หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาทันตกรรมทั่วไป
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมทั่วไป
ภาษาอังกฤษ : Residency Training Program in General Dentistry
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมทั่วไป
ชื่อย่อ : ว.ท. (ทันตกรรมทั่วไป)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Diplomate, Thai Board of General Dentistry
ชื่อย่อ : Dip.,Thai Board of General Dentistry
ปรัชญาของหลักสูตร
ฝึกอบรมทันตแพทย์เพื่อให้มีความรู้ความชำนาญในการจัดการบริการทันตกรรมในสาขาทันตกรรมทั่วไปโดยใช้หลักการของการบริบาลพร้อมมูล (comprehensive care) ด้วยแนวคิดของการบริบาลแบบ องค์รวม (holistic service) เพื่อการดูแลรักษาทันตสุขภาพในระยะยาวตั้งแต่เกิดมีชีวิตจนถึงวันสุดท้ายของการดำรงอยู่ รวมถึงให้การป้องกันและส่งเสริม สุขภาพช่องปาก รับผิดชอบในการประสานงานเพื่อให้ประชาชนในความรับผิดชอบได้รับบริการจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็น เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในความรับผิดชอบสามารถดำรงไว้ซึ่งการมีทันตสุขภาพที่ดีได้ตลอดชีวิต โดยการใช้หลักการของการบริบาลพร้อมมูลแบบองค์รวม จะต้องกระทำอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมต่อประชาชน เพื่อให้การบริการทางทันตกรรมของประเทศมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
คำนิยาม
ทันตกรรมทั่วไป หมายถึง สาขาวิชาหนึ่งของทันตแพทยศาสตร์ ที่ว่าด้วยศาสตร์และศิลป์ของการบริบาลสุขภาพช่องปากแบบทันตกรรมพร้อมมูล ในงานสหสาขาแก่ผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ และผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคทางระบบ หญิงตั้งครรภ์ ผู้พิการทางกาย สมองและจิต มีการจัดการบริบาลทันตกรรมในทุกมิติ ตั้งแต่ส่งเสริม การป้องกัน การรักษาและการฟื้นฟูสภาพ มีการตรวจ วินิจฉัย การวางแผนการรักษา การรักษาที่ครอบคลุมและผสมผสานงานในสาขาต่างๆ ในด้านทันตวินิจฉัยและเวชศาสตร์ช่องปากศัลยศาสตร์ช่องปาก วิทยาเอ็นโดดอนต์ ทันตกรรมหัตถการ ทันตกรรมประดิษฐ์ ปริทันตวิทยา ทันตกรรมสำหรับเด็ก ทันตกรรมจัดฟันและทันตกรรมป้องกัน โดยสอดคล้องกับข้อจำกัดทางการแพทย์ สภาวะทางสังคม เศรษฐานะ และสภาวะจิตใจในลักษณะการบริบาลแบบองค์รวมและมีการส่งต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความชำนาญ และเจตคติที่ดีในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาทันตกรรมทั่วไปเพิ่มขึ้นและส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรู้ ความชำนาญในสาขาทันตกรรมทั่วไปเพื่อการบริบาลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลแก่ประชาชนประกอบด้วย
- ความรู้ความสามารถในการสร้างเสริมทันตสุขภาพป้องกันโรคในช่องปาก และอวัยวะเกี่ยวข้องรวมทั้งการรักษาและพื้นฟูสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง ด้วยแนวคิดแบบองค์รวม (holisticapproach) ซึ่งพิจารณาสุขภาพกาย จิตใจ สภาวะสังคมเศรษฐกิจของบุคคล และครอบครัวของผู้ป่วยควบคู่กันไป
- ความรู้ความสามารถในการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูล (comprehensive dental care) เพื่อสร้างสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม (optimal oral health) กับแต่ละบุคคล และพัฒนาให้บุคคลนั้นสามารถคงสุขภาพช่องปากไว้ด้วยการดูแลตนเองอย่างยั่งยืน
- ความรู้ความสามารถในการบูรณาการวิชาการทันตกรรมและสามารถให้การบริการทางทันตกรรมแบบผสมผสานที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
- ความสามารถในการประสานงานกับทันตบุคลากรและบุคลากรทางการแพทย์อย่างเป็นระบบ เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาการวางแผนและการส่งต่ออย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
- ความรู้ความสามารถในการทำงานวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์
- เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ผู้อำนวยการหลักสูตร : อาจารย์ ทันตแพทย์หญิงนัยนา บูรณชาติ
E-mail: micherin40@hotmail.com
โทร. 02-200-7853
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
งานบริหารการศึกษาหลังปริญญา
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 02 200 7634, 7641
E-mail : dtmupostgrad@mahidol.ac.th
โครงสร้างหลักสูตร
เป็นการฝึกอบรมแบบแยกส่วน รวมระยะเวลาการฝึกอบรมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๔,๐๕๐ ชั่วโมง โดยประกอบด้วย ๓ หมวดการศึกษา
ภาควิชาการและวารสารสโมสรไม่น้อยกว่า 450 ชั่วโมง
ภาคปฏิบัติการคลินิกทันตกรรมพร้อมมูลในสาขาทันตกรรมทั่วไป และ/หรือ การฝึกภาคสนามไม่น้อยกว่า 2,000 ชั่วโมงและระยะเวลาฝึกปฏิบัติไม่น้อยกว่า 2 ปี และปฏิบัติงานได้ครบปริมาณงานขั้นต่ำ คือ การให้บริบาลทันตกรรมพร้อมมูลจนเสร็จสมบูรณ์ในผู้ป่วยไม่น้อยกว่า 10 ราย
งานวิจัย ต้องมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่คณะกรรม การอุดมศึกษากำหนด
ชั้นปี |
รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) |
|||||
1 |
ภาคเรียนที่ 1 |
ภาคเรียนที่ 2 |
||||
ทพทส 761 | ชีวสถิติ 1 | (1) | ทพทส 713 | ทันตกรรมพร้อมมูล 1 | (2) | |
ทพทส 762 | ชีวสถิติ 2 | (1) | ทพทส 730 | ศัลยศาสตร์ช่องปากและทันตกรรม โรงพยาบาล 1 | (1) | |
ทพทส 763 | ระเบียบวิธีวิจัยทางทันตแพทย์ | (2) | ทพทส 718 | วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปากและเภสัชวิทยาทางทันตกรรม 1 | (1) | |
ทพทส 769 | ระบาดวิทยา 1 (โรคในช่องปาก) | (1) | ทพทส 766 | ชีววิทยาช่องปาก | (2) | |
ทพทส 770 | ระบาดวิทยา 2 (โรคในช่องปาก) | (1) | ทพทส 716 | เทคโนโลยีดิจิตอลทางทันตกรรม | (1) | |
ทพทส 722 | ทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ 1 | (4) | ทพทส 741 | วิจัย 1 (การเขียนโครงร่างงานวิจัย) | (1) | |
ทพทส 723 | ปฏิบัติการทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ | (1) | ทพทส 751 | คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล 2 | (6) | |
ทพทส 720 | ทันตกรรมสำหรับเด็กและ ทันตกรรมจัดฟัน | (2) | ทพทส 725 | ทันตกรรมรากเทียมขั้นแนะนำ | (1) | |
ทพทส 721 | ปฏิบัติการทันตกรรมสำหรับเด็ก และทันตกรรมจัดฟัน | (1) | ||||
ทพทส 749 | คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล 1 | (4) | ||||
รวม 18 หน่วยกิต |
รวม 15 หน่วยกิต |
ชั้นปี |
รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) |
|||||
2 |
ภาคเรียนที่ 1 |
ภาคเรียนที่ 2 |
||||
ทพทส 768 | วิทยาศาสตร์ชีวเวช | (1) | ทพทพ 717 | ทันตกรรมขั้นสูง | (1) | |
ทพทส 719 | วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปากและเภสัชวิทยาทางทันตกรรม 2 | (1) | ทพทส 772 | พฤติกรรมศาสตร์และสุขศึกษา | (2) | |
ทพทส 726 | ทันตกรรมโรคทางระบบและหญิงตั้งครรภ์ | (3) | ทพทส 724 | ทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ 2 | (1) | |
ทพทส 743 | วิจัย 2 | (2) | ทพทส 782 | ทันตกรรมป้องกันในคลินิก | (2) | |
ทพทส 753 | คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล 3 | (7) | ทพทส 745 | วิจัย 3 | (2) | |
ทพทส 754 | คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล 4 | (7) | ||||
ทพทส 755 | คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล 5 | (1) | ||||
รวม 14 หน่วยกิต |
รวม 16 หน่วยกิต |
ชั้นปี |
รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) |
|||||
3 |
ภาคเรียนที่ 1 |
ภาคเรียนที่ 2 |
||||
ทพทส 729 | วารสารสโมสรในงานทันตกรรมทั่วไป | (1) | ทพทส 714 | ทันตกรรมพร้อมมูล 2 | (1) | |
ทพทส 731 | ศัลยศาสตร์ช่องปากและทันตกรรมโรงพยาบาล 2 | (3) | ทพทส 727 | ทันตกรรมผู้สูงอายุ | (2) | |
ทพทส 746 | วิจัย 4 (การเตรียมบทความเพื่อการเผยแพร่ 1) | (1) | ทพทส 728 | ทันตกรรมผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ | (2) | |
ทพทส 756 | คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล 6 | (8) | ทพทส 747 | วิจัย 5 (การเตรียมบทความเพื่อการเผยแพร่ 2) | (1) | |
ทพทส 760 | กฎหมายวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพทันตแพทย์ | (1) | ทพทส 757 | คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล 7 | (8) | |
รวม 14 หน่วยกิต | รวม 14 หน่วยกิต |
1.ชีวสถิติ (Biostatistics)
การวิเคราะห์สถิติแนวใหม่ขั้นพื้นฐาน และการใช้สถิติในการสรุปผลจากข้อมูลที่รวบรวมมาจาก การสำรวจและห้องปฏิบัติการเนื้อหาครอบคลุมการแจกแจงความน่าจะเป็น การแจกแจงเชิงสุ่ม การประเมิน ค่าช่วงความเชื่อมั่น การอนุมานเชิงสถิติแบบอิงพารามิเตอร์และไม่อิงพารามิเตอร์ การวิเคราะห์แยกประเภท การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอยพหุคูณโดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทางทันตกรรม โดยมีการฝึกปฏิบัติทางทันตกรรมร่วมกันในห้องปฎิบัติด้วยคอมพิวเตอร์
2.ระเบียบวิธีวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ (Research Methodology in Dentistry)
ศึกษาระเบียบวิธีและขั้นตอนในการทำวิจัยประเภทต่างๆ ได้แก่ การวิจัยทางคลินิก (clinical research) การวิจัยทางห้องปฏิบัติการ (laboratory research) ตั้งแต่การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการวิจัย ตลอดจนการทำงานวิจัย สรุปผล และวิจารณ์งานวิจัย ศึกษาการนำขบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการออกแบบงานวิจัย การตั้งสมมติฐาน การวิจัย เทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูล ศึกษาวิเคราะห์อภิปรายผลงานที่ตีพิมพ์ ในวารสารทางวิชาการ
3.ชีววิทยาช่องปาก (Oral biology)
ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างการเจริญการพัฒนาหน้าที่ความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน และที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบอื่นๆ ของเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ ในช่องปากระบบจุลชีววิทยาช่องปากติดตามความก้าวหน้าวิชาการทางชีววิทยาช่องปากวิทยาภูมิคุ้มกันโรคในช่องปาก ความเจ็บปวดและภาวะไวเกินของฟัน รวมถึงยา ที่ใช้ในทางทันตกรรม
4.วิทยาศาสตร์ชีวเวช (Biomedical Sciences)
การประยุกต์ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (basic medical science) ที่มีความสำคัญทางคลินิก โดยนำหลักการสำคัญ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์มาใช้อธิบายกระบวนการทางคลินิก คือ การตรวจวินิจฉัยโรค การวางแผนในการรักษา การรักษา การประเมินผลการรักษา การคาดการณ์ผลการรักษา การแก้ไขผลการแทรกซ้อนจากการรักษาโดยให้การรักษาอย่างมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
5.ระบาดวิทยา (โรคในช่องปาก) (Oral Epidemiology)
ศึกษาถึงหลักการพื้นฐานทางระบาดวิทยาของโรคในช่องปากที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางคลินิกและโรคที่เป็นปัญหาในชุมชนรวมถึงบทบาทของปัจจัยเสี่ยง วิธีคิดในการค้นหา ความสัมพันธ์ระหว่างโรค สามารถออกแบบการวิจัยที่ใช้หลักการทางระบาดวิทยา ในการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างโรคและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ตลอดจนการประเมินคุณค่ารูปแบบการศึกษาและวิจารณ์ผลงานวิจัยเชิงระบาดวิทยาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ตลอดจนการศึกษาระบบการให้บริการทางทันตสาธารณสุข ทั้งในการออกพื้นที่สำหรับการสำรวจและรักษาเบื้องต้น และทันตสาธารณสุขมูลฐานระบบการบริการในโรงพยาบาล การวางแผนการให้การบริการ และป้องกันสำหรับชุมชนและสถานพยาบาล พร้อมทั้งวิธีการประเมินผล
6.กฎหมายวิชาชีพ เจตคติและและจรรยาบรรณวิชาชีพทันตกรรม (Laws and Ethics in Dentistry)
ศึกษาความรู้กฎหมายวิชาชีพ เจตคติและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗ ข้อบังคับทันตแพทยสภา ระเบียบทันตแพทยสภา และ/หรือระเบียบราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง และตระหนักถึงการรักษาผู้ป่วย และศึกษาจิตวิทยาของมนุษย์เพื่อความเข้าใจผู้ป่วยทันตกรรมหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเวชกรรม และการนำเอาความรู้ด้านจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ร่วมกับความรู้ทันตแพทยศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสำเร็จของการบำบัดรักษา การป้องกันโรคในช่องปาก และการสร้างเสริมสุขภาพ ทันตนิติเวช เพื่อสร้างความตระหนักและหลักจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมและส่งเสริมวิชาชีพทันตแพทย์ รวมทั้งตระหนักถึงการรักษาผู้ป่วยที่ไม่ละเมิดสิทธิของผู้ป่วยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
1.พฤติกรรมศาสตร์และสุขศึกษา (Behavioral Sciences and Health Education)
แนวคิดทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการให้บริการด้านสุขภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางสุขภาพความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรทางด้านสุขภาพอนามัยศึกษา เกี่ยวกับความต้องการ พฤติกรรมการแสดงออกและกระบวนการแก้ปัญหาซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการ การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม การประยุกต์ใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์และสุขศึกษาเพื่อพัฒนาการบริการทันตกรรมให้มีประสิทธิภาพและเป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ
2.ทันตกรรมป้องกันในคลินิก (Clinical Preventive Dentistry)
การศึกษาปรัชญาแนวคิดและหลักการดำเนินงานทันตกรรมป้องกัน รวมทั้งความหมาย ขอบเขตโดยอาศัยแนวคิดในการดูแลทันตสุขภาพแบบองค์รวม การประยุกต์ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์ของบุคคลและชุมชนแนวคิดการดูแลทันตสุขภาพตนเอง มาตรการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในระดับบุคคลและชุมชนและ การดำเนินงานทันตกรรมป้องกันในสาขาต่างๆ ทางทันตกรรม และฝึกปฏิบัติทันตกรรมป้องกันในคลินิก
3.ทันตกรรมพร้อมมูล (Comprehensive dentistry and seminar)
– ทันตกรรมพร้อมมูล 1 (Comprehensive dentistryI)
ศึกษาถึงการถ่ายภาพในคลินิกทันตกรรม(clinical dental photography) หลักการทั่วไปของกล้องถ่าย ภาพองค์ประกอบและเทคนิคการถ่ายภาพมาตรฐานภายในและภาย นอกช่องปาก รวมถึงภาพถ่ายรังสี การแก้ไขข้อผิดพลาด ที่พบบ่อยในการถ่ายภาพ ข้อจำกัดของกล้องดิจิตอลทั้งความเหมือนและความต่างในด้านคุณภาพการจัดการภาพถ่ายการใช้ภาพถ่ายในการนำเสนอผู้ป่วย และศึกษาการนำหลักการและกระบวนทัศน์ในการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูล มาประยุกต์ใช้ร่วมกับความรู้ทางทฤษฎีในสาขาต่างๆ ของงานทันตกรรมในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยอย่างถูกต้องเหมาะสมให้มีแผนการรักษาที่ครอบคลุมในทุกด้านตามข้อกำจัดต่างๆ ของผู้ป่วยทั้งทางการแพทย์ สภาวะจิตใจ ความต้อการ สภาวะทางเศรษฐกิจ ทัศนคติ เวลา และสามารถนำเสนอแผนการรักษาได้อย่างเป็นระบบ โดยผู้ป่วยยอมรับและเป็นไปตามความประสงค์ของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยมีความเข้าใจในแผนการรักษานั้นๆ ด้วย และให้ดำรงรักษาสภาวะของการมีสุขภาพดีคงอยู่ตลอดไป
– ทันตกรรมพร้อมมูล 2 (Comprehensive dentistry II)
ศึกษาสัมมนาและให้บริบาลทันตกรรมพร้อมมูลในผู้ป่วย โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียน มีความรู้ ในการจัดบริการทางทันตกรรมที่เป็นแก่ผู้ป่วยแต่ละราย อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในทุกสาขา ตรวจ วินิจฉัย นำหลัก การและกระบวนทัศน์ในการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูล มาประยุกต์ใช้ร่วมกับความรู้ทางทฤษฎี ในสาขาต่างๆ ของงานทันตกรรม เพื่อวางแผน การรักษาผู้ป่วยอย่างถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับข้อจำกัดต่างๆ ของผู้ป่วยทั้งทางการแพทย์ สภาวะจิตใจ ความต้องการ สภาวะทางเศรษฐกิจ ทัศนคติ เวลา ซึ่งผู้ป่วยยอมรับและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ป่วย สามารถนำเสนอแผนการรักษาได้อย่างเป็นระบบศึกษาปฏิบัติคลินิกและนำเสนอผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับการรักษาที่ยากซับซ้อน น่าสนใจ (Interesting case) และในผู้ป่วยที่รับการรักษาบริบาลทันตกรรมพร้อมมูล (Comprehensive case) โดยประมวลความรู้พื้นฐานจากสาขาวิชาต่างๆ ในลักษณะองค์รวม มีการสืบค้นหลักฐานทางวิชาการที่ตรงกับปัญหา ฝึกทักษะในการรวบรวม และวิเคราะห์หลักฐานที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย
4.ทันตกรรมขั้นสูงและทันตกรรมโรงพยาบาล (Advanced Dentistry and Hospital Dentistry) ประกอบด้วย
– วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปากและเภสัชวิทยาทางทันตกรรม (Oral Diagnosis and Pharmacology in Dentistry)
ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการซักประวัติผู้ป่วย การตรวจภายในช่องปาก และภายนอกช่องปากอย่างละเอียดเพื่อ ให้ทราบสาเหตุกลไกการเกิดพยาธิสภาพของโรคในช่องปากทั้งเฉพาะที่และเกี่ยวข้องกับระบบต่างๆ ของร่างกายรวม ทั้งมีทักษะในการนิจฉัยแยกโรค วินิจฉัยโรค การวางแผนการรักษา การส่งต่อและประสานงานกับบุคลากรทางการแพทย์การบำบัดรอยโรคในช่องปากที่พบบ่อยอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการบรรยายเกี่ยวกับยาที่ใช้บ่อยที่เกี่ยวข้องกับโรคในช่องปาก เช่น ยาต้านจุลชีพ การรักษาอาการเสียวฟัน เป็นต้น
การบรรยายเกี่ยวกับการทำงานปกติของร่างกาย ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เนื้องอกในช่องปาก รอยโรคที่เกิดจากการใส่ฟันเทียม รวมทั้งการติดเชื้อในช่องปากและอื่นๆ กลไกการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่มต่างๆ การเสริมฤทธิ์และการต้านฤทธิ์ของยาที่รักษาโรคระบบต่างๆ กับยาที่ใช้ในทางทันตกรรมเพื่อการเลือกใช้ยาของทันตแพทย์ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพรวมถึงการศึกษายาชนิดใหม่ๆ ที่มีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้การเลือกใช้ยาเป็นไปอย่างมีเหตุผล และเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันอยู่เสมอ
– ทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมจัดฟัน (Pedodontics and Orthodontics) ๓ หน่วยกิต
หลักการในการป้องกัน และรักษาทางทันตกรรมสำหรับเด็ก หลักการตรวจวินิจฉัย การวางแผนการรักษาวิธี การจัดการพฤติกรรม การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์โรคในช่องปากและการเรียงตัวของฟัน หลักการในการจัดการกับฟันน้ำนม และฟันแท้ที่เกิดอุบัติเหตุกระแทก และการจัดการกับฟันที่ได้รับภยันตราย การวิเคราะห์ชุดฟันแบบผสมการพัฒนา และการเจริญของกระโหลกใบหน้า ชีวกลศาสตร์ของการเคลื่อนของฟัน แผนการวินิจฉัย และการรักษาโดยการเคลื่อนของฟันเฉพาะตำแหน่งด้วยการใช้เครื่องมือชนิดถอดได้ การวางแผนการรักษา การส่งต่อและแนะนำผู้ป่วยปากแหว่งและเพดานโหว่การวางแผนรักษาด้วยสหวิชาการเป็นการเสริมสำหรับแผนการรักษาแบบครอบคลุม รวมทั้งการฝึกหัดปฎิบัติการในการทำเครื่องมือให้ผู้ป่วยทั้งในงานทันตกรรมสำหรับเด็กและจัดฟัน
– ทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ 1 (Conservative Dentistry I : Operative, Endodontics, Periodontics and Prosthodontics) ๖ หน่วยกิต
การศึกษาเกี่ยวกับการเกิดฟันผุ การสูญเสียผิวฟัน (tooth surface loss) และวิธีการบูรณะฟันชนิดต่างๆ ทั้งวิธีทางตรง (directtechnique) และวิธีทางอ้อม (indirect- technique) รวมถึงการบูรณะฟันเพื่อความสวยงาม ลักษณะของโพรงประสาทฟัน พยาธิสภาพของโรคเนื้อเยื่อใน (pulp) และเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน หลักและกระบวนการของเอ็นโดดอนต์บำบัดในฟันสภาวะต่างๆ เอ็นโดดอนต์บำบัดในฟันที่ไม่ยุ่งยากรวมถึงฟันที่ได้รับภยันตรายจากอุบัติเหตุและฟันที่ต้องได้รับการรักษารากฟันซ้ำ โครงสร้างของอวัยวะปริทันต์ พยาธิสภาพของโรคปริทันต์ การตรวจวินิจฉัย การควบคุมอนามัยช่องปาก การรักษาด้วยวิธีพื้นฐานและศัลย์ปริทันต์บางวิธี การแก้ไขภยันตรายจากการสบฟันที่ผิดปกติ ทำเฝือกฟันชั่วคราว แก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างโรคปริทันต์กับงานทันตกรรมบำบัดสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ฟื้นฟูอวัยวะปริทันต์เพื่อให้การทำหน้าที่ของฟันกลับสู่สภาวะปกติ การใส่ฟันเทียมชนิดต่างๆ ได้แก่ฟันเทียมบางส่วนแบบติดแน่น ฟันเทียมบางส่วนแบบถอดได้ ฟันเทียมทั้งปาก ฟันเทียมคร่อมราก (overdenture) ครอบฟันชนิดต่างๆ บนฟันที่มีชีวิต ฟันที่ไม่มีชีวิตและบนรากฟันเทียมและการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม
– ทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ 2 (Conservative Dentistry II : Operative,Endodontics, Periodontics and Prosthodontics)
การรักษาผู้ป่วยทางทันตกรรมที่ยุ่งยากซับซ้อน (complicated case) ในงานสหสาขาวิชาที่ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานในด้านต่างๆ เช่น ปริทันตวิทยา วิทยาเอ็นโดดอนต์ ทันตกรรมหัตถการ และทันตกรรมประดิษฐ์ โดยมีการประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎี และวิทยาการปัจจุบัน เพื่อนำมารักษาผู้ป่วยแบบผสมผสานภายใต้กรอบความคิดของทันตกรรมพร้อมมูลได้อย่างเหมาะสม มีขั้นตอน วิธีการรักษาถูกต้องอย่างมีแบบแผน และเกิดความพึงพอใจแก่ผู้ป่วยและทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา
– ปฏิบัติการทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ (Conservative Dentistry : Operative, Prosthodontics)
ฝึกปฏิบัติทางปริทันต์วิทยา วิทยาเอ็นโดดอนต์ และทันตกรรมบูรณะในห้องปฏิบัติการก่อนให้การรักษาในผู้ป่วยจริงรวมถึงการศึกษาดูงานด้านทันตกรรมประดิษฐ์ในห้องปฏิบัติงานเอกชน เพื่อความเข้าใจในการสร้างชิ้นงานทางทันตกรรมประดิษฐ์
– ทันตกรรมรากเทียมขั้นแนะนำ (Basic Dental Implantology)
ศึกษาหลักการและความรู้พื้นฐานในงานทันตกรรมรากเทียม การวินิจฉัย การวิเคราะห์สภาพช่องปาก การวางแผนการรักษา เครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยเพื่อความสำเร็จในการบูรณะด้วยรากเทียม ขั้นตอนการรักษาทั้งส่วนการปลูกรากเทียม และการทำฟันเทียมบนรากเทียมเพื่อให้ได้ทั้งความสวยงามและใช้บดเคี้ยวได้การอภิปรายเรื่องการประเมินความสำเร็จและความล้มเหลวของการบูรณะด้วยรากเทียม การป้องกันและ คงสภาพรากเทียมรวมถึงการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
– ทันตกรรมขั้นสูง (Advanced General Dentistry)
การศึกษาความก้าวหน้าทางวิชาการและพัฒนาการของเทคโนโลยีทางทันตกรรมใหม่ๆ (advanced dentistry) เช่น เลเซอร์ทางทันตกรรม ทันตกรรมรากเทียม และความก้าวหน้าทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลและพันธุศาสตร์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการรักษาผู้ป่วย รวมถึงเพื่อให้สามารถติดตามการพัฒนาทางวิชาการ ของทันตแพทย์ได้อย่างเข้าใจและต่อเนื่อง
– เทคโนโลยีดิจิตอลทางทันตกรรม (Dental Digital Technology)
ศึกษาการใช้งานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เสริม ในการประยุกต์ ใช้ในงานทันตกรรม วิธีใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาและ จัดเก็บข้อมูลทางทันตกรรม การจัดทำสื่อกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาการบริการทางทันตกรรม
– ศัลยศาสตร์ช่องปากและทันตกรรมโรงพยาบาล 1 (Oral Surgery and Hospital Dentistry I)
การศึกษาหลักการและฝึกปฏิบัติในการตรวจวินิจฉัย วางแผนการรักษา และการใช้ยาในงานศัลยกรรมช่องปาก สามารถดูแลผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด การเขียนใบสั่งการต่างๆ ในโรงพยาบาล โดยมุ่งเน้นเนื้อหาในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ การติดเชื้อจากฟัน เนื้องานในช่องปากชนิดไม่ร้ายแรง การรักษาถุงน้ำที่มีขนาดเล็ก การผ่าตัดเกี่ยวกับกระดูกรองรับรากฟัน (dentoalveolar surgery) การศัลยกรรมเพื่อเตรียมช่องปากก่อนใส่ฟันเทียม การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ การประเมินสภาพผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุและทำการรักษากระดูกขากรรไกรหักโดยวิธีปิด (closed method) ก่อนการส่งต่อ ศึกษาปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการทำงานศัลยกรรมช่องปาก รวมถึงภาวะฉุกเฉินทางอายุรกรรมที่อาจพบได้ในคลินิกทันตกรรม โดยเน้นในเรื่องการตรวจวินิจฉัย อาการและอาการแสดงต่างๆ การป้องกันและแก้ไขสภาวะฉุกเฉินต่างๆ รวมถึงการกู้ชีพและการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการรักษาที่เหมาะสมได้อย่างมีระสิทธิภาพ
– ศัลยศาสตร์ช่องปากและทันตกรรม โรงพยาบาล 2 (Oral Surgery and Hospital Dentistry II)
การศึกษาทั้งทฤษฎีและฝึกปฏิบัติในการตรวจวินิจฉัยการวางแผนการรักษา การให้การดูแลรักษาผู้ป่วยในงานศัลยกรรมช่องปาก รวมทั้งการให้การดูแลก่อนและหลังการผ่าตัดศัลยกรรมช่องปาก รวมถึงการบัดรักษาเบื้องต้น และสามารถพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาต่อได้อย่างถูกต้อง
– การดูแลรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ (Dental Care in Special Patients)
การศึกษาเกี่ยวกับผู้ป่วยกลุ่มพิเศษซึ่งหมายถึง ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ ผู้สูงอายุ ผู้พิการประเภทต่างๆ ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหญิงตั้งครรภ์ ที่จะเกี่ยวข้องกับงาน ทันตกรรมและการดูแลรักษาทางทันตกรรมต่าง ๆ ในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษนี้
1) ทันตกรรมในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ
การศึกษาเกี่ยวกับโรคทางระบบต่างๆ ที่มีผลต่อกระบวนการบริการทางทันตกรรม โดยมุ่งเน้นการ ตรวจวินิจฉัย เพื่อให้ทราบถึงการเกิดโรค สถานภาพการเจ็บป่วย เพื่อป้องกันการแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการให้บริการทางทันตกรรม และการ จัดการที่เหมาะสมกับสภาวะการณ์นั้น ๆ รวมถึงการขอคำปรึกษาและการส่งต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
2) ทันตกรรมในผู้ป่วยสูงอายุ
การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยน แปลงต่างๆ ทางร่างกาย จิตใจ และสมองของผู้สูงอายุที่มีผลกระทบต่อทันตสุขภาพ โรคทางระบบที่พบในผู้สูงอายุ เภสัชวิทยาของยาที่ใช้ในผู้สูงอายุที่มีผลต่อทันตสุขภาพ การวางแผนการรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการให้การรักษาทางทันตกรรมอย่างเหมาะสม
3) ทันตกรรมในผู้พิการ
การศึกษาเกี่ยวกับความพิการประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรม เภสัชวิทยาของยาที่ใช้ในผู้ป่วยพิการที่มีผลต่อทันตสุขภาพ การวางแผนการรักษาทางทันตกรรม ตลอดจนการให้การรักษาทางทันตกรรมที่เหมาะสม
4) ทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์
การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยน แปลงต่างๆ ทางร่างกาย จิตใจ และฮอร์โมนที่มีผลต่อทันตสุขภาพ รวมทั้งผลกระทบที่อาจจะเกิดกับทารกที่อยู่ในครรภ์ เภสัชวิทยาที่อาจจะมีผลกระทบต่อมารดาและทารกในขณะตั้งครรภ์จนถึงในระยะให้นมบุตร ตลอดจนการวางแผนการรักษาทางทันตกรรม โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ แต่ละช่วงเวลาตลอดการตั้งครรภ์ให้เหมาะสมกับหัตถการแต่ละชนิด
วารสารสโมสร
วารสารสโมสรในสาขาทันตกรรมทั่วไป สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก สาขาทันตกรรมจัดฟัน สาขาทันตกรรมประดิษฐ์และทันตวัสดุ สาขาทันตกรรมหัตถการ สาขาปริทันตวิทยา สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ สาขาศัลยกรรมช่องปาก การนำเสนอความรู้และวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทั่วไปที่ได้จากการค้นคว้าบทความทางวิชาการ การอภิปรายกลุ่มย่อยเกี่ยวกับการประเมินวิเคราะห์และสังเคราะห์ความเชื่อมโยงของข้อมูลจากบทความที่นำเสนอ นำไปสู่การสรุปความรู้เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วย
การปฏิบัติงานบริการทันตกรรมพร้อมมูลในผู้ป่วย ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนตระหนักในหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ พร้อมทั้งมีทักษะในการจัดบริการทางทันตกรรมที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยแต่ละรายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในทุกสาขาวิชา การตรวจวินิจฉัยอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ การจูงใจเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโดยเน้นการดำรงรักษาให้มีทันตสุขภาพที่สมบูรณ์ ซึ่งผู้ป่วยยอมรับและเข้าใจในแผนการรักษาที่ครอบคลุมทุกด้าน และเป็นไปตามความประสงค์ของผู้ป่วยด้วยกระบวนการรักษาจะต้องผสมผสานแนวคิดแบบองค์รวม ซึ่งสอดคล้องกับข้อจำกัดทางการแพทย์ สภาวะจิตใจ สังคม เศรษฐานะของผู้ป่วย เพื่อสร้างทันตสุขภาพที่เหมาะสมกับบุคคลนั้นๆและพัฒนาให้บุคคลนั้นๆ สามารถดำรงรักษาสภาวะของการมีสุขภาพดีไว้ด้วยการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีความสามารถในการประสานงานกับ ทันตบุคลากร และบุคลากรทางการแพทย์อย่างเป็นระบบเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนและการส่งต่ออย่างเหมาะสมและต้องปฏิบัติงานให้ได้ครบปริมาณงานขั้นต่ำ คือให้การบริบาลทันตกรรมพร้อมมูลจนเสร็จสมบูรณ์ในผู้ป่วย ไม่น้อยกว่า 10 ราย
ประมวลความรู้ในเรื่องการวิเคราะห์สถิติขั้นพื้นฐานและการใช้สถิติในการสรุปผลจากข้อมูลที่รวบรวมมาจากสำรวจและห้อง ปฏิบัติการ และความรู้ในเรื่องระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้ในทางทันตแพทยศาสตร์ การวางแผนการวิจัย การค้นหาข้อมูลทางวิชาการด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ ข้อพึงพิจารณาเฉพาะของตัวแปรในการศึกษาวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ การควบคุมคุณภาพของข้อมูล การประมวลข้อมูลและ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติและคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมในการศึกษาทางทันตแพทยศาสตร์ การเขียนและการพิจารณาโครงร่างการวิจัยข้อพิจารณาจริยธรรมในการวิจัย มารยาทของนักวิจัย แบบต่างๆรวมทั้งตัวอย่างและวิธีการวิจัยที่ใช้เฉพาะในการศึกษาทางทันตแพทย์ศาสตร์แต่ละสาขาฯ นำมาใช้ในการทำงานวิจัยตามขั้นตอนและมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพอย่างน้อย ๑ เรื่อง ซึ่งต้องตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
ค่าลงทะเบียนเหมาจ่าย 50,000 บาท/ภาคการศึกษา
ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร 300,000 บาท (ระยะเวลา 3 ปี)