INTRANET

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

MU DENT faculty of dentistry

ช่องว่างระหว่างฟัน แก้ไขอย่างไร

อ.ทพญ.อภิญญา ลิ้มวิศิษฎ์สกุล

ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์

 

ช่องว่างระหว่างฟันคืออะไร

โดยลักษณะปกติแล้ว ฟันสองซี่จะอยู่ติดกันโดยปราศจากช่องว่างแต่ถ้าฟันสองซี่ที่ติดกันไม่อยู่ชิดกันด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม ก็จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อความสวยงามและเศษอาการติดตรงบริเวณนั้นได้

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันคืออะไร

สาเหตุที่เกิดช่องว่างระหว่างฟันมีด้วยกันหลายสาเหตุ
1. การสูญเสียฟันก่อนกำหนด หรือฟันแท้ไม่ขึ้นในช่องปาก ทำให้มีช่องว่างบริเวณนั้น
2. ความไม่สัมพันธ์กันของซี่ฟันและขนาดขากรรไกร โดยซี่ฟันมีขนาดเล็ก แต่ขากรรไกรมีขนาดใหญ่ แม้ฟันจะขึ้นครบในช่องปากก็ยังเกิดช่องว่างบริเวณนั้นได้
3. ลักษณะนิสัยผู้ป่วยที่มักใช้ลิ้นดุนฟันเวลากลืนทำให้มีแรงดันที่ฟันหน้าเกิดเป็นช่องว่างที่บริเวณนั้น
4. ความผิดปกติของเนื้อเยื่อโยงยึดระหว่างริมฝีปากกับสันเหงือก ที่มีลักษณะหนาหรือแข็งมากกว่าปกติหรือยึดเกาะผิดตำแหน่งทำให้ขวางการเคลื่อนมาประชิดกันของฟันหน้า
5. การได้รับอุบัติเหตุบางประการ ที่ทำให้ฟันโยกเคลื่อนจากตำแหน่งและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
6. เกิดจากผู้ป่วยเป็นโรคปริทันต์รุนแรง ที่ทำให้ฟันเคลื่อนโยกออกจากตำแหน่งเดิมและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

 

ปัญหาต่างๆนั้นเราสามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง

สำหรับวิธีการรักษาช่องว่างระหว่างฟัน สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาก็คือสาเหตุการเกิดช่องว่างระหว่างฟันนั้นและทำการแก้ไขให้ถูกต้องตามสาเหตุ

การรักษาที่ 1 คือ การติดตามดูอาการร่วมกับการปรับพฤติกรรมในผู้ป่วยที่มีสาเหตุของช่องว่างระหว่างฟันที่เกิดจากการเอาลิ้นดุนฟัน

การรักษาที่ 2 คือ การจัดฟันโดยใช้เครื่องมือช่วยในการเคลื่อนฟันให้มาประชิดกัน

การรักษาที่ 3 คือ การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันหรือการใช้การเคลือบผิวหน้าฟันที่เรียกว่า วีเนียร์ (Veeneer)

การรักษาที่ 4 คือ ในกรณีที่คนไข้มีช่องว่างระหว่างฟันที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อโยงยึดก็จะต้องทำการผ่าตัดแก้ไขร่วมกับการรักษาอื่นๆ ที่กล่าวไปเบื้องต้น

 

Frenectomy

Koora K, Muthu M S, Rathna PV. Spontaneous closure of midline diastema following frenectomy. J Indian Soc Pedod Prev Dent 2007;25:23-6

 

การรักษาสุดท้าย ในกรณีที่ช่องว่างระหว่างฟัน มีขนาดใหญ่ที่จะอุดปิดได้ก็อาจจะต้องพิจารณาในการใช้ฟันทดแทน แต่จะเลือกการรักษาโดยวิธีการใด จำเป็นต้องพิจารณาร่วมกับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

 

การดูแลรักษาหลังจากที่ได้ทำการรักษาไปแล้วควรทำอย่างไร
คือ การแปรงฟันร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันตามปกติ แต่ในกรณีรักษาโดยการอุดปิดด้วยวัสดุสีเหมือนฟันหรือเคลือบผิวฟันอาจต้องระวัง หลีกเลี่ยงการกัดอาหาร แข็งเหนียว เนื่องจากวัสดุอุดหรือบริเวณนั้นมีโอกาสแตกหักได้ง่ายกว่าฟันปกติ

Post Views: 49