Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ชื่อ-นามสกุล :

ทพญ. นฎาสิณีย์ จารุโชติรัตนสกุล

ชื่อเล่น :

คริส

จบหลักสูตร ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี 2563 เป็นศิษย์เก่ารุ่นที่ 48 ก่อนจะมาเรียนหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ท.บ.)ก็เคยศึกษาที่ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และมัธยมตอนปลายที่ Mill Hill School,London,United Kingdom

หลังจากคริสเรียนจบทันตแพทยศาสตรบัณฑิต อาจารย์ผู้ใหญ่ในภาควิชาก็ได้ทำการชักชวนให้มาทำงานในคณะฯ แต่การเป็นอาจารย์นั้น ต้องใช้วุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ทำให้เราต้องหาที่เรียนต่อและด้วยความที่เราอยากเรียนต่อต่างประเทศอยู่แล้ว จึงขอเวลาจากภาควิชาในการเตรียมตัวสมัครเรียนต่อต่างประเทศเป็นเวลาเกือบสองปี สร้าง portfolio เก็บประสบการณ์งานทางวิชาการ งานวิจัย และการเรียนการสอน เพื่อให้ profile เราเป็นที่น่าสนใจของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ หลังจากได้คำแนะนำละปรึกษาจากอาจารย์หลายๆท่านในสาขา ทำให้คริสได้สนใจในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเป็นพิเศษคือ University of Pennsylvania จากในวงการรักษาคลองรากฟันนั้น ซึ่งในมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้นๆของโลก และยังมีการพัฒนาเครื่องมือและวิธีการรักษาใหม่ๆที่นั่นด้วย คริสเลยได้ตั้งใจจะสมัครที่ Upenn ที่เดียว และเนื่อจากมหาวิทยาลัยเป็น Ivy League Schoolจึงทำให้คริสรู้สึกอยากทำตามความตั้งใจของตัวเองที่จะไปเรียนมหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้ได้

หลังจากเตรียมตัวยื่นใบสมัครและสอบสัมภาษณ์เป็นเวลาหลายเดือน เพื่อรอผลตอบรับจากมหาวิทยาลัย ก็ได้สอบติดหลักสูตรปริญญาเอกควบคู่กับหลักสูตรทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ Doctor of Science in Dentistry and Endodontics Residency Program ที่ University of Pennsylvania ระยะเวลาเรียน 5 ปี ซึ่งจะเริ่มเรียนในปี 2023 ค่ะ

เนื่องจากคริสได้ไปเรียน Training Caurse in Micro-Surgical Endodontics ที่ University of Pennsylvania ซึ่งเป็นการเรียนเพื่อเพิ่มเสริมความรู้เรื่องการผ่าตัดปลายรากฟันกับ Professors ที่มีผลงานวิจัยและเขียนหนังสือที่เกี่ยวกับ Microsurgery in Endodontics เป็นคนแรกๆของโลกอีกด้วย ตอนเรียนคริสรู้สึกเหมือนได้กลับไปรีเซ็ตตัวเองอีกครั้ง เพราะในหลายๆด้านการรักษาคลองรากฟันในประเทศไทยกับอเมริกานั้น แตกต่างกันในส่วนของเครื่องมือและการดูแลผู้ป่วยในทุกมิติ ยิ่งทำให้คริสอยากไปเรียนที่อเมริกา เพื่อเข้าใจความแตกต่างนี้มากขึ้นและนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้มาปรับปรุงใช้ ให้เข้ากับการรักษาในประเทศไทยค่ะ คริสยังได้เข้าร่วมสัมนาทางวิชาการของ University of Pennsylvania เพื่อให้ได้เข้าใจว่าบรรยากาศจะเป็นอย่างไร เมื่อตัวเองได้เข้าไปเรียน ก็พบว่าทั้งนักศึกษาก่อนและหลังปริญญา มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียนและมีการวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงบวก ในมุมมองของแต่ละคน เพื่อให้เพื่อนร่วมชั้นได้พัฒนาในสิ่งที่คนนำเสนอได้ทำไป ทั้งนักศึกษาและอาจารย์ที่เรียน พูดค่อนข้างตรงค่ะ ไม่มีเบรกกันเลย คนที่นำเสนอต้องจิตใจแข็งแกร่งในรับนึงค่ะ

ส่วนจุดเริ่มต้นของอาจารย์ในรั้วโยธีนั้น ก็มีอยู่ว่า ระหว่างเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ได้มีอาจารย์ในภาควิชาฯเข้ามาสอบถามว่า ชอบงานรักษารากฟันไหม หากมีความสนใจงานนี้ให้ลองรักษารากฟันกรามในผู้ป่วย แล้วลองคิดอีกทีว่าชอบงานด้านนี้หรือไม่ ซึ่งส่วนตัวมีความชอบงานรักษาคลองรากฟันอยู่แล้ว เพราะรู้สึกว่าท้าทายดี และเป็นงานที่เรารู้สึกว่าอยากทำต่อเรื่อยๆ อยากนัดผู้ป่วยและอยากพัฒนาตัวเองในตรงนี้ ตอนตัวเองเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 4 เลยเข้าร่วมโครงการประกวดเปิดAccessครั้งที่ 7 ที่ทางกองทุนอาจารย์อมรา ม่วงมิ่งสุข ร่วมกับสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ จำได้ว่าตั้งใจลงประกวดมากๆเลยค่ะ ท่องเลกเซอร์สิ่งที่อาจารย์สอนมา ทบทวนซ้ำๆ และผลการประกวดออกมาว่าได้ที่ 1 ก็ตกใจ เพราะว่าตอนนั้นเราแข่งกับรุ่นพี่ชั้นปีที่ 5และชั้นปีที่ 6 ที่มีประสบการณ์ในคลินิกมากกว่าเราด้วย ปีถัดไปจึงอยากลองฝีมือตัวเองอีกครั้ง เพราะไม่แน่ใจว่าบังเอิญหรือเปล่า เลยลงประกวดเปิด Access ครั้งที่ 8 อีกครั้ง และก็ได้รับรางวัลที่ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ค่อนข้างตกใจเลยค่ะ แต่ก็ทำให้เรารู้สึกว่าเราอยากจะมาเพิ่มทักษะด้านนี้ของเรามากขึ้น และตั้งตาคอยกับการได้ทำเอ็นโดฯมากๆจึงอยากมาเป็นอาจารย์ด้วยค่ะ

เนื่องจากคริสเพิ่งจบมาได้ปีกว่าๆเลยยังไม่ได้มีโอกาศสอนเลกเชอร์นักศึกษาเลยค่ะ แรกๆจึงเริ่มจากการศึกษาดูงานและติดตามอาจารย์ประจำเวลาอาจารย์ตรวจนักศึกษาค่ะ เราก็จะสังเกตว่าอาจารย์มีเทคนิคในการสอนน้องๆอย่างไรให้น้องเข้าใจ เวลาคริสติดตามอาจารย์ก็จะได้ตรวจงานน้องๆบ้าง แต่เนื่องจากประสบการณ์ในการสอนของคริสยังไม่มากพอจึงต้องให้อาจารย์ช่วยตรวจงานคริสอีกที เพื่อให้ได้มาตรฐานค่ะ ทั้งนี้คริสได้มีโอกาสได้สอนน้องๆในคาบSimulation lab สอนน้องๆนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 4-6 ให้ฝึกใช้ hand files และ rotary files ในการรักษาคลองรากในฟันที่ถอนมาแล้ว เวลาที่สอนคริสจะพยายามจำคำพูดของอาจารย์ที่ได้ศึกษาดูงานมาค่ะ แล้วก็มาถ่ายทอดให้น้องๆอีกที ส่วนเทคนิคในการสอนนักศึกษารุ่นใหม่ไม่ได้มีอะไรพิเศษเลยค่ะ เนื่องจากตัวเราเองก็ยังเรียนรู้ในการเป็นอาจารย์อยู่ด้วย แต่คริสบอกนักศึกษาตลอดว่า มีคำถามหรือสงสัยอะไร ให้ถามได้เสมอ ไม่ว่าคำถามนั้นจะดูเล็กน้อยเพียงใด หากไม่เข้าใจตรงไหน ลองบอกเหตุผลกับสิ่งที่คิดว่าทำไมเป็นอย่างนั้น และเราสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ค่ะ นอกจากนี้ก็จะสังเกต สีหน้าของน้องๆเป็นหลัก หากน้องๆแสดงสีหน้าคิ้วขมวดหรือมีทีท่าว่าไม่เข้าใจสิ่งที่คริสพูด ก็จะให้น้องทวนจนกว่าจะเข้าใจค่ะ

ทันตแพทย์เป็นงานที่ life-long learning แม้ว่าคริสจะจบหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิตไปแล้ว มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เท่านั้น ยังมีสิ่งอื่นๆที่ทันตแพทย์ต้องเรียนรู้อีกมากมาก และพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ เพื่อการให้บริการด้วยคุณภาพที่ดีที่สุด ให้กับผู้ป่วยและนักศึกษา คริสอยากแนะนำคนที่สนใจมาเรียนหลักสูตรทันตแพทย์และนักศึกษาได้ Maximum learning outcome(เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด) เรียนรู้ให้เต็มที่ในคณะฯหากเกิดความผิดพลาดอย่างไรให้เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำให้เราเติบโตในฐานะทันตแพทย์คนหนึ่ง อย่ากลัวที่จะพลาดและยอมรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ในคณะฯเรามีอาจารย์และเพื่อนๆคอยช่วยเหลือสนับสนุนตลอดเวลา หากจบไปแล้วจะไม่มีโอกาศจัดการกับโจทย์ยากๆ ที่เกิดขึ้นได้เหมือนกับในคณะฯ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์การเรียนให้ดีที่สุดค่ะ ตอนนี้อาจจะดูหนักหน่วงไปบ้าง แต่พอเรียนจบไปแล้วทุกคนจะคิดถึงเวลาที่ได้เรียนกับเพื่อนๆในคณะฯแน่นอนค่ะ