Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
คณะผู้บริหาร เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการดิจิทัลสำหรับจุลกายวิภาคศาสตร์และจุลพยาธิวิทยา ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นการเรียนปฏิบัติการทางจุลกายวิภาคศาสตร์รูปแบบดิจิทัลโดยสมบูรณ์ แห่งแรกของคณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

คณะผู้บริหาร เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการดิจิทัลสำหรับจุลกายวิภาคศาสตร์และจุลพยาธิวิทยา ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นการเรียนปฏิบัติการทางจุลกายวิภาคศาสตร์รูปแบบดิจิทัลโดยสมบูรณ์ แห่งแรกของคณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567 ศาสตราจารย์คลินิก ดร. นายแพทย์ ทันตแพทย์ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์บัณฑิต จิรจริยาเวช รองคณบดี เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการดิจิทัลสำหรับจุลกายวิภาคศาสตร์และจุลพยาธิวิทยา ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ อาคารพรีคลินิก ชั้น 4 ซึ่งเป็นโครงการปรับการเรียนการสอนปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 2 ทั้งหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ให้เป็นรูปแบบดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาที่ได้มาตรฐานสากล และพัฒนาหลักสูตรเข้าสู่ Digital Education และนับเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทยที่จัดให้มีการเรียนปฏิบัติการทางจุลกายวิภาคศาสตร์รูปแบบดิจิทัลโดยสมบูรณ์

สำหรับห้องปฏิบัติการดิจิทัลสำหรับจุลกายวิภาคศาสตร์และจุลพยาธิวิทยา มีส่วนอำนวยความสะดวกเพื่อการสร้างภาพดิจิทัลทางจุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology Digital Imaging Facilities) ประกอบด้วย เครื่องสแกนสไลด์เสมือนจริงแบบดิจิทัล (Slide Scanner) ทำหน้าที่สแกนเก็บภาพจากสไลด์เนื้อเยื่อด้วยความละเอียดภาพสูง เพื่อเก็บไว้ในคลังภาพดิจิทัล (Net image server) ระบบเครือข่ายดิจิทัลแบบสาย (LAN) ที่นำส่งสัญญาณภาพระหว่างเครื่องสแกนสไลด์เสมือนจริงแบบดิจิทัลกับคลังภาพดิจิทัลและเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายสำหรับนักศึกษาจำนวน 36 เครื่อง นักศึกษาสามารถศึกษาจุลกายวิภาคศาสตร์ของเนื้อเยื่อต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วด้วยภาพที่มีความคมชัดสูง และสามารถขยายดูภาพได้อย่างต่อเนื่องไม่มีข้อจำกัดเหมือนการใช้กล้องจุลทรรศน์ในอดีต

นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถเข้าถึงคลังภาพดิจิทัลของเนื้อเยื่อเหล่านี้ได้โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อการศึกษาทบทวนความรู้ด้วยตนเองได้อีกด้วย