Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

คำแนะนำสำหรับผู้ใส่ฟันเทียมทั้งปาก

ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

MU DENT faculty of dentistry

คำแนะนำสำหรับผู้ใส่ฟันเทียมทั้งปาก

ชนิดของฟันเทียม

ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

MU DENT faculty of dentistry

ชนิดของฟันเทียม

ทันตกรรมรากเทียม

ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

MU DENT faculty of dentistry

ทันตกรรมรากเทียม

รศ.ดร.ทพ.ชูชัย อนันต์มานะ

ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

รากฟันเทียมคืออะไร ?
รากฟันเทียม คือ วัสดุที่ฝังลงบนกระดูกขากรรไกร เพื่อทดแทนส่วนที่เป็นรากฟันของฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป

 

วัสดุที่ใช้ทำรากฟันเทียม
รากฟันเทียมโดยทั่วไปแล้วจะผลิตจากโลหะผสมไททาเนียม เนื่องจากมีความแข็งแรงและสามารถเข้ากับเนื้อเยื่อของร่างกายได้ดี

 

รากฟันเทียมเหมาะกับใครบ้าง ?
รากฟันเทียม สามารถทำได้กับผู้ใหญ่ที่มีอายุ 21 ปี ขึ้นไป มีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะรับการผ่าตัดในช่องปากได้อย่างปลอดภัยในกรณีวัยรุ่นจะยังมีการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกร จึงจำเป็นต้องรอให้ขากรรไกรหยุดการเจริญเติบโตก่อน จึงจะสามารถใส่รากฟันเทียมได้

 

ข้อดีของรากฟันเทียม

– ในกรณีที่ทำเพื่อแทนฟันที่ถอนไปบางซี่จะไม่มีการสูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติของฟันข้างเคียงที่เหลืออยู่ เมื่อเปรียบเทียบกับการทำสะพานฟัน
– ในกรณีที่ทำเป็นฟันเทียมชนิดถอดได้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดของฟันเทียมในช่องปาก
– คล้ายฟันธรรมชาติ (ใช้งานและสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติ)

 

ข้อเสียของรากฟันเทียม

– ค่าใช้จ่ายสูง และถ้าหากผู้ป่วยมีกระดูกไม่แข็งแรง หรือไม่เพียงพอก็ต้องมีการผ่าตัดและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
– การผ่าตัดฝังรากฟันเทียมอาจจะต้องมีการผ่าตัดหลายครั้ง
– ใช้ระยะเวลาในการรักษาจนเสร็จสมบูรณ์นานกว่าการทำสะพานฟันปกติ เนื่องจากต้องแบ่งการรักษาเป็น 2 ระยะ โดยการทำรากฟันเทียมจะต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2 – 3 เดือน

 

ขั้นตอนทั่วไปของการรักษาด้วยรากฟันเทียม

– พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสภาพฟันต่างๆ ภายในช่องปากและพิมพ์ปากเพื่อนำมาวางแผนการรักษา
– ถ่ายภาพรังสีเพื่อประเมินสภาพกระดูกและโครงสร้างอื่น เช่น เส้นประสาท โพรงอากาศของคนไข้
– ฝังรากฟันเทียมและรอไปอีกอย่างน้อย 2 – 3 เดือน เพื่อให้เกิดการยึดติดของรากฟันเทียมกับกระดูก
– ทำครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันเทียมชนิดอื่น

 

การดูแลรักษา

หลังการปลูกรากฟันเทียมสามารถดูแลและรักษาสุขภาพของปากและฟันได้เหมือนการดูแลปกติทั่วไป และทำความสะอาดเป็นพิเศษ บริเวณที่ทำการปลูกรากฟันเทียมและบริเวณเหงือกโดยรอบ ด้วยแปรงขัดที่มีลักษณะพิเศษ ขนาดเล็กและควรเข้ารับการตรวจช่องปากกับทันตแพทย์เป็นประจำ
การรักษาด้วยการฝังรากเทียมนี้ หากได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเข้ารับการตรวจสภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ ฟันทดแทนก็สามารถมีอายุการใช้งานเสมือนหนึ่งฟันแท้ซี่อื่นๆ เช่นกัน

การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

MU DENT faculty of dentistry

การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

รศ.ทพญ.พจมาน ศรีนวรัตน์

ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

การมีสุขภาพช่องปากที่ดีมีความสำคัญกับทุกวัย และยิ่งสำคัญเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุเพราะฟันของผู้สูงอายุที่เหลืออยู่ มีการเปลี่ยนแปลงจากการใช้งานมายาวนาน หรือมีโรคที่เป็นมาตั้งแต่ก่อนถึงวัยสูงอายุ มีการสูญเสียฟัน เกิดช่องว่าง ทำให้การดูแลรักษาความสะอาดทำได้ยากกว่าฟันทั่วๆ ไป ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพช่องปากดีจะช่วยให้รู้สึกสบาย รับประทานอาหารได้อร่อยและหลากหลายประเภท มีร่างกายแข็งแรง ช่วยการพูดออกเสียงได้ชัดเจน ไม่ต้องกังวลในการเข้าสังคมและส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ถ้าสุขภาพช่องปากไม่ดีจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้ เพราะจุลินทรีย์จากการติดเชื้อในช่องปากอาจผ่าเข้าสู่กระแสเลือดไปที่หัวใจ โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติความผิดปกติของหัวใจหรือเข้าสู่ทางเดินหายใจ

ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง
ปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุคือโรคฟันผุและเหงือกอักเสบซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียฟัน ทั้งโรคฟันผุและเหงือกอักเสบหรือปริทันต์อักเสบมีสาเหตุจากคราบจุลินทรีย์ (plaque) คราบจุลินทรีย์คือแผ่นคราบนิ่มๆ สีขาวที่มีเชื้อแบคทีเรีย คราบนี้สะสมที่ฟันและขอบเหงือก ดังนั้นการกำจัดคราบจุลินทรีย์โดยแปรงฟันให้สะอาดทุกวันจะช่วยป้องกันฟันผุ และเหงือกอักเสบ และลดการติดเชื้อในช่องปากได้

การดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุที่มีฟันธรรมชาติ

• แปรงฟันให้สะอาดด้วยแปรงชนิดขนแปรงนิ่มร่วมกับยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและก่อนนอน
• ควรเลือกแปรงที่มีด้ามจับถนัดมือ หรือดัดแปลงด้ามจับให้มีขนาดเหมาะสมกับมือผู้สูงอายุ
• พยายามแปรงฟันทุกซี่ ทุกด้าน เพื่อกำจัดคราบอาหารและคราบจุลินทรีย์

• ใช้แปรงที่มีหัวแปรงขนาดเล็ก แปรงฟันซี่ที่อยู่โดดๆ

• ใช้ไหมขัดฟัน (dental floss) เช็ดทำความสะอาดบริเวณซอกฟัน เพราะขนแปรงสีฟันทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงบริเวณนี้ หรืออาจเลือกใช้แปรงซอกฟัน (proxabrush) ที่มีขนาดเหมาะสมกับซอกฟันตามคำแนะนำของทันตแพทย์

• ใช้ผ้าก๊อซพับเป็นแถบขนาดเล็กโอบเช็ดฟันด้านที่ติดกับช่องว่างที่ถอนฟันไปโดยเช็ดให้ชิดกับขอบเหงือก

อันตรายจาก…ฟันเทียมเถื่อน

ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

MU DENT faculty of dentistry

อันตรายจาก…ฟันเทียมเถื่อน

อ.ทพญ. ปุญญานิช รุ่งนาวา

ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

ฟันเทียม คือ ฟันที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ฟันเทียมมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ ฟันเทียมชนิดติดแน่น และ ฟันเทียมชนิดถอดได้
ฟันเทียมเถื่อน คือ ฟันเทียมที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นจากบุคคลที่มิใช่ทันตแทพย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพ

 

1. ฟันเทียมที่ทำโดยทันตแพทย์ต่างกับฟันเทียมที่ทำตามแผงลอยอย่างไร ?
ฟันเทียมที่ทำโดยทันตแพทย์นั้นจะมีการออกแบบ และทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักการ ซึ่งฟันเทียมที่ได้จะมีการยึดอยู่ และถ่ายทอดแรงสู่ฟันธรรมชาติและเนื้อเยื่อได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ต่างจากฟันเทียมเถื่อนที่มีการออกแบบได้ไม่ถูกต้องตามหลักการ และอาจรวมถึงกระบวนการทำที่ไม่สะอาดปลอดภัย ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้

 

2. อันตรายจากการทำฟันเทียมเถื่อน
– เนื้อเยื่อภายในช่องปากอักเสบ บวมแดง อาจรุนแรงถึงขั้นมีการละลายตัวของกระดูกขากรรไกร

 

– ฟันโยก แตก หรือหัก เหงือกรอบตัวฟันอักเสบ บวมแดง เป็นหนอง

 

– เกิดการติดเชื้อบริเวณใบหน้าขากรรไกร จากการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดถูกหลักอนามัย หรือการใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม

 

3. การแก้ไข และการรักษาเมื่อมาพบทันตแพทย์
ฟันเทียมเถื่อนโดยมากไม่สามารถแก้ไขได้ และควรทำชุดใหม่ ทันตแพทย์จะตรวจภายในช่องปาก และถ่ายภาพรังสีในช่องปากอย่างละเอียดอีกครั้ง ก่อนพิจารณาวางแผนการรักษาและออกแบบฟันเทียมชุดใหม่

 

4. คำแนะนำ
ผู้ป่วยส่วนมากเลือกที่จะทำฟันเทียมเถื่อนเพราะสะดวก รวดเร็ว และราคาถูกกว่าการทำฟันเทียมกับทันตแพทย์ ทันตแพทย์อยากให้ผู้ป่วยตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการใส่ฟันเทียมเถื่อนให้มาก ซึ่งบางครั้งอาจไม่คุ้มค่ากับเวลาเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามการทำฟันเทียมกับทันตแพทย์จะได้ฟันเทียมที่สวยงาม ใช้งานได้นาน และได้มาตรฐานสะอาดปลอดภัย แม้จะใช้เวลาที่มาพบทันตแพทย์หลายครั้งและราคาสูงกว่า

 

5. สรุป
ทันตแพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยเลี่ยงการทำฟันเทียมกับผู้ที่ไม่ใช่ทันตแพทย์ และมารับการรักษาที่ดีการทันตแพทย์จะดีที่สุด

ครอบฟันและสะพานฟัน

ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

MU DENT faculty of dentistry

ครอบฟันและสะพานฟัน

รศ.ดร.ทพ. ชูชัย อนันต์มานะ

ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

การทำครอบฟัน (Crown)

เป็นการบูรณะฟันโดยการใช้วัสดุทั้งซี่เพื่อทำให้ฟันซี่นั้นแข็งแรงขึ้น หรือตกแต่งรูปทรงให้ฟันสวยงามหรือเป็นระเบียบมากขึ้น

 

เมื่อใดจึงจะทำครอบฟัน

 

ข้อดีของครอบฟัน

– เพื่อบูรณะให้ฟันกลับมามีรูปร่างเหมือนเดิม
– สามารถปรับแต่งรูปร่างและการเรียงตัวของฟันได้
– ในฟันมีความผิดปกติ โครงสร้างฟันอ่อนแอ จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ฟันได้

 

การทำสะพานฟัน (Bridge)

เป็นการทดแทนฟันที่สูญเสียไป ด้วยการยึดซี่ฟันปลอมเข้ากับฟันซี่ข้างเคียงอย่างถาวร (ถอดออกมาล้างไม่ได้) อย่างไรก็ดี ฟันซี่ข้างเคียงจะถูกกรอเพื่อเตรียมเป็นหลักของสะพานฟัน

 

เมื่อใดจึงจะทำสะพานฟัน

ช่องฟันที่หายไปเป็นช่องขนาดเล็ก (ขนาดประมาณ 1 – 2 ซี่) โดยมีฟันที่จะใช้เป็นฟันหลักยึดสะพานฟัน 2 ซี่ อยู่ข้างๆ ช่องฟันที่หายไป

 

ข้อดีของสะพานฟัน

– สามารถทดแทนฟันซี่ที่สูญเสียไป ช่วยป้องกันการล้มของฟันซี่ข้างเคียง หรือการงอกของฟันคู่สบมายังช่องว่างระหว่างฟัน
– สะพานฟันสามารถออกแบบให้ดูเป็นธรรมชาติ คล้ายคลึงกับฟันตามธรรมชาติของผู้ป่วย ไว้ทดแทนช่องว่างจากการ สูญเสียฟัน เพิ่มความสวยงามอีกด้วย

 

ประเภทของครอบฟันและสะพานฟัน

การดูแลรักษาครอบฟันและสะพานฟัน

การแปรงฟัน
ควรแปรงฟันหลังอาหารทุกครั้ง โดยแปรงบริเวณผิวด้านบน และด้านข้างของฟัน เหมือนกับการแปรงฟันทั่วไป บางกรณีควรใช้แปรงซอกฟันทำความสะอาดบริเวณช่องว่างระหว่างฟันร่วมด้วยเพื่อความสะอาดยิ่งขึ้น

การใช้ไหมขัดฟัน
ควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดฟันและใต้สะพานฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารและแบคทีเรียบริเวณซอกฟัน อย่างน้อยวันละครั้ง

การพบทันตแพทย์
ควรพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน หรือ ปีละ 2 ครั้ง

 

“เมื่อได้เห็นรอยยิ้มสะพานฟัน ไม่เปลี่ยนผันจากฟันจริงมากเท่าไหร่
ยิ้มสวยได้ทุกวันไม่อายใคร เพราะนี่ไงยิ้มสวยด้วยสะพานฟัน”

ทันตกรรมรากเทียม

ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

MU DENT faculty of dentistry

ทันตกรรมรากเทียม