2)
- ทันตกรรมหัตถการประยุกต์ (Applied Operative Dentistry)
- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่กับการนำเสนอกรณีผู้ป่วย (Application of new technology for case presentation)
- วิทยาเอ็นโดดอนต์ประยุกต์ (Applied Endodontics)
ชั้นปี | รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | |||
1 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | ||
ทพผส 515 ชีววิทยาช่องปาก | (2) | ทพทห 712 ชีววิทยาของเนื้อเยื่อในและเนื้อฟัน | (1) | |
ทพทห 711 วิทยาระเบียบวิจัยทางทันตกรรมหัตถการ | (1) | ทพทห 713 สถิติวิจัยทางทันตกรรม | (2) | |
ทพทห 720 วิทยาโรคฟันผุ | (2) | ทพทห 741 สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 1 | (2) | |
ทพทห 721 ทันตวัสดุศาสตร์และเครื่องมือสำหรับบูรณะฟัน | (2) | ทพทห 752 คลินิกทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 2 | 360 ชม. | |
ทพทห 722 ทันตกรรมหัตถการและทันตกรรมเพื่อความสวยงาม | (2) | ทพทห 771 ทันตกรรมหัตถการประยุกต์ (วิชาเลือก) | (2) | |
ทพทห 731 ทันตกรรมหัตถการพื้นฐานสำหรับคลินิก | (2) | ทพทห 772 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ กับการนำเสนอกรณีผู้ป่วย (วิชาเลือก) | (2) | |
ทพทห 751 คลินิกทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 1 | 270 ชม. | |||
ทพผส 702 จิตวิทยาและจรรยาบรรณ | (1) | |||
รวม 12 หน่วยกิต 270 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ | รวม 8 หน่วยกิต 360 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ |
ชั้นปี | รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | |||
2 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | ||
ทพทห 827 ทันตกรรมหัตถการทฤษฎีขั้นสูง | (1) | ทพทห 843 สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 3 | (2) | |
ทพทห 842 สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 2 | (2) | ทพทห 854 คลินิกทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 4 | 360 ชม. | |
ทพทห 853 คลินิกทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 3 | 360 ชม. | |||
ทพทห 861 งานวิจัยทางทันตกรรมหัตถการ 1 | (4) | |||
**เข้าฟังการบรรยายหัวข้อเรื่อง “ศัลยกรรมช่องปากและทันตกรรม โรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี | ||||
รวม 7 หน่วยกิต 360 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ | รวม 2 หน่วยกิต 360 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ |
ชั้นปี | รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | |||
3 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | ||
ทพทห 944 สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 4 | (1) | ทพทห 945 สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 5 | (1) | |
ทพทห 955 คลินิกทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 5 | 360 ชม. | ทพทห 956 คลินิกทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 6 | 315 ชม. | |
ทพทห 962 งานวิจัยทางทันตกรรมหัตถการ 2 | (4) | |||
รวม 5 หน่วยกิต 360 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ | รวม 1 หน่วยกิต 315 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ |
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน หรือวิทยาศาสตร์ การแพทย์พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
ทพผส 515 ชีววิทยาช่องปาก 1
พัฒนาการ โครงสร้าง ชีววิทยา และหน้าที่ของเนื้อเยื่อปาก และอวัยวะที่เกี่ยวข้องในภาวะสุขสมบูรณ์และภาวะมีพยาธิสภาพ จุลชีววิทยาในช่องปาก การสนองต่อภูมิคุ้มกัน การเจ็บปวดของฟันและภาวะไวเกินของฟัน ยาสามัญที่ใช้ทางทันตกรรม
ทพทห 712 ชีววิทยาของเนื้อเยื่อในและเนื้อฟัน
โครงสร้างหน้าที่ของเนื้อเยื่อในและเนื้อฟันการตอบสนองของเนื้อเยื่อในต่อสิ่งเร้า วิธีการทางทันตกรรมและทันตวัสดุ
ทพผส 702 จิตวิทยาและจรรยาบรรณ
ศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยาของผู้ป่วยเพื่อประโยชน์ในการนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาทางทันตกรรมและจรรยาบรรณสำหรับวิชาชีพทันตแพทย์
ทพทห 711 วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางทันตกรรมหัตถการ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาระเบียบวิธีวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมหัตถการวิทยาโรคฟันผุ ทันตวัสดุ และทันตกรรมหัตถการ โดยเน้นให้เกิดการวิจัยแบบพหุวิทยาการ
ทพทห 713 สถิติวิจัยทางทันตกรรม
การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ โดยเฉพาะทางทันตแพทยศาสตร์ รวมถึง โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ การคำนาณขนาดตัวอย่าง การวิเคราะห์หลายตัวแปล การวิเคราะห์เชิงเส้นทั่วไป การวิเคราะห์การวัดซ้ำ การวิเคราะห์เมตาและการทดสอบความน่าเชื่อถือ
ทพทห 720 วิทยาโรคฟันผุ
ทฤษฎี อุบัติการ การป้องกัน และการรักษาโรคฟันผุ สัมมนาเกี่ยวกับวิทยาโรคฟันผุ
ทพทห 721 ทันตวัสดุศาสตร์และเครื่องมือสำหรับบูรณะฟัน
วัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานทันตกรรมหัตถการ เช่น ส่วนประกอบ สมบัติต่างๆ ข้อบ่งใช้ ข้อดี ข้อเสีย และการใช้วัสดุในคลินิก
ทพทห 722 ทันตกรรมหัตถการและทันตกรรมเพื่อความสวยงาม
ทฤษฎีการบูรณะฟัน และทันตกรรมเพื่อความสวยงาม รวมถึงวัสดุ เทคนิคที่ใช้ วิธีการประเมินผลการรักษาภายหลังการบูรณะ
ทพทห 731 ทันตกรรมหัตถการพื้นฐานสำหรับคลินิก
การฝึกปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการและทางคลินิกในการบูรณะฟันด้วยวัสดุอะมัลกัม คอมโพสิตเรซินเซรามิก และโลหะผสม รวมถึงการบูรณะฟันที่ผ่านการรักษาคลองรากฟันและการฟอกสีฟัน
ทพทห 827 ทันตกรรมหัตถการทฤษฎีขั้นสูง
ทฤษฎีการออกแบบ การสร้างชิ้นงาน การบูรณะฟันแบบต่างๆ การใช้คอมพิวเตอร์ทางทันตกรรมรวมถึงวัสดุและเทคนิคที่ใช้ เพื่อบูรณะฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน การสื่อสารกับช่างทันตกรรม การถ่ายภาพรังสีแบบดิจิตัล การรักษาทางทันตกรรมที่ซับซ้อน
ทพทห 741 สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 1
การค้นคว้า วิเคราะห์ วิจารณ์ และอภิปรายเอกสารงานวิจัยและวรรณกรรมทางทันตกรรมหัตถการที่มีคุณภาพสูง (classic articles)
ทพทห 842 สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 2
การค้นคว้า วิเคราะห์ วิจารณ์ และอภิปรายเอกสารงานวิจัยในปัจจุบัน (current articles) และวรรณกรรมทางทันตกรรมหัตถการ
ทพทห 843 สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 3
การค้นคว้า วิเคราะห์ วิจารณ์ และอภิปรายเอกสารงานวิจัยและวรรณกรรมทางทันตกรรมหัตถการที่เกี่ยวข้องกับวิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีความซับซ้อน การเสนอ วิเคราะห์ วิจารณ์ และอภิปรายกรณีผู้ป่วยและ การเรียบเรียงเป็นบทความเพื่อการตีพิมพ์ในลักษณะการรายงานผู้ป่วย (Case report)
ทพทห 944 สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 4
การค้นคว้า วิเคราะห์ วิจารณ์ และอภิปรายเอกสารงานวิจัยและวรรณกรรมทางทันตกรรมหัตถการในหัวข้อต่างๆ รวมทั้งการเรียบเรียงเป็นบทความปริทัศน์เพื่อนำเสนอ และทำรายงาน (Literature reviewed)
ทพทห 945 สัมมนาทันตกรรมหัตถการขั้นสูง 5
การค้นคว้า วิเคราะห์ วิจารณ์ และอภิปรายเอกสารงานวิจัย และวรรณกรรมทางทันตกรรม หัตถการที่รวมถึงสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอ (Multidisciplinary Approach in Operative Dentistry)
ทพทห 861 งานวิจัยทางทันตกรรมหัตถการ
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทางด้านทันตกรรมหัตถการ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องการพัฒนาและสอบโครงร่างงานวิจัย การดำเนินงานวิจัย
ทพทห 962 งานวิจัยทางทันตกรรมหัตถการ 2
การดำเนินงานวิจัย รวบรวมผลและวิเคราะห์ผลสรุปผลงานวิจัย การดำเนินการสอบงานวิจัย การเตรียมต้นฉบับงานวิจัยและส่งตีพิมพ์
ทพทห 751 ทันตกรรมหัตถการคลินิกขั้นสูง 1
การตรวจ วินิจฉัย วางแผนการรักษาทางทันตกรรม หัตถการ การรักษาฉุกเฉินในผู้ป่วยที่มีอาการ การฝึกปฏิบัติทางคลินิกงานทันตกรรมหัตถการในการบูรณะฟันทางตรง
ทพทห 752 ทันตกรรมหัตถการคลินิกขั้นสูง 2
ฝึกปฏิบัติทางคลินิกงานทันตกรรมหัตถการในการบูรณะฟันทางตรงที่มีความซับซ้อน หรือต้องเกี่ยวข้อง กับสาขาวิชาอื่นๆ การปิดช่องฟันห่าง การฟอกสีฟัน การทำวิเนียร์วิธีตรง
ทพทห 853 ทันตกรรมหัตถการคลินิกขั้นสูง 3
ฝึกปฏิบัติทางคลินิกงานทันตกรรมหัตถการในการบูรณะ ฟันทางอ้อม รวมถึงการบูรณะฟันที่ผ่านการรักษาคลอง รากฟัน ด้วยโลหะหล่อ หรือโลหะหล่อร่วมกับเซรามิก และการวางแผนการรักษาและการรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม การประเมินหลังการรักษารวมถึงการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาทันตแพทย์ในงานสาขาทันตกรรมหัตถการ
ทพทห 854 ทันตกรรมหัตถการคลินิกขั้นสูง 4
ฝึกปฏิบัติทางคลินิกงานทันตกรรมหัตถการในการบูรณะฟันทางอ้อม รวมถึงการบูรณะฟันที่ผ่านการรักษาคลองรากฟัน ด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน และการประเมินหลังการรักษา รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาทันตแพทย์ในงานสาขาทันตกรรมหัตถการ
ทพทห 955 ทันตกรรมหัตถการคลินิกขั้นสูง 5
ฝึกปฏิบัติทางคลินิกงานทันตกรรมหัตถการในการบูรณะฟันทางอ้อมด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน การบูรณะฟันที่ผ่านการรักษาคลองรากฟัน การบูรณะฟันด้วยเครื่องCAD/CAM การวางแผนการรักษาและการรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม การประเมินหลังการรักษา รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาทันตแพทย์ใน การรักษาผู้ป่วยในคลินิกทันตกรรมหัตถการ
ทพทห 956 ทันตกรรมหัตถการคลินิกขั้นสูง 6
ฝึกปฏิบัติทางคลินิกงานทันตกรรมหัตถการในการบูรณะฟันที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วยในสาขาวิชาที่อื่นๆ รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาทันตแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยคลินิกทันตกรรมหัตถการ
ทพทห 771 ทันตกรรมหัตถการประยุกต์
ทฤษฎีการรักษาบูรณะในแบบต่างๆซึ่งรวมถึงวัสดุและเทคนิคที่ใช้และวิธีการประเมินการบูรณะภายหลังการรักษา การฝึกปฎิบัติวิธีการเหล่านี้
ทพทห 772 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่กับการนำเสนอกรณีผู้ป่วย
การเรียนรู้ และพัฒนาทักษะในการนำเสนอกรณีศึกษาโดยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
ทพทห 871 วิทยาเอ็นโดดอนต์ประยุกต์
ความรู้พื้นฐานทางวิทยาเอ็นโดดอนต์รวมถึงขอบเขตและเหตุผล พยาธิสภาพของเนื้อเยื่อในและปลายรากฟัน การควบคุมอาการปวด และการใช้ยาต้านจุลชีพในวิทยาเอ็นโดดอนต์ การวางแผนรักษาในกรณีง่ายวัสดุ ทางวิทยาเอ็นโดอนต์ เครื่องมือ และเทคนิค ซึ่งจะรวมถึงการฝึกปฎิบัติในห้องปฎิบัติการ
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
ค่าลงทะเบียนเหมาจ่าย 75,000 บาท/ภาคการศึกษา
ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร 450,000 บาท (ระยะเวลา 3 ปี)