หน่วยวิจัยของคณะทันตแพทยศาสตร์ เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 โดยคณบดีและผู้ก่อตั้งคณะคือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณทันตแพทย์อิศระ ยุกตะนันท์ (พ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2524) ได้เห็นปัญหาและช่วยสนับสนุนด้านการบริหาร โดยได้มอบหมายให้รองศาสตราจารย์ทันตแพทย์ ดร.สุขุม ธีรดิลก กำกับดูแลหน่วยวิจัย ได้มีการจัดหาเครื่องมือ/อุปกรณ์ เพื่อการวิจัยบางส่วนไว้แล้ว ต่อมาสมัยคณบดีรองศาสตราจารย์ทันตแพทย์หญิงนิสา เจียรพงศ์ (พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2537) มีรองศาสตราจารย์ทันตแพทย์หญิงวรรณา สุชาโต เป็นรองคณบดีฝ่ายวิจัย รองศาสตราจารย์ทันตแพทย์ ดร.สิทธิชัย ขุนทองแก้ว เป็นผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย และรองศาสตราจารย์ ดร.ฤดี สุราฤทธิ์ เป็นผู้ดูแลห้องปฏิบัติการวิจัย มีการพัฒนาเครื่องมือ/อุปกรณ์เพิ่มมากขึ้นอีก จนกระทั่งสมัยของคณบดีศาสตราจารย์เกียรติคุณทันตแพทย์สมศักดิ์ จักรไพวงศ์ (พ.ศ. 2538- พ.ศ. 2543) ได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยช่วงนี้มีการจัดหาเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อการวิจัยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเครื่องมือใหญ่ๆ ที่มีราคาแพง อาทิเช่น กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพร้อมอุปกรณ์วิเคราะห์ธาตุ เครื่องทดสอบแบบสากล เป็นต้น โดยในวาระที่ 1 ของคณบดี ศาสตราจารย์เกียรติคุณทันตแพทย์สมศักดิ์ จักรไพวงศ์ (พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2540) มีรองศาสตราจารย์ทันตแพทย์หญิงอรสา ไวคกุล เป็นรองคณบดีฝ่ายวิจัย และในวาระที่ 2 (พ.ศ. 2541- พ.ศ. 2543) มีรองศาสตราจารย์ทันตแพทย์หญิงชัชรี สุชาติล้ำพงศ์ เป็นรองคณบดีฝ่ายวิจัย จนสมัยคณบดีรองศาสตราจารย์ทันตแพทย์ ดร.สุขุม ธีรดิลก (พ.ศ. 2544-พ.ศ. 2546)ได้มีรองศาสตราจารย์ทันตแพทย์ ดร.นพคุณ วงษ์สวรรค์ เป็นรองคณบดีฝ่ายวิจัย ส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิจัย โดยจัดหาตำแหน่งของเจ้าหน้าที่มารับผิดชอบเครื่องมือ/อุปกรณ์ เพื่อให้เพียงพอกับภาระงานวิจัยที่เพิ่มมากขึ้นและได้พัฒนาจากหน่วยวิจัยขึ้นเป็นระดับงานชื่อว่า “งานบริการวิชาการและวิจัย” ซึ่งรองศาสตราจารย์ทันตแพทย์หญิงวรลักษณ์ ปรัชญพฤกษ์ ได้กรุณาแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Research Service Center และยังได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ภาควิชาต่าง ๆ มาช่วยเหลือ โดยเป็นที่ปรึกษาของเครื่องมือ/อุปกรณ์ต่าง ๆ
ต่อมาสมัยคณบดีรองศาสตราจารย์ทันตแพทย์หญิงจุไร นาคะปักษิณ (พ.ศ. 2546-2548) มีรองศาสตราจารย์ทันตแพทย์สุรชัย เดชคุณากร เป็นรองคณบดีฝ่ายวิจัยและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เห็นความสำคัญของการจัดระบบบริหารงานภายในงานบริการวิชาการและวิจัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 จึงได้นำระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001: 2000 เข้ามาดำเนินการบริหารจัดการในงานบริการวิชาการและวิจัย และต่อมาได้มีการขยายงานจัดตั้งศูนย์ทดสอบวัสดุ/สารทางทันตกรรม เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์ ในสมัยคณบดี รองศาสตราจารย์ทันตแพทย์หญิง ดร.ธีรลักษณ์ สุทธเสถียร (พ.ศ. 2548-2555) มีนโยบายและความตั้งใจ แน่วแน่ ในการเห็นความสำคัญของการมีห้องปฏิบัติการวิจัยมาตรฐาน เพื่อให้ผลการทดสอบเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จึงให้งานบริการวิชาการและวิจัยดำเนินระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการวิจัยมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2005 โดยระบุขอบข่ายงานของห้องปฏิบัติการวิจัย ที่จะขอการรับรองไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ห้องปฏิบัติการวิจัยมีมาตรฐาน ตลอดจนเครื่องมือ/อุปกรณ์ของห้องปฏิบัติการวิจัยได้รับการสอบเทียบทำให้ผลการทดสอบเป็นที่น่าเชื่อถือ และยอมรับแก่ผู้มาใช้บริการตลอดจนส่งเสริมให้งานวิจัยของ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ยอมรับในระดับสากลด้วย ต่อมาเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2554 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบการบริหารงานของคณะฯใหม่ จึงทำให้งานบริการวิชาการและวิจัยได้ปรับเปลี่ยนเป็น “สำนักงานการวิจัย” ประกอบด้วย 3 งาน คือ งานส่งเสริมและพัฒนาการวิจัย งานบริการเพื่อการวิจัย และงานประยุกต์ผลงานวิจัย จนกระทั่งปัจจุบันนี้ คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ทพญ.วรานันท์ บัวจีบ ส่งเสริมให้มีการจัดทำระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการวิจัยมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017
1. จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการวิจัย ตามนโยบายและพันธกิจ
2. ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาการวิจัย ประสานงานในการบริหารเงินทุนอุดหนุนการวิจัยต่างๆ ภายในและภายนอกคณะฯ
3. ควบคุม ดำเนินการระบบบริหารงานคุณภาพ ให้ดำเนินการต่อไปอย่างเป็นระบบ
4. ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน จัดทำ รายงาน การดำเนินงานการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน และการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในสัตว์
5. จัดเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ ข้อมูลด้านการวิจัยจากภาควิชาและหน่วยงานภายในคณะฯ
6. จัดการฐานข้อมูลผลงานวิจัย เพื่อสืบค้น และเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ
7. จัดหาเครื่องมือ/อุปกรณ์ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือ/อุปกรณ์เพิ่มมากขึ้น
8. ดำเนินการให้บริการทดสอบ/วิเคราะห์ตัวอย่าง จากภายในและภายนอกคณะฯ
9. ปรับปรุง พัฒนาการให้บริการห้องปฏิบัติการวิจัย แก่ คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา ภายในและภายนอกคณะฯ
10. ส่งเสริม การผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรม สำหรับใช้ภายในคลินิก จำหน่ายให้กับผู้ป่วยและหน่วยงานภายนอกคณะฯ
1. งานพัฒนาคุณภาพด้านการวิจัยของคณะฯ
2. งานส่งเสริมประสานงานวิจัย ดำเนินการด้านบริหารจัดการการวิจัย
3. ควบคุม ดำเนินงานกำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน วางแผน มอบหมายงาน วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไขปัญหา ติดตาม ประเมินผลงานและพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ควบคุมการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ตามงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี
5. ควบคุมการดำเนินงานในระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001: 2015 และระบบห้องปฏิบัติการวิจัยมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017 และปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัยตามมาตรฐาน ESPReL
6. ควบคุมดำเนินงาน ประสานงานรับทุนอุดหนุนการวิจัย ประสานงานเบิกจ่ายเงินทุน ระหว่างแหล่งทุนภายในและภายนอกและผู้วิจัย
7. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือและสัมฤทธิ์ของงาน
8. จัดให้มีการอบรมเพิ่มความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ วิธีการ ของงานในความรับผิดชอบ
9. กำหนดมาตรฐาน สนับสนุนผลงานด้านการวิจัย วิเคราะห์วิจัยข้อมูลควบคุมตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับหัวข้อในการศึกษาวิจัย การวางแผน การวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การขอทุน การรายงานผลงานการวิจัยให้ครบถ้วนตามกระบวนการวิจัย
หน่วยงานในงานส่งเสริมและพัฒนาการวิจัย
• หน่วยบริหารจัดการการวิจัย
• หน่วยส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย (สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมฯ)
• หน่วยฐานข้อมูลการวิจัยและสถิติ
• วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหิดล
1. รับผิดชอบการให้บริการและอำนวยความสะดวกด้านการใช้ห้องปฏิบัติการวิจัย การใช้และเบิกจ่าย เครื่องมือและอุปกรณ์การวิจัย รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการดำเนินการวิจัย
2. ควบคุม ตรวจสอบ ดูแลบำรุงรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัย และจัดทำสถิติข้อมูล
3. ดำเนินการให้มีการอบรมให้ความรู้ ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับตัวอย่างการวิจัยและบริการ การตรวจวิเคราะห์ ตัวอย่างการวิจัย การวางแผนการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. เสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข เพื่อประกอบการกำหนดนโยบายด้านการวิจัยของคณะ
5. สรุปรายงาน เสนอแนะแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับงานบริการเพื่อการวิจัยของคณะเพื่อกำหนด และสร้างลักษณะ/มาตราฐานในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
6. ร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของสำนักงาน/คณะ และชี้แจงรายละเอียดต่อคณะกรรมการต่างๆ
7. กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน วางแผน มอบหมายงาน วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไขปัญหาขัดข้อง ติดตามประเมินผลงาน และพัฒนาผู้ใต้บังคับของหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. จัดอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการวิธีการของงานในความรับผิดชอบ
9. จัดให้มีการสัมมนาฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคนิคและเครื่องมือแก่คณาจารย์ และบุคลากรของคณะ
10. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือ และสัมฤทธิ์ของงาน และร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของคณะ และนโยบายการปฏิบัติงานของหน่วย
1. การขอทรัพย์สินทางปัญญาของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. บริการให้คำปรึกษาจัดเตรียมเอกสารแนะนำ การเขียนแบบฟอร์มเพื่อยื่นขอจดทรัพย์สินทางปัญญา
3. บริการสืบค้นทรัพย์สินทางปัญญาความคุ้มครองสู่เชิงพาณิชย์
4. บริการร่างทรัพย์สินทางปัญญา ยื่นขอจดทรัพย์สินทางปัญญา ติดต่อจนได้รับเลขที่คำขอ
5. ประสานงานต่อยอดทรัพย์สินทางปัญญา
6. งานรวบรวมผลิตภัณฑ์ของคณะทันตแพทยศาสตร์สู่ร้าน M – Dent
7. การจัดสรรรายได้จากการบริการวิชาการ
8. การจัดทำสัญญาความร่วมมือและสัญญาที่เกี่ยวข้องกับงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา
9. การจัดทำสัญญาการเก็บรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ Non-Disclosure Agreement (NDA)
10. Material Transfer Agreement : MTA
หน่วยงานในงานประยุกต์ผลงานวิจัย
– หน่วยผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ งานประยุกต์ผลงานวิจัย
– หน่วยประยุกต์วิจัยเชิงพาณิชย์ งานประยุกต์ผลงานวิจัย
เลขที่ 888 ม.6 ถ.บรมราชชนนี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
เบอร์ตรง 0-2849-6600