Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

MU DENT faculty of dentistry

โรคเหงือกอักเสบ

รศ.ทพ.ยสวิมล คูผาสุข

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา

โรคเหงือกอักเสบคืออะไรและเราจะรู้ได้อย่างไร ? ว่าเราเป็นโรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบตามคําจํากัดความก็คือมีอาการอักเสบของเหงือก ลักษณะอาการทั่วไปที่ผู้ป่วยมักจะมาปรึกษาก็คือเรื่องของการที่มีขอบเหงือกแดง มีเลือดออกหลังจากแปรงฟัน บางครั้งก็จะมีเศษอาหารติดตามซอกฟัน เคี้ยวอาหารแล้วก็มีอาการเจ็บได้เหมือนกัน

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคเหงือกอักเสบ

สาเหตุโดยทั่วไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดว่า การมีหินนํ้าลายหรือมีหินปูนอยู่ในปาก เป็นตัวทําให้เกิดการอักเสบของเหงือกแต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ สาเหตุหลักจริงๆ ก็คือ คราบอาหารหรือเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ตามขอบเหงือกและซอกฟัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยส่งเสริมใหัโรคมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น การสูบบุหรี่ ผู้หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมากมาย หรือแม้แต่คนที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมระดับนํ้าตาลไม่ได้ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งเสริมให้ร่างกายมีความอ่อนแอลงก็จะทําให้การอักเสบของเหงือกมากขึ้น

การรักษาและการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ควรทําอย่างไร

การรักษาโรคทุกชนิดจําเป็นต้องกําจัดสาเหตุออกไป เพราะฉะนั้นสาเหตุหลักของโรคเหงือกอักเสบ คือ เชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ตามขอบเหงือกและซอกฟัน การรักษาคือต้องกําจัดสาเหตุเหล่านี้ออกไป โดยการขูดหินนํ้าลายและเกลารากฟันแต่แค่นั้นยังไม่พอ เราจําเป็นจะต้องมีการแปรงฟันทําความสะอาดฟัน เนื่องจากสาเหตุของโรคจะมาทุกวันหลังจากที่เราไปทานอาหารก็จะมีสาเหตุใหม่กลับมา มีการอักเสบใหม่ตลอดเวลาเพราะลําพังแค่บอกว่าไปหาหมอ แล้วให้หมอขูดหินนํ้าลาย อันนั้นไม่ใช่การรักษาแต่เป็นแค่การทําความสะอาดฟัน

 

ผู้ป่วยเองจําเป็นจะต้องมีการดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด สมํ่าเสมอ ด้วยการแปรงฟันและใช่ไหมขัดฟัน อย่างถูกวิธีเพื่อกําจัดสาเหตุใหม่ที่กลับมาทุกวันและที่สําคัญที่สุดคือจําเป็นจะต้องไปพบทันตแพทย์ทุกๆ ๖ เดือน เพื่อให้คุณหมอได้ตรวจดูว่าเราแปรงฟันได้สะอาดเพียงพอหรือไม่ มีการอักเสบของเหงือกใหม่หรือเปล่า ก็อยากให้ทุกคนดูแลตัวเองให้มากขึ้น

Post Views: 488