ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Advanced General Dentistry
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง)
ชื่อย่อ : วท.ม. (ทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Master of Science (Advanced General Dentistry)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Advanced General Dentistry)
หลักสูตรมุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ มีความสามารถและทักษะต่องานสหวิทยาการทางทันตกรรม มีการตรวจ วินิจฉัย วางแผนการรักษาและให้ทันตกรรมบำบัดแบบองค์รวม โดยคำนึงถึงปัจจัยของผู้ป่วยแต่ละบุคคล ได้ฟื้นฟูความรู้ ศึกษาค้นคว้าทางวิชาการและปฏิบัติทางคลินิกให้ทันสมัย รวมทั้งสามารถทำวิจัยให้เกิดองค์ความรู้ อันเป็นประโยชน์ต่อวงการทันตแพทย์และประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณของวิชาการและวิชาชีพ มีมนุษยสัมพันธ์และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
ELO1
สามารถดูแลผู้ป่วยในทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตามข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม
ELO2
แสดงออกถึงการมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม
ELO3
สามารถบูรณาการผสมผสานจากสหวิทยาการทางทันตกรรม เพื่อประยุกต์ในการแก้ปัญหาทางทันตกรรมบำบัดแก่ผู้ป่วยได้และพัฒนางานวิจัยในองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง
ELO4
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างกลมกลืน มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยดี รับผิดชอบต่อหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย
ELO5
สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้าข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และนำเสนอผลงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ELO6
มีทักษะในงานหัตถการทางทันตกรรม มีลำดับขั้นตอนอย่างเข้าใจและส่งต่อผู้ป่วยอย่างถูกต้องและเหมาะสม
คุณลักษณะพิเศษ | กลยุทธ์การสอนหรือกิจกรรมของนักศึกษา | ||
ลักษณะตามวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | |||
มหาวิทยาลัยมหิดล | คณะทันตแพทยศาสตร์ | ||
M=Mastery | รู้แจ้ง รู้จริง สมเหตุ สมผล | ความเป็นมนุษย์ที่ดี | 1. จัดอบรมพัฒนานักศึกษาที่พึงประสงค์ตาม core value ของมหาวิทยาลัย 2. จัดกิจกรรมพัฒนาจิตใจและอารมณ์เพื่อการประกอบอาชีพทันตแพทย์ 3. ส่งเสริมนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมการให้บริการแก่สังคม เช่น – การเป็นอาสาสมัครในการบริการทางทันตกรรมฟรี ซึ่งคณะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง – การออกหน่วยทันตกรรมพระราชทาน หรือ – การออกหน่วยบริการเผยแพร่ความรู้ด้านทันตสุขภาพแก่เด็กในโรงเรียน 4. จัดกิจกรรมสร้างสัมพันธ์ เช่น กีฬาสานสัมพันธ์ วันไหว้ครู งานทำบุญในวันสำคัญต่าง ๆ ที่คณะจัดขึ้นและกิจกรรมงานสัมพันธ์ฉันท์พี่-น้องที่ภาควิชาฯ จัดขึ้น 5. ส่งเสริมให้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมวิชาการวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติรวมทั้งสนับสนุนให้มีการนำเสนอผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน |
A=Altruism | มุ่งผลเพื่อผู้อื่น | เสียสละ รับผิดชอบ อุทิศตน | |
H=Harmony | กลมกลืนกับสรรพสิ่ง | ความสามัคคี | |
I=Integrity | มั่นคงยิ่งในคุณธรรม | ความมีคุณธรรม | |
D=Determination | แน่วแน่ทำ กล้าตัดสินใจ | ทุ่มเท มีเป้าหมาย | |
O=Originality | สร้างสรรค์สิ่งใหม่ | กล้าคิด ริเริ่ม | |
L=Leadership | ใฝ่ใจเป็นผู้นำ | หนักแน่น มั่นคงมองการณ์ไกล |
1. ทันตแพทย์ปฏิบัติการงานทันตกรรมบำบัดทางสหวิทยาการในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน
2. นักวิจัยด้านทันตกรรมหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
3. นักวิชาการหรือที่ปรึกษาด้านทันตกรรม
1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
3. ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมจากทันตแพทยสภา หรือเป็นใบประกอบวิชาชีพจากต่างประเทศที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นควรเทียบเคียงได้
4. มีประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมอย่างน้อย 1 ปี
5. มีหนังสือรับรอง หรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร) คือ
a) TOEFL iBT score of at least 64 or
b) IELTS score of at least 5.0 or
c) MU GRAD Plus score of at least 70
6. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
1.ค่าบำรุงการศึกษา | 10,000 บาท/ปีการศึกษา | |
1.1 ภาคการศึกษาแรก | 5,700 บาท | |
1.2 ภาคการศึกษาที่สอง | 4,300 บาท | |
2.ค่ากิจกรรมนักศึกษา | 250 บาท/ภาคการศึกษา | |
3.ค่าบำรุงบัณฑิตวิทยาลัย | 750 บาท/ภาคการศึกษา | |
4.ค่าบริการ Internet | 500 บาท/ภาคการศึกษา | |
5.ค่าหน่วยกิต | 1,800 บาท/หน่วยกิต | |
6.ค่าลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ | 18,000 บาท | |
7.ค่าวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ | 150,000 บาท | |
8.ค่าอุปกรณ์พิเศษ | 24,000 บาท |
ประธานหลักสูตร : รศ.ดร.ทพ.พรพจน์ เฟื่องธารทิพย์
E-mail: pornpoj.fun@mahidol.ac.th
งานบริหารการศึกษาหลังปริญญา
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 02 200 7634, 7641
E-mail : dtmupostgrad@mahidol.ac.th
หมวดวิชา | หน่วยกิต | |
แผน ก แบบ ก 2 | แผน ข | |
หมวดวิชาบังคับ | 20 | 20 |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 6 | 12 |
วิทยานิพนธ์ | 12 | – |
สารนิพนธ์ | – | 6 |
รวมไม่น้อยกว่า | 38 | 38 |
ปีที่ | ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
1 | ทพทส 601 | วิทยาการระบาดทางทันตกรรมทั่วไป | 1(1-0-2) | ทพทส 603 | ทันตกรรมรากเทียมขั้นพื้นฐาน | 1(1-0-2) |
ทพทส 602 | แนวทางสหวิทยาการในการบริบาลทันตกรรม | 3(3-0-6) | ทพทส 627 | การบริบาลพร้อมมูลทางทันตกรรมทั่วไป 2 | 3(0-6-3) | |
ทพทส 605 | การบริบาลพร้อมมูลทางทันตกรรมเด็กและทันตกรรมจัดฟัน | 2(2-0-4) | ทพทส 610 | ศัลยกรรมช่องปากทางทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง | 1(1-0-2) | |
ทพทส 626 | การบริบาลพร้อมมูลทางทันตกรรมทั่วไป 1 | 3(0-6-3) | ทพทส 612 | คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางทันตกรรม | 1(1-0-2) | |
ทพทส 611 | รอยโรคในช่องปากและการใช้ยาทางทันตกรรม | 1(1-0-2) | ทพทส 629 | สัมมนาสหวิทยาการทางทันตกรรม | 1(1-0-2) | |
วิชาเลือก | 3 หน่วยกิต | ทพทส 698 | วิทยานิพนธ์ | 2(0-6-0) | ||
วิชาเลือก นำเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ | 3 หน่วยกิต | |||||
รวม 13 หน่วยกิต | รวม 12 หน่วยกิต | |||||
2 | ทพทส 628 | การบริบาลพร้อมมูลทางทันตกรรมทั่วไป 3 | 3(0-6-3) | ทพทส 698 | วิทยานิพนธ์ | 6(0-18-0) |
ทพทส 698 | วิทยานิพนธ์ | 4(0-12-0) | ||||
รวม 7 หน่วยกิต | รวม 6 หน่วยกิต |
ปีที่ | ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
1 | ทพทส 601 | วิทยาการระบาดทางทันตกรรมทั่วไป | 1(1-0-2) | ทพทส 603 | ทันตกรรมรากเทียมขั้นพื้นฐาน | 1(1-0-2) |
ทพทส 602 | แนวทางสหวิทยาการในการบริบาลทันตกรรม | 3(3-0-6) | ทพทส 627 | การบริบาลพร้อมมูลทางทันตกรรมทั่วไป 2 | 3(0-6-3) | |
ทพทส 605 | การบริบาลพร้อมมูลทางทันตกรรมเด็กและทันตกรรมจัดฟัน | 2(2-0-4) | ทพทส 610 | ศัลยกรรมช่องปากทางทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง | 1(1-0-2) | |
ทพทส 626 | การบริบาลพร้อมมูลทางทันตกรรมทั่วไป 1 | 3(0-6-3) | ทพทส 612 | คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางทันตกรรม | 1(1-0-2) | |
ทพทส 611 | รอยโรคในช่องปากและการใช้ยาทางทันตกรรม | 1(1-0-2) | ทพทส 629 | สัมมนาสหวิทยาการทางทันตกรรม | 1(1-0-2) | |
วิชาเลือก | 3 หน่วยกิต | ทพทส 697 | สารนิพนธ์ | 2(0-6-0) | ||
วิชาเลือก | นำเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ | 3 หน่วยกิต | ||||
รวม 13 หน่วยกิต | รวม 12 หน่วยกิต | |||||
2 | ทพทส 628 | การบริบาลพร้อมมูลทางทันตกรรมทั่วไป 3 | 3(0-6-3) | ทพทส 697 | สารนิพนธ์ | 2(0-6-0) |
ทพทส 697 | สารนิพนธ์ | 2(0-6-0) | วิชาเลือก | 3 หน่วยกิต | ||
วิชาเลือก | 3 หน่วยกิต | |||||
รวม 8 หน่วยกิต | รวม 5 หน่วยกิต |
หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
|||
ทพทส | ๖๐๑ | วิทยาการระบาดทางทันตกรรมทั่วไป | ๑(๑-๐-๒) |
DTAD | 601 | Epidemiology in General Dentistry | |
หลักการและแนวคิดพื้นฐานทางวิทยาการระบาดในทางทันตกรรมทั่วไป การวัดความถี่การเกิดโรค ตัวกวนและการควบคุมตัวกวน อคติในวิทยาการระบาด กระบวนการทดสอบทางวิทยาการระบาด การแปลผลของการศึกษาทางวิทยาการระบาด | |||
Basic concept of epidemiology in general dentistry; measure of disease frequency; confounding and its control; biases in epidemiology; epidemiological screening and diagnostic test; interpretation of epidemiological research results |
ทพทส | ๖๐๒ | แนวทางสหวิทยาการในการบริบาลทันตกรรม | ๓(๓-๐-๖) |
DTAD | 602 | Interdisciplinary Approach in Dental Care | |
ปรัชญาและหลักการของการให้การวินิจฉัยและให้การรักษาทางปริทันตวิทยา วิทยา เอ็นโดดอนต์ ทันตกรรมประดิษฐ์ และทันตกรรมบูรณะ การวางแผนการรักษาตามแนวคิดการบริบาลอย่างเข้าใจเพื่อให้เกิดการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสภาพช่องปากของผู้ป่วย การใช้ความรู้ใน พหุวิทยาการทางทันตกรรมในแนวทางสหวิทยาการเพื่อให้การรักษาตามแนวคิดการบริบาลอย่างเข้าใจบนพื้นฐานของจรรยาบรรณและจริยธรรมของทันตแพทย์ | |||
Philosophy and principles of diagnosis and treatment in periodontics, endodontics, prosthodontics and restorative dentistry; comprehensive treatment planning for health promotion, prevention, treatment and oral rehabilitation; integrate multidisciplinary knowledge in interdisciplinary approach providing comprehensive dental care based on dental moral and ethics |
ทพทส | ๖๐๓ | ทันตกรรมรากเทียมขั้นพื้นฐาน | ๑(๑-๐-๒) |
DTAD | 603 | Basic Dental Implantology | |
หลักการและความรู้พื้นฐานในงานทันตกรรมรากเทียม การวางแผนการรักษาและกระบวนวิธีด้านศัลยกรรมช่องปากและทันตกรรมประดิษฐ์เพื่อความสำเร็จในการบูรณะด้วยรากฟันเทียม การประเมินความสำเร็จและความล้มเหลว การป้องกันและการคงสภาพและการแก้ปัญหาทางคลินิกของทันตกรรมรากเทียม | |||
Principles and basic knowledge of dental implant; treatment planning and clinical procedures involving both surgical and prosthetic techniques for successful restoration with dental implants; success-failure assessment; prevention, maintenance and clinical problems solving of dental implants |
ทพทส | ๖๐๕ | การบริบาลพร้อมมูลทางทันตกรรมเด็กและทันตกรรมจัดฟัน | ๒(๒-๐-๔) |
DTAD | 605 | ComprehensiveCare in Pediatric Dentistry and Orthodontics | |
หลักการตรวจวินิจฉัย การวางแผนการบำบัด กระบวนการจัดการโรคอย่างเข้าใจในผู้ป่วยเด็ก การจัดการความวิการที่เกิดจากอุบัติเหตุและความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อนและแข็ง กระบวนการป้องกันการเกิดโรคในช่องปากในผู้ป่วยเด็ก ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับชีวกลศาสตร์ในการเคลื่อนฟัน การเจริญของกะโหลกศีรษะและใบหน้า การเกิดปากแหว่งและเพดานโหว่ การวินิจฉัย การวางแผนการรักษา การออกแบบเครื่องมืออย่างเข้าใจเพื่อการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน | |||
Principle of comprehensive examination, diagnosis, treatment planning and management on pediatric patients; management of pathologic conditions occurring from trauma and anomalies of soft and hard tissues; prevention in pediatric patients; basic knowledge in the biomechanics of tooth movement; craniofacial growth and development; development of cleft lip and cleft palate; comprehensive diagnosis, treatment planning and appliance design in orthodontics |
ทพทส | ๖๑๐ | ศัลยกรรมช่องปากทางทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง | ๑(๑-๐-๒) |
DTAD | 610 | Oral Surgery in Advanced General Dentistry | |
การประเมิน การวินิจฉัยและวิธีการศัลยกรรมช่องปากที่เพียงพอและเหมาะสมในการจัดการการติดเชื้อในช่องปากและบริเวณขากรรไกรและใบหน้า การจัดการภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการใช้ยา การผ่าตัดเตรียมช่องปากเพื่อการทำฟันเทียม การรักษาทางศัลยกรรมในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ | |||
Optimal evaluation, diagnosis and oral surgery procedures in the management of infection in oral and maxillo-facial area; management of complication from therapeutic medication usage; pre-prosthetic surgery; management of medically compromised patient |
ทพทส | ๖๑๑ | รอยโรคในช่องปากและการใช้ยาทางทันตกรรม | ๑(๑-๐-๒) |
DTAD | 611 | Oral Lesions and Drugs used in Dentistry | |
การซักประวัติผู้ป่วย การตรวจภายในและภายนอกช่องปาก การวินิจฉัยแยกโรค การรักษารอยโรคในช่องปากชนิดต่างๆ การจัดการความเจ็บปวดบริเวณช่องปาก ใบหน้าและขากรรไกร การเลือกใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการผิดปกติในช่องปาก | |||
Patient’s history taking; extraoral and intraoral examination; differential diagnosis; treatment of common oral diseases; management of pain in oral and maxillo-facial area; drug selection in alleviation of peculiar sign and symptoms in the oral cavity |
ทพทส | ๖๑๒ | คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางทันตกรรม | ๑(๑-๐-๒) |
DTAD | 612 | Computer and Technology in Dentistry | |
ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางทันตแพทยศาสตร์ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูลอักษรและรูปภาพ | |||
Computer operating systems; searching and retrieving information in dentistry; computer programs for analysis and processing of data and photos |
ทพทส | ๖๒๖ | การบริบาลพร้อมมูลทางทันตกรรมทั่วไป ๑ | ๓(๐-๖-๓) |
DTAD | 626 | Comprehensive Care in General Dentistry I | |
การจัดการบำบัดทางทันตกรรมโดยยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมวิชาชีพด้วยความร่วมมือของผู้ป่วย ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างบุคคล การวินิจฉัย แผนการบำบัด การบำบัดโรค และการให้คำแนะนำเพิ่มเติมในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเพื่อให้คงรักษาสุขภาพทางปาก ป้องกันการเกิดโรคในช่องปากซ้ำ | |||
Dental care management based on virtue and professional ethics with patient’s cooperation; interpersonal interaction and communication skill; diagnosis, treatment planning, therapeutic procedures and additional patient’s oral hygiene instruction to maintain oral health condition and prevent the recurrence of oral diseases |
ทพทส | ๖๒๗ | การบริบาลพร้อมมูลทางทันตกรรมทั่วไป ๒ | ๓(๐-๖-๓) |
DTAD | 627 | Comprehensive Care in General Dentistry II | |
การให้การบำบัดทางทันตกรรมจากการประเมินติดตามแต่ละบุคคล ปัญหาและความสำเร็จในการจัดการกับผู้ป่วยโดยอาศัยแนวคิดการบริบาลอย่างเข้าใจ การให้บริการสุขภาพที่พิจารณาถึงองค์ประกอบแบบองค์รวมอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาชีพ | |||
Dental treatment according to individually follow-up evaluation; problems and success in managing patients based on comprehensive concepts; holistic patient care with the solid foundation of virtue and professional ethics |
ทพทส | ๖๒๘ | การบริบาลพร้อมมูลทางทันตกรรมทั่วไป ๓ | ๓(๐-๖-๓) |
DTAD | 628 | Comprehensive Care in General Dentistry III | |
Clinical practice for patients with different behavioral types under virtue and professional ethics; oral rehabilitation for health and function; follow-up evaluation of an individual; report on treatment result and preventive care to reduce the recurrence of oral diseases |
ทพทส | ๖๒๙ | สัมมนาสหวิทยาการทางทันตกรรม | ๑(๑-๐-๒) |
DTAD | 629 | Interdisciplinary Seminar in Dentistry | |
อภิปรายข้อมูลความรู้จากตำราและบทความทางวิชาการในสหวิทยาการทางทันตกรรม วิจารณ์วิเคราะห์บทความวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อตกลงร่วมเพื่อใช้ในการวินิจฉัย การวางแผนการรักษา การเลือกใช้วัสดุและวิธีการบำบัดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ | |||
Discussion on interdisciplinary dental knowledge from text books and scientific articles; critique scientific articles; analyze data to generate a consensus in diagnosis, treatment planning, material selection, appropriate and effective dental care |
หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
|||
ทพทส | ๖๑๓ | ชีววิทยาช่องปาก | ๒(๒-๐-๔) |
DTAD | 613 | Oral Biology | |
โครงสร้างทางชีววิทยาและหน้าที่ของเนื้อเยื่อในช่องปากและอวัยวะที่เกี่ยวข้องในภาวะสุขสมบูรณ์และภาวะมีพยาธิสภาพ จุลชีววิทยาในช่องปาก การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อจุลินทรีย์ที่อาศัยในช่องปาก การเจ็บปวดของฟันและภาวะไวเกินของฟัน ยาสามัญที่ใช้ในการปฏิบัติงานทางทันตกรรม | |||
Biological structures and functions of oral tissues and related organs in healthy and pathological conditions; oral microbiology; immune response against oral microbes; dental pain and hypersensitivity; common drugs used in dental practice |
ทพทส | ๖๑๔ | วิทยาระเบียบวิธีวิจัย | ๒(๒-๐-๔) |
DTAD | 614 | Research Methodology | |
หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ การออกแบบการวิจัย ขั้นตอนการวิจัยในการวิจัยทางคลินิกและในห้องปฏิบัติการ การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ การใช้สถิติในงานวิจัย วิธีการเขียนบทความเสนองานวิจัย การวิจารณ์วิเคราะห์รายงานการวิจัย การเขียนรายงานและการนำเสนองานวิจัย จริยศาสตร์ในงานวิจัย | |||
Principles of health science research; research designs; research protocol in clinical and laboratory research; hypothesis testing; research statistics; research proposal writing; scientific paper critique; research report writing and presentation; research ethics |
ทพทส | ๖๑๕ | ชีวสถิติ | ๒(๒-๐-๔) |
DTAD | 615 | Biostatistics | |
วิธีการทางสถิติเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และแปลผลข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข การแจกแจงความน่าจะเป็น การแจกแจงสิ่งตัวอย่าง การประมาณค่าพารามิเตอร์ การทดสอบนัยสำคัญโดยสถิติแบบพาราเมตริกและนันพาราเมตริก การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบความสัมพันธ์แบบสหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอย | |||
Methods of statistical data collection; analysis and interpretation of biomedical and public health data; probability distributions; sampling distributions; estimation of parameters; significance tests by using parametric and nonparametric methods; analysis of variance; correlation and regression analyses
|
|||
ทพทส | ๖๑๖ | การถ่ายภาพดิจิตอลทางคลินิกทันตกรรม | ๑(๑-๐-๒) |
DTAD | 616 | Dental Clinical Digital Photography | |
การถ่ายภาพในและนอกช่องปากด้วยระบบดิจิตอล การใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล การปรับแต่งและการนำเสนอภาพถ่าย | |||
Intraoral and extraoral digital photography; computer-assisted photo processing, photo modification and photo presentation |
ทพทส | ๖๑๗ | เทคโนโลยีร่วมสมัยทางทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง | ๑(๑-๐-๒) |
DTAD | 617 | Contemporary Technology in Advanced General Dentistry | |
ความรู้ก้าวหน้าทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล การพัฒนาของวัสดุทางทันตกรรม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางทันตกรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการให้การวินิจฉัย วางแผนการรักษาและให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ | |||
Advanced knowledge in molecular biology; development of dental materials; advancement in dental technology for establishment of accurate diagnosis, appropriate treatment planning and effective treatment |
ทพทส | ๖๑๘ | การดูแลรักษาทางทันตกรรมในผู้สูงอายุ | ๒(๒-๐-๔) | ||||
DTAD | 618 | Dental Care in Geriatric Patients | |||||
วิธีการดูแลรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุ โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางร่างกาย จิตใจ และสมอง โรคทางระบบ ภาวะโภชนาการ เภสัชวิทยาของยาที่ใช้ในผู้สูงอายุ การบริบาลผู้สูงอายุให้มีทันตสุขภาพที่เหมาะสมตามวัยและบริบทของชีวิต การดูแลจิตใจของผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง | |||||||
Dental care for the elderly considering physical changes, psychological changes, mental changes, systemic diseases, nutritional status and pharmacology of drugs used in the elderly; appropriate dental health care for the elderly according to their ages and life context; psychological care for the elderly and bed-ridden people | |||||||
ทพทส | ๖๑๙ | ปฏิบัติการทันตกรรมหัตถการและทันตกรรมประดิษฐ์ | ๒(๐-๖-๑) | ||||
DTAD | 619 | Operative and Prosthodontics Laboratory | |||||
ฝึกปฏิบัติรักษาทางทันตกรรมหัตถการ การอุดฟันปิดช่องว่าง การทำการอุดฟันอินเลย์ ออนเลย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ฝึกปฏิบัติรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ การบันทึกการสบฟัน การถ่ายทอดการสบฟันสู่เครื่องจำลองขากรรไกร การทำฟันปลอมแบบติดแน่นบนฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟัน | |||||||
Operative treatment practices; diastema closure; inlay and onlay with direct and indirect technics, Prosthodontics treatment practices; occlusion registration technics; technic in transferring registration to articulator; fabrication of fixed restoration on root canal treated tooth | |||||||
ทพทส | ๖๒๐ | ปฏิบัติการวิทยาเอ็นโดดอนท์และปริทันตวิทยา | ๒(๐-๖-๑) |
DTAD | 620 | Endodontics and Periodontics Laboratory | |
ฝึกปฏิบัติรักษาทางวิทยาเอ็นโดดอนท์ การเปิดทางเข้าสู่คลองรากฟัน การขยายคลองรากฟันด้วยมือและเครื่องมือกล และอุดคลองรากฟัน ฝึกปฏิบัติรักษาทางปริทันตวิทยา การขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันด้วยคิวเรทและเครื่องขูดแม็กนิโตสตริกทีฟและพีโซอิเลคทริก ฝึกการทำศัลยกรรมปริทันต์ในขากรรไกรหมู | |||
Endodontics treatment practices; access opening; mechanical instrumentation with hand and rotary instruments; root canal compaction, Periodontics treatment practices; scaling and root planning with curettes and magnetrostrictive and piezoelectric scaler; periodontal surgery technic practice on pig jaw |
ทพทส | ๖๒๑ | ปฏิบัติการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันและทันตกรรมเด็ก | ๒(๐-๖-๑) |
DTAD | 621 | Orthodontics and Pedodontics Laboratory | |
ฝึกปฏิบัติรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน การวิเคราะห์แบบจำลองฟัน เซฟาโลเมตริกทางทันตกรรมจัดฟัน ทันตกรรมจัดฟันดิจิตอล ฝึกปฏิบัติรักษาทางทันตกรรมเด็ก การอุดฟันแบบแบ็คทูแบ็ค การบูรณะฟันด้วยครอบโลหะไร้สนิม การบูรณะฟันด้วยครอบฟันเรซิน | |||
Orthodontics treatment practices; model analysis; orthodontics cephalometry; digital orthodontics, Pedodontics treatment practices; back-to-back amalgam filling; restoration with stainless steel crown; restoration with resin composite strip crown |
หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
||||
ทพทส | ๖๒๒ | การวางแผนการรักษาทันตกรรมพร้อมมูล | ๒(๐-๖-๑) | |
DTAD | 622 | Treatment Planning in Comprehensive Dental Care | ||
หลักการและกระบวนทัศน์ในการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูล นำเสนอแผนการรักษาอย่างเป็นระบบอภิปรายและวิจารณ์การประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีของงานทันตกรรมสาขาต่างๆในการวางแผนการรักษาให้เหมาะสมตามข้อจำกัดของผู้ป่วย | ||||
Concept and paradigm of comprehensive dental care; systematic approach presentation; criticize and discuss the application of dental knowledges in the construction of concrete treatment plan | ||||
ทพทส | ๖๒๓ | แนวทางการดูแลทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่ยุ่งยากซับซ้อน | ๒(๐-๖-๑) | |
DTAD | 623 | Dental Care Approach in Complicated Case | ||
หลักการและการใช้งานทางคลินิกของเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หลักการการบูรณะช่องปากให้กลับมาคืนดีและการใช้งานทางคลินิก การจัดการผู้ป่วยที่ซับซ้อนด้วยมุมมองทางวิทยาเอ็นโดดอนท์และทันตกรรมหัตถการ | ||||
Concept and clinical application of X-RAY CT scan; Concept of oral rehabilitation and its clinical application; complicated case management in endodontic and operative aspect | ||||
ทพทส | ๖๒๔ | แนวทางการดูแลทางทันตกรรมในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ | ๒(๐-๖-๑) |
DTAD | 624 | Dental Care Approach in Patient with Special Care Need | |
ความหมายของผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ การศึกษาด้านพฤติกรรมและจิตใจ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจและสมองของผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ โรคทางระบบที่พบในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ เภสัชวิทยาของยาที่มีผลต่อทันตสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ การวางแผนการรักษาทางทันตกรรม | |||
Meaning of patient with special care need; study in behavior and mind; changes in body, mind and brain of patient with special care need; common systemic diseases involve with patient with special care need; pharmacology of medication used in patient with special care need; treatment planning in patient with special care need |
ทพทส | ๖๒๕ | จิตตปัญญาศึกษาสำหรับทันตแพทย์ | ๒(๐-๖-๑) |
DTAD | 625 | Contemplative Education for Dentist | |
ชีวิต สภาพจิตใจและประสบการณ์ส่วนตนของทันตแพทย์ การฟังและการคิดพิจารณาอย่างแยบคาย กระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งและการแก้ปัญหา แนวทางการดูแลผู้ป่วยด้วยความเห็นอกเห็นใจ | |||
Dentist’s life, stage of mind and self’s experience; active listening and critical thinking; procedure of conflict and problem solving; emphatic patient’s care |
ทพทส | ๖๓๙ | การพัฒนาจิตใจและอารมณ์ | ๑(๑-๒-๓) |
DTAD | 639 | Mind and Emotion Development | |
การพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการทางทันตกรรมโดยการศึกษาเข้าใจตนเองในวิธีคิดและอารมณ์เพื่อให้มีจิตใจที่มีความเอื้ออาทรและอ่อนโยนเห็นประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ และสามารถนำความรู้ด้านทันตกรรมไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม | |||
Dental personnel development by studying Dhamma and practicing vipassana meditation leading to a gentle-mind person who prioritizes patient’s benefit; utilizing knowledge of good morals to satisfy both the patients and the dental personnel |
หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
|||
ทพทส | ๖๙๘ | วิทยานิพนธ์ | ๑๒(๐-๓๖-๐) |
DTAD | 698 | Thesis | |
กำหนดปัญหาและจัดทำโครงร่างการวิจัย ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง เก็บรวมข้อมูล จัดการกับข้อมูล วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล เขียนรายงานการวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ นำเสนอรายงานและเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการหรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการ ทุกขั้นตอนการวิจัยดำเนินการบนพื้นฐานจริยธรรมการวิจัย | |||
Formation of problem and research proposal; review literatures related; data collection; data processing; data analysis and interpretation; research report writing or dissertation; presentation and publication of research in the peer-reviewed journals or a conference’s proceeding; conducting research based on research ethics in all research process |
สารนิพนธ์
หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
|||
ทพทส | ๖๙๗ | สารนิพนธ์ | ๖(๐-๑๘-๐) |
DTAD | 697 | Thematic Paper | |
กำหนดปัญหาและจัดทำโครงร่างการวิจัย ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง เก็บรวมข้อมูล จัดการกับข้อมูล วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล เขียนรายงานผลงานวิจัยและนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ทุกขั้นตอนการวิจัยดำเนินการบนพื้นฐานจริยธรรมการวิจัย | |||
Formation of problem and research proposal; review related literatures; data collection; data processing; data analysis and interpretation; research result written and presentation in a national or an international conference; research is conducted based on basic ethics in research processing |
เลขที่ 888 ม.6 ถ.บรมราชชนนี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
เบอร์ตรง 0-2849-6600