MU DENT faculty of dentistry
โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
" คณะทันตแพทยศาสตร์ชั้นนำในระดับสากล "
วิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์
คณะทันตแพทยศาสตร์ชั้นนำในระดับสากล
ปรัชญา
ทันตแพทยศาสตร์มหิดล เพื่อประชาชน
ปณิธาน
คณะทันตแพทยศาสตร์มหิดลมุ่งสร้างและพัฒนาผลผลิตชั้นเลิศในระดับสากล
พันธกิจ
เป็นองค์กรชั้นนำของประเทศที่ดำเนินการศึกษา วิจัยวิชาการและวิชาชีพทางทันตแพทยศาสตร์
เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศและประชาคมโลกภายใต้การบริหารที่ยั่งยืนและก้าวหน้า
ประเด็นยุทธศาสตร์ ๔ ประเด็น
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
เป้าประสงค์ ๑. ผลิตบัณฑิตที่มีทักษะในศตวรรษที่๒๑
ตัวชี้วัดหลักที่ ๑.ร้อยละของนักศึกษาที่แสดงทักษะ Critical Thinking, ICT Literacy,Communication skill ในระดับดีถึงดีมาก จากการประเมิน Rubric Score
เป้าประสงค์ ๒. บัณฑิตมีสมรรถนะทางวิชาชีพ
ตัวชี้วัดหลักที่ ๒. ร้อยละของบัณฑิตที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมตั้งแต่ครั้งแรก
ตัวชี้วัดหลักที่ ๓. ร้อยละของผู้ฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านที่เข้าสอบวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญผ่าน
เป้าประสงค์ ๓. ความพึงพอใจของนักศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตัวชี้วัดหลักที่ ๔. ร้อยละของนักศึกษา (ทุกระดับ) ที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง
ตัวชี้วัดหลักที่ ๕. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต (ทุกระดับ) (ภายหลังการทำงาน ๑ ปี)
เป้าประสงค์ ๔. การจัดการศึกษาที่ได้มาตรฐานสากลEdPEx, AUN-QA
ตัวชี้วัดหลักที่ ๖. จำนวนหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง AUN-QA และเทียบเท่า
ตัวชี้วัดหลักที่ ๗. คะแนนผลการประเมิน EdPEx โดย MU
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ บริการที่เป็นเลิศได้มาตรฐานสากล
เป้าประสงค์ ๕. ความพึงพอใจของผู้ป่วย
ตัวชี้วัดหลักที่ ๘. ระดับความพึงพอใจของผู้ป่วย
เป้าประสงค์ ๖. ระบบบริการที่ได้มาตรฐานสากล
ตัวชี้วัดหลักที่ ๙. ผ่านการรับรองมาตรฐาน HA (ขั้นที่ ๓)
ตัวชี้วัดหลักที่ ๑๐. ร้อยละการดำเนินงานตามตัวควบคุมตามเกณฑ์ ISO 27001:2005 IT (ระบบมาตรฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล)
ตัวชี้วัดหลักที่ ๑๑. ร้อยละของการดำเนินงานตามตัวควบคุมตามเกณฑ์ISO/IEC 17025 : 2005 (ระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล)
เป้าประสงค์ ๗. การบริการเฉพาะกลุ่ม
ตัวชี้วัดหลักที่ ๑๒. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่รับบริการเฉพาะกลุ่ม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ งานวิจัยและบริการวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ ๘. พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติและนำไปใช้ประโยชน์ ในเชิงสังคมและพาณิชย์
ตัวชี้วัดหลักที่ ๑๓. จำนวนโครงการที่ขอจดขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร,สิทธิบัตร
ตัวชี้วัดหลักที่ ๑๔. จำนวนบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับต่อจำนวนบุคลากรสายวิชาการในแต่ละปีปฏิทิน
เป้าประสงค์ ๙. อัตราการนำผลงานวิจัย/นวัตกรรมไปใช้ประโยชน์/อ้างอิง
ตัวชี้วัดหลักที่ ๑๕. H-Index (๕ปี)
ตัวชี้วัดหลักที่ ๑๖. รายได้จากการ Commercialization จากองค์ความรู้ใหม่
เป้าประสงค์ ๑๐. พัฒนาระบบสนับสนุนการวิจัย
ตัวชี้วัดหลักที่ ๑๗. จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยในปีงบประมาณต่อจำนวนบุคลากรสายวิชาการ
ตัวชี้วัดหลักที่ ๑๘. จำนวนบุคลากรที่ทำวิจัยและขอทุนวิจัยในปีงบประมาณ(ทั้งภายในและภายนอก)
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
เป้าประสงค์ ๑๑.Operation Excellence
ตัวชี้วัดหลักที่ ๑๙. จำนวนกระบวนการทำงานที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพ (Lean Process)
เป้าประสงค์ ๑๒. HRM
ตัวชี้วัดหลักที่ ๒๐. Engagement Score
เป้าประสงค์ ๑๓. HRD
ตัวชี้วัดหลักที่ ๒๑. ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตามแผน IDP
เป้าประสงค์ ๑๔. พัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ
ตัวชี้วัดหลักที่ ๒๒. ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
เป้าประสงค์ ๑๕. บริหารงบประมาณและการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดหลักที่ ๒๓. ร้อยละของรายได้ที่ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายลดลงต่อปี(รวมค่าเสื่อมราคาในค่าใช้จ่าย)