INTRANET

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

“ความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกร”

ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว

MU DENT faculty of dentistry

“ความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกร”

นอนกัดฟัน

ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว

MU DENT faculty of dentistry

นอนกัดฟัน

ขากรรไกรค้างทำอย่างไรดี

ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว

MU DENT faculty of dentistry

ขากรรไกรค้างทำอย่างไรดี

อ.ดร.ทพญ. นามรัฐ ฉัตรไชยยันต์

ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว

ขากรรไกรค้างเป็นอย่างไร

คนทั่วไปมักใช้คำว่าอ้าปากค้างหรือกรามค้างเพื่ออธิบาย 2 อาการ คือ
1. อ้าปากแล้วหุบลงไม่ได้
2. อ้าปากได้น้อยกว่าปกติ

การอ้าปากแล้วหุบลงไม่ได้ ทางการแพทย์ เรียกว่า ขากรรไกรค้างหรืออ้าปากค้าง แต่เมื่ออ้าปากแล้วไม่สามารถอ้าปากได้กว้างตามปกติ เรียกว่า อ้าปากได้จำกัดหรืออ้าปากไม่ขึ้น

 

อ้าปากค้างเกิดจากอะไร
โดยทั่วไปเมื่อเราอ้าปากและหุบปาก ข้อต่อขากรรไกรที่อยู่บริเวณหน้ารูหูจะหมุนและเคลื่อนไปมาในเบ้ากระดูก ซึ่งเป็นส่วนที่ติดกับกระโหลกศีรษะ เมื่ออ้าปากหัวข้อต่อขากรรไกรและหมอนรองข้อต่อขากรรไกรจะเคลื่อนออกจากเบ้ากระดูกและเคลื่อนกลับเข้าเบ้ากระดูกเมื่อหุบปาก เมื่ออ้าปากค้างหัวข้อต่อขากรรไกรจะเคลื่อนพ้นเบ้ากระดูกออกมาขัดค้างอยู่นอกเบ้า และไม่สามารถเคลื่อนกลับเข้าที่ได้ เราจึงไม่สามารถหุบปากลงได้ตามปกติ เช่น เมื่อหาวกว้างๆ หัวเราะกว้างๆ รับประทานอาหารคำโตๆ อ้าปากกว้างเพื่อทำฟันนานๆ ซึ่งอาจเกิดเสียงดังบริเวณข้อต่อขากรรไกรเมื่อเกิดขากรรไกรค้างและขณะเกิดอาการมักรู้สึกเจ็บปวดร่วมด้วย

 

เมื่ออ้าปากค้างควรทำอย่างไร

เมื่ออ้าปากค้างต้องพยายามสงบใจและอย่าตกใจเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวเกร็งมากขึ้น และไม่สามารถจัดตำแหน่งขากรรไกรเข้าที่ได้ บางครั้งเมื่อผู้ป่วยพยายามขยับขากรรไกรไปมาหรือนวดคลึงบริเวณหน้าหูและข้างแก้มเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อก็จะสามารถหุบปากลงได้เอง ทั้งนี้ห้ามตบหรือชกใบหน้าและขากรรไกรหรือพยายามหุบปากลงทั้งที่ข้อต่อขากรรไกรยังค้างอยู่ เพราะจะทำให้เจ็บมากขึ้น

หากลองรักษาด้วยตนเองในเบื้องต้นแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ ควรรับการรักษาอย่างฉุกเฉินจากแพทย์หรือทันตแพทย์ที่จะจัดขากรรไกรให้เข้าที่ได้ หากกล้ามเนื้อบดเคี้ยวของผู้ป่วยเกร็งมาก ผู้ป่วยอาจได้รับยาเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและลดความกังวล ซึ่งจะเอื้อให้แพทย์และทันตแพทย์จัดขากรรไกรเข้าที่ได้ง่ายขึ้น เมื่อสามารถหุบปากลงได้แล้วไม่ควรอ้าปากกว้างๆ อีก เพราะอาจทำให้อ้าปากค้างอีกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออ้าปากค้างขณะทำฟันสามารถประคบบริเวณหน้าหูหรือข้างแก้มด้วยผ้าห่อน้ำแข็งเพื่อลดอาการเจ็บปวด ควรรับประทานอาหารอ่อนจนกว่าจะหายเจ็บและถ้ายังเจ็บมากสามารถรับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบ (NSAIDs) สักระยะได้

 

อ้าปากค้างป้องกันได้อย่างไร

– หลีกเลี่ยงการอ้าปากกว้างมากๆ เช่น เวลาหาวให้เอามือประคองใต้คาง เวลารับประทานอาหารให้ตัดอาหารเป็นคำเล็กๆ
– เวลาทำฟันให้แจ้งทันตแพทย์หากมีประวัติเคยมีขากรรไกรค้าง หรือขอพักเป็นระยะเพื่อหุบปากลงหากรู้สึกเมื่อย
– หมั่นบริหารขากรรไกร หากมีอาการอ้าปากค้างบ่อยๆ โดยวางปลายลิ้นที่เพดานปากบริเวณเหงือกหลังฟันหน้าบน แล้วอ้าปากจนกว้างที่สุด โดยให้ปลายลิ้นยังแตะบริเวณนี้ตลอดเวลา ไม่ดันฟันหน้าเพราะอาจทำให้ฟันหน้ายื่น ค้างอยู่ท่านี้ประมาณ 6 วินาที ทำซ้ำ 6 ครั้ง นับเป็น 1 รอบ ทำวันละ 6 รอบ ท่าบริหารนี้จะเป็นการฝึกให้ผู้ป่วยอ้าปากอยู่ในวงจำกัดที่หัวข้อต่อขากรรไกรเคลื่อนอยู่ภายในเบ้ากระดูก ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอ้าปากได้แคบลงซึ่งจะไม่ทำให้อ้าปากกว้างเกินจำกัดและอ้าปากค้างต่อไป

หากดูแลขากรรไกรแล้วยังคงอ้าปากค้างและไม่สามารถเอากลับเข้าที่ได้ด้วยตนเองบ่อยๆ ทันตแพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดแก้ไขโครงสร้างของข้อต่อขากรรไกร

 

เฝือกสบฟัน

ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว

MU DENT faculty of dentistry

เฝือกสบฟัน

ศ.คลินิก ทพญ.ณัฏยา อัศววรฤทธิ์

ผศ.ทพ.ธัช อิทธิกุล

ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว

เฝือกสบฟันคืออะไร
เฝือกสบฟัน หรือ Occlusal splint
เป็นเครื่องมือทางทันตกรรมอย่างหนึ่งที่ทันตแพทย์
ทำให้ผู้ป่วยใส่ในช่องปากเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
ของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
และยังป้องกันฟันสึกในกรณีที่ผู้ป่วยนอนกัดฟัน

 

เฝือกสบฟันเหมาะกับใครบ้าง
เฝือกสบฟันเหมาะสมกับผู้ที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกรบางประเภท เช่น
1. มีนิสัยนอนกัดฟัน หรือขบเน้นฟันในเวลากลางวัน
มีการใช้งานกล้ามเนื้อบดเคี้ยวมากกว่าปกติ
ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกรได้
2. มีเสียงคลิกและติดขัดเวลาอ้าปากหรือหุบปาก
3. มีภาวะข้อเสื่อมของขากรรไกร

 

เฝือกสบฟันช่วยคุณได้อย่างไร
เฝือกสบฟันช่วยกระจายแรงสบฟันอย่างเหมาะสม ทำให้ลดแรงที่กล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกร ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอาการปวด นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันฟันสึกจากการนอนกัดฟันได้

 

ชนิดของเฝือกสบฟัน
1. เฝือกสบฟันชนิดอ่อน (Soft Occlusal Splint) เป็นเฝือกสบฟันที่ทำจากวัสดุนิ่ม ทำได้ง่ายและรวดเร็ว มักใช้ในกรณีที่
– ผู้ป่วยอายุน้อย ขากรรไกรยังมีการเจริญเติบโต จึงไม่ขัดขวางการเจริญเติบโตของขากรรไกร
– ใช้บำบัดฉุกเฉินในผู้ป่วยที่มีอาการปวดมาก ใช้ชั่วคราวระหว่างรอทำเฝือกสบฟันชนิดแข็ง
– ใช้ในกรณีอื่นๆ เช่น ป้องกันฟันสึกกร่อนจากการว่ายน้ำที่ต้องสัมผัสน้ำคลอรีนเป็นเวลานานๆ ใช้ป้องกันการกระทบกระแทกขณะเล่นกีฬาบางประเภท เป็นต้น

 

ข้อเสีย เฝือกสบฟันชนิดอ่อน มีอายุการใช้งานสั้น ไม่ทนทาน จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยๆ และบางครั้งอาจทำให้นอนกัดฟันมากขึ้นได้

2. เฝือกสบฟันชนิดแข็ง (Hard Occlusal splint) ทำจากพลาสติกชนิดแข็ง มีอายุการใช้งานนานกว่าเฝือกสบฟันชนิดอ่อน มักใช้ในกรณีที่
– นอนกัดฟัน เพื่อป้องกันฟันสึก และช่วยลดอาการเมื่อยล้าขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
– ผู้ป่วยมีนิสัยขบเน้นฟันในเวลากลางวัน แล้วแก้นิสัยไม่หาย
– มีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรบางประเภท เช่น ข้อต่อขากรรไกรเสื่อม หรือมีเสียงคลิกและติดขัดเวลาอ้าปากหรือหุบปาก (บางราย)

 

ข้อเสีย เฝือกสบฟันชนิดแข็ง ใช้เวลาทำนาน จึงต้องเสียเวลามากกว่าเฝือกสบฟันชนิดอ่อน เฝือกสบฟันชนิดนี้อาจขัดขวางการเจริญเติบโตของขากรรไกรจึงไม่เหมาะสมที่จะใช้ในเด็กที่ยังมีการเจริญเติบโตของขากรรไกรอยู่
แต่มีข้อดีที่สำคัญ คือ ทำให้การสบฟันมีเสถียรภาพขณะใส่และกล้ามเนื้อผ่อนคลายได้ดีกว่า

 

ข้อแนะนำในการใช้ เฝือกสบฟัน
– ควรใส่เฝือกสบฟันเฉพาะเวลากลางคืนหรือตามที่ทันตแพทย์ผู้รักษากำหนด
– โดยปกติเมื่อเริ่มใส่เฝือกสบฟัน อาจรู้สึกตึงเล็กน้อยที่ฟันประมาณ 2 – 3 นาที
– หากมีอาการเจ็บฟันจากการใส่เฝือกสบฟันควรถอดออก และรีบมาพบทันตแพทย์เพื่อปรับแต่งแก้ไข
– ขณะใส่เฝือกสบฟัน อาจมีน้ำลายไหลมากกว่าปกติในช่วงแรกๆ เมื่อใส่จนชินแล้วก็จะรู้สึกเป็นปกติ
– เมื่อถอดเฝือกสบฟัน อาจรู้สึกว่าการสบฟันเปลี่ยนไป หรือกัดฟันได้ไม่เหมือนเดิม สักครู่จึงจะรู้สึกกัดฟันได้ตามปกติ
– ควรทำความสะอาดเฝือกสบฟันทุกวัน โดยใช้แปรงสีฟันและยาสีฟันแปรงทั้งด้านนอกและด้านใน และแช่น้ำสะอาดเก็บในภาชนะที่มีฝาปิด เปลี่ยนน้ำทุกวัน

นอนกัดฟัน ทำอย่างไรดี

ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว

MU DENT faculty of dentistry

นอนกัดฟัน ทำอย่างไรดี

ศ.คลินิก ทพญ.ณัฏยา อัศววรฤทธิ์

ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว

เป็นการทำงานนอกหน้าที่ของระบบบดเคี้ยวในขณะนอนหลับ ที่ทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวหดตัวผิดปกติ จึงเกิดการกัดฟัน จัดเป็นความผิดปกติของการนอนหลับอย่างหนึ่ง (Sleep disorders)

 

รู้ได้อย่างไรว่าเรานอนกัดฟัน

– ส่วนมากคนที่นอนด้วยเขาจะบอกเราได้ แต่บางทีหรือบางคนถ้ากัดฟันแบบกัดแน่น ไม่ไถฟันไปมา ก็ไม่ได้ยินเสียง
– อาจสังเกตตัวเองว่าตื่นนอนแล้วรู้สึกเมื่อยหรือเจ็บตึงที่บริเวณแก้ม หน้าหู หรือมีข้อต่อขากรรไกรขยับลำบาก ติดๆ ขัดๆ
– ถ้าให้ทันตแพทย์ตรวจจะพบมีฟันสึกผิดปกติ ไม่สมกับอายุ ดูบริเวณแก้มด้านในและที่ขอบลิ้น มีรอยหยักตามแนวสบฟันชัดเจน แต่ต้องดูประกอบกันหลายอย่าง และอาจใช้เครื่องมือที่ช่วยทดสอบว่านอนกัดฟัน

 

สาเหตุ

– ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด พบว่าอาจมีบางอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น พันธุกรรม ความเครียด วิตกกังวล
– การรับประทานยาที่ช่วยปรับสารในสมอง
– โรคบางอย่าง เช่น Parkinson ที่ทำให้กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ
– ความผิดปกติของการนอนหลับอื่นๆ (Sleep disorders)

 

กล้ามเนื้อ
ถ้าเป็นน้อยก็อาจมีอาการเมื่อยๆ บริเวณแก้ม หน้าหู ตอนตื่นนอน

 

ฟัน
ฟันสึก แตก หรือร้าว ซึ่งอาจถึงขั้นต้องถอน

 

ข้อต่อขากรรไกร
ถ้าเป็นมากอาจจะเจ็บจนอ้าปากไม่ออก ขยับขากรรไกรลำบากจนถึงขั้นข้อต่อขากรรไกรเสื่อม

 

วิธีการรักษา
เนื่องจากยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่ทำให้อาการนอนกัดฟันหายไป เราจึงต้องรักษาตามอาการและป้องกันการเสียหายที่จะเกิดขึ้น เช่น

 

ใส่เฝือกสบฟัน
– เพื่อป้องกันฟันสึก ฟันแตก ฟันหัก
– ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกรลดความเกร็ง ความตึง

 

ฝึกการผ่อนคลาย
เช่น การฟังเพลงเบาๆ การทำสมาธิ การออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย จะทำอย่างไรก็ได้ตามที่ชอบและสบายใจ แต่ไม่ใช่นั่งเล่นเกมส์ หรือใช้สื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ เป็นเวลานาน ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนเกร็ง ไม่ใช่การพักผ่อนที่แท้จริง