ศูนย์ทันตกรรมรากเทียม
แนะนำศูนย์ทันตกรรมรากเทียม
เป็นหน่วยงานที่ให้บริการทางทันตกรรมเฉพาะทางด้านทันตกรรมรากเทียม ด้วยการฝังรากเทียมและทำฟันเทียมแบบถอดได้ แบบติดแน่น หรือฟันเทียมทั้งปากมายึดติดกับรากเทียมที่ฝังนั้น โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้ออกแบบจำนวนรากเทียมที่ฝัง และชนิดของฟันเทียมให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ข้อดีในการใส่รากเทียม คือรากเทียมสามารถทดแทนรากฟันธรรมชาติที่ถูกถอนไป โดยทันตแพทย์สามารถทำฟันเทียมยึดบนรากเทียมโดยตรง โดยไม่ต้องกรอฟันธรรมชาติที่ติดกับช่องว่างที่ต้องใส่ฟันเทียม และฟันเทียมที่ยึดบนรากเทียมมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวใกล้เคียงเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ศูนย์ทันตกรรมรากทียมยังเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านการเรียนการสอนแก่นักศึกษาทันตแพทย์หลังปริญญา และบริการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรากเทียมด้วย
โดยแบ่งการบริการเป็น 2 ระบบ
1. ระบบการเรียนการสอน
2. ระบบบริการ
เวลาทำการ
วันจันทร์ – วันศุกร์ 09.00 – 16.00 น. ** ยกเว้นวันพุธช่วงบ่าย
เบอร์โทร 02-200-7777 ต่อ 7774,3352
เบอร์โทรสายตรง 02-2007774
มือถือ 081-836-3078
การให้บริการ
ให้บริการทางทันตกรรมเฉพาะทางด้านทันตกรรมรากเทียมในระบบการเรียนการสอนของนักศึกษาทันตแพทย์หลังปริญญาและโครงการวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรากเทียม อีกทั้งโครงการคลินิก Premium Clinic ของอาจารย์ โดยการให้บริการผู้ป่วยด้านการผ่าตัดฝังรากเทียมและบูรณะฟันแบบติดแน่นและแบบถอดได้บนรากเทียม เป็นต้น ทางศูนย์ฯได้เปิดให้บริการผู้ป่วยในวันเวลาราชการ (09.00-16.00 น.**ยกเว้นวันหยุดราชการ) โดยนักศึกษาหลังปริญญาเป็นผู้ทำการรักษา ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ
ขั้นตอนการให้บริการ
เครื่องมือและอุปกรณ์
เครื่องมือและอุปกรณ์ | จำนวน |
1. เครื่องกรอกระดูกสำหรับงานทันตกรรมรากเทียม | 5 เครื่อง |
2. ยูนิตทันตกรรมประสิทธิภาพสูงพร้อมเครื่องกรอ | 10 ตัว |
3. เครื่องขจัดคราบและทำความสะอาดฟัน | 1 เครื่อง |
4. เครื่องขูดหินน้ำลายระบบเพียโซอิเลคทริค | 4 เครื่อง |
5. เครื่องถ่ายภาพรังสีในช่องปาก ระบบดิจดตอลเซนเชอร์ | 1 เครื่อง |
6. เครื่องถ่ายภาพรังสีในช่องปาก ระบบดิจดตอลชนิดเคลื่อนย้ายได้ | 2 เครื่อง |
7. เครื่องไมโครมอเตอร์สำหรับงานใส่ฟัน | 2 เครื่อง |
8. เครื่องเลเซอร์กรอฟันและตัดเนื้อเยื่อ | 1 เครื่อง |
9. เครื่องสั่นล้างความถี่สูง | 1 เครื่อง |
บุคลากร
โครงสร้าง
แหล่งความรู้
ความรู้เรื่องรากเทียม Dental implant
รากเทียม คือ วัสดุที่ฝั่งลงบนกระดูกขากรรไกร เพื่อทดแทนส่วนที่เป็นรากฟันของฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป
วัสดุที่ใช้ทำรากเทียม
รากเทียมโดยทั่วไปแล้วจะผลิตจากโลหะผสมไททาเนียม เนื่องจากมีความเเข็งแรงและ สามารถเข้ากับเนื้อเยื่อของร่างกายได้อย่างดี
รากเทียมเหมาะกับใครบ้าง?
รากฟันเทียมสามารถทำได้กับผู้ใหญ่ที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงพอที่จะได้รับการผ่าตัดในช่องปากได้อย่างปลอดภัย ในกรณีวัยรุ่นจะยังมีการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรจึงจำเป็นต้องรอให้ขากรรไกรหยุดการเจริญเติบโตก่อนจึงจะสามารถใส่รากฟันเทียมได้
ข้อดีของรากเทียม
1. ในกรณีที่ทำเพื่อทดแทนฟันที่ถอนไปบางซี่จะไม่มีการสูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติของฟันข้างเคียงที่เหลืออยู่
2. ในกรณีที่ทำเป็นฟันเทียมชนิดถอดได้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดของฟันเทียมในช่องปาก
3. คล้ายฟันธรรมชาติ (ใช้งานและสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติ)
ข้อเสียของรากเทียม
1. ค่าใช้จ่ายสูง และถ้าหากผู้ป่วยมีกระดูกไม่แข็งแรงหรือเพียงพอก็ต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติม
2. การผ่าตัดฝังรากเทียมอาจจะต้องมีการผ่าตัดหลายครั้ง
3. ใช้ระยะเวลาในการรักษาสมบรูณ์นานกว่าการทำสะพานปกติเนื่องจากต้องแบ่งการรักษาเป็น 2 ระยะ โดยการทำรากเทียมจะต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2-3 เดือน
ขั้นตอนการรักษาด้วยรากเทียม
1. พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสภาพฟันต่างๆภายในช่องปากและพิมพ์ปากเพื่อนำมาวางแผนการรักษา
2. ถ่ายภาพรังสีเพื่อประเมินสภาพกระดูกของคนไข้
3. ฝังรากเทียม และรอไปอีกอย่างน้อย 2-3 เดือน
4. ทำครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันเทียม
แนะนำหลังผ่าตัด Postoperative care
การดูแลแผลผ่าตัดภายหลังการฝังรากเทียม
1.อาการปวดหรือบวมอาจพบได้ในช่วงสัปดาห์แรกหลังผ่าตัด
2.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้อย่างน้อย 1 สัปดาห์
• ห้ามกลั้วน้ำแรงๆบ้วนน้ำลายให้กลืนหรือใช้ผ้าก๊อสเช็ดเท่านั้น
• ห้ามใช้หลอดดูดเมื่อดื่มน้ำ ให้ดื่มจากแก้ว
• ห้ามใช้เครื่องมือ ลิ้น หรือนิ้วมือสัมผัสบริเวณแผล
• ห้ามรับประทานอาหารแข็งหรือเหนียว แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อน
• ห้ามรับประทานอาหารร้อนจัด จนกว่าเลือดหยุดไหลสนิท
• หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ 1-3 วันแรกหลังผ่าตัด
• หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์จนกว่าแผลจะหายดี
• ห้ามสูบบุหรี่จนกว่าแผลจะหายดี
• งดใช้ฟันปลอมถอดได้ หรือเครื่องมือถอดได้ในช่องปาก ใช้เมื่อทันตแพทย์แนะนำเท่านั้น
3.ห้ามแปลงฟันเฉพาะบริเวณแผลผ่าตัด 2 วันแรกหลังผ่าตัด ส่วนบริเวณอื่นให้แปลงทำความสะอาดตามปกติ ภายหลัง 2 วันให้แปลงเบาๆ
4.ทำความสะอาดช่องปาก เช้า-กลางวัน-เย็น หลังอาหาร ด้วยน้ำเกลือสะอาดที่ได้รับจากทันตแพทย์ผู้ผ่าตัดเท่านั้น โดยให้ไหลผ่านบริเวณที่ผ่าตัดเท่านั้น
5.ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว
6.รับประทานอาหารอ่อนที่มีโปรตีน เกลือแร่ และวิตามินสูง เช่น ไข่ โยเกิร์ต ปลา กล้วยหรือโปรตีนเวย์ชนิดสูง เป็นต้น
7.พักผ่อนให้เพียงพอ
ติดต่อเรา
ศูนย์ทันตกรรมรากเทียม ชั้น 3
โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เบอร์โทร์สายตรง : 02-2007774,02-2007777 ต่อ 3352 มือถือ 081-8363078
Line Official Account : ศูนย์ทันตกรรมรากเทียม
เพิ่มเพื่อน ได้ที่ : @implantdtmu
Link QR Code : https://bit.ly/line-implantdtmu