หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาปริทันตวิทยา
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : การฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญฯ สาขาปริทันตวิทยา
ภาษาอังกฤษ : Residency Training Program in Periodontology
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : ประกาศนียบัตรหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาปริทันตวิทยา
ชื่อย่อ : ป.ทันตแพทย์ประจำบ้าน (ปริทันตวิทยา)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Certificate Residency Training in Periodontology
ชื่อย่อ : Cert. Residency Training in Periodontology
ปรัชญาของหลักสูตร
เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการของสาขาปริทันตวิทยาให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาทางวิชาการและวิจัยรวมไปถึงการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญทางสาขาวิชานี้
คำนิยาม
ปริทันตวิทยาหมายถึงสาขาวิชาเฉพาะทางทางทันตแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน การตรวจพิเคราะห์ และการรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะที่รองรับฟันหรือสิ่งที่ทดแทนฟัน รวมถึงงานทันตกรรมรากเทียม เพื่อให้มีอวัยวะปริทันต์และอวัยวะรอบรากฟันเทียมที่มีสุขภาพดี สามารถใช้งานได้และมีความสวยงาม
วัตถุประสงค์
1.วัตถุประสงค์ทั่วไป
ผลิตทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านปริทันตวิทยาที่ได้มาตรฐานในระดับสากล มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรม มีมนุษยสัมพันธ์อันดี ต่อผู้ป่วยและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยคำนึงถึงความก้าวหน้าและการกระจายความเจริญทางด้านวิชาการเป็นหลักและเพื่อขยายบริการสาธารณสุขไปสู่จังหวัดต่างๆ (ทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ) ตามความเหมาะสม
2. วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้
1. มีความรู้ความชำนาญอย่างสูงทางปริทันตวิทยาในภาคทฤษฎีและปฏิบัติทั้งในแนวลึกและแนวกว้าง
2. ตรวจพิเคราะห์โรคและให้การรักษาผู้ป่วยโรคปริทันต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และความรู้พื้นฐานที่ทันสมัยในแง่ของการเกิดโรค การดำเนินของโรค และการจัดวางแผนการรักษาผู้ป่วย
3. ให้คำปรึกษาทางด้านปริทันตวิทยาแก่ทันตแพทย์ผู้ร่วมงานเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย
4. ให้ความร่วมมือในการวางแผนการรักษาและให้การรักษาร่วมกับทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี
5. มีความรู้ความเข้าใจในความเกี่ยวข้องระหว่างโรคทางระบบกับโรคปริทันต์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อในช่องปาก
6. ตรวจแยกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์เพื่อให้การป้องกันและรักษาอย่างเหมาะสม
7. พัฒนาตนเองทางวิชาการเพื่อความรู้ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
8. มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการทำงานวิจัย สามารถทำวิจัยและนำเสนอผลงานวิจัยได้
9. มีความสามารถในการวิจารณ์ และประเมินผลงานวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์
ผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- 1. ได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ทันตแพทยสภารับรอง
- 2. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 หรือมีคุณสมบัติตามข้อ 40 แห่งข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาต่างๆ พ.ศ. 2555
- 3. ปฏิบัติงานทันตกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ทันตแพทยสภาอาจอนุมัติให้ผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต่างประเทศ เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรในสาขาปริทันตวิทยาได้เมื่อ
(1) เป็นไปตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศ และ
(2) มีสถาบันให้การฝึกอบรมรับเข้าฝึกอบรม และ
(3) ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขาปริทันตวิทยาโดยความเห็นชอบจากราชวิทยาลัย
ผู้อำนวยการหลักสูตร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์กันยวัชร์ รัตนสุวรรณ
E-mail: kanyawat.rat@mahidol.edu
โทร. 02-200-7841
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
งานบริหารการศึกษาหลังปริญญา
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 02 200 7634, 7641
E-mail : dtmupostgrad@mahidol.ac.th
การฝึกอบรมตามระบบเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญสาขาปริทันตวิทยา เป็นไปตามข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพต่างๆ พ.ศ. 2555 ข้อ 38 ซึ่งประกอบด้วย
ภาควิชาการ ได้แก่ การบรรยาย การประชุมวิชาการ การนำเสนอทางวิชาการ การสัมมนา วารสารสโมสร แบ่งเป็นการศึกษาความรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องเป็นระยะเวลาประมาณร้อยละ 30 และการศึกษาความรู้ในสาขาปริทันตวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้อง ประมาณร้อยละ 70 ดังนี้
1.1 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ได้แก่
ชีวเวชวิทยาและจรรยาบรรณ (Biomedical Science and Ethics)
ชีววิทยาช่องปาก (Oral Biology)
ระเบียบวิธีการวิจัย (Research Methodology)
สถิติทางทันตแพทยศาสตร์(Statistics in Dentistry)
1.2 กลุ่มวิชาสาขาปริทันตวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
ปริทันตวิทยา (Periodontology)
ทันตกรรมรากเทียม (Oral Implantology)
ความเจ็บปวดและความผิดปกติของขากรรไกรและใบหน้า (Orofacial Pain and TMJ Disorder)
การระงับความรู้สึกและยาที่ใช้ทางทันตกรรม (Sedation and Drugs in Dentistry)
เวชศาสตร์ช่องปาก (Oral Medicine)
ภาคปฏิบัติ
ทันตแพทย์ประจำบ้านจะได้รับการฝึกฏิบัติทางคลินิกในผู้ป่วยที่คลินิกปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และที่คลินิกปริทันตวิทยา โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 8 รายวิชา (ดูรายวิชาปริทันตศาสตร์คลินิกขั้นสูง 1-8 ในข้อ 15.2.4 หน้า 14) โดยมีระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติงานในภาคการศึกษาปกติ 6 ภาค และในภาคฤดูร้อน 2 ภาค (ดูข้อ 15.3 หน้า 15) เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเชี่ยวชาญอย่างสูงในการวางแผนการรักษาและการปฏิบัติงานในผู้ป่วยทางสาขาวิชาปริทันตวิทยา โดยจะต้องมี
2.1 การฝึกปฏิบัติให้การรักษา รวมไปถึงความรู้อย่างลึกซึ้งทางทฤษฎี ถึงเหตุผล ข้อดีและข้อเสียของการเลือกใช้วิธีการต่างๆดังต่อไปนี้
(1) Initial therapy (non-surgical therapy) ประกอบด้วย
• การตรวจ การวินิจฉัย การพยากรณ์โรค และการวางแผนการรักษา
• Plaque control
• Scaling และ root planing รวมทั้งการแก้ไข local etiologic factor และ contributing factor อื่นๆ
• การใช้ chemotherapeutic agents ช่วยในการป้องกัน การรักษาและควบคุมโรคปริทันต์
(2) Surgical therapy ประกอบด้วย
• Open flap debridement
• Resective surgery ได้แก่ gingivectomy, gingivoplasty, osteoplasty, ostectomy, root resection in the management of periodontal disease
• Regenerative surgery ได้แก่ bone/bone substitute graft, guided tissue regeneration
• Periodontal plastic surgeryเช่น soft tissue graft เป็นต้น
• Implant surgery เช่น การฝังรากเทียม การเตรียมสันเหงือกและสันกระดูกเพื่อการฝังรากฟันเทียม เป็นต้น
(3) Occlusal therapy รวมถึง occlusal adjustment, selective grinding, stabilization/splinting และ bite-guard therapy
2.2 ทันตแพทย์ประจำบ้านจะต้องให้การรักษาผู้ป่วยโรคปริทันต์ครบถ้วนตามจำนวนที่กำหนด (ดูภาคผนวก 1 หน้า 18-20) และการรักษานั้นจะต้องเสร็จสมบูรณ์ โดยผู้ป่วยนั้นมีอวัยวะปริทันต์และ/หรือเนื้อเยื่อรอบรากเทียมที่มีสุขภาพดี และปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดเป็นโรคปริทันต์ถูกกำจัดและควบคุมได้แล้ว การดูแลรักษาผู้ป่วยทุกรายจะต้องมีขั้นตอนครบตามที่กำหนดไว้ และมีการจัดทำแผนงานการรักษาและการดูแลหลังการรักษาอย่างถูกต้อง รวมทั้งมีภาพถ่าย ภาพรังสี แบบจำลองฟันและเอกสารครบถ้วน และจะต้องรักษาผู้ป่วยปริทันต์ระดับปานกลางถึงรุนแรงชนิดต่างๆ ได้แก่ Chronic periodontitis, Aggressive periodontitis, Periodontitis as a manifestation of systemic disease
2.3 การนำเสนอรายงานผู้ป่วย
ทันตแพทย์ประจำบ้านต้องรวบรวมข้อมูลรายละเอียดการรักษาผู้ป่วยทุกคน รายละเอียดของการรายงานต้องประกอบไปด้วย การพิเคราะห์โรค, การทำนายโรค, การวางแผนการรักษา และการรักษาที่เสร็จสมบูรณ์ และต้องรวมถึง อายุ เพศ และสภาพทั่วไปของผู้ป่วย เพื่อนำเสนอต่อคณาจารย์สาขาปริทันตวิทยา ในการประชุมนำเสนอรายงานผู้ป่วยของภาควิชา (ดูเอกสารหลักสูตรภาคผนวก 2 หน้า 21-22)
2.4 การศึกษาด้วยตนเอง
• ทันตแพทย์ประจำบ้านจะต้องศึกษา วิเคราะห์และวิจารณ์ เอกสาร/วารสารทางวิชาการเพื่อเพิ่มพูนและปรับปรุงความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ (ดูรายวิชาสัมมนาวรรณกรรมปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 1-6 ในหน้า 12 และภาคผนวก 3 หน้า 23) รวมทั้งการติดตามวิทยาการสมัยใหม่ด้วย
• การเข้าร่วมประชุมทางวิชาการของสมาคม/ชมรมวิชาชีพและ/หรือวิชาการอย่างสม่ำเสมอ
2.5 ภาควิจัย กำหนดให้
• ทันตแพทย์ประจำบ้านต้องทำงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง ตามประกาศการทำงานวิจัยของทันตแพทย์ประจำบ้านสาขาปริทันตวิทยา โดยคณะอนุกรรมการพิจารณางานวิจัยของทันตแพทย์ประจำบ้านสาขาปริทันตวิทยา ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย และ มีผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
- รายละเอียดโปรดดูคำอธิบายรายวิชา
- รายละเอียดโปรดดูคำอธิบายรายวิชา
ชั้นปี 1 |
รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) |
|||||
ภาคเรียนที่ 1 |
ภาคเรียนที่ 2 |
|||||
ทพวป 501 | หลักการของชีววิทยาระดับโมเลกุล | (1) | บฑคร 603 | ชีวสถิติ | (3) | |
ทพวป 502 | จุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกันทางปริทันต์ | (1) | ทพวป 505 | พยาธิวิทยาของโรคปริทันต์ 2 | (1) | |
ทพผส 514 | วิทยาระเบียบวิธีวิจัย | (2) | ทพวป 507 | การบำบัดรักษาโรคปริทันต์ 2 | (1) | |
ทพผส 515 | ชีววิทยาช่องปาก 1 | (2) | ทพวป 537 | การวิจัยทางปริทันตวิทยา* | (2) | |
ทพวป 538 | ปริทันตวิทยาขั้นสูง | (3) | ทพวป 611 | พยาธิสรีรวิทยาประยุกต์ | (1) | |
ทพวป 504 | พยาธิวิทยาของโรคปริทันต์ 1 | (1) | ทพวป 702 | ปริทันตศาสตร์คลินิกชั้นสูง 2 | 342 ชม. | |
ทพวป 506 | การบำบัดรักษาโรคปริทันต์ 1 | (1) | หมายเหตุ *ทันตแพทย์ประจำบ้านสามารถใช้เวลาจนสิ้นสุด ภาคเรียนที่ 2 ของชั้นปีที่ 3 ในการทำวิจัยให้เสร็จสมบูรณ์ | |||
ทพผส 701 | การถ่ายภาพในช่องปาก (วิชาเลือก) | (1) | ||||
ทพวป 701 | ปริทันตศาสตร์คลินิกชั้นสูง 1 | 255 ชม. | ||||
รวม 12 หน่วยกิต 255 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ | รวม 8 หน่วยกิต 342 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ | |||||
ภาคฤดูร้อน |
||||||
ทพวป 703 ปริทันตศาสตร์คลินิกชั้นสูง 3 216 ชม. | ||||||
รวม 216 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ |
ชั้นปี 2 |
รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) |
|||||
ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | |||||
ทพวป 564 | สัมมนาเวชศาสตร์ช่องปาก | (1) | ทพวป 608 | ทันตกรรมรากเทียม | (1) | |
ทพกย 601 | กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์บริเวณศีรษะและคอ | (1) | ทพผส 702 | จิตวิทยาและจรรยาบรรณ | (1) | |
ทพวป 709 | สัมมนาวรรณกรรมปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 1 | (1) | ทพวป 710 | สัมมนาวรรณกรรมปัจจุบันปริทันตวิทยา 2 | (1) | |
ทพรบ 734 | ความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกร | (1) | ทพวป 715 | สัมมนาวรรณกรรมพื้นฐานทางทันตกรรมรากเทียม | (1) | |
ทพวป 704 | ปริทันตศาสตร์คลินิกชั้นสูง 4 | 432 ชม. | ทพวป 718 | การระงับความรู้สึกและยาที่ใช้ทางทันตกรรม | (1) | |
ทพวป 705 | ปริทันตศาสตร์คลินิกชั้นสูง 5 | 456 ชม. | ||||
รวม 4 หน่วยกิต 432 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ | รวม 5 หน่วยกิต 456 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ | |||||
ภาคฤดูร้อน | ||||||
ทพวป 706 ปริทันตศาสตร์คลินิกชั้นสูง 6 216 ชม. | ||||||
รวม 216 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ |
ชั้นปี 3 |
รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | |||||
ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | |||||
ทพวป 711 | สัมมนาวรรณกรรมปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 3 | (1) | ทพวป 713 | สัมมนาวรรณกรรมปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 5 | (1) | |
ทพวป 712 | สัมมนาวรรณกรรมปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 4 | (1) | ทพวป 714 | สัมมนาวรรณกรรมปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 6 | (1) | |
ทพวป 716 | สัมมนาวรรณกรรมปัจจุบันทางทันตกรรมรากเทียม | (1) | ทพวป 719 | การฝึกสอนทางปริทันตวิทยา (วิชาเลือก) | (1) | |
ทพวป 707 | ปริทันตศาสตร์คลินิกชั้นสูง 7 | 432 ชม. | ทพวป 708 | ปริทันตศาสตร์คลินิกชั้นสูง 8 | 456 ชม. | |
รวม 3 หน่วยกิต 432 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ | รวม 3 หน่วยกิต 456 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ |
1.1 กลุ่มชีวเวชวิทยาและจรรยาบรรณ
กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ของศีรษะและคอ
Applied Anatomy of Head and Neck
ระบบโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณศีรษะและคอ รวมทั้งหน้าที่ของระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท และอวัยวะต่างๆ ซึ่งประยุกต์สำหรับการบำบัดทางทันตกรรม
หลักการของชีววิทยาระดับโมเลกุล
Principles of Molecular Biology
หลักการของชีววิทยาระดับโมเลกุล โดยเฉพาะทางฐานเคมีของเซลล์ โครงสร้างและหน้าที่ขององค์ประกอบเซลล์ และจีน
พยาธิสรีรวิทยาประยุกต์
Applied Pathologic Physiology
พยาธิสรีรวิทยาในระบบทางหน้าที่ร่างกาย รวมถึงสมุฏฐานวิทยา พยาธิกำเนิด และอาการแสดงต่างๆ ในช่องปาก
จิตวิทยาและจรรยาบรรณ
Psychology and Ethics
จิตวิทยาเพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมและความคาดหวังของผู้ป่วย ที่ส่งเสริมนักศึกษาถึงมุมมองและความสามารถในการจัดการกับกรณีที่ยุ่งยาก เรียนรู้การประยุกต์จิตวิทยาในงานทันตกรรมเพื่อเสริมความร่วมมือของผู้ป่วย ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จของการรักษาทางทันตกรรม การป้องกัน และการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก การคำนึงถึงความสำคัญของศีลธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวกับทันตแพทยศาสตร์ บทบาทของทันตแพทย์ในนิติทันตแพทยศาสตร์
1.2 ชีววิทยาช่องปาก
ชีววิทยาช่องปาก 1
Oral Biology I
โครงสร้าง การเจริญและพัฒนา หน้าที่ ความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันของเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ ในช่องปาก และที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ mineralized tissue, เยื่อบุช่องปาก, อวัยวะปริทันต์, ต่อมน้ำลายและน้ำลาย ทั้งในสภาพปกติและที่เป็นโรค รวมทั้งระบบจุลชีพในช่องปาก
1.3 ระเบียบวิธีการวิจัย
วิทยาระเบียบวิธีวิจัย
Research Methodology
หลักการของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการวิจัยในห้องปฏิบัติการและการวิจัยประยุกต์ เช่น การวิจัยเชิงคลินิก การวิจัยทางวิทยาการระบาด การออกแบบงานวิจัย การเขียนโครงงานวิจัย การทดสอบสมมติฐาน การรวบรวมและการใช้ข้อมูล การวิจารณ์บทความทางวิทยาศาสตร์ สถิติการวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการเขียนรายงาน
1.4 สถิติทางทันตแพทยศาสตร์
ชีวสถิติ
Biostatistics
ศึกษาความรู้พื้นฐานทางสถิติ เช่น ประชากรและตัวแทน การวิเคราะห์ ข้อมูลเบื้องต้นจากตัวแทนการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย การนำ เสนอข้อมูลเบื้องต้น ความน่าจะเป็นของตัวแปร การ กระจายแบบต่าง ๆ ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน การประมาณค่าเป็นรายข้อมูลและเป็นช่วง ศึกษาเน้นหนักถึงหัวข้อเรื่องการทดสอบมาตรฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนจากตัวแทนด้วยวิธีที่เหมาะสม การวิเคราะห์ความแปรปรวน การจำแนกแบบทางเดียวและสองทาง การวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบไม่มีพารามิเตอร์ โดยใช้ตัวอย่างข้อมูลทางการแพทย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้จากวิธีสถิติมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยทางการแพทย์และที่เกี่ยวข้องได้
2.1 กลุ่มวิชาเฉพาะปริทันตวิทยา
จุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกันทางปริทันต์
Periodontal Microbiology and Immunology
บทบาทของแบคทีเรียในโรคปริทันต์ แบคทีเรียในทางปริทันต์และความสามารถก่อโรค ภูมิคุ้มกันสืบทอดในอวัยวะปริทันต์ คีโมไคน์ในโรคปริทันต์ ภูมิคุ้มกันด้านสารน้ำและด้านเซลล์ในอวัยวะปริทันต์ การทดสอบเชิงวินิจฉัยสำหรับโรคปริทันต์ การอภิปรายถึงวรรณกรรมการวิจัยทางปริทันต์ที่เกี่ยวกับชีววิทยาระดับโมเลกุล จุลชีววิทยา หรือวิทยาภูมิคุ้มกัน
ปริทันตวิทยาขั้นสูง
Advanced Periodontology
ชีววิทยาเชิงโครงสร้างของเนื้อเยื่อปริทันต์ในขณะที่มีสุขภาพดีและที่เป็นโรค สมุฏฐานวิทยา พยาธิกำเนิด การวินิจฉัย และการวางแผนการรักษาโรคปริทันต์ การรักษาทางปริทันต์ขั้นสูงนานาประการ การแก้ไขการสบฟัน การเคลื่อนฟันเล็กน้อย และการออกแบบฟันเทียมบนฟันหลักที่เป็นโรคปริทันต์ การป้องกันโรคปริทันต์
พยาธิวิทยาของโรคปริทันต์ 1
Periodontal Pathology I
สัมมนาสมุฏฐานวิทยาและปัจจัยอื่น (เช่น แผ่นชีวภาพ คราบจุลินทรีย์ หินน้ำลาย การบาดเจ็บเหตุสบฟัน ฯลฯ) ของพยาธิกำเนิดของโรคปริทันต์ วิทยาการระบาดของโรคเหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบ จุลพยาธิวิทยาของโรคปริทันต์
พยาธิวิทยาของโรคปริทันต์ 2
Periodontal Pathology II
สัมมนากลไกทางพยาธิวิทยาของโรคปริทันต์อักเสบ บทบาทของแผ่นชีวภาพ คราบจุลินทรีย์ ปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันร่างกาย ปัจจัยทั่วกาย และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่มีผลต่อพยาธิกำเนิดของโรคปริทันต์อักเสบ เทคนิคการวินิจฉัยสำหรับโรคปริทันต์
การบำบัดโรคปริทันต์ 1
Periodontal Therapy I
สัมมนาปริทันต์บำบัดแบบอนุรักษ์ ศัลยกรรมปริทันต์แบบตัดออก ศัลยกรรมเยื่อเมือก-เหงือก และความจำเป็นในการรักษา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหายของแผลปริทันต์
การบำบัดโรคปริทันต์ 2
Periodontal Therapy II
สัมมนาศัลยกรรมปริทันต์แบบทำให้คืนสภาพ ปริทันต์บำบัดร่วมกับการรักษาสาขาอื่น เช่น ทันตกรรมจัดฟัน ทันตกรรมประดิษฐ์ การรักษาคลองรากฟัน การใส่รากเทียม การรักษาอวัยวะปริทันต์ที่ไม่งามเพื่อการบูรณะด้วยฟันเทียมหรือรากเทียม ปริทันต์บำบัดในกรณีผู้ป่วยพิเศษ และผลระยะยาวของปริทันต์บำบัด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหายของแผลปริทันต์
สัมมนาวรรณกรรมปัจจุบันทางปริทันตวิทยา 1-6
Current Periodontal Literature Seminar I- VI
ความรู้ในเรื่องปริทันตวิทยาจากวารสารทางปริทันตวิทยา และวารสารอื่นที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน
2.2 ทันตกรรมรากเทียม
ทันตกรรมรากเทียม
Oral Implantology
ฐานทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องทันตกรรมรากเทียม ข้อพิจารณาทางศัลยกรรม ทางปริทันต์ และทางทันตกรรมประดิษฐ์ในทันตกรรมรากเทียม การวินิจฉัยและแผนการรักษา ปัญหาแทรกซ้อน และการบำบัดประคับประคองในผู้ป่วยทันตกรรมรากเทียม
สัมมนาวรรณกรรมพื้นฐานทางทันตกรรมรากเทียม
Basic Oral Implantology Literature Seminar
ประวัติของทันตกรรมรากเทียม วิทยาศาสตร์พื้นฐานของทันตกรรมรากเทียม ทั้งด้านวัสดุ พื้นผิว และ biomechanic ปฏิกิริยาของเซลเนื้อเยื่อต่อรากเทียม การหายของเนื้อเยื่ออ่อนและกระดูกหลังการใส่รากเทียม เปรียบเทียบเนื้อเยื่อรอบๆ รากเทียมกับอวัยวะปริทันต์ ในระดับกายวิภาคและระดับจุลภาค หลักการของรากเทียมระบบต่างๆ ทั้งหนึ่งและสองขั้นตอน
สัมมนาวรรณกรรมปัจจุบันทางทันตกรรมรากเทียม
Current Oral Implantology Literature Seminar
วัสดุและพื้นผิวของรากเทียมที่มีการพัฒนาเพื่อส่งเสริมให้เกิด osseointegration ที่ดีขึ้น การใช้ growth factor และ graft materials ในงานทันตกรรมรากเทียมเพื่อแก้ไขความวิการของกระดูกขากรรไกรหรือเพื่อการ graft ใน maxillary sinus การศึกษาถึง long term survival rate ของรากเทียมระบบต่างๆ ในสภาวะที่แตกต่างกัน การรักษารากเทียมที่เกิด peri-implantitis และการใช้รากเทียมในสถานการณ์ต่างๆ เป็นการศึกษาบทความวิชาการเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับทันตกรรมรากเทียมที่มีความพัฒนาอย่างรวดเร็ว
2.3 ความเจ็บปวดและความผิดปกติของขากรรไกรและใบหน้า
ความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกร
Temporomandibular Disorders
นิยามและระบาดวิทยา สมุฏฐานวิทยา อาการและอาการแสดง การประเมิน การถ่ายภาพรังสีข้อต่อขากรรไกร การวินิจฉัยแยกโรค และการจัดการความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกรทั้งแบบผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือในช่องปากในการจัดการความผิดปกติ
2.4 การระงับความรู้สึกและยาที่ใช้ทางทันตกรรม
การระงับความรู้สึกและยาที่ใช้ทางทันตกรรม
Sedation and Drugs Used in Dentistry
การควบคุมความเจ็บปวดในผู้ป่วยทางทันตกรรมที่มีความกังวลและกลัวในรูปแบบของยาชาเฉพาะที่ การใช้ยากล่อมประสาทชนิดต่างๆ ร่วมกับยาชาเฉพาะที่ และการใช้ nitrous oxide ทบทวนเภสัชวิทยาของยาชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยปริทันต์ ข้อควรระวังในการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับยาเพื่อรักษาโรคทางระบบ ปฏิกิริยาระหว่างยาต่างชนิดที่มีผลเสริมและต้านยาซึ่งกันและกัน
2.5 เวชศาสตร์ช่องปาก
สัมมนาเวชศาสตร์ช่องปาก
Oral Medicine Seminar
การเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่ออ่อนบุช่องปาก อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ ตลอดจนการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งผลการรักษา
การถ่ายภาพช่องปาก
Oral Photography
ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆ ของกล้องถ่ายภาพแบบธรรมดาและแบบดิจิทอล ฟิล์มและเลนส์ ฝึกหัดถ่ายภาพในช่องปากที่มีคุณภาพเพื่อการนำเสนออย่างมีจริยธรรม
การฝึกสอนทางปริทันตวิทยา
Practice Teaching in Periodontics
ฝึกหัดการสอน การให้คำแนะนำปรึกษาแก่นักศึกษาทันตแพทย์ที่ฝึกภาคปฏิบัติงานคลินิกปริทันตวิทยา
เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างโอกาสการเรียนรู้และเสริมทักษะให้แก่ทันตแพทย์ประจำบ้านทั้งในด้านวิชาการหรือวิชาชีพ และทางด้านสังคม นอกเหนือจากการเรียนตามหลักสูตร
ปริทันตศาสตร์คลินิกขั้นสูง 1-8
Advanced Clinical Periodontics I-VIII
การวินิจฉัยทางปริทันต์ การพยากรณ์โรค และการวางแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบขั้นปานกลางและขั้นรุนแรง ผู้ป่วยโรคปริทันต์ที่มีโรคทางระบบ และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาแบบสหวิทยาการ ปริทันต์บำบัดขั้นเตรียมการ ปริทันต์บำบัดขั้นต้น และปริทันต์บำบัดประคับประคอง การประเมินการสนองตอบต่อการรักษาขั้นต้น การวางแผนศัลยกรรมปริทันต์ ศัลยกรรมปริทันต์แบบง่าย/แบบซับซ้อน/ศัลยกรรมรากเทียม/ศัลยกรรมปริทันต์เพื่อเพิ่มความสวยงาม และการติดตามผล การประเมินผลจากปริทันต์บำบัดและการประเมินการสนองตอบของเนื้อเยื่อปริทันต์ต่อแบบบูรณะฟัน จริยธรรมในการให้บริการสุขภาพ
ทพวป 537 การวิจัยทางปริทันตวิทยา
DTMD 537 Research in Periodontology
การกำหนดหัวข้อวิจัย การเขียนโครงร่างวิจัย การนำเสนอโครงร่างวิจัย การดำเนินการวิจัยตามหลักจริยธรรมการวิจัย การเขียนบทนิพนธ์ต้นฉบับตามหลักจริยธรรมเพื่อเผยแพร่ และการสอบงานวิจัย
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
ค่าลงทะเบียนเหมาจ่าย 70,000 บาท/ภาคการศึกษา
ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร 420,000 บาท (ระยะเวลา 3 ปี)