Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ครอบฟันและสะพานฟัน

ครอบฟันและสะพานฟัน

การทำครอบฟัน (Crown)

เป็นการบูรณะฟันโดยการใช้วัสดุทั้งซี่เพื่อทำให้ฟันซี่นั้นแข็งแรงขึ้น หรือตกแต่งรูปทรงให้ฟันสวยงามหรือเป็นระเบียบมากขึ้น

 

เมื่อใดจึงจะทำครอบฟัน

ข้อดีของครอบฟัน

– เพื่อบูรณะให้ฟันกลับมามีรูปร่างเหมือนเดิม
– สามารถปรับแต่งรูปร่างและการเรียงตัวของฟันได้
– ในฟันมีความผิดปกติ โครงสร้างฟันอ่อนแอ จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ฟันได้

 

การทำสะพานฟัน (Bridge)

เป็นการทดแทนฟันที่สูญเสียไป ด้วยการยึดซี่ฟันปลอมเข้ากับฟันซี่ข้างเคียงอย่างถาวร (ถอดออกมาล้างไม่ได้) อย่างไรก็ดี ฟันซี่ข้างเคียงจะถูกกรอเพื่อเตรียมเป็นหลักของสะพานฟัน

 

เมื่อใดจึงจะทำสะพานฟัน
ช่องฟันที่หายไปเป็นช่องขนาดเล็ก (ขนาดประมาณ 1-2 ซี่) โดยมีฟันที่จะใช้เป็นฟันหลักยึดสะพานฟัน 2 ซี่ อยู่ข้างๆ ช่องฟันที่หายไป

 

 

ข้อดีของสะพานฟัน

– สามารถทดแทนฟันซี่ที่สูญเสียไป ช่วยป้องกันการล้มของฟันซี่ข้างเคียง หรือการงอกของฟันคู่สบมายังช่องว่างระหว่างฟัน
– สะพานฟันสามารถออกแบบให้ดูเป็นธรรมชาติ คล้ายคลึงกับฟันตามธรรมชาติของผู้ป่วย ไว้ทดแทนช่องว่างจากการสูญเสียฟัน เพิ่มความสวยงามอีกด้วย

การดูแลรักษาครอบฟันและสะพานฟัน

 

– การแปรงฟัน

ควรแปรงฟันหลังอาหารทุกครั้ง โดยแปรงบริเวณผิวด้านบน และด้านข้างของฟัน เหมือนกับการแปรงฟันทั่วไป บางกรณีควรใช้แปรงซอกฟันทำความสะอาดบริเวณช่องว่างระหว่างฟันร่วมด้วยเพื่อความสะอาดยิ่งขึ้น

 

– การใช้ไหมขัดฟัน

ควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดฟันและใต้สะพานฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารและแบคทีเรียบริเวณซอกฟัน อย่างน้อยวันละครั้ง


– การพบทันตแพทย์

ควรพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน หรือ ปีละ 2 ครั้ง

 

“เมื่อได้เห็นรอยยิ้มสะพานฟัน ไม่เปลี่ยนผันจากฟันจริงมากเท่าไหร่ ยิ้มสวยได้ทุกวันไม่อายใคร เพราะนี่ไงยิ้มสวยด้วยสะพานฟัน”

รศ.ดร.ทพ. ชูชัย อนันต์มานะ

ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

ผู้สูงอายุควรดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไร?

ผู้สูงอายุควรดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไร?

การมีสุขภาพช่องปากที่ดีมีความสำคัญกับทุกวัย และยิ่งสำคัญเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุเพราะฟันของผู้สูงอายุที่เหลืออยู่ มีการเปลี่ยนแปลงจากการใช้งานมายาวนาน หรือมีโรคที่เป็นมาตั้งแต่ก่อนถึงวัยสูงอายุ มีการสูญเสียฟัน เกิดช่องว่าง ทำให้การดูแลรักษาความสะอาดทำได้ยากกว่าฟันทั่วๆ ไป ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพช่องปากดีจะช่วยให้รู้สึกสบาย รับประทานอาหารได้อร่อยและหลากหลายประเภท มีร่างกายแข็งแรง ช่วยการพูดออกเสียงได้ชัดเจน ไม่ต้องกังวลในการเข้าสังคมและส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ถ้าสุขภาพช่องปากไม่ดีจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้ เพราะจุลินทรีย์จากการติดเชื้อในช่องปากอาจผ่าเข้าสู่กระแสเลือดไปที่หัวใจ โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติความผิดปกติของหัวใจหรือเข้าสู่ทางเดินหายใจ

ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง

ปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุคือโรคฟันผุและเหงือกอักเสบซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียฟัน ทั้งโรคฟันผุและเหงือกอักเสบหรือปริทันต์อักเสบมีสาเหตุจากคราบจุลินทรีย์ (plaque) คราบจุลินทรีย์คือแผ่นคราบนิ่มๆ สีขาวที่มีเชื้อแบคทีเรีย คราบนี้สะสมที่ฟันและขอบเหงือก ดังนั้นการกำจัดคราบจุลินทรีย์โดยแปรงฟันให้สะอาดทุกวันจะช่วยป้องกันฟันผุ และเหงือกอักเสบ และลดการติดเชื้อในช่องปากได้

การดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุที่มีฟันธรรมชาติ

  • แปรงฟันให้สะอาดด้วยแปรงชนิดขนแปรงนิ่มร่วมกับยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและก่อนนอน
  • ควรเลือกแปรงที่มีด้ามจับถนัดมือ หรือดัดแปลงด้ามจับให้มีขนาดเหมาะสมกับมือผู้สูงอายุ
  • พยายามแปรงฟันทุกซี่ ทุกด้าน เพื่อกำจัดคราบอาหารและคราบจุลินทรีย์
  • ใช้แปรงที่มีหัวแปรงขนาดเล็ก แปรงฟันซี่ที่อยู่โดดๆ
  • ใช้ไหมขัดฟัน (dental floss) เช็ดทำความสะอาดบริเวณซอกฟัน เพราะขนแปรงสีฟันทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงบริเวณนี้ หรืออาจเลือกใช้แปรงซอกฟัน (proxabrush) ที่มีขนาดเหมาะสมกับซอกฟันตามคำแนะนำของทันตแพทย์
  • ใช้ผ้าก๊อซพับเป็นแถบขนาดเล็กโอบเช็ดฟันด้านที่ติดกับช่องว่างที่ถอนฟันไปโดยเช็ดให้ชิดกับขอบเหงือก

รศ.ทพญ. พจมาน ศรีนวรัตน์

ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์