หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ วิชาเอกวิทยาระบบบดเคี้ยว
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Graduate Diploma in Clinical Science Program in Dentistry
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (ทันตแพทยศาสตร์)
ชื่อย่อ : ป.บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (ทันตแพทยศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Graduate Diploma in Clinical Science Program in Dentistry
ชื่อย่อ : Grad. Dip. in Clinical Science (Dentistry)
พัฒนาทันตแพทย์ให้เป็นทั้งนักวิชาการ และผู้ชำนาญการทางการรักษาในสาขาต่างๆ ทางทันตแพทยศาสตร์ เพื่อการบำบัดรักษาประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามมาตรฐานวิชาชีพ ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและมีความยึดมั่นในจรรยาบรรณ
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว บัณฑิตจะมีคุณลักษณะตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา ดังนี้
1 .มีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม
2. มีความรู้ ใฝ่หาความรู้และประสบการณ์ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยอย่างมีขั้นตอนถูกต้องและเหมาะสม
3. มีทักษะในการนำความรู้ทางสหวิทยาการทางทันตกรรมมาวิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาการปฏิบัติงานในคลินิกและเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยและผู้ร่วมงานได้อย่างเหมาะสมและมีความรับผิดชอบในหน้าที่ส่วนตนและส่วนรวมที่ได้รับมอบหมาย
5. มีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข สามารถสื่อสารทั้งการพูด การอ่าน การเขียนได้อย่างเหมาะสม และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล รวบรวม นำเสนอได้อย่างถูกต้อง
6. มีทักษะในการบริบาลทันตกรรมสหวิทยาการแบบบูรณาการและการส่งต่อผู้ป่วยที่ถูกต้องและเหมาะสม
ELO1
มีคุณธรรม และจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
ELO2
มีความรู้และหลักปฏิบัติทางทันตกรรมของแต่ละวิชาเอกได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและวิชาชีพ
ELO3
วิเคราะห์ วินิจฉัยประเด็นปัญหา เพื่อการป้องกัน รักษาและแก้ไขปัญหาทางด้านทันตกรรมของแต่ละวิชาเอกได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
ELO4
แสดงออกถึงภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม และมีความรับผิดชอบส่วนตนและส่วนรวม
ELO5
วิเคราะห์ทักษะเชิงตัวเลข สามารถสื่อสารด้วยการพูด อ่าน เขียน ได้อย่างเข้าใจ และ สามารถใช้โปรแกรมสารสนเทศในการสื่อสาร ค้นคว้า รวบรวมนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
ELO6
มีทักษะในงานทางทันตกรรม มีลำดับขั้นตอนอย่างเข้าใจและส่งต่อผู้ป่วยอย่างถูกต้องและเหมาะสม
คุณลักษณะพิเศษ | กลยุทธ์การสอนหรือกิจกรรมของนักศึกษา | ||
ลักษณะตามวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | |||
มหาวิทยาลัยมหิดล | คณะทันตแพทยศาสตร์ | ||
M=Mastery | เป็นนายแห่งตน | ความเป็นมนุษย์ที่ดี | 1) จัดอบรมพัฒนานักศึกษาที่พึงประสงค์ตาม Core Value ของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยกำหนดจัดให้นักศึกษาแรกเข้า จำนวน 1 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2) จัดอบรมพัฒนาชีวิตด้วยจิตตภาวนาโดยกำหนดจัดให้นักศึกษาแรกเข้า จำนวน 3 วัน ในเดือนสิงหาคม 3) ส่งเสริมให้เข้าร่วมกิจกรรมด้านการบริการแก่ชุมชน และสังคม เช่น การเป็นอาสาสมัครในการให้บริการทางทันตกรรมฟรี ซึ่งคณะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ในวันทันตสาธารณสุข ในวันที่ 21 ตุลาคม และวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 2 เมษายน |
A=Altruism | มุ่งผลเพื่อผู้อื่น | อตฺตานํ อุปมํ กเร (เอาใจเขามาใส่ใจเรา) | |
H=Harmony | กลมกลืนกับสรรพสิ่ง | ความสามัคคี | |
I=Integrity | มั่นคงยิ่งในคุณธรรม | ความมีคุณธรรม | |
D=Determination | แน่วแน่ทำ กล้าตัดสินใจ | มุ่งมั่น มีเป้าหมาย | |
O=Originality | สร้างสรรค์สิ่งใหม่ | ใฝ่รู้ สร้างสรรค์ | |
L=Leadership | ใฝ่ใจเป็นผู้นำ | ความเป็นผู้นำ |
- 1. ทันตแพทย์ผู้ชำนาญการในการรักษาในแต่ละวิชาเอก
- 2. นักวิชาการ ผู้สามารถเผยแพร่ความรู้ในแต่ละวิชาเอกต่อวงการสาธารณสุข
- 1. สำเร็จการศึกษาระดับทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
- 2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
- 3. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- 4. ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
- 5. มีประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมอย่างน้อย 1 ปี
- 6. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน 2 ถึง 5 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้าศึกษาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
ประธานหลักสูตร : ผศ. ดร.ทพญ.บุณทริกา ชื่นจิตกุลถาวร
E-mail : boontharika_c@hotmail.com
ผู้รับผิดชอบวิชาเอกวิทยาระบบบดเคี้ยว (Masticatory Science)
รศ.ดร.ทพ.สมศักดิ์ ไมตรีรัตนะกุล
E-mail : sammu99@gmail.com
งานบริหารการศึกษาหลังปริญญา
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 02 200 7634, 7641
E-mail : dtmupostgrad@mahidol.ac.th
1. | หมวดวิชาปรับพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | |
2. | หมวดวิชาพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า | 2 | หน่วยกิต |
3. | หมวดวิชาบังคับ | 20 | หน่วยกิต |
4. | หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต |
รวมไม่น้อยกว่า | 25 | หน่วยกิต |
ชั้นปี | ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
1 | ทพรบ 811 | วิทยาระบบบดเคี้ยวและความเจ็บปวดใบหน้า-ช่องปาก | 2(2-0-4) | ทพรบ 821 | สัมมนาการวิเคราะห์กรณีผู้ป่วย | 1(1-0-2) |
ทพรบ 812 | วิทยาการสบฟัน | 1(1-0-2) | ทพรบ 822 | สัมมนาวิทยาระบบบดเคี้ยว | 1(1-0-2) | |
ทพรบ 813 | ความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกร | 1(1-0-2) | ทพรบ 823 | คลินิกวิทยาระบบบดเคี้ยว 2 | 4(0-12-4) | |
ทพรบ 814 | วิทยาระบบบดเคี้ยวขั้นสูง | 2(2-0-4) | ทพรบ 824 | คลินิกวิทยาระบบบดเคี้ยว 3 | 4(0-12-4) | |
ทพรบ 815 | คลินิกวิทยาระบบบดเคี้ยว 1 | 3(0-9-3) | ทพรบ 888 | รายงานเฉพาะทางวิทยาระบบบดเคี้ยว | 3(0-9-3) | |
วิชาเลือก | 2 หน่วยกิต | วิชาเลือก | 1 หน่วยกิต | |||
รวม 11 หน่วยกิต | รวม 14 หน่วยกิต |
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
ทพผส ๕๑๗ ชีววิทยาช่องปาก ๒(๒-๐-๔)
DTID 517 Oral Biology
การพัฒนา โครงสร้าง ชีววิทยา และหน้าที่ของเนื้อเยื่อในช่องปาก และอวัยวะที่เกี่ยวข้องใน สุขภาวะและมีพยาธิสภาพ จุลชีววิทยาในช่องปาก การตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ความเจ็บปวดของฟัน และภาวะเสียวฟันยาทั่วไปที่ใช้ในทางทันตกรรม ข้อพิจารณาทางจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ
The development, structure, biology and function of oral tissues and related organs in the healthy and pathological status; microbiology in oral cavity; host immune responses; dental pain and hypersensitivity; common drugs used in the dental practice; ethical considerations and professional ethics
(เฉพาะวิชาเอกวิทยาระบบบดเคี้ยว)
ทพรบ ๘๑๑ วิทยาระบบบดเคี้ยวและความเจ็บปวดใบหน้า-ช่องปาก ๒(๒-๐-๔)
DTMS 811 Masticatory Science and Orofacial Pain
กายวิภาคการทำงานและสรีรวิทยาของระบบบดเคี้ยว ระบบประสาทสั่งการของระบบบดเคี้ยว กลไกการทำงานนอกหน้าที่ของช่องปาก ประสาทชีววิทยาของความเจ็บปวดบริเวณช่องปากและใบหน้า ประสาทสรีรวิทยาของความเจ็บปวด กลไกของความเจ็บปวดของใบหน้า-ช่องปากประเภทต่างๆ
Functional anatomy and physiology of the masticatory system; the neuronal control of the masticatory system; the oral parafunction mechanism; neurophysiology of the orofacial pain; mechanism of pain; mechanism of various orofacial pain conditions
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
ทพรบ ๘๑๒ วิทยาการสบฟัน ๑(๑-๐-๒)
DTMS 812 Dental Occlusion
นิยามและประเภทของการสบฟัน ตำแหน่งพื้นฐานและขอบเขตการเคลื่อนไหวของขากรรไกร แนวคิดการสบฟัน เสถียรภาพของการสบฟัน ข้อกำหนดการสบฟัน ปฏิกิริยาของอวัยวะปริทันต์ต่อแรงบดเคี้ยวทางสรีรวิทยา บาดเจ็บเหตุสบฟัน กลอุปกรณ์ขากรรไกรจำลองและการใช้งาน การบันทึกความสัมพันธ์ของขากรรไกร และการวิเคราะห์การสบฟัน
Definitions and types of occlusion; basic positions and border movements of mandible; concepts of occlusion; the occlusal stability; determinants of occlusion; periodontal reaction to physiologic occlusal force; trauma from occlusion; articulators and their use; interocclusal records and the occlusal analysis
ทพรบ ๘๑๓ ความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกร ๑(๑-๐-๒)
DTMS 813 Temporomandibular Disorders
นิยามและระบาดวิทยา สมุฏฐานวิทยา อาการและอาการแสดง การประเมินผู้ป่วยทางคลินิกและการส่งตรวจเพิ่มเติม การถ่ายภาพวินิจฉัยข้อต่อขากรรไกร การวินิจฉัยแยกโรค การจัดการความผิดปกติบริเวณขมับขากรรไกรทั้งแบบผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ เครื่องมือในช่องปากในการจัดการความผิดปกติ การรักษาการสบฟัน การรักษาโดยการผ่าตัด
Definitions; epidemiology; etiology; sign and symptoms; assessments and additional tests; differential diagnosis; reversible and irreversible managements of temporomandibular disorders (TMD); intra-oral appliances in the management of TMD; the occlusal therapy; surgical treatments
ทพรบ ๘๑๔ วิทยาระบบบดเคี้ยวขั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
DTMS 814 Advanced Masticatory Science
ประสาทสรีรวิทยาของการนอน ประเภท การวินิจฉัย และการจัดการความผิดปกติของการหายใจขณะนอน การจัดการทางทันตกรรมสำหรับความผิดปกติของการหายใจขณะนอน ทันตเวชศาสตร์การกีฬา จิตเวชศาสตร์พื้นฐาน ความผิดปกติทางจิตที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวด ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล การจัดการความผิดปกติทางจิต การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม การแพทย์ทางเลือกสำหรับการจัดการความเจ็บปวด
Neurophysiology of sleep; sleep breathing disorders classification diagnosis and management; dental management for sleep breathing disorders; dental sport medicine; basic psychiatry, psychological disorders related to pain; depression and anxiety; management of psychological disorders; cognitive behavioral therapy; alternative medicine for pain management
ทพรบ ๘๑๕ คลินิกวิทยาระบบบดเคี้ยว ๑ ๓(๐-๙-๓)
DTMS 815 Masticatory Science Clinic I
การประเมินผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบบดเคี้ยวความเจ็บปวดบริเวณใบหน้า-ช่องปากอย่างมีจริยธรรม เทคนิคพื้นฐานในการประเมิน ซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วย การส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม การส่งตรวจทางภาพรังสี การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตลอดจนการประเมินทางด้านพฤติกรรมและจิตวิทยาสังคมของผู้ป่วย การวางแผนการรักษา การส่งต่อผู้ป่วยการรักษาเบื้องต้น
The ethical assessment of patients with functional disturbances of the masticatory system/orofacial pain; basic techniques of patient evaluation; history taking; physical examination as well as prescribing additional tests such as radiographic examinations; laboratory tests; and behavioral as well as psychosocial evaluation formulations of treatment plans; referrals and initial treatments
ทพรบ ๘๒๑ สัมมนาการวิเคราะห์กรณีผู้ป่วย ๑(๑-๐-๒)
DTMS 821 Case Analysis Seminar
การนำเสนอและอภิปรายการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติระบบบดเคี้ยวและความเจ็บปวดใบหน้าช่องปากที่ให้เหตุผลสนับสนุน วิเคราะห์ และวิจารณ์ ถึงการตัดสินใจให้การรักษากับผู้ป่วย โดยใช้ทันตกรรมเชิงประจักษ์ ทบทวนบทความและรายงานวิจัยต้นแบบและปัจจุบัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับสาเหตุของการเกิดโรค พยาธิวิทยาของกลไกของความผิดปกติของระบบบดเคี้ยวและความเจ็บปวดใบหน้าช่องปาก ตลอดจนอาการทางคลินิก การวินิจฉัยโรค แผนและกลยุทธ์การรักษาและผลของการรักษาการดูแลและติดตามผลการรักษาร่วมกับสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Presentations and discussions of the management for patients with dysfunction of the masticatory system and orofacial pain; analyses and discussions of decision making for treatments using evidence-based dentistry; reviewing etiology; pathology of the masticatory system dysfunction and orofacial pain; as well as the clinical manifestation; diagnosis; treatment planning, strategies; and the outcome of the treatment; and follow-up with other related specialties
ทพรบ ๘๒๒ สัมมนาวิทยาระบบบดเคี้ยว ๑(๑-๐-๒)
DTMS 822 Masticatory Science Seminar
การสัมมนาในหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวกับความเจ็บปวดใบหน้าช่องปาก อาการปวดศีรษะ ความผิดปกติกล้ามเนื้อกระดูก อาการปวดจากเส้นประสาท ความผิดปกติของการนอน
Seminars on topics related to the masticatory science and orofacial pain; including headaches; musculoskeletal disorders and neuropathic pain; and sleep disorders
ทพรบ ๘๒๓ คลินิกวิทยาระบบบดเคี้ยว ๒ ๔(๐-๑๒-๔)
DTMS 823 Masticatory Science Clinic II
การรักษาจัดการอย่างมีจริยธรรมในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบบดเคี้ยวความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าช่องปากโดยสามารถวิเคราะห์ผู้ป่วย วางแผนและให้การรักษา การส่งต่อผู้ป่วย เพื่อรับการรักษาเฉพาะทางที่เหมาะสม
The ethical management of patients with functional disturbance of masticatory system/orofacial pain; analyzing; planning and treating as well as referring patients for proper treatments; and presenting interesting cases for discussion
ทพรบ ๘๒๔ คลินิกวิทยาระบบบดเคี้ยว ๓ ๔(๐-๑๒-๔)
DTMS 824 Masticatory Science Clinic III
การรักษาจัดการอย่างมีจริยธรรมในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบบดเคี้ยวความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าช่องปากที่มีความซับซ้อน โดยสามารถวิเคราะห์ผู้ป่วย วางแผนและให้การรักษา การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาเฉพาะทางที่เหมาะสม นำเสนอรายงานผลการรักษาที่น่าสนใจเพื่ออภิปราย
The ethical management of complex patients with functional disturbances of masticatory system/orofacial pain; analyzing; planning and treating as well as refer patients for proper treatments; and presenting interesting cases for discussions
ทพรบ ๘๘๘ รายงานเฉพาะทางวิทยาระบบบดเคี้ยว ๓(๐-๙-๓)
DTMS 888 Specialised Report in Masticatory Science
ทบทวนวรรณกรรม หรือทำงานวิจัย นำเสนอผลงานที่รวบรวมหรืองานวิจัยทางวิทยาระบบบดเคี้ยว และความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าที่นำเสนอขึ้นมาหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยวิเคราะห์ วิจารณ์ การนำเสนอเป็นรูปเล่มร่วมกับการสอบปากเปล่า
Literature reviewing or conducting research on the topics related to masticatory science and orofacial pain; analysing and critiquing literatures; summarizing in print and oral examinations
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
ทพทส ๕๐๒ วิทยาการระบาดทางทันตกรรม ๑(๑-๐-๒)
DTAD 502 Dental Epidemiology
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาการระบาดเกี่ยวกับการวิจัยทางคลินิก และโรคทางทันตกรรมที่เป็นปัญหาในชุมชนรวมถึงปัจจัยเสี่ยง การออกแบบโครงการวิจัยที่ใช้หลักฐานทางวิทยาการระบาด และชี้ถึงปัจจัยที่มีผลต่อโรคและความสัมพันธ์กับโรคอื่น การประเมินข้อเสนอการวิจัยหรือการออกแบบการวิจัยและอภิปรายผลของการวิจัยในเชิงวิทยาการระบาด
Basic concepts of epidemiology concerning clinical research and dental problems of the community including risk factors; designing of research projects based on epidemiological approach and identifying of factors effecting causes of diseases and their relationship with other diseases; evaluating of research proposals or designing and discussing of research result with epidemiological evaluations
ทพทส ๕๑๔ วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางทันตกรรมทั่วไป ๒(๒-๐-๔)
DTAD 514 Research Methodology in General Dentistry
การสืบค้นข้อมูล การคิดวิพากษ์บทความวิชาการ การออกแบบการวิจัย วิธีการวิจัย ขั้นตอนการวิจัย การวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ การวิจัยทางคลินิกและการวิจัยในห้องปฏิบัติการ การเขียนโครงร่างงานวิจัยและรายงาน จรรยาบรรณการวิจัย
Literature search; scientific articles critique; research design; research methodology and research protocols; health science research; clinical and laboratory research; research proposal and report writing; research ethics
ทพทส ๕๒๐ ปฏิบัติการทางทันตกรรมทั่วไป ๑(๐-๓-๑)
DTAD 520 General Dentistry Laboratory
ฝึกปฏิบัติรักษาทางทันตกรรมทั่วไป ฝึกปฏิบัติรักษาทางทันตกรรมหัตถการ การอุดฟันปิดช่องว่าง การทำการอุดฟันอินเลย์ ออนเลย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ฝึกปฏิบัติรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ การบันทึกการสบฟัน การถ่ายทอดการสบฟันสู่เครื่องจำลองขากรรไกร การทำฟันปลอมแบบติดแน่นบนฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟัน ฝึกปฏิบัติรักษาทางวิทยาเอ็นโดดอนท์ การเปิดทางเข้าสู่คลองรากฟัน การขยายคลองรากฟันด้วยมือและเครื่องมือกล และอุดคลองรากฟัน ฝึกปฏิบัติรักษาทางปริทันตวิทยา การขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันด้วยคิวเรทและเครื่องขูดแม็กนิโตสตริกทีฟและพีโซอิเลคทริก ฝึกการทำศัลยกรรมปริทันต์ในขากรรไกรหมู
General dentistry practices, operative treatment practices, diastema closure, inlay and onlay with direct and indirect techniques; prosthodontics treatment practices, occlusion registration techniques, techniques in transferring registration to articulator, fabrication of fixed restoration on root canal treated tooth; endodontics treatment practices, access opening, mechanical instrumentation with hand and rotary instruments, root canal compaction; periodontics treatment practices, scaling and root planning with curettes and magnetrostrictive and piezoelectric scalers, periodontal surgery practices on pig jaw
ทพทส ๕๒๑ ปฏิบัติการทางทันตกรรมเด็กและทันตกรรมจัดฟัน ๑(๐-๓-๑)
DTAD 521 Pedodontics and Orthodontics Laboratory
ฝึกปฏิบัติรักษาทางทันตกรรมเด็ก การบูรณะฟันเทคนิคเฉพาะสำหรับฟันน้ำนมและการบูรณะด้วยครอบฟันสำหรับเด็ก ฝึกปฏิบัติรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรฟัน จากแบบจำลองฟัน และภาพรังสีเซฟาโลเมตริก ทันตกรรมจัดฟันดิจิตอล
Pedodontics treatment practices, restorative techniques for primary teeth and pediatric crowns; orthodontics treatment practices, analysing of dental-arch relation using models, cephalometry and digital orthodontics
ทพทส ๕๓๙ การพัฒนาจิตใจ ๑(๐-๓-๑)
DTAD 539 Mind Development
การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตใจและอารมณ์ การเจริญสติและสมาธิเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานทันตกรรมพร้อมมูล
Practicing on mind and emotional developments; mindfulness and meditation to enhance comprehensive dental practices
ทพทส ๕๗๐ บทนำสู่ชีวสถิติ ๑(๑-๐-๒)
DTAD 570 Introduction to Biostatistics
หลักการพื้นฐานทางสถิติ การประยุกต์ชีวสถิติในงานวิจัยทางทันตกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์
Basic statistics; applying of biostatistics in the dental research; data analysis and the dental research
ทพรบ ๘๓๑ การบำบัดการสบฟัน ๑(๑-๐-๒)
DTMS 831 Occlusal Therapy
กายวิภาคศาสตร์ด้านการทำหน้าที่ของระบบบดเคี้ยว ชีวกลศาสตร์และข้อกำหนดของการสบฟัน หลักและแนวคิดการสบฟัน กลอุปกรณ์ขากรรไกรจำลองและการใช้งาน การวิเคราะห์การสบฟัน ความรู้พื้นฐานการทำหน้าที่ผิดปกติของระบบบดเคี้ยวและการรักษาการสบฟัน การกรอปรับการสบฟัน
Functional anatomy of the masticatory system; biomechanics of occlusion and occlusal determinants; principles and concepts of occlusion; articulators and their uses; the occlusal analysis; basic knowledge of functional disturbances and occlusal therapeutics of the masticatory system including occlusal adjustment
ทพรบ ๘๓๒ ความผิดปกติของระบบบดเคี้ยว ๑(๑-๐-๒)
DTMS 832 Disorders of Masticatory System
ทบทวนกายวิภาคศาสตร์ด้านการทำหน้าที่ของระบบบดเคี้ยว สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของความพิการร่วมขมับและขากรรไกร หลักการตรวจพิเคราะห์วินิจฉัย และแนวคิดการบำบัดรักษาความพิการร่วมขมับและขากรรไกร การรักษาการสบฟันและการใช้เฝือกสบฟัน
Reviewing functional anatomy of the masticatory system; etiology and associated factors of temporomandibular disorders, diagnostic principles; additional diagnostic tests and management concepts of temporomandibular disorders; occlusal therapeutics and occlusal appliances for temporomandidular disorders
ทพรบ ๘๓๓ ความผิดปกติของใบหน้า-ช่องปาก ๑(๑-๐-๒)
DTMS 833 Orofacial Disorder
ประสาทชีววิทยาของความเจ็บปวดบริเวณช่องปากและใบหน้า หลักการประเมินผู้ป่วย และพิเคราะห์แยกปัญหาความเจ็บปวด หลักการดูแลบำบัดผู้ป่วยที่มีความทรมานอันเนื่องจากความเจ็บปวดความผิดปกติของการเคลื่อนไหวใบหน้า-ช่องปาก
Neurobiology of orofacial pain; principles of patients’ evaluation and differential diagnosis of the orofacial pain; management principles of orofacial pain patients; orofacial movement disorders
ทพศศ ๘๘๘ การทบทวนวรรณกรรม ๑(๐-๓-๑)
DTSU 888 Review Literature
เรียบเรียง และนำเสนอรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล โดยการค้นคว้ารวบรวมจากตำราและวารสารทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศ
Review and present scientific literatures in oral and maxillofacial surgery from both local and international textbooks and journals
ทพผส ๕๑๔ วิทยาระเบียบวิธีวิจัย ๒(๒-๐-๔)
DTID 514 Research Methodology
หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการวิจัยในห้องปฏิบัติการและการวิจัยประยุกต์การออกแบบการวิจัย การเขียนโครงร่างงานวิจัย การทดสอบสมมติฐาน การเก็บและการจัดการกับข้อมูล การวิจารณ์บทความวิชาการทางสถิติการวิจัย จริยธรรมการวิจัย การเขียนรายงาน
Principle of health science research; research methodology for laboratory research and applied research, research designs; research proposal writing; hypothesis testing; data collection and manipulation; scientific paper critique; research statistics; research ethics; report writing
ทพผส ๖๐๙ การถ่ายภาพในช่องปาก ๑(๑-๐-๒)
DTID 609 Oral Photography
การถ่ายภาพในและนอกช่องปากด้วยระบบดิจิตอล การใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล การปรับแต่งและการนำเสนอภาพถ่าย
Intraoral and extraoral digital photography; computer-assisted photo processing, photo modification and photo presentation
ทพผส ๖๑๓ การประเมินงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ ๒(๒-๐-๔)
DTID 613 Critical appraisal for Biomedical Science Research
การวิเคราะห์และประเมินงานวิจัย โดยมุ่งเน้นลักษณะของงานวิจัยชนิดต่างๆ ระเบียบวิธีทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร ตัวแบบเชิงเส้นนัยทั่วไป การวิเคราะห์ข้อมูลวัดซ้ำ การวิเคราะห์การรอดชีพ การวิเคราะห์อภิมาน การทดสอบความเที่ยง แบบทดสอบวินิจฉัย และการประยุกต์ทางการวิจัยวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์
Critical appraisals in biomedical science research; research characteristics; statistical concepts for data analyse; multivariate analyse; generalized linear models; repeated measures analyse; survival analyse; meta- analyse; reliability test; diagnostic test; applications in biomedical science research
1. ค่าบำรุงการศึกษา | 10,000 | บาท/ปีการศึกษา | |
1.1 ภาคการศึกษาแรก | 5,700 บาท | ||
1.2 ภาคการศึกษาที่สอง | 4,300 บาท | ||
2. ค่ากิจกรรมนักศึกษา | 250 | บาท/ภาคการศึกษา | |
3. ค่าบำรุงบัณฑิตวิทยาลัย | 750 | บาท/ภาคการศึกษา | |
4. ค่าบริการ Internet | 500 | บาท/ภาคการศึกษา | |
5. ค่าหน่วยกิต | 1,800 | บาท/หน่วยกิต | |
6. ค่าอุปกรณ์พิเศษ | 12,000 | บาท |