Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

สาระน่ารู้ เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ : ฟันดี สุขภาพดี โดย ศาสตราจารย์คลินิก ทพญ.พจมาน ศรีนวรัตน์

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

MU DENT faculty of dentistry

สาระน่ารู้ เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ : ฟันดี สุขภาพดี โดย ศาสตราจารย์คลินิก ทพญ.พจมาน ศรีนวรัตน์

ข่าวประชาสัมพันธ์จาก : คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

MU DENT faculty of dentistry

การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง

นักศึกษาสาขาทันตกรรมผู้สูงอายุ

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 1

สุขภาพช่องปากสำคัญอย่างไร

ในผู้ป่วยติดเตียงซึ่งมีภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำอยู่แล้ว หากทำความสะอาดช่องปากได้ไม่ดี อาจเป็นเหตุให้มีเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราสะสมในช่องปาก เมื่อผู้ป่วยมีการสูดหรือสำลัก อาจทำให้มีโอกาสปอดติดเชื้อเป็นอันตรายได้ ดังนั้น การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยติดเตียงจึงมีความสำคัญไม่ต่างจากการดูแลสุขภาพทั่วไป

ด้วยความปรารถนาดีจาก นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาทันตกรรมผู้สูงอายุ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่น 1

 

อุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดช่องปาก

• แก้วน้ำ
• ขันน้ำหรือกะละมังใบเล็ก
• ผ้าก๊อซ
• ผ้าขนหนู
• แปรงสีฟันและยาสีฟัน
• น้ำสะอาด

 

อุปกรณ์เพิ่มเติมที่ควรใช้

• แปรงซอกฟัน
• แปรงกระจุกเดียว

 

ขั้นตอนการทำความสะอาดช่องปาก

1. ปรับให้ผู้ป่วยนั่ง 30-45 องศา กรณีนั่งไม่ได้ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก และควรแจ้งผู้ป่วยให้ทราบว่ากำลังจะแปรงฟัน

2. เช็ดริมฝีปากให้ชุ่มชื้น แล้วใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำพันนิ้วกวาดเศษอาหารที่กระพุ้งแก้มออก

3. เอาแปรงสีฟันจุ่มน้ำให้เปียก แล้วบีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ใส่แปรงสีฟัน

4. เริ่มแปรง โดยขยับแปรงสีฟันสั้นๆแปรงให้ทั่วทุกด้านทุกซี่ เริ่มแปรงจากด้านในก่อนแล้วแปรงไล่มาด้านนอก

5. ล้างแปรงให้สะอาดแล้วแปรงลิ้นโดยแปรงจากด้านในออกด้านนอก

6. ใช้แปรงกระจุกเดียวทำความสะอาดบริเวณคอฟันในฟันซี่เดี่ยว ฟันที่ติดช่องว่าง โดยวางแปรงให้ปลายขนแปรงติดขอบเหงือก ขยับแปรงสั้นๆตามแนวคอฟันให้รอบซี่ฟัน

7. ใช้แปรงซอกฟันทำความสะอาดช่องว่างระหว่างซี่ฟัน โดยสอดแปรงเข้าไปในซอกฟัน ให้ขนแปรงแนบกับตัวฟันและชิดขอบเหงือก จากนั้นขยับเข้าออก

8. ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำพันนิ้วเช็ดฟองยาสีฟันออกให้หมด

 

การบริหารใบหน้า ลิ้น และต่อมน้ำลายผู้สูงอายุ

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

MU DENT faculty of dentistry

การบริหารใบหน้า ลิ้น และต่อมน้ำลายผู้สูงอายุ

นักศึกษาสาขาทันตกรรมผู้สูงอายุ

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 1

การนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อใบหน้า,ลิ้น และต่อมน้ำลาย

เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของกล้ามเนื้อจะช้าลง ทำให้เคี้ยวอาหารไม่ถนัด มีอาหารค้างอยู่ในช่องปาก นอกจากนี้ต่อมน้ำลายยังมีแนวโน้มผลิตน้อยลง อาจทำให้ช่องปากแห้งง่าย กลืนลำบาก การบริหารจะช่วยกระตุ้นเส้นประสาท กล้ามเนื้อใบหน้า ให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น คล่องขึ้น รวมถึงกระตุ้นต่อมน้ำลายให้ผลิตน้ำลายมากขึ้นช่วยให้การเคี้ยวและกลืนดีขึ้น

 

นวดกระตุ้นต่อมน้ำลาย แนะนำให้นวดก่อนรับประทานอาหาร

ต่อมหน้าหู ให้วางนิ้วก้อยถึงนิ้วชี้ที่แก้มแล้วหมุนแถวๆฟัน กรามบนวนจากข้างหลังมาข้างหน้านับ 1-10

ต่อมใต้คาง วางนิ้วโป้งทั้ง 2 ข้างตรงส่วนนุ่มใต้กระดูกคาง กดตั้งแต่ใต้หู มายังใต้คางประมาณ 5 ตำแหน่งๆ ละ 5 ครั้ง

ต่อมใต้ลิ้น วางนิ้วโป้งทั้ง 2 ข้างกดลงบริเวณลิ้นใต้คาง 10 ครั้ง

 

การบริหารกล้ามเนื้อลิ้น

การบริหารกล้ามเนื้อลิ้นโดยการปิดปาก

ขั้นตอนที่ 1 ดันริมฝีปากบนด้วยลิ้น 5 ครั้ง

ขั้นตอนที่ 2 ดันริมฝีปากล่างด้วยลิ้น 5 ครั้ง

ขั้นตอนที่ 3 ดันแก้มซ้ายขวาด้วยลิ้น 5 ครั้ง

 

การบริหารกล้ามเนื้อลิ้นโดยการเปิดปาก

ท่าที่ 1 แลบลิ้นเข้าและออก 5 ครั้ง

ท่าที่ 2 แลบลิ้น แล้วขยับขึ้นลง 5 ครั้ง

ท่าที่ 3 หมุนลิ้นไปทางซ้ายและขวา แล้ววนลิ้นเลียรอบริมฝีปาก 5 ครั้ง

 

การบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า

ท่าที่ 1 สูดลมหายใจลึกๆให้เต็มปอด ยิ้มกว้างสุด ขยับแก้มให้ยกสูง หลับตาให้สนิท นับ 1-10

ท่าที่ 2 อ้าปากกว้างสุด ลืมตากว้างสุด นับ 1-10

การแปรงฟันผู้สูงอายุ

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

MU DENT faculty of dentistry

การแปรงฟันผู้สูงอายุ

นักศึกษาสาขาทันตกรรมผู้สูงอายุ

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 1

การใช้อุปกรณ์เสริมทำความสะอาดซอกฟัน

 

แปรงซอกฟัน

ใช้ทำความสะอาดสำหรับผู้ที่มีช่องระหว่างฟัน ช่องระหว่างฟันคือ เหงือกสามเหลี่ยมระหว่างซอกฟันร่น เนื่องจากการแปรงฟันไม่สามารถทำความสะอาดส่วนนี้ได้อย่างเพียงพอ

 

วิธีการใช้แปรงซอกฟัน

การใช้แปรงซอกฟันที่ถูกวิธี คือ ให้สอดแปรงเข้าไปในช่องระหว่างซอกฟันเบาๆ ดันเข้าและดึงออก ซี่ละ 3-4 ครั้ง ควรทำก่อนแปรงฟันก่อนนอน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หลังจากใช้งานเสร็จล้างน้ำแล้วตากทิ้งไว้เช่นเดียวกันกับแปรงสีฟัน ควรเปลี่ยนแปรงซอกฟันทุกๆ 3 เดือน

 

การแปรงฟัน

***หลักสำคัญ***

คือ ต้องขจัดคราบจุลินทรีย์(ขี้ฟัน)ออกให้หมด โดยไม่ทำอันตรายต่อเหงือกและฟัน

 

การเลือกแปรงสีฟัน

  • เลือกใช้แปรงสีฟันที่ “ขนอ่อนนุ่ม ปลายขนแปรงมนกลม หัวเล็ก”
  • ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก 3-4 เดือน หรือ เมื่อขนแปรงบาน
  • การเลือกใช้แปรงสีฟันในผู้สูงอายุที่มีปัญหาการใช้มือ
  1. ปรับเปลี่ยนขนาดของด้ามแปรงสีฟัน ให้ใหญ่ขึ้น จับถนัดมือมากขึ้น
  2. แปรงสีฟันไฟฟ้า เนื่องมาจากด้ามมักจะมีขนาดใหญ่ จับถนัดมือ

 

การเลือกยาสีฟัน

  • ยาสีฟันที่ช่วย ป้องกันฟันผุ คือต้องผสม “ฟลูออไรด์”
  • หลีกเลี่ยงสูตรที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ สารทำให้เกิดฟอง(SLS) ไทมอล เอสเซนเชียลออยล์ สูตรฟอกสีฟัน เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุช่องปากได้
  • ปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟันอย่างน้อย 1,000 ppm
  • ใช้ปริมาณเท่ากับ 2 เมล็ดถั่วลันเตา
  • แปรงฟันอย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน อย่างน้อยครั้งละ 2 นาที

 

การแปรงฟันที่ถูกวิธี

  • เน้นการแปรง “บริเวณขอบเหงือก คอฟัน” เป็นพิเศษ วางแปรงฟันบริเวณขอบเหงือกเอียงแปรงเข้าหาคอฟัน
  • แปรงให้ทั่ว ทุกซี่ ทุกด้าน
    ด้านแก้ม ทั้งฟันบนและฟันล่าง
    ด้านลิ้น ทั้งฟันบนและฟันล่าง
    ด้านบดเคี้ยว ทั้งฟันบนและฟันล่าง   
    แปรงลิ้น ปัดแปรงจากด้านหลังมาด้านหน้า
 

การดูแลฟันเทียมผู้สูงอายุ

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

MU DENT faculty of dentistry

การดูแลฟันเทียมผู้สูงอายุ

นักศึกษาสาขาทันตกรรมผู้สูงอายุ

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 1

การดูแลและทำความสะอาดฟันเทียม

1.หลังรับประทานอาหารควรถอดฟันเทียม แล้วทำความสะอาดทุกครั้ง

2.ควรใช้สบู่เหลว ไม่ควรใช้ยาสีฟันโดยเฉพาะยาสีฟันผสมผงขัดฟันเพราะฟันปลอมจะสึกเป็นรอยตามแปรง

3.แปรงให้ทั่วทุกด้าน ทั้งด้านนอกด้านใน

4.ควรมีภาชนะรองรับ ระวังไม่ให้ฟันเทียมตกพื้น

5.ก่อนเข้านอน ควรถอดฟันเทียม ห้าม!!!!ใส่นอนเด็ดขาด ควรถอดฟันเทียม แช่น้ำเปล่าในภาชนะมีฝาปิด

6.ถ้าฟันเทียมมีหินปูนเกาะเยอะ แนะนำให้แช่น้ำส้มสายชู 8 ชั่วโมง พอนิ่มแล้วก็แปรงออกแต่ไม่ควรใช้กับฟันเทียมที่มีโครงโลหะหรือตะขอ

7.หากผู้ป่วยไม่ยอมถอดฟันเทียมกลางคืนจะทำให้ติดเชื้อรา เหงือกจะแดงในช่องปากทำให้เกิดปากอักเสบ แนะนำให้แช่ด้วย 12% คลอเฮกซิดีน นาน 15 นาที วันละ 2 รอบ