Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

MU DENT faculty of dentistry

นอนกัดฟัน ทำอย่างไรดี

ศ.คลินิก ทพญ.ณัฏยา อัศววรฤทธิ์

ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว

เป็นการทำงานนอกหน้าที่ของระบบบดเคี้ยวในขณะนอนหลับ ที่ทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวหดตัวผิดปกติ จึงเกิดการกัดฟัน จัดเป็นความผิดปกติของการนอนหลับอย่างหนึ่ง (Sleep disorders)

 

รู้ได้อย่างไรว่าเรานอนกัดฟัน

– ส่วนมากคนที่นอนด้วยเขาจะบอกเราได้ แต่บางทีหรือบางคนถ้ากัดฟันแบบกัดแน่น ไม่ไถฟันไปมา ก็ไม่ได้ยินเสียง
– อาจสังเกตตัวเองว่าตื่นนอนแล้วรู้สึกเมื่อยหรือเจ็บตึงที่บริเวณแก้ม หน้าหู หรือมีข้อต่อขากรรไกรขยับลำบาก ติดๆ ขัดๆ
– ถ้าให้ทันตแพทย์ตรวจจะพบมีฟันสึกผิดปกติ ไม่สมกับอายุ ดูบริเวณแก้มด้านในและที่ขอบลิ้น มีรอยหยักตามแนวสบฟันชัดเจน แต่ต้องดูประกอบกันหลายอย่าง และอาจใช้เครื่องมือที่ช่วยทดสอบว่านอนกัดฟัน

 

สาเหตุ

– ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด พบว่าอาจมีบางอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น พันธุกรรม ความเครียด วิตกกังวล
– การรับประทานยาที่ช่วยปรับสารในสมอง
– โรคบางอย่าง เช่น Parkinson ที่ทำให้กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ
– ความผิดปกติของการนอนหลับอื่นๆ (Sleep disorders)

 

กล้ามเนื้อ
ถ้าเป็นน้อยก็อาจมีอาการเมื่อยๆ บริเวณแก้ม หน้าหู ตอนตื่นนอน

 

ฟัน
ฟันสึก แตก หรือร้าว ซึ่งอาจถึงขั้นต้องถอน

 

ข้อต่อขากรรไกร
ถ้าเป็นมากอาจจะเจ็บจนอ้าปากไม่ออก ขยับขากรรไกรลำบากจนถึงขั้นข้อต่อขากรรไกรเสื่อม

 

วิธีการรักษา
เนื่องจากยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่ทำให้อาการนอนกัดฟันหายไป เราจึงต้องรักษาตามอาการและป้องกันการเสียหายที่จะเกิดขึ้น เช่น

 

ใส่เฝือกสบฟัน
– เพื่อป้องกันฟันสึก ฟันแตก ฟันหัก
– ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกรลดความเกร็ง ความตึง

 

ฝึกการผ่อนคลาย
เช่น การฟังเพลงเบาๆ การทำสมาธิ การออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย จะทำอย่างไรก็ได้ตามที่ชอบและสบายใจ แต่ไม่ใช่นั่งเล่นเกมส์ หรือใช้สื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ เป็นเวลานาน ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนเกร็ง ไม่ใช่การพักผ่อนที่แท้จริง

Post Views: 468