INTRANET

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
ข้อมูลหลักสูตร 55-61

MU DENT faculty of dentistry

ข้อมูลหลักสูตร ปีการศึกษา 2555 – 2561

  ภาษาไทย  :      หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

 ภาษาอังกฤษ  :  Doctor of Dental Surgery Program

ภาษาไทย 

ชื่อเต็ม       :      ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต 

ชื่อย่อ        :      ท.บ.

ภาษาอังกฤษ 

ชื่อเต็ม       :      Doctor of Dental Surgery

ชื่อย่อ         :      D.D.S.

237  หน่วยกิต

หลักสูตรระดับปริญญาตรี ระยะเวลาศึกษา 6 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2552 และตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ พ.ศ.2557

หลักสูตรระดับปริญญาตรี ระยะเวลาศึกษา 6 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2552 และตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ พ.ศ.2557

ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

  รับเฉพาะนักศึกษาสัญชาติไทยที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับดี เป็นไปตามระเบียบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และ/หรือตามที่คณะทันตแพทยศาสตร์ได้กำหนดเพิ่มเติม

1) ทันตแพทย์ทำงานในหน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ เอกชน หรือเปิดคลินิกอิสระ

2) ผู้ช่วยอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย อาจารย์ในระดับวิทยาลัย

3) นักวิชาการทางทันตสาธารณสุข

4) สามารถศึกษาต่อเป็นทันตแพทย์เฉพาะทางในระดับบัณฑิตศึกษาและระดับวุฒิบัตรในสาขาวิชาต่าง ๆ  และศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาอื่น

1)  ศูนย์ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล

2)  คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

3)  โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร มหาวิทยาลัยมหิดล

4)  ปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์วิชาชีพใน โรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆตามที่คณะฯกำหนด

บัณฑิตทันตแพทยศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม ใฝ่เรียนรู้ เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน

มีการส่งเสริมการเรียนการสอนโดยเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learning centred educatation) เพื่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน (Outcome-based education) ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ และสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเอง (Constructivism) รวมทั้งส่งเสริมให้นำศักยภาพที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมได้อย่างเต็มที่

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program-Level Learning Outcomes, PLOs)
และผลลัพธ์การเรียนรู้ย่อย (Sub Program-level Learning Outcomes, SubPLOs)

 

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาจะสามารถ
PLOsSubPLOs
PLO1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการจัดการ การวิจัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตามหลักการการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑๑.๑  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องและเหมาะสมกับปัญหาที่กำหนด

 

๑.๒  วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ โดยใช้หลักฐานเชิง-ประจักษ์

๑.๓  เลือกวิธีการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับตนเองในสถานการณ์ต่าง ๆ

๑.๔  ใช้ทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving) ในการแก้ไขปัญหาที่กำหนดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

๑.๕  ประเมินการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เพื่อปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

๑.๖  ประยุกต์ทักษะการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง

PLO2 วินิจฉัยโรคช่องปาก ใบหน้า ขากรรไกรได้อย่างถูกต้อง โดยอาศัยข้อมูลที่รวบรวมได้จากผู้ป่วย ตามมาตรฐานวิชาชีพทางทันตกรรม๒.๑ ซักประวัติจากผู้ป่วยและญาติหรือผู้ดูแล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการวินิจฉัยโรคและเหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วย

 

๒.๒ ตรวจผู้ป่วยในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วย โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานทางทันตกรรม

๒.๓ เลือกการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจทางภาพรังสี และการตรวจอื่น ๆ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและความเหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วย พร้อมทั้งแปลผลจากข้อมูลดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง

๒.๔ ประเมินสภาวะผู้ป่วยทั้งทางการแพทย์และทางทันตกรรมเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

๒.๕ วินิจฉัยเบื้องต้นและพิเคราะห์แยกโรคทางทันตกรรมเพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง

PLO3 วางแผนการรักษาทางทันตกรรมแบบองค์รวมร่วมกับผู้ป่วย และ/หรือกลุ่มสหสาขาวิชาชีพ คำนึงถึงประโยชน์และความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ๓.๑ ประเมินสภาวะโรคช่องปากและใบหน้าขากรรไกรเพื่อวางแผนการรักษาอย่างรอบด้าน

 

๓.๒ วางแผนการรักษาทางทันตกรรมให้ถูกต้องเหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยประยุกต์ใช้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม (Holistic approach)

๓.๓ ตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยให้แก่ทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ หากงานทันตกรรมอยู่เหนือระดับสมรรถนะ ของตน

๓.๔ ใช้ความรู้ทางทันตกรรมและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความคิดเห็นเชิงวิชาการเมื่อได้รับการขอคำปรึกษาจากผู้ร่วมงาน

PLO4 จัดการและให้การดูแลรักษาทาง          ทันตกรรมแบบองค์รวม ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ทันตกรรม๔.๑ จัดการสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อในบริเวณที่ทำหัตถการ

 

๔.๒ ใช้ยาได้อย่างสมเหตุผลและเหมาะสมกับภาวะของผู้ป่วย รวมทั้งจัดการต่อผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา

๔.๓ ทำหัตถการทางทันตกรรมเพื่อจัดการโรคในช่องปากและใบหน้าขากรรไกรในระดับที่เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม** และมุ่งเน้นความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

๔.๔ ประเมินผลการรักษาตามแนวทางทันตกรรมแบบองค์รวมเพื่อสะท้อนคุณภาพการรักษา นำไปสู่การปรับปรุงการรักษา

๔.๕ จัดการภาวะแทรกซ้อนทางทันตกรรมและภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่พบบ่อยในระหว่างและหลังการรักษาทางทันตกรรม

๔.๖ จัดการพฤติกรรม รวมถึงภาวะความเจ็บปวด ความเครียด และความวิตกกังวลของผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ด้วยการใช้ยาและไม่ใช้ยา

PLO5 ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค             ช่องปาก ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว

 

        และชุมชน โดยมุ่งเน้นถึงสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องตามหลักสุขภาพ         องค์รวม

๕.๑ ดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชนในระดับบุคคลโดยผ่านแนวคิดการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้

 

๕.๒ ให้ทันตสุขศึกษาแก่ประชาชนในระดับบุคคล ครอบครัวหรือชุมชน โดยผ่านแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ
การป้องกันโรคและบริหารจัดการทางสาธารณสุขร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ

๕.๓ ประเมินสถานการณ์สุขภาพช่องปาก ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และความสำคัญของระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ

PLO6 สื่อสารกับผู้ป่วยและญาติหรือผู้ดูแล กลุ่มสหสาขาวิชาชีพ และสาธารณชนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ตรงตามวัตถุประสงค์๖.๑ สื่อสารกับผู้ป่วยและผู้ดูแล ปรึกษาและให้คำแนะนำต่อกลุ่มสหสาขาวิชาชีพ รวมทั้งให้ข้อมูลและความรู้แก่สาธารณชนได้อย่างเหมาะสม

 

๖.๒ บันทึกเวชระเบียนได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล

๖.๓ อธิบายและแนะนำสภาพโรค การรักษา การป้องกัน และการดูแลกับผู้ป่วยและกลุ่มสหสาขาวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม

๖.๔ สื่อสารกับผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลอย่างมีจริยธรรม

เพื่อผลิตทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ที่มีคุณลักษณะและมีความรู้ ความสามารถ ต่อไปนี้

1)  มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ (Affective Domain)

2)  มีความรอบรู้ และทักษะในการจัดการดูแลรักษาทางทันตกรรมแบบองค์รวม สามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคช่องปากทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน (Cognitive / Psychomotor Domains)

3)  สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักการของกระบวนการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในงานทันตกรรม (Cognitive / Psychomotor Domains)

4)  สามารถพัฒนาตนเองเชิงวิชาชีพและเชิงปัจเจกบุคคล มีความใฝ่รู้ ปรับตัวให้พร้อมรับกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Affective / Interpersonal / Collaboration Domains)

5)  สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย (Interpersonal /Communication Domains)



หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา

ตามเกณฑ์  AUN-QA  ระดับอาเซียน

ตั้งแต่วันที่  6  มีนาคม  2563

 

เป็นแห่งแรกในประเทศไทย

 

แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 6 พ.ค 2564

Post Views: 103