INTRANET

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
52

ชื่อ-นามสกุล :

ผู้ช่วยอาจารย์ ทพญ.วรุตตา เกษมศานติ์

ชื่อเล่น :

แพรว

คติประจำใจ : Success is not for the lazy
ปัจจุบันทำงานตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ : ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

 

 

ระยะเวลาในการใช้ทุนกี่ปีและหลังจากที่ใช้ทุนที่นี่จบแล้วมีโครงการจะทำอะไรต่อ

หลังจากจบการศึกษาทันตแพทยศาสตร์บัณฑิตได้ไปใช้ทุนที่โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขกับการทำงานมาก ถึงแม้ว่าทุกวันจะทำฟันเทียมกับทำฟันในเด็กเป็นหลักก็ตาม ในเวลานั้นอยากพัฒนาตัวเองโดยเฉพาะส่วนของวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากเนื่องจากเป็นวิชาชอบอยู่แล้วจึงตัดสินใจสอบเข้าในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ วิชาเอกศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล (PG ศัลย์) และลาออกจากราชการ หลังจากเรียนพบว่าตัวเองอยากไปต่อในเส้นทางนี้จังสมัครเรียนทันตแพทย์ประจำบ้านในสาขานี้ต่อเป็นเวลาอีก 4 ปีซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตมากมายเพราะต้องเดินทางไป rotation ต่างจังหวัดหลายครั้ง ได้เรียนรู้กับแพทย์และเพื่อนต่างสาขาวิชาชีพอื่น อีกทั้งยังเป็นช่วงที่เรามีความรู้และทักษะใหม่มากขึ้นในเวลาอันสั้น หลังจากนั้นจึงได้บรรจุเป็นผู้ช่วยอาจารย์โดยโครงการหลังจากนี้อาจเป็นการไปศีกษาดูงานที่ต่างประเทศในสาขานี้

 

เคสผู้ป่วยที่ประทับใจ

ผู้ป่วยที่ประทับใจ ผู้ป่วยหญิงอายุประมาณ 50 ปีที่มีการติดเชื้อ multiple fascial space infection และมีโรคประจำตัวหลายอย่าง ในขณะนั้นเราซึ่งเป็นทันตแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3 ก็พยายามหาทางรักษาอย่างเต็มที่ ตามที่เคยเรียนมา แต่ผู้ป่วยก็ไม่ค่อยดีขึ้นอีกทั้งยังดูซึมเศร้าลงจากการอยู่ ICU นานๆและผ่าตัดหลายครั้ง จุดเปลี่ยนของการรักษาคือการที่เตียง ICU ไม่ว่างและได้ย้ายไปยังหอผู้ป่วยธรรมดา ในเวลานั้นเราคิดว่าสถานการณ์น่าจะแย่ลงกว่าเดิมเพราะการพยาบาลไม่ทั่วถึงเท่า ICU แต่ก็คิดผิดเพราะว่าการได้อยู่หอผู้ป่วยธรรมดานั้นจะมีญาติที่สามารถเฝ้าได้โดยญาติของผู้ป่วยรายนี้เป็นลูกสาวที่ให้ความร่วมมือในการดูแลอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังสร้างกำลังใจให้กับทุกๆคน ทำให้ผู้ป่วยอาการค่อยๆดีขึ้นจนหายดีกลับบ้านได้
สิ่งที่สำคัญที่ได้จากเคสนี้คือ การดูแลคนไข้ต้องดูแลสภาพจิตใจควบคู่กับโรคทางกายไปด้วย อีกทั้งให้ความสำคัญกับการสื่อสารโดยเฉพาะญาติผู้ป่วยจะช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้นและได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

 

ฝากทิ้งท้าย

ในการเรียนหรือการทำงานควรหาสิ่งที่คิดว่าใช้สำหรับตัวเองก่อน เมื่อพบสิ่งนั้นแล้วก็ต้องประกอบกับทักษะ ความรู้พื้นฐานและความรู้ไนแง่ของการต่อยอดเช่น งานวิจัย ถึงจะทำให้เส้นทางของเรานั้นแข็งแรง