Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

โรคเบาหวานกับโรคปริทันต์

MU DENT faculty of dentistry

โรคเบาหวานกับโรคปริทันต์

รศ.ทพ. ยสวิมล คูผาสุข

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา

เป็นโรคเบาหวานน่ากลัวอย่างไร ?
การเป็นโรคเบาหวาน เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเป็นเวลานาน อันเนื่องมาจากความผิดปกติในการหลั่งอินซูลินหรือความผิดปกติในการทำงานของอินซูลิน ทั้งนี้เพราะอินซูลินมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย เมื่อมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดความผิดปกติต่อโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา ไต เส้นประสาท หลอดเลือดและหัวใจ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดหรือการรักษาที่เหมาะสมมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น การอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาทส่วนปลายเกิดอาการชาและการติดเชื้อง่าย มีอาการตามัวไปจนถึงตาบอดได้ การทำงานของไตลดลงจนถึงเป็นโรคไตระยะสุดท้าย เป็นต้น

 

เคยรู้ไหม คนเป็นเบาหวานมักป็นโรคเหงือกอักเสบง่ายกว่า
โรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบเป็นโรคที่มีการอักเสบของอวัยวะรองรับฟัน (เหงือก กระดูกเบ้าฟัน เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน) มีสาเหตุหลักจากเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ภายในช่องปากและสะสมอยู่บริเวณขอบเหงือกและซอกฟัน มีหลายการศึกษาที่บ่งบอกว่าโรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก ซึ่งรวมถึงอาการปากแห้งเนื่องจากน้ำลายไหลน้อยลง อาการปวดแสบปวดร้อน ติดเชื้อในช่องปากง่าย แผลหายช้า มีการศึกษาบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์อักเสบและสูญเสียฟันมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน ยิ่งไปกว่านั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อเป็นโรคปริทันต์อักเสบแล้วยิ่งทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเป็นผลให้การรักษาโรคเบาหวานมักไม่ค่อยได้ผล เรื่องที่น่าสนใจอีกด้านหนึ่งที่ควรรู้คือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดีมีการตอบสนองต่อการรักษาโรคปริทันต์อักเสบใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ในขณะเดียวกันผู้ที่ควบคุมเบาหวานไม่ดีพบว่าเป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรงกว่าและสูญเสียฟันมากกว่าผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีและผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน

 
 

เป็นโรคเบาหวานแต่ไม่อยากสูญเสียฟัน ต้องทำอย่างไร ?
อย่างที่เราทราบแล้วว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแบคทีเรียต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน และเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคปริทันต์อักเสบและเป็นผลให้สูญเสียฟันนั้น มักตกค้างอยู่บนผิวฟันบริเวณขอบเหงือกและซอกฟัน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เราแปรงฟันไม่ถึง ดังนั้นหลักการง่าย ๆ แต่ต้องฝึกฝนอย่างจริงจังในการป้องกันการเกิดโรคปริทันต์อักเสบนอกเหนือจากการได้รับการขูดหินน้ำลายทั้งปากจากทันตแพทย์แล้วคือการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี โดยมีจุดมุ่งหมายในการกำจัดคราบอาหารนอกเหนือจากเศษอาหารที่ติดตามซอกฟัน อย่างไรก็ตามการดูแลทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกต้องและได้ผลที่ดีควรปรึกษาบุคลากรทางทันตกรรมเพื่อรับคำแนะนำและการติดตามผลอย่างต่อเนื่องต่อไป ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานนอกเหนือจากการออกกำลังกาย รับประทานอาหารและยาที่แพทย์แนะนำเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีแล้ว ควรตระหนักถึงการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ เพื่อจะได้มีฟันที่แข็งแรงไว้ใช้เคี้ยวอาหารได้นาน ๆ

คราบหินปูน

MU DENT faculty of dentistry

คราบหินปูน

อ.ทพญ.กญญมณฑ์ ลออคุณ

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา

หินปูนคืออะไร
หินปูน คือ ภาษาชาวบ้านที่ใช้เรียกคราบแข็งที่ติดตามตัวฟัน พบมากและบ่อยในฟันหน้าล่างด้านใน มีสีเหลืองน้ำตาลจนถึงดำมีลักษณะแข็ง อาจพบได้อยู่บริเวณเหนือเหงือกหรือใต้ขอบเหงือก ซึ่งมีความหมายเหมือนหินน้ำลายซึ่งเป็นภาษาทางทันตแพทย์ หินปูนไม่สามารถกำจัดออกโดยการแปรงฟันต้องให้ทันตแพทย์เป็นผู้กำจัดออกให้

หินปูนเกิดขึ้นได้อย่างไร
หินปูนเกิดจากการสะสมของธาตุจุลินทรีย์หรือคราบอาหารที่ผู้ป่วยไม่สามารถแปรงออกได้หมด เมื่อเวลาผ่านไปเกิดการตกตะกอนแต่ธาตุจากน้ำลายและอาหารทำให้แข็งขึ้นทุกวันจนแข็งคล้ายหิน

 

ถ้าปล่อยให้หินปูนเกาะที่ฟันมากๆ จะเกิดอะไรขึ้นกับฟันของเรา
เริ่มแรกจะมีการอักเสบของเหงือกก่อนเพราะหินปูนเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อแบคทีเรียจำนวนมาก เมื่อปล่อยไว้นานเกินไปเชื้อเหล่านี้จะสร้างสารพิษทำอันตรายต่อเหงือกและละลายกระดูกเบ้าฟันทำให้โยก มีกลิ่นปาก และอาจมีเลือดออกง่ายขณะแปรงฟันได้ บางคนฟันโยกมากเคี้ยวอาหารจะเจ็บ สุดทายอาจต้องถอนฟันทิ้งไป เราไม่สามารถสร้างกระดูกเบ้าฟันให้กลับมาเหมือนเดิมได้ เนื่องจากเราเลยวัยเจริญเติบโตไปแล้ว ถ้าไม่รีบป้องกันโรคตั้งแต่วันนี้อาจจะสายเกินไป

วิธีการรักษาหรือกำจัดหินปูนทำอย่างไร
หินปูนสามารถถูกกำจัดออกได้ด้วยการขูดหินปูนโดยทันตแพทย์ การขูดหินปูนไม่จำเป็นต้องฉีดยาชา ยกเว้นในรายที่มีอาการเสียวฟันมากหรือเป็นโรครำมะนาดที่มีหินปูนอยู่ในร่องเหงือกลึกๆ

 

การขูดหินปูนบ่อยๆ จะทำให้ฟันของเราบางหรือสึกจริงหรือไม่
การทำงานของเครื่องมือขูดหินปูนไฟฟ้า คือ การสั่นของปลายเครื่องมือ ความเร็วส่งเพื่อไปกระแทกให้หินปูนหลุดออกมา ไม่ได้ไปสัมผัสกับตัวฟันโดยตรง จึงไม่มีผลต่อเนื้อฟัน

เวลาที่เราขูดหินปูนเสร็จใหม่ๆ จะรู้สึกอย่างไร
ส่วนใหญ่จะรู้สึกปากสะอาด โล่งสบาย แต่บางท่านอาจมีอาการเสียวฟันเมื่อดื่มน้ำเย็นได้ ซึ่งเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ถ้าในกรณีเป็นโรครำมะนาดที่มีหินปูนเกาะมากเป็นแผง หลังขูดหินปูนออกอาจรู้สึกเหมือนฟันโยก เนื่องจากเชื้อโรคได้ทำลายกระดูกรอบรากฟันไปบางส่วนทำให้ฟันแข็งแรงน้อยลง พอกำจัดหินปูนออกไปฟันที่เคยถูกเชื่อมยึดกันเป็นแผงก็เป็นอิสระต่อกันจึงรู้สึกว่าฟันโยกได้

 

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดหินปูนจะทำอย่างไร
เนื่องจากหินปูนเกิดจากการตกตะกอนของแร่ธาตุบนคราบอาหารที่ค้างอยู่ ดังนั้นการป้องกันการเกิดหินปูน คือการแปรงฟันให้ถูกวิธีและใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดคราบอาหารนั้นออกให้หมด ไม่ใช่กำจัดเพียงเศษอาหารชิ้นใหญ่ๆ เท่านั้นจึงจะสามารถป้องกันได้จริงๆ

โรคเหงือกอักเสบ

MU DENT faculty of dentistry

โรคเหงือกอักเสบ

รศ.ทพ.ยสวิมล คูผาสุข

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา

โรคเหงือกอักเสบคืออะไรและเราจะรู้ได้อย่างไร ? ว่าเราเป็นโรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบตามคําจํากัดความก็คือมีอาการอักเสบของเหงือก ลักษณะอาการทั่วไปที่ผู้ป่วยมักจะมาปรึกษาก็คือเรื่องของการที่มีขอบเหงือกแดง มีเลือดออกหลังจากแปรงฟัน บางครั้งก็จะมีเศษอาหารติดตามซอกฟัน เคี้ยวอาหารแล้วก็มีอาการเจ็บได้เหมือนกัน

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคเหงือกอักเสบ

สาเหตุโดยทั่วไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดว่า การมีหินนํ้าลายหรือมีหินปูนอยู่ในปาก เป็นตัวทําให้เกิดการอักเสบของเหงือกแต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ สาเหตุหลักจริงๆ ก็คือ คราบอาหารหรือเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ตามขอบเหงือกและซอกฟัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยส่งเสริมใหัโรคมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น การสูบบุหรี่ ผู้หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมากมาย หรือแม้แต่คนที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมระดับนํ้าตาลไม่ได้ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งเสริมให้ร่างกายมีความอ่อนแอลงก็จะทําให้การอักเสบของเหงือกมากขึ้น

การรักษาและการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ควรทําอย่างไร

การรักษาโรคทุกชนิดจําเป็นต้องกําจัดสาเหตุออกไป เพราะฉะนั้นสาเหตุหลักของโรคเหงือกอักเสบ คือ เชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ตามขอบเหงือกและซอกฟัน การรักษาคือต้องกําจัดสาเหตุเหล่านี้ออกไป โดยการขูดหินนํ้าลายและเกลารากฟันแต่แค่นั้นยังไม่พอ เราจําเป็นจะต้องมีการแปรงฟันทําความสะอาดฟัน เนื่องจากสาเหตุของโรคจะมาทุกวันหลังจากที่เราไปทานอาหารก็จะมีสาเหตุใหม่กลับมา มีการอักเสบใหม่ตลอดเวลาเพราะลําพังแค่บอกว่าไปหาหมอ แล้วให้หมอขูดหินนํ้าลาย อันนั้นไม่ใช่การรักษาแต่เป็นแค่การทําความสะอาดฟัน

 

ผู้ป่วยเองจําเป็นจะต้องมีการดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด สมํ่าเสมอ ด้วยการแปรงฟันและใช่ไหมขัดฟัน อย่างถูกวิธีเพื่อกําจัดสาเหตุใหม่ที่กลับมาทุกวันและที่สําคัญที่สุดคือจําเป็นจะต้องไปพบทันตแพทย์ทุกๆ ๖ เดือน เพื่อให้คุณหมอได้ตรวจดูว่าเราแปรงฟันได้สะอาดเพียงพอหรือไม่ มีการอักเสบของเหงือกใหม่หรือเปล่า ก็อยากให้ทุกคนดูแลตัวเองให้มากขึ้น

โรคของเนื้อเยื่ออ่อน

MU DENT faculty of dentistry

โรคของเนื้อเยื่ออ่อน

รศ.ทพญ.สุพานี ธนาคุณ

อ.ทพญ.คุนันยา พิมลบุตร

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา

โรคของเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ในช่องปาก
ในช่องปากนอกจากโรคฟันผุและโรคปริทันต์ที่ทุกท่านคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ยังสามารถพบโรคหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้กับเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก่ม ริมฝีปาก ลิ้น เพดาน ฯลฯ

 

โรคของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากที่พบได้บ่อยและสาเหตุ
โรคของเนื้อเยื่ออ่อนที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป เช่น แผลแอฟทัสหรือแผลร้อนใน ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่กระตุ้นให้เกิดแผลร้อนในในช่องปากได้ เช่น ความเครียดการเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนในร่างกาย ส่วนประกอบบางอย่างในอาหาร เช่น สารกันบูด สารแต่งกลิ่น สี รส การขาดเหล็ก โฟเลท หรือวิตามินบี ๑๒ ฯลฯ

 

นอกจากนี้อาจพบรอยโรคจากการระคายเคืองเรื้อรัง การระคายเคืองจากยาหรือสารเคมี เช่น ยาแก้ปวด นํ้ายาบ้วนปาก ยาสีฟัน ลิปสติก ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการปวดฟัน อาจนํายาแกัปวดไปวางไวัที่ร่องกระพุ้งแก้ม ใกล้กับ ตําแหน่งฟันที่ปวด ยาแก้ปวดจะไประคายเคืองเนื้อเยื่ออ้อนบริเวณนั้นเกิดเป็นแผลได้ หรือผู้ป่วยบางรายเปลี่ยนยาสีฟัน หรือลิปสติกใหม่ๆ อาจทําให้เกิดอาการแพ้ หรือการระคายเคืองจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้

การติดเชื้อในช่องปาก เช่น การติดเชื้อรา การติดเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งรอยโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันบางชนิด ทําให้มีความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากได้ เช่น ไลเคนแพลนัส เพมฟิกัส เพมฟิกอยด์ ฯลฯ อีกทั้งหลังการรักษามะเร็งด้วยเคมีบําบัด หรือรังสีรักษา สามารถทําให้เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากเกิดความผิดปกติได้ เช่นกัน

การใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ตลอดเวลาแม้ในช่วงเวลานอนตอนกลางคืน ร่วมกับการดูแลทําความสะอาดฟันเทียมที่ไม่ดี อาจทําใหัเพดานที่ฟันเทียมทับอยู่มีการอักเสบได้ และสุดท้าย คือ อาการปากแห้ง เนื่องจากผลข้างเคียงของยารักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ยาคลายกังวล ยาต้านอาการซึมเศร้า ฯลฯ ยาเหล่านี้ล้วนมีผลข้างเคียง ทําให้เกิดอาการปากแห้ง และทําให้มีความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อนตามมาได้ง่าย ซึ่งความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นบางชนิดที่กล่าวมานี้ ถ้าทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาอาจทําให้รอยโรคมีโอกาสเปลี่ยนเป็นมะเร็งได้

ลักษณะความผิดปกติและอาการ
โดยปกติเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากจะมีพื้นผิวเรียบสีชมพู ถ้ามีความผิดปกติหรือเกิดโรคเหล่านี้ขึ้น จะทําให้เนื้อเยื่อเหล่านี้มีรอยถลอกหรือกลายเป็นแผล นอกจากนี้โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันหรือการติดเชื้อรา จะทําให้เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากบางลง ความผิดปกติเหล่านี้ทําให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดหรือแสบโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลารับประทานอาหารรสจัด นอกจากนี้ความผิดปกติบางอย่าง อาจทําให้เนื้อเยื่อหนาตัวหรือบวมโตขึ้นมา ซึ่งผู้ป่วยรู้สึกถึงความผิดปกติได้โดยง่าย

 

วิธีการดูแลรักษา
เมื่อผู้ป่วยมีความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก ผู้ป่วยควรดูแลความสะอาดในช่องปาก ซึ่งเป็นสิ่งจํา เป็นและสําคัญที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซํ้าไปที่แผลหรือความผิดปกตินั้น อาจต้องเปลี่ยนยาสีฟันเป็น ยาสีฟันที่ไม่ทําให้ผู้ป่วยรู้สึกแสบยิ่งขึ้น ใช่ไหมขัดฟันทําความสะอาดฟัน ไม่แนะนําให้ใช้นํ้ายาบ้วนปากใดๆ เพราะอาจทําให้ผู้ป่วยเจ็บแสบยิ่งขึ้น แนะนําให้พบทันตแพทย์หรือทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ช่องปาก เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละโรค ซึ่งมีได้ตั้งแต่กําจัดสาเหตุ การให้ยาทาเฉพาะที่หรือยารับประทานเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการของโรค

 

วิธีป้องกันและปฏิบัติตน
การดูแลสุขภาพร่างกายโดยทั่วไป โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ ๕ หมู่ การออกกําลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การงดสูบบุหรี่ การใช้ยาเส้นยาสูบ หมาก นํ้ายาบ้วนปาก ต่างๆ มีผลต่อสุขภาพที่ดีของเนื้อเยื่อในช่องปากร่วมกับการดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีอยู่เสมอไม่ให้มีฟันผุหรือเหงือกอักเสบ โดยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน ถ้าใส่ฟันเทียมชนิดถอดไดัตัองลัางทําความสะอาดฟันเทียมและถอดแช่นํ้าไวัโดยไม่ใส่ฟันช่วงเวลานอนหลับ เหล่านี้จะช่วยให้เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากมีความแข็งแรง ลดโอกาสเกิดความรุนแรงหรือความผิดปกติดังที่กล่าวมาแล้ว

 

เมื่อท่านรู้สึกมีความผิดปกติในช่องปาก มีอาการเจ็บปวดหรือแสบร้อน มีแผลเรื้อรังในช่องปาก แนะนําให้ท่านไปพบทันตแพทย์หรือทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ช่องปาก เพื่อตรวจดูความผิดปกตินั้น และรับการรักษาที่เหมาะสมเพราะการมีแผลเรื้อรังในช่องปากอาจมีโอกาสเกิดมะเร็งช่องปากได้ ไม่แนะนําให้ผู้ป่วยซื้อยามาทาเอง เพราะความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก มิได้เป็นแผลร้อนในชนิดเดียว อาจเป็นโรคหรือความผิดปกติอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

การรักษาทางทันตกรรมกับโรคทางระบบ

MU DENT faculty of dentistry

การรักษาทางทันตกรรมกับโรคทางระบบ

เอกซเรย์ฟันจำเป็นไหม

MU DENT faculty of dentistry

เอกซเรย์ฟันจำเป็นไหม

ผลกระทบของเชื้อในช่องปากต่อสุขภาพกาย

MU DENT faculty of dentistry

ผลกระทบของเชื้อในช่องปากต่อสุขภาพกาย

5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับแปรงสีฟัน

MU DENT faculty of dentistry

5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับแปรงสีฟัน

โรคปริทันต์

MU DENT faculty of dentistry

โรคปริทันต์

การอุดฟัน เมื่อไหร่…ยังไง

MU DENT faculty of dentistry

การอุดฟัน เมื่อไหร่…ยังไง