เกณฑ์การรับชิ้นเนื้อ

1. เป็นชิ้นเนื้อที่ตัดมาจากในช่องปากเท่านั้น ตัวอย่างเช่น กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก เพดานปาก เป็นต้น

 

2. ใช้ใบขอส่งตรวจชิ้นเนื้อของภาควิชาพยาธิวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น ซึ่งต้องมีการกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน สำหรับหน่วยงานภายในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถพิมพ์ใบขอส่งตรวจชิ้นเนื้อได้โดยการเข้าระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล (DTHIS) กรณีหน่วยงานภายนอกคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จาก website ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือผู้ต้องการส่งชิ้นเนื้อสามารถมาขอรับใบส่งตรวจชิ้นเนื้อได้ที่ ภาควิชาพยาธิวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล อาคารพรีคลินิกชั้น 5

 

3. ภาชนะบรรจุสิ่งส่งตรวจต้องเป็นภาชนะแก้วหรือพลาสติกที่มีปากกว้าง มีฝาปิดสนิทและมีขนาดเหมาะสมกับชิ้นเนื้อ หรืออาจใช้ถุงพลาสติกได้เช่นกัน โดยใช้อย่างน้อย 2 ชั้น รัดปากถุงแต่ละชั้นให้แน่น ที่สำคัญภาชนะทุกชิ้นต้องมีฉลากระบุชื่อ นามสกุล เลขที่เวชระเบียนของผู้ป่วย วันที่ทำการผ่าตัด และข้อมูลทั้งหมดต้องตรงกับที่ระบุในใบขอส่งตรวจชิ้นเนื้อ

 

4. ใช้น้ำยา 10% Neutral Buffered Formalin เป็นน้ำยาคงสภาพชิ้นเนื้อเเละน้ำยาต้องมีปริมาตรเป็น 10 เท่า ของปริมาตรของชิ้นเนื้อ

 

5. ได้ชำระค่าตรวจตามอัตราค่าบริการตรวจชิ้นเนื้อของคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับหน่วยงานภายในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องชำระเงินผ่านระบบ DTHIS ส่วนหน่วยงานภายนอกคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลให้ชำระโดยตรงที่ภาควิชาพยาธิวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลโดยจะได้รับใบเสร็จรับเงินพร้อมกับใบรายงานผลการวินิจฉัย

การเตรียมชิ้นเนื้อส่งทางไปรษณีย์

1. สิ่งที่ต้องจัดเตรียม

1.1 ใบขอส่งตรวจชิ้นเนื้อที่สามารถดาวน์โหลดจาก website ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (http://www.dt.mahidol.ac.th/th) โดยในใบขอส่งตรวจชิ้นเนื้อต้องกรอกรายละเอียดครบถ้วน และเขียนด้วยตัวบรรจงและใช้ปากกาหมึกแห้งที่ไม่ลบหรือจาง

1.2 ภาชนะบรรจุสิ่งส่งตรวจ ควรใช้ภาชนะปากกว้าง เช่น ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกที่มีฝาปิดสนิท โดยที่ภาชนะจะต้องติดฉลากที่ระบุข้อมูลผู้ป่วย ได้แก่
– ชื่อ-นามสกุล / อายุ / เพศ

1.3 น้ำยา 10% Neutral Buffered Formalin เพื่อใส่ในภาชนะบรรจุสิ่งส่งตรวจ

1.4 กล่องพัสดุเพื่อส่งไปรษณีย์

 

2. การนำส่งชิ้นเนื้อ

2.1 ให้นำชิ้นเนื้อที่บรรจุในภาชนะห่อด้วยถุงพลาสติก 2 ชั้นและให้ใช้พลาสติกกันกระแทกเพื่อกันภาชนะแตกเสียหายพร้อมนำใบขอส่งตรวจชิ้นเนื้อซึ่งใส่ในซองพลาสติกอีกซองหนึ่งเพื่อกันเปียก บรรจุในกล่องพัสดุปิดผนึกให้เรียบร้อย

2.2 หน้ากล่องพัสดุให้จ่าหน้าถึง ภาควิชาพยาธิวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 6 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 (ชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ)

ข้อแนะนำในการส่งชิ้นเนื้อเพื่อตรวจวินิจฉัย

ข้อแนะนำในการส่งชิ้นเนื้อเพื่อตรวจวินิจฉัย

1. ในการรักษาสภาพเนื้อ ให้ใช้น้ำยา formalin ความเข้มข้น 10% (Buffered neutral formalin solution, formalin saline solution) ซึ่งสามารถเตรียมได้ตามวิธีข้างท้าย
2. นำชิ้นเนื้อบรรจุในขวดแก้วปากกว้างขนาดพอเหมาะ มีฝาปิดสนิท ไม่รั่วซึม โดยควรให้น้ำยาท่วม formalin ชิ้นเนื้อ และมีปริมาตรประมาณ 10 เท่าของชิ้นเนื้อ ด้านนอกขวดปิดชื่อผู้ป่วยให้ชัดเจน
3. นำขวดชิ้นเนื้อบรรจุในถุงพลาสติกอีกประมาณ 2 ชั้น ป้องกันกรณีขวดแก้วรั่วซึมหรือแตก และปิดปากถุงให้เรียบร้อย

 

*ไม่ควรใช้ถุงพลาสติกบรรจุน้ำยาและชิ้นเนื้อโดยตรง เพราะส่วนใหญ่ถุงพลาสติกจะแตกหรือรั่วซึม ทำให้เกิดความเสียหาย เช่น ชิ้นเนื้อหาย ชิ้นเนื้อติดอยู่ที่ขอบถุงไม่ได้ถูกน้ำยา formalin ทำให้เนื้อเน่าไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ หรือน้ำยา formalin เปื้อนใบส่งตรวจ เป็นต้น

 

ในกรณีส่งชิ้นเนื้อทางพัสดุภัณฑ์ให้บรรจุขวดชิ้นเนื้อที่ผนึกแน่นหนาแล้วลงกล่องกระดาษที่แข็งแรง โดยควรใช้กระดาษฝอยหรือเศษกระดาษอัดป้องกันขวดชิ้นเนื้อไม่ให้เคลื่อนที่ไปมา

วิธีเตรียม Buffered Neutral Formalin Solution

วิธีเตรียม Buffered Neutral Formalin Solution**

 

น้ำยาที่ใช้
37-40% formalin 100.0 ml.
Distilled water (น้ำกลั่น) 900.0 ml.
Sodium phosphate monobasic 4.0 gm.
Sodium phosphate dibasic [anhydrous] 6.5 gm.
**The best overall fixative, therefore strongly recommended for routine use.

 

 

วิธีเตรียม Formalin Saline Solution (ในกรณีที่ไม่มีน้ำกลั่น)

วิธีเตรียม Formalin Saline Solution (ในกรณีที่ไม่มีน้ำกลั่น)

 

วิธีที่ 1
37 – 40% formalin 100.0 ml.
Sodium chloride 9.0 gm.
Tap water 900.0 ml.

 

วิธีที่ 2
37 – 40% formalin 100.0 ml.
Normal saline solution 900.0 ml.