INTRANET

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

เอกซเรย์ฟันจำเป็นไหม

ภาควิชารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

MU DENT faculty of dentistry

เอกซเรย์ฟันจำเป็นไหม

ภาพรังสี Cone Beam CT

ภาควิชารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

MU DENT faculty of dentistry

ภาพรังสี Cone Beam CT

รศ.ดร.ทพญ.สุชยา ดำรงค์ศรี

ภาควิชารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

ภาพรังสี Cone Beam CT คืออะไร
ภาพรังสี Cone Beam CT ได้จากการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ลำรังสีรูปกรวย(Cone beam computed tomography, CBCT) มีการหมุนของรังสีเอกซ์รูปกรวยรอบศีรษะผู้ป่วย 1 รอบ และมีตัวรับภาพเป็นพื้นที่ (area detector) อยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับแหล่งกำเนิดรังสี แล้วใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลสร้างภาพให้เห็นเป็นชั้นบางๆ ของระนาบต่างๆ ที่สัมพันธ์กัน คือ ระนาบตามแกน (axial plane) ระนาบแบ่งหน้าหลัง (coronal plane) ระนาบแบ่งซ้ายขวา (sagittal plane) รวมทั้งสร้างเป็นภาพสามมิติ เครื่อง CBCT แต่ละเครื่องมีขนาดของบริเวณที่ถ่ายเป็นรูปทรงกระบอก (Field of view,FOV) และขนาดของจุดภาพสามมิติ (voxel size) ไม่เท่ากัน รวมทั้งซอฟแวร์ที่ใช้ดูภาพของแต่ละเครื่องก็ไม่เหมือนกัน ดังแสดงในตารางที่ 1 หากต้องการภาพรังสี CBCT ที่มีรายละเอียดสูง ควรเลือก FOV เล็กและ voxel size เล็ก เช่น ในงานเอ็นโดดอนต์ แต่ในกรณีที่ต้องการเห็นทั้งกระโหลกศีรษะใบหน้าและขากรรไกร เช่น ในการวางแผนผ่าตัดขากรรไกร ควรเลือกเครื่องที่สามารถถ่าย FOV ใหญ่ ได้

 

ประโยชน์ของภาพรังสี Cone Beam CT ในทางทันตกรรม
เพื่อประกอบการวางแผนการรักษาในงานทันตกรรมรากเทียม หาตำแหน่งและรูปร่างของฟันฝัง ฟันเกิน ฟันคุด และตำแหน่งหมายกายวิภาคที่สำคัญ ประเมินลักษณะข้อต่อขากรรไกร รูปร่างของคลองรากฟันที่ซับซ้อน แสดงให้เห็นพยาธิสภาพปลายรากขนาดเล็กที่ไม่เห็นจากภาพรังสีรอบปลายราก รอยหักของฟันและกระดูกใบหน้าขากรรไกร รวมทั้งรอยโรคต่างๆ ของกระดูกขากรรไกรใบหน้าขากรรไกร เป็นต้น

 

ข้อจำกัดของภาพรังสี Cone Beam CT

– ไม่สามารถแยกชนิดของเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissues) ได้
– ไม่สามารถบอกค่า CT number ได้
– ราคาแพงกว่าการถ่ายภาพรังสีเทคนิคธรรมดา
– ปริมาณรังสีมากกว่าภาพรังสีทางทันตกรรมทั่วไป
– มีสิ่งแปลกปน (artifact) จากครอบฟันโลหะ วัสดุอุดอะมัลกัม รากเทียม ฟันเดือย วัสดุอุดคลองรากฟัน เป็นต้น

 

*** ส่งถ่ายภาพรังสี Cone Beam CT กรุณาโทรมานัดล่วงหน้า ***
คลินิกรังสีวิทยาช่องปากและใบหน้าจากรรไกร
ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา โทร. 02-200-7773, 02-200-7777 ต่อ 3341 – 5

เอ็กซเรย์ฟัน สำคัญหรือไม่

ภาควิชารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

MU DENT faculty of dentistry

เอ็กซเรย์ฟัน สำคัญหรือไม่

อ.ทพญ.สุภัค งามสม

ภาควิชารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

ในการมาหาหมอฟันแต่ละครั้งจำเป็นด้วยหรือที่ต้องเอกซเรย์ฟัน
การมาพบทันตแพทย์แม้ว่าจะเป็นการมาตรวจฟันครั้งแรกหรือมาพบตามนัดนั้น แต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ฟันทุกครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาว่าสมควรต้องส่งเอกเรย์ฟันหรือไม่ โดยพิจารณาการตรวจในช่องปาก การซักประวัติภาพรังสีที่เคยมี การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ (Caries risk assessment) และการประเมินสภาวะสุขภาพช่องปากและร่างกาย นำมาประกอบกันเพื่อพิจารณาความเหมาะสมหรือความจำเป็นในการส่งถ่ายเอกซเรย์ ซึ่งภาพเอกซเรย์ที่ใช้ในทางทันตกรรมนั้นมีหลายแบบ เช่น ภาพรังสีรอบปลายราก ภาพรังสีกัดปีก ภาพรังสีปริทัศน์และภาพรังสีกะโหลกศีรษะ เป็นต้น

 

กรณีใดบางที่จะต้องทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ฟัน
ภาพเอกซเรย์เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่มีส่วนช่วยทันตแพทย์ในการให้การวินิจฉัยโรค วางแผนการรักษาตลอดจนการติดตามผลการรักษา ภาพเอกซเรย์ฟันจึงมักใช้ประกอบการรักษาทางทันตกรรมต่างๆ เช่น

– การเอกซเรย์ฟันเพื่อถอนฟันหรือผ่าฟันคุด : ในงานถอนฟันและผ่าฟันคุดนั้น ภาพเอกซเรย์มีประโยชน์มาก ตั้งแต่ การวินิจฉัยโรคก่อนถอนฟัน การศึกษารายละเอียดของฟัน เช่น ความโค้งงอของรากฟัน ขนาดของรอยผุซึ่งจะส่งผลให้ฟันแตกได้ง่ายขณะถอนฟัน ลักษณะและตำแหน่งของฟันคุดว่าอยู่ใกล้กับกายวิภาคที่สำคัญหรือไม่ เช่น อยู่ใกล้กับโพรงอากาศแก้มเส้นประสาทขากรรไกรล่าง เป็นต้น และภาพรังสียังใช้ในการติดตามผลการถอนฟันในกรณีที่เกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนหลังถอนฟัน เช่น รากฟันหัก แผลถอนฟันไม่หาย เป็นต้น

รูปที่ 1 ภาพรังสีรอบปลายรากบริเวณฟันกรามล่างซ้าย แสดงฟันคุดซึ่งมีลักษณะปลายรากฟันโค้งงอ (ศรชี้)

 

– การเอกซเรย์เพื่อตรวจดูรอยผขุองฟันด้านประชิด : รอยผุบริเวณด้านประชิดนั้น ตรวจพบได้ยากโดยเฉพาะรอยผุที่มีขนาดเล็กหรือรอยผุซ้ำใต้ขอบวัสดุ ภาพรังสีกัดปีกจึงมีประโยชน์และเป็นวิธีที่เหมาะสมในการตรวจหารอยผุด้านประชิดควบคู่ไปกับการตรวจในช่องปาก นอกจากนี้ภาพรังสีกัดปีกยังช่วยประเมินสุขอนามยช่องปากของผู้ป่วยอีกด้วย

รูปที่ 2 ภาพรังสีกัดปีก นิยมใช้ตรวจหารอยผุบริเวณด้านประชิด ซึ่งจะเห็นเป็นลักษณะเงา โปร่ง รังสีหรือเงาดำ (ศรสีเหลือง)
และยังช่วยประเมินสุขอนามัยช่องปากของผู้ป่วย จากภาพจะพบเงาทึบรังสีหรือเงาขาวของหินปูนที่บริเวณคอฟัน (ศรสีแดง)

 

– การเอกซเรย์ฟันเพื่อการรักษารากฟัน : ภาพเอกซเรย์ฟันมีบทบาทสำคัญในการรักษาคลองรากฟันโดยทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาจะนำภาพรังสีไปใช้ประเมินว่าฟันซี่นั้นๆ สมควรได้รับการรักษาคลองรากฟันหรือไม่ รวมทั้งวางแผนจะทำการรักษาฟันซี่นั้นอย่างไร เมื่อผู้ป่วยถูกวินิจฉัยแล้วว่าจะต้องทำการรักษาคลองรากฟัน ในขั้นตอนหรือกระบวนการรักษาคลองรากฟันผู้ป่วยต้องรับการเอกซเรย์ฟันซี่เดิมหลายครั้ง เช่น ขั้นตอนการประเมินความยาวรากฟัน การลองแท่งวัสดุสำหรับอุดคลองรากฟัน ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะต้องมีความละเอียดแม่นยำเพื่อให้การรักษารากฟันเป็นไปอย่างสำเร็จ

รูปที่ 3 ภาพรังสีรอบปลายรากฟันบริเวณฟันตัดล่างซี่กลางซึ่งได้รับการรักษาคลองรากฟันแล้วจะเป็นเงาทึบรังสีของวัสดุคลองรากฟัน (ศรชี้)

 

หลังจากผู้ป่วยรักษารากฟันเสร็จรวมทั้งบูรณะฟันเพื่อให้ใช้บดเคี้ยวได้เหมือนเดิมแล้วจะต้องมีการเอกซเรย์ฟันเป็นระยะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามผลการรักษาด้วย

– การเอกเรย์ฟันเพื่อการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ : โรคปริทันต์อักเสบนั้นเกิดได้ทั้งในวัยรุ่น ผู้ใหญ่หรือผู้สูงวัยซึ่งมีสาเหตุจากคราบจุลินทรีย์ที่เกาะบริเวณรอบตัวฟัน ระยะแรกจะส่งผลให้เหงือกอักเสบ สังเกตได้จากการมีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือเหงือกบวมแดง เป็นต้น ซึ่งในระยะแรกนี้จะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในภาพรังสี เมื่อโรคลุกลามมากขึ้นจนกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ จะพบร่องลึกปริทันต์และการละลายของกระดูกที่หุ้มรอบรากฟันซงจะปรากฏในภาพรังสีภาพรังสีจึงมีประโยชน์ในการประเมินความรุนแรงของโรคและบอกการทำลายกระดูกในลักษณะต่างๆ รวมถึงระดับของกระดูกที่หุ้มรอบรากฟันและใช้ในการติดตามผลการรักษา

รูปที่ 4 ภาพรังสีรอบปลายรากฟันบริเวณฟันเขี้ยวล่างซ้าย แสดงลักษณะการทำลายกระดูกที่หุ้มรอบรากฟันในแนวตั้ง (ศรชี้)

 

– การเอกซเรย์ฟันเพื่อการจัดฟัน : ในงานทันตกรรมจัดฟันนั้น ทันตแพทย์ต้องรวบรวมข้อมูลจากทั้งการตรวจภายในช่องปากและภายนอกช่องปากแบบจำลองฟัน รวมถึงภาพรังสีเพื่อนำมาประกอบการวินิจฉยและวางแผนการรักษา ภาพรังสีสามารถบอกลักษณะของฟัน กระดูกขากรรไกร กะโหลกศีรษะและใบหน้า ซึ่งทันตแพทย์จะนำภาพรังสีเหล่านี้จะมาวิเคราะห์อย่างละเอียด เพื่อหาความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ ที่ไม่สามารถพิจารณาได้จากการตรวจด้วยสายตาแต่เพียงภายนอก

รูปที่ 5 ภาพรังสีกระโหลกศีรษะด้านข้างซึ่งทันตแพทย์จะนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างฟัน กระดูกขากรรไกร
และกระโหลกศีรษะ ซึ่งจำเป็นอย่างมากต่อการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน

 

ระหว่างที่ทำการเอกซเรย์ฟันนั้นจะต้องเตรียมตัวอย่างไร
ในระหว่างที่ทำการเอกซเรย์ในช่องปาก ผู้ป่วยต้องถอดโลหะบริเวณใบหน้าและภายในช่องปาก เช่น แว่นตา เครื่องมือถอดได้ในช่องปาก อาทิ ฟันเทียมถอดได้ เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ เครื่องมือคงสภาพฟัน เป็นต้น หากเป็นการเอกซเรย์นอกช่องปากผู้ป่วยต้องถอดสร้อยคอ ต่างหู กิ๊บติดผมออก เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านั้นมาบดบังลักษณะของกระดูกและฟันขณะทำการเอกซเรย์ผู้ป่วยต้องอยู่นิ่งที่สุดจนกว่าเสียงสัณญาณของเครื่องเอกซเรย์จะหยุด

 

รังสีที่ใช้ในการเอกซเรย์ฟันนั้นมีอันตรายหรือไม่

รังสีที่ใช้ในการเอกซเรย์ฟัน คือ รังสีเอกซ์ (X-ray) ซึ่งเป็นรังสีชนิดเดียวกับการเอกซเรย์ทางการแพทย์ ส่วนปริมาณรังสีที่ใช้ในการเอกซเรย์ฟันนั้นค่อนข้างน้อยมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปริมาณรังสีทใช้เอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยในทางการแพทย์ อย่างไรก็ตามควรเอกซเรย์ฟันเท่าที่จำเป็นตามที่ทันตแพทย์วินิจฉัยว่าสมควรและเมื่อผู้ป่วยมารับการเอกซเรย์ฟันเจ้าหน้าที่จะต้องสวมเสื้อและปลอกคอกันรังสีให้กับผู้ป่วยทุกครั้ง

 

อย่างไรก็ดีผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพช่องปากอย่างง่ายด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งให้สะอาดร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวันและควรมารับการตรวจฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน – 1 ปี