หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมผู้สูงอายุ
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมผู้สูงอายุ
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Geriatric Dentistry
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ทันตกรรมผู้สูงอายุ)
ชื่อย่อ : วท.ม. (ทันตกรรมผู้สูงอายุ)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Master of Science (Geriatric Dentistry)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Geriatric Dentistry)
หลักสูตรมุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะระดับสูงในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุได้อย่างเป็นองค์รวมตาม จรรยาบรรณวิชาชีพ และสามารถนำองค์ความรู้มาประมวลเพื่อวางแผนการรักษาตามหลักวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ และแก้ปัญหา ได้อย่างเหมาะสม และสามารถทำโครงการการวิจัยสู่การพัฒนาเพื่อสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยอยู่บนพื้นฐาน ของคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาการ และวิชาชีพเป็นสำคัญ
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้วมหาบัณฑิตจะมีคุณลักษณะตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา ดังนี้
- มีคุณธรรม และจริยธรรม ประพฤติตนตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม
- มีความรู้ ใฝ่หาความรู้ และประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง ในการบำบัดรักษาทางทันตกรรมสำหรับผู้สูงอายุอย่างมีขั้นตอนถูกต้องและเหมาะสม
- มีทักษะในการนำความรู้ทางพหุวิทยาการทางทันตกรรมมาวิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาการปฏิบัติงานในคลินิกและเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- มีทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ทักษะในด้านการสื่อสารทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันในการสืบค้นข้อมูล รวบรวม นำเสนอความรู้ได้อย่างเข้าใจ
ELO1
สามารถรักษาผู้ป่วยทางทันตกรรมผู้สูงอายุได้อย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพ และมีความซื่อตรงในการทำรายงานทางวิชาการ ตรงต่อเวลา ไม่ลอกเลียนผลงานผู้อื่น
ELO2
สามารถบูรณาการความรู้ เพื่อการรักษาทางทันตกรรมผู้สูงอายุ ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและวิชาชีพ
ELO3
สามารถวิเคราะห์ วินิจฉัยประเด็นปัญหา เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางทันตกรรมผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและวิชาชีพ
ELO4
แสดงออกถึงภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม และมีความรับผิดชอบส่วนตนและส่วนรวม
ELO5
สามารถสื่อสารด้วยการพูด อ่าน เขียน ได้อย่างเข้าใจ และสามารถใช้โปรแกรม สารสนเทศในการสื่อสาร ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์เพื่อประยุกต์ในการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยทางทันตกรรมผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณลักษณะพิเศษ | กลยุทธ์การสอนหรือกิจกรรมของนักศึกษา | ||
ลักษณะตามวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดล และ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | |||
มหาวิทยาลัยมหิดล | คณะทันตแพทยศาสตร์ | ||
M=Mastery | เป็นนายแห่งตน | ความเป็นมนุษย์ที่ดี | 1) จัดอบรมพัฒนานักศึกษาที่พึงประสงค์ตาม Core Value ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยกําหนดจัดให้นักศึกษาแรกเข้า จํานวน 2 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2) จัดอบรมพัฒนาชีวิตด้วยจิตตภาวนา โดยกําหนดจัดให้นักศึกษาแรกเข้า 3) ส่งเสริมให้เข้าร่วมกิจกรรมด้านการบริการแก่ชุมชน และสังคม เช่น – การเป็นอาสาสมัครในการให้บริการทางทันตกรรมฟรี ซึ่งคณะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้งในวันทันตสาธารณสุข ในวันที่ 21 ตุลาคม และวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 2 เมษายน หรือ – การออกหน่วยทันตกรรมพระราชทาน – การออกหน่วยทันตกรรมชุมชนให้บริบาลสุขภาพช่องปากแก่ผู้สูงอายุที่เปราะบางและอยู่ในภาวะพึ่งพาในชุมชน 4) ส่งเสริมให้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ หรือนานาชาติ |
A=Altruism | มุ่งผลเพื่อผู้อื่น | อตฺตานํ อุปมํ กเร (เอาใจเขามาใส่ใจเรา) | |
H=Harmony | กลมกลืนกับสรรพสิ่ง | ความสามัคคี | |
I=Integrity | มั่นคงยิ่งในคุณธรรม | ความมีคุณธรรม | |
D=Determination | แน่วแน่ทำ กล้าตัดสินใจ | มุ่งมั่น มีเป้าหมาย | |
O=Originality | สร้างสรรค์สิ่งใหม่ | ใฝ่รู้ สร้างสรรค์ | |
L=Leadership | ใฝ่ใจเป็นผู้นำ | ความเป็นผู้นำ |
1. ทันตแพทย์ผู้มีความรู้และทักษะความสามารถในสาขาทันตกรรมผู้สูงอายุปฏิบัติงานในคลินิก หรือ สถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
2. นักวิจัยที่มีความชำนาญในงานวิจัยสาขาทันตกรรมผู้สูงอายุ
3. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านทันตกรรมผู้สูงอายุในสถาบันการศึกษา
1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
3. ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมจากทันตแพทยสภา หรือเป็นใบประกอบวิชาชีพจากต่างประเทศที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นควรเทียบเคียงได้
4. มีประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมอย่างน้อย 1 ปี
5. มีหนังสือรับรอง หรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร) คือ
a) TOEFL iBT score of at least 64 or
b) IELTS score of at least 5.0 or
c) MU GRAD Plus score of at least 70
6. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
ประธานหลักสูตร วท.ม. ทันตกรรมผู้สูงอายุ
รศ.ดร.ทพญ.ทิพนาถ วิชญาณรัตน์
E-mail: tippanart.vic@mahidol.ac.th
งานบริหารการศึกษาหลังปริญญา
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 02 200 7634, 7641
E-mail : dtmupostgrad@mahidol.ac.th
แผน ก แบบ ก2
หมวดวิชา | จำนวน (หน่วยกิต) |
หมวดวิชาบังคับ | 23 |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 1 |
วิทยานิพนธ์ | 12 |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 |
ชั้นปี |
ภาคการศึกษาที่ ๑ | ภาคการศึกษาที่ ๒ | ||||
๑ |
ทพผส ๕๑๔ | วิทยาระเบียบวิธีวิจัย | ๒(๒-๐-๔) | ทพทผ ๖๐๖ | วรรณกรรมปัจจุบันทางทันตกรรมผู้สูงอายุ | ๒(๒-๐-๔) |
ทพทผ ๖๐๑ | พฤฒาวิทยา | ๑(๑-๐-๒) | ทพทผ ๖๑๐ | คลินิกทันตกรรมผู้สูงอายุขั้นสูง | ๓(๐-๖-๓) | |
ทพทผ ๖๐๒ | เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ | ๑(๑-๐-๒) | ทพทผ ๖๑๓ | สัมมนาทางทันตกรรมผู้สูงอายุ | ๑(๑-๐-๒) | |
ทพทผ ๖๐๓ | การส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการป้องกันในผู้สูงอายุ | ๑(๑-๐-๒) | ทพทผ ๖๙๘ | วิทยานิพนธ์ | ๓(๐-๙-๐) | |
ทพทผ ๖๐๔ | การจัดการโรคในช่องปากและฟัน | ๒(๒-๐-๔) | วิชาเลือก | ๑ หน่วยกิต | ||
ทพทผ ๖๐๕ | ทันตกรรมประดิษฐ์และการฟื้นฟูสภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ | ๑(๑-๐-๒) | ||||
ทพทผ ๖๐๙ | คลินิกทันตกรรมผู้สูงอายุ | ๒(๐-๔-๒) | ||||
รวม ๑๐ หน่วยกิต | รวม ๑๐ หน่วยกิต | |||||
๒ |
ทพทผ ๖๑๑ | คลินิกทันตกรรมผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลพิเศษ | ๓(๐-๖-๓) | ทพทผ ๖๙๘ | วิทยานิพนธ์ | ๖(๐-๑๘-๐) |
ทพทผ ๖๑๒ | การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุนอกสถานที่ | ๓(๐-๖-๓) | ||||
ทพทผ ๖๑๔ | สัมมนาวิเคราะห์กรณีผู้ป่วยสูงอายุต้องการดูแลพิเศษ | ๑(๑-๐-๒) | ||||
ทพทผ ๖๙๘ | วิทยานิพนธ์ | ๓(๐-๙-๐) | ||||
รวม ๑๐ หน่วยกิต | รวม ๖ หน่วยกิต |
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
ทพผส ๕๑๔ วิทยาระเบียบวิธีวิจัย ๒(๒-๐-๔)
DTID 514 Research Methodology
แนวคิดในการวิจัย วิธีการวิจัย ขั้นตอนการวิจัยในงานวิจัยที่แตกต่างกัน การวิจัยทางคลินิก และการวิจัยในห้องปฏิบัติการ การคิดปัญหาวิจัย การออกแบบการวิจัย การทดสอบสมมติฐาน กระบวนการเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การใช้สถิติในงานวิจัย การเขียนรายงาน การวิเคราะห์วิจารณ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ การนำเสนองานวิจัย จรรยาบรรณการวิจัย
Concept of research; Research method; Research protocol in different types of research, clinical research and laboratory research; Research problem formulation; Research design; Hypothesis testing; Data collection process; Data processing; Statistic used in research; Research report writing; Scientific paper critiques; Research presentation; Research ethics
ทพทผ ๖๐๑ พฤฒาวิทยา ๑(๑-๐-๒)
DTGD 601 Gerontology
แนวคิดความชรา ธรรมชาติวิทยาของความชรา การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ สังคมและอารมณ์ การปรับตัว ความสามารถในการเรียนรู้ ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม สภาวะโภชนาการ แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ แนวคิดพฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพทั่วไป การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ประเด็นจริยธรรมในการดูแลสุขภาพช่องปาก
Concepts of ageing ,natural sciences of ageing, psycho-social and emotional changes, adaptation , learning capacity, socio-economic problems, nutritional status. Government and social supports. Concepts of behavioral sciences, general health behaviors, changing of health behaviors . Ethical issues in oral health care
ทพทผ ๖๐๒ เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ๑(๑-๐-๒)
DTGD 602 Geriatric Medicine
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเนื่องจากความชราที่มีผลทางการแพทย์ อาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง การหกล้ม เบื่ออาหาร การสูญเสียความสามารถในการเดิน สติปัญญาเสื่อมถอย การมีพยาธิสภาพหลายระบบอวัยวะในเวลาเดียวกัน การได้รับยาหลายชนิด เภสัชวิทยาในผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่อสุขภาพ ทักษะการสื่อสารกับผู้สูงอายุ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการวินิจฉัยและการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ ข้อพึงระวังในการให้รักษาทางทันตกรรมที่ปลอดภัย
Physiologic ageing changes related to medical aspects, atypical presentation, fall, inanition, immobility, intellectual impairment, multiple pathology, polypharmacy, geriatric pharmacology, social adversity and communication skill; factors affected the diagnosis and oral health care for older people; factors to be concerned to ensure safety during dental care
ทพทผ ๖๐๓ การส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการป้องกันในผู้สูงอายุ ๑(๑-๐-๒)
DTGD 603 Oral Health Promotion and Prevention in Older Persons
ระบาดวิทยาของโรคในช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ พฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทันตสุขภาพ ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรมในการเกิดโรคในช่องปาก ปัญหาทันตสาธารณสุข กลวิธีในระดับบุคคลและระดับชุมชนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปาก และประเด็นปัจจุบันทางพฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมทันตสุขภาพ
Epidemiology of oral diseases in older persons. Principles of oral health promotion and oral health education practice, theories of behavioral sciences applied to oral health behaviors; socio-cultural factors, role of social conditions and social policy to address dental public health problems; individual and community strategies to change oral health behavior and current issues in behavioral sciences for oral health promotion
ทพทผ ๖๐๔ การจัดการโรคในช่องปากและฟัน ๒(๒-๐-๔)
DTGD 604 Management of Oral and Dental Diseases
การถ่ายภาพรังสีเพื่อการวินิจฉัย การดัดแปลงแผนการรักษาทางทันตกรรมสำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคทางระบบ การจัดการโรคในช่องปากและฟัน รอยโรคในช่องปาก ฟันผุส่วนรากฟัน ภาวะปากแห้ง โรคปริทันต์ ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร การจัดการด้านศัลยกรรมช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากโรคในช่องปากที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบ
Radiographic imaging methods for diagnosis; treatment planning modifications for medically compromised older adults; management of oral and dental diseases, oral lesions, root caries, xerostomia, periodontal diseases, TMJ dysfunction; surgical management for older persons, potential problems of oral diseases related to systemic diseases
ทพทผ ๖๐๕ ทันตกรรมประดิษฐ์และการฟื้นฟูสภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ ๑(๑-๐-๒)
DTGD 605 Prosthodontics and Oral Rehabilitation for Older Persons
ทันตวัสดุศาสตร์ หลักการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ การฟื้นฟูสภาพช่องปากด้วยงานฟันเทียมติดแน่น ฟันเทียมถอดได้และรากฟันเทียมเพื่อบูรณะการทำงานของระบบบดเคี้ยว
Dental materials; principles of prosthodontic treatments, oral rehabilitation using fixed, removable prostheses and dental implant to restore masticatory function
ทพทผ ๖๐๖ วรรณกรรมปัจจุบันทางทันตกรรมผู้สูงอายุ ๒(๒-๐-๔)
DTGD 606 Current Literatures in Geriatric Dentistry
ทบทวน วิเคราะห์ ประเมิน บทความและงานวิจัย ด้านสุขภาพช่องปากและฟัน การดำเนินงานและการจัดการปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลพิเศษ เน้นการปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาการและวิชาชีพ
Review, analysis, evaluation articles and researches. Discussion on issues of oral and dental health problems, implementation and management of oral problems in older persons, geriatric dentistry related to special care needs. Emphasis on academic and professional ethics
ทพทผ ๖๐๗ สัมมนาวิเคราะห์กรณีผู้ป่วย ๑ ๑(๑-๐-๒)
DTGD 607 Case Analysis Seminar I
การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยสูงอายุ วินิจฉัย สรุปปัญหาของผู้ป่วย กำหนดเป้าหมายการรักษา และพยากรณ์ผลการรักษา อภิปรายแผนการรักษา วิเคราะห์ความเสี่ยงและประโยชน์ของการรักษา ขั้นตอน เทคนิคการรักษา วัสดุที่เลือกใช้ ผลการรักษาและการดูแลเพื่อคงสภาพสุขภาพช่องปาก ความก้าวหน้าของการรักษา
Analyse older patients’ information, diagnosis, patients’ problem synopsis, the treatment goal and the treatment prognosis. Discussion on treatment planning, analysis of risks and benefits of the treatment, treatment procedures, and techniques, materials used, result of treatment and maintenance care, Progress of treatment
ทพทผ ๖๐๙ คลินิกทันตกรรมผู้สูงอายุ ๓(๐-๖-๓)
DTGD 609 Geriatric Dental Clinic
การจัดการทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยสูงอายุ การตรวจ วินิจฉัย การส่งต่อผู้ป่วย การวางแผนการรักษาอย่างเป็นองค์รวม แนะนำการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกโภชนาการที่เหมาะสม การบันทึกข้อมูล
Oral and dental management of geriatric patients, oral examination, diagnosis, referrals for consultation, developing comprehensive treatment plan in the provision of holistic oral and dental care. Additional instruction of oral hygiene maintenance and nutritional recommendation. Documentation
ทพทผ ๖๑๐ คลินิกทันตกรรมผู้สูงอายุขั้นสูง ๓(๐-๖-๓)
DTGD 610 Advanced Geriatric Dental Clinic
การรักษาทางทันตกรรมอย่างครอบคลุมแก่ผู้สูงอายุที่มีโรคทางระบบ หรือมีปัจจัยเสี่ยง การเลือกใช้วัสดุทางทันตกรรม และเทคนิคการรักษา การประเมินความเสี่ยง และประโยชน์จากแผนการรักษา การจัดโปรแกรมการป้องกันโรคในช่องปาก การบันทึกข้อมูล
Comprehensive oral and dental treatment of elders with medical compromise or with risk factors. Selection of dental restorative materials and techniques, assessment of risks and benefits of each treatment planning and providing prevention programme. Documentation
ทพทผ ๖๑๑ คลินิกทันตกรรมผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลพิเศษ ๓(๐-๖-๓)
DTGD 611 Special Care Dental Clinic in Geriatric Patients
การจัดการทางทันตกรรมในคลินิกแก่ผู้สูงอายุที่มีโรคทางระบบและมีความพิการของร่างกายจากความเสื่อมของสมอง ความบกพร่องด้านจิตใจ การจัดการภาวะฉุกเฉินจากความผิดปกติของฟันอวัยวะในช่องปากและฟันเทียม การบันทึกข้อมูล
Oral and dental management in dental clinic for medically compromised elders with physical limitations from degenerative diseases of brain, mental disability. Management of urgent oral, dental and prosthesis problems. Documentation
ทพทผ ๖๑๒ การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุนอกสถานที่ ๓(๐-๖-๓)
DTGD 612 Extramural Oral Health Care for Older Persons
การรักษาและบริบาลสุขภาพช่องปากแก่ผู้สูงอายุที่เปราะบางและอยู่ในภาวะพึ่งพาในชุมชน โรงพยาบาล บ้านพักผู้สูงอายุ สถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาว การดูแลสุขภาพช่องปากร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่น
Oral care and treatment for frail and functionally dependent elders organized in community, hospital, nursing home, long-term care facility. Provide oral care in conjunction with professionals from other medical and health related disciplines
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
ทพทผ ๖๐๘ สัมมนาวิเคราะห์กรณีผู้ป่วย ๒ ๑(๑-๐-๒)
DTGD 608 Case Analysis Seminar II
การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการดูแลพิเศษ วินิจฉัย สรุปปัญหาของผู้ป่วย กำหนดเป้าหมายการรักษา และพยากรณ์ผลการรักษา อภิปรายแผนการรักษา วิเคราะห์ความเสี่ยงและประโยชน์ของการรักษา ขั้นตอนการรักษา เทคนิคการรักษา วัสดุที่เลือกใช้ ผลการรักษาและการดูแลเพื่อคงสภาพสุขภาพช่องปาก ความก้าวหน้าของการรักษา
Analyse information of geriatric patient with special care needs; diagnosis, patients’ problem synopsis; the treatment goal and treatment prognosis. Discussion on treatment planning; analysis of risks and benefits of the treatment; treatment procedures and techniques, materials used, result of treatment and maintenance care. Progress of treatment
ทพผส ๖๐๙ การถ่ายภาพในช่องปาก ๑(๑-๐-๒)
DTID 609 Oral Photography
ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆ ของกล้องถ่ายภาพแบบธรรมดาและแบบดิจิทอล ฟิล์มและเลนส์ ฝึกหัดถ่ายภาพในช่องปากที่มีคุณภาพเพื่อการนำเสนออย่างมีจริยธรรม
Knowledge of various components of regular and digital cameras, film and lens; Practice taking good oral photograph for presentation based on ethical conduct
ทพทผ ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๑๒(๐-๓๖-๐)
DTGD 698 Thesis
งานวิจัยแบบสหวิทยาการ งานวิจัยสุขภาพช่องปากและฟันของผู้สูงอายุที่มีความเกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมสาขาต่างๆ ระบาดวิทยาของโรคในช่องปาก การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เทคนิคและวัสดุทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรมผู้สูงอายุ การพัฒนาระบบบริการทันตกรรมผู้สูงอายุ
Interdisciplinary research, research on oral and dental care for older persons, epidemiology of oral diseases; oral health promotion and preventive programme; various techniques and dental materials used in geriatric dentistry; development of geriatric dental service system
1.ค่าบำรุงการศึกษา | 10,000 บาท/ปีการศึกษา | |
1.1 ภาคการศึกษาแรก | 5,700 บาท | |
1.2 ภาคการศึกษาที่สอง | 4,300 บาท | |
2.ค่ากิจกรรมนักศึกษา | 250 บาท/ภาคการศึกษา | |
3.ค่าบำรุงบัณฑิตวิทยาลัย | 750 บาท/ภาคการศึกษา | |
4.ค่าบริการ Internet | 500 บาท/ภาคการศึกษา | |
5.ค่าหน่วยกิต | 1,800 บาท/หน่วยกิต | |
6.ค่าลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ | 18,000 บาท | |
7.ค่าวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ | 150,000 บาท | |
8.ค่าอุปกรณ์พิเศษ | 60,000 บาท |