เว็บไซต์เก่า

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวนวัตกรรมสื่อการศึกษาออนไลน์ นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์และชุมชน พร้อมก้าวสู่ระบบการศึกษา Thailand 4.0 เพื่อพัฒนาต่อยอดการศึกษาสู่สังคม และจัดกิจกรรม OPEN HOUSE DENT MAHIDOL 2018 “เปิดบ้านทันตฯ มหิดล” ระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2561

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวนวัตกรรมสื่อการศึกษาออนไลน์ นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์และชุมชน พร้อมก้าวสู่ระบบการศึกษา Thailand 4.0 เพื่อพัฒนาต่อยอดการศึกษาสู่สังคม และจัดกิจกรรม OPEN HOUSE DENT MAHIDOL 2018 “เปิดบ้านทันตฯ มหิดล” ระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2561

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เปิดตัวนวัตกรรมสื่อการศึกษาออนไลน์ นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์และชุมชน
พร้อมก้าวสู่ระบบการศึกษา Thailand 4.0 เพื่อพัฒนาต่อยอดการศึกษาสู่สังคม
และจัดกิจกรรม OPEN HOUSE DENT MAHIDOL 2018 “เปิดบ้านทันตฯ มหิดล”
ระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2561

 

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการแถลงข่าว “นวัตกรรมสื่อการศึกษาออนไลน์ นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์และชุมชน” พร้อมก้าวเข้าสู่ระบบการศึกษา Thailand 4.0 ตามแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้านที่ 1 Excellence in research with global and social impact มุ่งสร้างองค์ความรู้ด้านการวิจัย มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การเพิ่มมูลค่า (ValueAdded) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมโดยร่วมกับภาครัฐและเอกชน และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านที่ 2 Excellence in Outcome – based Education for Globally Competent Graduates มุ่งสร้างบัณฑิตให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่ทันสมัย ให้สามารถตอบสนองต่อรูปแบบการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน และพัฒนาต่อยอดการศึกษาสู่สังคม

โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ด้วย โดยเปิดเผยว่า ในส่วนของยุทธศาสตร์ประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ส่งเสริม สนับสนุน เพื่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ในการสร้างสรรค์เพื่อผลิตและ ใช้ ICT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรม ICT ของประเทศไทยต่อไป

ลำดับถัดไป ศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิง วรานันท์ บัวจีบ คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากแผนยุทธศาสตร์ด้านที่ 2 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มุ่งสร้างบัณฑิตให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยนำเทคโนโลยีการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเน้นให้มีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ แบบผสมผสาน (Blended Learning) หรือการจัดการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) มาใช้ร่วมกับการเรียนในชั้นเรียน คณะฯ จึงได้เริ่มจัดทำโครงการพัฒนารายวิชา/บทเรียนออนไลน์แบบ SPOC (Small and Private Online Course) เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยเน้นกิจกรรมและการปฏิบัติ (Active Learning) ให้มากขึ้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ทบทวน ฝึกปฏิบัติ และวางแผนการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยตนเอง โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลา สถานที่ และจำนวนครั้งในการเข้าถึง นั่นคือ ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้ตามต้องการ โดยทางคณะฯ ได้พัฒนารายวิชาของหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรหลังปริญญาเป็นหลักสูตรออนไลน์ เพื่อรองรับสู่ระบบการศึกษา Thailand 4.0

นอกจากนี้ยังได้จัดทำบทเรียนออนไลน์ MOOC (Massive Open Online Course) สำหรับผู้สนใจทั่วไปให้สามารถเข้าถึงการเรียนรู้จากรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในรูปแบบ Online Course, Online Curriculum และ MOOC ได้ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตั้งแต่เริ่มต้นจนจบหลักสูตร โดยไม่ต้องเข้าเรียนในชั้นเรียน ผ่านทางเว็บไซต์ https://mooc.mahidol.ac.th/ ซึ่งโครงการแรกได้แก่ โครงการปันความรู้ทางทันตสุขภาพสู่สังคมออนไลน์ ซึ่งจัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่ 7 มิถุนายน 2561 โดยจัดทำเป็นบทเรียนออนไลน์เรื่อง “ครู ตชด.ท่องโลกช่องปากกับหมอฟันมหิดล” ซึ่งบทเรียนออนไลน์นี้จะนำประโยชน์มาสู่ครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศ ให้สามารถนำความรู้ด้านทันตสุขภาพไปใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก รวมถึงสามารถให้ความรู้กับนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนได้ ทั้งนี้ก็จะเป็นการต่อยอดการนำความรู้จากบทเรียนออนไลน์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน และประเทศชาติต่อไป

และทางคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้มีการจัดทำสื่อความรู้ทางสุขภาพช่องปากสำหรับประชาชนเผยแพร่ทั้งในรูปแบบ Youtube (รายการเพื่อฟันที่คุณรัก) โปสเตอร์ บทเรียนออนไลน์ ฯลฯ โดยประชาชนที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ของคณะฯ ที่ www.dt.mahidol.ac.th นอกจากนี้ยังได้พัฒนาแอพลิเคชั่นความรู้สุขภาพช่องปากบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ภายใต้แนวคิด “ Eat – Clean – Check” โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แอพลิเคชั่น Dental crush ซึ่งจะเป็นแอพลิเคชั่นประเภทเกม ที่สอดแทรกความรู้ด้านสุขภาพช่องปาก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ขึ้นไป และแอพลิเคชั่น Dent Guru เป็นแอพลิเคชั่นประเภท การให้ความรู้สุขภาพช่องปากที่ครอบคลุมให้กับทุกกลุ่มอายุ โดยสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android

ในส่วนของนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์และชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สนับสนุนให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน อาทิเช่น ยาสีฟันสมุนไพร น้ำยาบ้วนปากสมุนไพรสำหรับผู้สูงอายุ น้ำยาทำความสะอาดฟันเทียมชนิดรวดเร็ว เจลรักษาโรคเหงือกอักเสบจากฟ้าทะลายโจร ยารักษาแผลในปาก น้ำยาล้างคลองรากฟัน เป็นต้น และมีผลงานวิจัยที่ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อการลดค่าใช้จ่ายของการนำเข้าวัสดุทางทันตกรรม เช่น ความร่วมมือกับบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (SCG) ในการผลิตปูนทางทันตกรรม นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการแสดงนวัตกรรมและผลงานวิจัยที่เผยแพร่ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารระดับแนวหน้าของวงการทันตแพทยศาสตร์นานาชาติอีกด้วย

โดยระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2561 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้จัดกิจกรรม OPEN HOUSE DENT MAHIDOL 2018 “เปิดบ้านทันตฯ มหิดล” ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักเรียน ผู้ปกครองและผู้สนใจ ได้เข้าร่วมกิจกรรม อาทิเช่น Talk Show เคล็ดลับการสอบเข้า การเรียน จากนักศึกษาทันตแพทย์รุ่นพี่, กิจกรรมทัวร์คณะฯ / คลินิก / ห้องปฏิบัติการงานวิจัย, แนะนำหลักสูตรต่างๆ, กิจกรรม Workshop : ทดลองเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ ศึกษาร่างอาจารย์ใหญ่ สาธิตการใช้เครื่องมือ และการทำแลปฯ และการแสดงนวัตกรรมของนักศึกษาทันตแพทย์ และผลงานวิจัยในสาขาต่างๆ และเปิดให้ทดลองใช้บทเรียนออนไลน์ และสื่อออนไลน์สำหรับบุคคลทั่วไปในงานดังกล่าวอีกด้วย ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.dt.mahidol.ac.th