Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ระเบียบการคลินิกทันตกรรมเด็ก

ภาควิชาทันตกรรมเด็ก

MU DENT faculty of dentistry

ระเบียบการคลินิกทันตกรรมเด็ก

พฤติกรรมไม่พึงประสงค์สุขภาพช่องปากในวัยเด็ก

ภาควิชาทันตกรรมเด็ก

MU DENT faculty of dentistry

พฤติกรรมไม่พึงประสงค์สุขภาพช่องปากในวัยเด็ก

ระเบียบการคลินิกทันตกรรมเด็ก

ภาควิชาทันตกรรมเด็ก

MU DENT faculty of dentistry

ระเบียบการคลินิกทันตกรรมเด็ก

ฟันน้ำนมผุ

ภาควิชาทันตกรรมเด็ก

MU DENT faculty of dentistry

ฟันน้ำนมผุ

ผศ. ทพญ.วรณัน ประพันธ์ศิลป์

ภาควิชาทันตกรรมเด็ก

ฟันน้ำนมผุเกิดจากอะไร ?
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ฟันน้ำนมผุ มาจากการเลี้ยงดูของครอบครัว การปล่อยให้เด็กนอนหลับคาขวดนม ทำให้น้ำตาลที่อยู่ในนม สามารถเข้าไปทำลายเคลือบฟันของเด็กได้ เพราะคราบจุลินทรีย์จะย่อยน้ำตาลในนมที่ค้างอยู่บนผิวฟัน ทำให้เกิดการสะสมของกรด ละลายผิวฟันเป็นรู นอกจากเรื่องขวดนมแล้ว ปัญหาฟันน้ำนมผุ ยังอาจเกิดได้จากโครงสร้างของฟันเด็กที่ไม่สมบูรณ์ อาจเป็นเพราะคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย แม่ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กยุคนี้ฟันผุง่ายก็คือ การรับประทานขนมตามใจชอบ แล้วไม่ยอมแปรงฟันนั่นเอง อีกทั้งผู้ปกครองหลายคนมักมีความเชื่อผิดๆ ว่า เดี๋ยวฟันน้ำนมก็ต้องหลุดไป มีฟันแท้มาแทนที่ จึงไม่ได้ใส่ใจการรับประทานขนมและการแปรงฟันของลูกมากนัก และลูกก็ยังไม่สามารถทำความสะอาดฟันอย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยตัวเอง จึงทำให้ฟันผุได้ง่ายนั่นเอง

 

รู้จัก 3 ระยะ ของโรคฟันผุ
1. ฟันผุในระยะแรก จะพบลักษณะรอยโรคขุ่นขาวบริเวณเคลือบฟันหรือหลุมร่องฟัน ซึ่งจะยังไม่แสดงอาการ

 

2. ฟันผุที่ชั้นเคลือบฟันและเนื้อฟัน จะมีการแตกหักของเนื้อฟันจนเกิดรอยผุเป็นรูบนตัวฟัน เด็กจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน ปวดฟัน เวลาเศษอาหารติด

 

3. ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน จะมีอาการปวดฟัน ประสาทฟันอักเสบร่วมกับการอักเสบของเหงือกและอวัยวะรอบๆ ฟัน

 

ฟันน้ำนมผุได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ ?
ปัญหาฟันน้ำนมผุหรือฟันผุในวัยเด็ก สามารถเกิดได้ตั้งแต่เด็กมีฟันขึ้นในช่องปาก ซึ่งก็คืออายุประมาณ 6 เดือน เนื่องจากชั้นเคลือบฟันน้ำนมหนาประมาณครึ่งหนึ่งของฟันแท้เท่านั้น ทำให้ฟันน้ำนมผุได้ง่ายกว่ามาก และยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นองค์ประกอบน้อยกว่าอีก โดยฟันน้ำนมซี่หน้าบนจะผุได้ง่ายกว่าฟันหน้าล่าง รวมทั้งอีกจุดที่ผุง่ายก็คือ ฟันกรามด้านบดเคี้ยว เพราะเป็นซี่ใน ขนมหวานมักติดค้างอยู่ในร่องฟัน จึงทำความสะอาดได้ยากนั่นเอง

 

การรักษาฟันน้ำนมผุ
หากลูกมีฟันผุระยะแรกเริ่ม คุณหมอจะให้คำแนะนำในการรับประทานอาหารและการทำความสะอาดหรือเคลือบหลุมร่องฟัน คุณหมอจะทำการอุดฟันหรือครอบฟันในฟันที่ผุถึงชั้นเนื้อฟัน แต่หากฟันผุทะลุเข้าไปถึงโพรงประสาทฟัน คุณหมอจะต้องรักษาด้วยการรักษารากฟัน หรือถอนฟันแทน แต่สำหรับกรณีที่ฟันผุยังไม่ได้ทำลายรากฟันและกระดูกเบ้าฟันไปมาก คุณหมอจะแนะนำให้เก็บรักษาฟันน้ำนมไว้ใช้งาน รอจนฟันแท้จะขึ้นมาแทนที่ การอุดฟันที่ผุลึกมาก การถอนฟัน หรือการรักษารากฟัน คุณหมอจะใช้ยาชา เพื่อไม่ให้เด็กๆ รู้สึกเจ็บปวดจนทนไม่ไหว

 

วิธีป้องกันไม่ให้ฟันน้ำนมผุ
– ฝึกให้เด็กทารกเข้านอนโดยไม่มีนิสัยติดขวดนม
– สอนให้เด็กใช้แก้วน้ำแทนขวดนมและฝึกดูดจากหลอด ตั้งแต่อายุ 6 – 12 เดือน และควรเลิกใช้ขวดนม เมื่ออายุ 1 ปี ไปแล้ว
– ฝึกนิสัยไม่ให้ลูกทานขนมจุบจิบ อาหารรสหวาน เพราะเป็นสาเหตุของฟันผุ หากลูกอยากรับประทานให้รับประทานในมื้ออาหาร
– เลือกอาหารว่างที่มีประโยชน์ไม่เติมน้ำตาลและไม่ทำให้ฟันผุ เช่น นมจืด ผลไม้ แซนวิสทูน่า ปลาเส้น เป็นต้น
– ให้ลูกบ้วนปากหลังดื่มนม รับประทานขนม หรือหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง
– แปรงฟันให้ลูกด้วยยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ วันละ 2 ครั้ง เวลาเช้า – ก่อนนอน
– เมื่อลูกอายุ 4 ขวบ ฝึกให้ลูกแปรงฟันอย่างถูกวิธี และช่วยแปรงซ้ำเป็นประจำ
– พาลูกไปพบทันตแพทย์ เมื่ออายุ 1 ปี และตรวจฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อจะได้รับความรู้และแนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพในช่องปากอย่างถูกต้อง

ลูกรักกลัวหมอฟัน

ภาควิชาทันตกรรมเด็ก

MU DENT faculty of dentistry

ลูกรักกลัวหมอฟัน

อ.ทพญ.ชุติมา อมรพิพิธกุล

ภาควิชาทันตกรรมเด็ก

ลูกรักกลัวหมอ จะทําอย่างไรดี

ความกลัวเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัยโดยเฉพาะในวัยเด็ก ไม่ว่าจะเป็นกลัวความเจ็บปวด กลัวคนแปลกหน้า ความกลัวกับสถานการณ์ ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยประสบมาก่อน เป็นต้น

ซึ่งสาเหตุของความกลัวนั้นบางครั้งยากที่จะอธิบาย แต่ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เด็กเกิดความกลัวต่อหมอฟันหรือการรักษาทางทันตกรรมได้ เช่น ประสบการณ์การพบแพทย์ในอดีต โดยเฉพาะเด็กที่เจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อยๆ ก็อาจจะกลัวคนที่ใส่ชุดฟอร์มสีขาว หรือการที่เด็กได้ฟังคําบอกเล่าเรื่องประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อการรักษาทางทันตกรรม ไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อน ญาติพี่น้อง และสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่อาจคาดไม่ถึงก็คือความกลัวต่อการรักษาทางทันตกรรมของตัวคุณพ่อ คุณแม่เอง ซึ่งลูกอาจจะรับรู้ได้จากพฤติกรรมบางอย่าง หรือจากสีหน้าที่มีความกังวลที่พ่อแม่แสดงออกมาโดยไม่รู้ตัว เป็นต้น

 

ก่อนจะพาลูกมาทําฟัน พ่อแม่มีวิธีเตรียมตัวลูก ของตนเองอย่างไรบ้าง

การเตรียมตัวเด็กที่ดีนั้นมีผลอย่างมากต่อพฤติกรรมของเด็กและความสําเร็จในการรักษาทางทันตกรรม จากที่ กล่าวข้างต้นเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลให้เด็กเกิดความกลัวต่อการทําฟัน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงคําพูดที่น่ากลัวหรือแสดงความกังวลต่อการทําฟันให้ลูกเห็น ไม่ควรใช่หมอฟันหรือการทําฟันเป็นเครื่องมือในการขู่ลูก เช่น “ถ้าไม่ยอมแปรงฟันนะ จะจับไปให้หมอถอนฟันเลย” ซึ่งจะยิ่งทําให้ลูกฝั่งใจและกลัวหมอฟันมากขึ้น ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยส่งเสริมทัศนคติในทางบวกต่อการทําฟันให้แก่ลูก เช่น “คุณหมอจะช่วยให้หนูมีฟันสวยและแข็งแรง” นอกจากนี้เมื่อพบว่าลูกมีฟันผุก็ควรพาลูกมาทําฟันตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีอาการปวด หากรอให้มีอาการปวดก่อนเด็กจะยิ่งมีความกังวลในการทําฟันมากขึ้น

 

เมื่อมาหาหมอฟันแล้ว หากลูกกลัวหมอฟัน ไม่ให้ความร่วมมือ ผู้ปกครองและทันตแพทย์ ควรทําอย่างไร

เด็กแต่ละคนที่มีความกลัวก็จะแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป เด็กที่มีความกลัวและไม่ให้ความร่วมมือ จําเป็นอย่างยิ่งที่ทันตแพทย์จะต้องวิเคราะห์หาสาเหตุของความกลัวของเด็ก เพื่อใช่เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาเลือกใช้วิธีการจัดการพฤติกรรม

      
 
 

ซึ่งคุณพ่อคุณแม้จะมีส่วนช่วยเป็นอย่างมากในการให้ข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้ หลังจากนี้ก็จะเป็นหน่าที่ของ ทันตแพทย์ที่จะเลือกใช้วิธีปรับพฤติกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กให้ลดความกลัว ความกังวล และยอมให้ความร่วมมือในการทําฟัน โดยวิธีที่ใช้มากที่สุดก็คือ การปรับพฤติกรรมโดยวิธีทางจิตวิทยาไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย ปลอบโยน ชมเชย ส่งเสริมให้กําลังใจ การเบี่ยงเบน ความสนใจ หรือการแยกผู้ปกครอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่อายุของเด็ก ระดับของความร่วมมือ และปริมาณงานหรือ ความเร่งด่วนของการรักษาด้วย เช่น ในเด็กเล็กตํ่ากว่า ๓ ขวบ ที่ยังพูดคุยสื่อสารกันไม่เข้าใจ หรือเด็กที่ไม่ให้ ความร่วมมืออย่างมาก ทันตแพทย์ก็อาจจะจําเป็นต้องขออนุญาตใช้ผ้าห่อตัวเด็ก (Papoose board) ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของเด็กเพื่อให้สามารถให่การรักษาได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจจะนําเสนอทางเลือกการรักษาทางทันตกรรมภายใต้การทานยาให้สงบหรือการดมสลบให้แก่ผู้ปกครองเป็นผู้ตัดสินใจ

 

ตามปกติแล้วผู้ปกครองควรเข้าไปกับลูกขณะทําการรักษาทางทันตกรรมหรือไม่

ในปัจจุบันทันตแพทย์มักจะให้อิสระแก่ผู้ปกครองว่าจะอยู่กับลูกในห้องทําฟันหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่ผู้ปกครองควรปฏิบัติเมื่ออยู่ในห้องทําฟันกับลูกก็คือการอยู่เป็นเพื่อนและให้กําลังใจแบบเงียบๆ ไม่แสดงสีหน้าหวาดกลัวขณะที่หมอฟัน กําลังใหัการรักษา หรือพูดแทรกระหว่างที่หมอฟันกําลังพูดคุยกับเด็ก เนื่องจากจะทําให้เด็กสับสนว่าจะฟังใครดี ในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะออกจากห้องทําฟันเมื่อคุณหมอรัองขอ ซึ่งการแยกผูัปกครอง (Parental absence) เป็นวิธีการจัดการ พฤติกรรมทางจิตวิทยาวิธีหนึ่ง ที่ทันตแพทย์จะใช้กับเด็กที่ร้องไห้โวยวาย ไม่ให้ความร่วมมือ และมีอายุมากกว่า ๓ ขวบ เนื่องจากเป็นวัยที่สามารถสื่อสารพูดคุยกันได้เข้าใจแล้ว โดยจะต่อรองกับเด็กว่า “เมื่อหนูหยุดร้องไห้โวยวาย คุณหมอจะให้คุณแม่กลับเข้ามา” ซึ่งวิธีการนี้ เป็นวิธีการจัดการพฤติกรรมวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีเลยทีเดียว

สิ่งที่ดีที่สุดที่จะทําให้ลูกน้อยไม่กลัวหมอฟันก็คือการดูแลสุขภาพช่องปากของลูกให้ดี ไม่ให้มีฟันผุ โดยควรพาลูกมาพบหมอฟันตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้นหรือภายในขวบปีแรก และตรวจฟันอย่างสมํ่าเสมอทุกๆ ๖ เดือน เมื่อลูกไม่มีฟันผุ เวลาทําฟันก็ไม่เจ็บ เมื่อไม่เจ็บก็มักจะไม่กลัวหมอฟัน แต่เมื่อลูกมีฟันผุแล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ควรเข้มแข็งที่จะพาลูกมารับการรักษาตามนัดอย่างสมํ่าเสมอ ถึงแม้ว่าลูกจะร้องไห้ตั้งแต่อยู่ที่บ้านเมื่อรู้ว่าจะพามาทําฟันก็ตาม เพื่อให้ลูกของคุณมีสุขภาพช่องปากที่ดี ซึ่งเมื่อมีสุขภาพช่องปากที่ดีแล้วก็จะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการในด้านอื่นๆ ที่ดีตามไปด้วย

เครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟัน

ภาควิชาทันตกรรมเด็ก

MU DENT faculty of dentistry

เครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟัน

รศ.ทพญ.ประภาศรี ริรัตนพงษ์

ภาควิชาทันตกรรมเด็ก

คืออะไร ?

ทำหน้าที่ : รักษาระยะห่างระหว่างฟันเอาไว้ไม่ให้ลดลงหรือหายไปเพื่อให้ฟันแท้ในตำแหน่งนั้นสามารถขึ้นได้ โดยมีทั้งที่ทำจากโลหะและอะคริลิก

 

ใส่เมื่อไหร่ ?

เมื่อมีการสูญเสียฟันน้ำนมก่อนวัยอันควร โดยทันตแพทย์จะพิจารณาให้ใส่เครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟัน

 

ถ้าไม่ใส่ ?

– ฟันล้มเอียงมาทางช่องว่างนั้น ทำให้ฟันแท้ขึ้นผิดตำแหน่ง
– ฟันซ้อนเกทำให้สูญเสียความสวยงาม
– มีนิสัยที่ผิดปกติ เช่น เอาลิ้นมาดุนช่องว่างที่เกิดขึ้น
– กระดูกเบ้าฟันหนาตัว มีผลให้ฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้ขึ้นช้ากว่าปกติ

 

ชนิดของเครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟัน

สำหรับเด็กมี 2 ประเภท
1. แบบถอดได้ เครื่องมือคงสภาพชนิดที่ผู้ป่วยสามารถใส่และถอดมาทำความสะอาดได้เอง
2. แบบติดแน่น เครื่องมือคงสภาพชนิดติดแน่น ผู้ป่วยไม่สามารถถอดเครื่องมือออกเองได้

 

มีประโยชน์อย่างไร ?

รักษาช่องว่าง ช่วยให้ฟันแท้ขึ้นได้และอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ป้องกันปัญหาฟันเกหรือฟันขึ้นผิดที่ได้

 

ใส่แล้วเจ็บไหม ?

ไม่เจ็บ แต่อาจจะรำคาญได้ในช่วงแรก ซึ่งเด็กมักปรับตัวได้เร็ว

 

ข้อปฏิบัติเมื่อใส่เครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟัน

– กรณีที่ใช้แบบติดแน่น ควรหลีกเลี่ยงหมากฝรั่งหรือลูกอม ซึ่งอาจทำให้เครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟันหลวมหรือ ติดเข้ากับเครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟันได้
– ไม่ควรกดหรือดันเครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟันด้วยลิ้นหรือนิ้วมือ เพราะอาจทำให้เครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟันหลวมหรือคดงอได้
– กรณีใช้แบบถอดได้ควรล้างทำความสะอาดเครื่องมือกันช่องว่างระหว่างฟันอย่างสม่ำเสมอ
– ควรปฏิบัติตามวิธีการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันตามที่ทันตแพทย์แนะนำ

 

** ควรพาเด็กมาพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุก 6 เดือน

มาเคลือบหลุมร่องฟันกันเถอะ

ภาควิชาทันตกรรมเด็ก

MU DENT faculty of dentistry

มาเคลือบหลุมร่องฟันกันเถอะ

อ.ทพญ.วีริษฏา ยิ้มเจริญ

ภาควิชาทันตกรรมเด็ก

“เคลือบหลุมร่องฟัน” คืออะไร

การเคลือบหลุมร่องฟัน คือ การใช้วัสดุเคลือบร่องฟันที่เป็นสารสีใสหรือสีขาวทึบคล้ายสีฟัน เคลือบผนึกลงบนฟันเพื่อปิดบริเวณหลุมและร่องฟันทีลึก ช่วยให้ทำความสะอาดได้ทั่วถึง ป้องกันฟันผุ การเคลือบหลุมร่องฟันนั้นทำได้ง่ายมากและใช้เวลาเพียง 1-2 นาที เท่านั้นต่อฟัน 1 ซี่

ขั้นตอนการ “เคลือบหลุมร่องฟัน”

 

ใครควร “เคลือบหลุมร่องฟัน”

การเคลือบหลุมร่องฟันควรทำในฟันที่มีหลุมร่องฟันลึกและแคบ ยากต่อการเข้าทำความสะอาดของขนแปรงสีฟัน ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ฟันกรามแท้ ซี่ที่ขึ้น เมื่อเด็กอายุ 6 และ 12 ปี การเคลือบหลุมร่องฟันนิยมทำในช่วงวัยเด็กถึงวัยรุ่น ซึ่งฟันเพิ่งขึ้นมาในช่องปากไม่นานนัก อย่างไรก็ตามทันตแพทย์อาจแนะนำให้ เคลือบหลุมร่องฟันในฟันซี่อื่นๆ เช่น ฟันกรามน้อย ฟันหน้าบนแท้ หรือฟันกรามน้ำนม ได้ในทุกช่วงอายุ หากพิจารณาแล้วว่ามีความเสี่ยงและจำเป็นต้องได้รับการป้องกัน

 

ประโยชน์ของการ “เคลือบหลุมร่องฟัน”

– ป้องกันฟันผุในฟันที่มีหลุมและร่องลึก
– ป้องกันการลุกลามของรอยโรคฟันผุในระยะเริ่มแรก

 

การเคลือบหลุมร่องฟันมีขั้นตอนการทำที่ง่าย
ไม่เจ็บปวดและใช้เวลาน้อย
ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดฟันผุบริเวณที่มีหลุมและร่องลึกได้