INTRANET

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors

ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง

MU DENT faculty of dentistry

ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม

อ.ทพ.ปริญญา อมรเศรษฐชัย

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง

ทันตกรรมเพื่อความสวยงามมีกี่ประเภท ?
โดยหลักๆ จะมีอยู่ 4 แบบ คือ การฟอกสีฟัน เพื่อทำให้ฟันขาวขึ้น การทำวีเนียร์หรือเคลือบฟันเทียม เพื่อปรับรูปร่างและขนาดของฟันให้เหมาะสม การทำครอบฟัน มีการเรียงตัวที่ผิดปกติไปมาก ทำในฟันที่ได้รับการรักษารากฟันไปแล้ว การอุดฟันด้วยวัสดุอุดสีเหมือนฟัน ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่รวมการจัดฟัน

 

การฟอกสีฟันคืออะไร ?
คือการนำสารเคมีจำพวกเปอร์ออกไซด์ทาไปบนตัวผิวฟันเพื่อให้ฟันเกิดการแตกตัวของเม็ดสี ทำให้สีของฟันขาวขึ้น โดยทั่วไปแบ่งออกไป 2 ลักษณะ คือ การฟอกด้วยตัวเองที่บ้าน หรือที่เรียกว่า Home Bleaching และการฟอกโดยทันตแพทย์ ที่เรียกว่า In-Office Bleaching โดย Home Bleaching ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากของคนไข้ แล้วก็ส่งไปทำถาดฟอกสีฟันเฉพาะบุคคล ซึ่งถาดฟอกสีฟันเฉพาะบุคคลก็จะใส่ร่วมกับสารฟอกสีฟัน ส่วนวิธี In-Office Bleaching ทันตแพทย์ก็จะทำการทาสารลงไปบนตัวฟันทิ้งไว้ โดยที่มีการกระตุ้นให้สารตัวนี้ทำงานโดยใช้แสงสีฟ้าหรือแสงเลเซอร์ ทำการฟอกประมาณ 2 – 4 ชั่วโมง แต่วิธีนี้จะทำให้ฟันขาวเร็วขึ้น แต่ความเสถียรของความขาวมีอยู่ค่อนข้างน้อย ทันตแพทย์จึงนิยมใช้วิธี In-Office Bleaching ร่วมกับการทำ Home Bleaching

 

การเคลือบผิวฟันคืออะไร ?
การเคลือบผิวฟันหรือทำวีเนียร์ ทันตแพทย์ก็จะทำการประเมินแล้วกรอแต่งฟัน โดยการกรอแต่งฟันทันตแพทย์จะกรอฟันให้น้อยที่สุด ทำการพิมพ์ปากแล้วส่งไปให้แลป แลปก็จะทำเป็นชิ้นงานส่งมาให้ให้ทันตแพทย์เพื่อที่จะยึดกลับไปในคนไข้ โดยชิ้นงานจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ คอมโพสิตหรือเซรามิค ซึ่งความคงทนและแข็งแรงของเซรามิคจะมีสูงกว่า ค่าใช้จ่ายก็จะแพงกว่าแบบคอมโพสิต

 

การครอบฟันคืออะไร ?
ทันตแพทย์จะทำครอบฟันในกรณีที่มีการสูญเสียเนื้อฟันไปมากและมีการรักษารากฟัน เกิดขึ้นในฟันหน้า โดยทันตแพทย์จะทำการกรอแต่งฟันในทุกด้าน และทำการพิมพ์ปากเพื่อส่งแลปให้สร้างตัวครอบฟันมาใส่ให้กับคนไข้

 

การอุดด้วยวัสดุอุดฟันสีเหมือนฟันคืออะไร ?
จะเป็นการซ่อมแซมเฉพาะส่วนของฟันที่มีการแตกหักและบิ่นไปเล็กน้อย สามารถอุดเติมขึ้นมา โดยใช้วัสดุเรซิ่นคอมโพสิต แล้วก็ทำการฉายแสงเพื่อให้วัสดุอุดเซ็ตตัว ทำในกรณีที่วัสดุมีการแตกหัก เสียหายหรือว่าตัวฟันมีการบิ่นไปเล็กน้อย

 

รักษารากฟันนั้นสำคัญไฉน

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง

MU DENT faculty of dentistry

รักษารากฟันนั้นสำคัญไฉน

พฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อฟันที่คุณรัก

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง

MU DENT faculty of dentistry

พฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อฟันที่คุณรัก

ผศ.ร.ท.ทพ. ชัชชัย คุณาวิศรุต

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง

1. การใช้ฟันเป็นเครื่องมือ
หลายคนใช้ฟันเป็นเครื่องมือในการเปิดขวดหรือเศษถุงฉีกขาดเทปพลาสติก, ตัดป้ายราคาเสื้อผ้าออก เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะฟันถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการบดเคี้ยวอาหารเท่านั้น การใช้ฟันผิดหน้าที่ เช่น นำไปกัดหรือฉีกถุงพลาสติก อาจทำให้ฟันหน้าบิ่นหรือแตกหักเสียหายได้

 

2. เคี้ยวน้ำแข็ง
น้ำแข็งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ามันแข็ง ถึงจะเคี้ยวแล้วมันจะได้ความกรุบกรอบ สนุกสนาน แต่อาจทำให้ฟันที่ใช้เคี้ยวน้ำแข็งเกิดอาการฟันร้าว นำไปสู่การเสียวฟัน และปวดฟัน หรือในบางรายที่ไม่มีอาการดังกล่าวอาจจะทำให้ฟันสึกมากและเร็วกว่าปกติ รวมถึงทำให้ฟันแตกหัก จนต้องถอนฟันได้

 

3. ทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยวจัด
อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยวมีความเป็นกรดสูง และความเป็นกรดนี้จะทำให้เนื้อฟันบริเวณที่สัมผัสมีลักษณะอ่อนนุ่มลง และจะทำให้ฟันสึกมากกว่าปกติได้ ดังนั้นหากต้องการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าหรือบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าตามทันทีเพื่อลดระยะเวลาที่อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว และไม่ควรแปรงฟันทันทีเพราะเนื้อฟันยังมีลักษณะนิ่มหลังจากสัมผัสกับกรด การแปรงฟันทันทีอาจส่งผลให้ฟันึกเร็วขึ้น

 

4. การใช้ไม้จิ้มฟัน
การใช้ไม้จิ้มฟันบ่อยๆ และใช้แบบผิดวิธี อาจทำให้ฟันห่างขึ้น และเป็นอันตรายต่อเหงือกควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดระหว่างซอกฟันหรือแปรงซอกฟัน

 

5. กัดเล็บ
การกัดเล็บนอกจากจะทำให้เล็บไม่สวยและเสียบุคลิกภาพนอกจากนี้ตามซอกเล็บยังมีสิ่งสกปรกซ่อนอยู่ ดังนั้นการกัดเล็บอาจเป็นหนทางทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้

 
 
 

6. ดูดนิ้วหัวแม่มือ
การดูดนิ้วหัวแม่มือในเด็ก จะส่งผลต่อการขึ้นของฟัน ทำให้ฟันขึ้นในตำแหน่งที่ผิดปกติ เนื่องจากนิ้วหัวแม่มือไปดันฟันไว้ และทำให้เกิดความผิดปกติของกระดูกใบหน้าขากรรไกรได้

 

7. การสูบบุหรี่จัด การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการเคี้ยวหมาก
การสูบบุหรี่และการเคี้ยวหมาก จะทำให้มีคราบสกปรกติดแน่นในช่องปาก ทำให้มีคราบหินน้ำลายมาเกาะได้ง่ายและนำไปสู่การเป็นโรคเหงือก โรคปริทันต์และสูญเสียฟันต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคมะเร็งในช่องปากอีกด้วย การดื่มการดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลให้คนไข้ลืมหรือไม่ใส่ใจในการทำความสะอาดช่องปากและมีผลเสียกับสุขภาพร่างกายอีกด้วย

 

8. ดื่มน้ำอัดลมมากเกินไป
น้ำอัดลมมีความเป็นกรดเช่นเดียวกับน้ำมะนาว การดื่มน้ำอัดลมบ่อยๆ จะทำให้เนื้อฟันมีลักษณะนิ่ม มีการสึกที่เร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ ในน้ำอัดลมยังมีน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญต่อการเกิดฟันผุอีกด้วย

 

9. การนอนกัดฟันโดยไม่รู้ตัว
สาเหตุของการนอนกัดฟันโดยไม่รู้ตัวยังไม่เป็นที่แน่ชัด ความเครียดอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นอนกัดฟันได้ วิธีการป้องกันคือการใส่เฝือกสบฟันในขณะนอนเพื่อช่วยลดการสึกของฟันและป้องกันการเกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อใบหน้าและข้อต่อขากรรไกร

 

ท่านผู้อ่านท่านใดที่มีพฤติกรรมดังที่กล่าวมาขอให้เลิกเสียตั้งแต่วันนี้ … เพราะพฤติกรรมข้างต้นล้วนแล้วแต่เป็นภัยเงียบที่ส่งผลร้ายแต่ฟันที่คุณรัก หันมาใส่ใจและทะนุถนอมฟันของเรากันดีกว่า ด้วยการทำความสะอาดฟัน ด้วยการแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน และไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน เราจะได้มีฟันสวยๆ อย่าคู่กับเราไปตลอดชีวิต

 

รู้…ก่อนจัดฟัน

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง

MU DENT faculty of dentistry

รู้…ก่อนจัดฟัน

ผศ.ดร.ทพญ. ศศิภา ธีรดิลก

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง

การจัดฟัน คืออะไร
การจัดฟัน คือ งานสาขาหนึ่งทางทันตกรรมที่ให้การรักษาความผิดปกติของการเรียงตัวของฟันและการสบฟันในช่องปาก โดยการจัดฟันจะมีการเคลื่อนที่ของฟันไปยังตำแหน่งใหม่ เพื่อเรียงฟันให้ดีขึ้นและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม นอกจากนี้ทันตแพทย์จัดฟันจะทำการวิเคราะห์ วินิจฉัย วางแผนป้องกัน และรักษา ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งและขนาดของขากรรไกร ตลอดจนความสัมพันธ์ของขากรรไกรกับใบหน้าด้วย

 

ทำไมจึงต้องจัดฟัน
การจัดฟันเป็นการให้การรักษา เพื่อให้ฟันมีการเรียงตัวที่ตรงขึ้น มีการสบฟันที่ดีขึ้น เพื่อให้การบดเคี้ยวอาหารมีประสิทธิภาพ อาจลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดฟันผุหรือโรคเหงือก อันเนื่องมาจากความลำบากในการทำความสะอาดฟันและเหงือกในบริเวณที่ฟันเรียงตัวผิดปกติและซ้อนเกและยังอาจช่วยเสริมบุคลิกภาพจากการที่มีฟันเรียงกันสวยงาม

 

ควรจัดฟันเมื่ออายุเท่าไหร่
การจัดฟันเป็นการที่ทันตแพทย์จัดฟันเคลื่อนที่ฟันไปที่ตำแหน่งใหม่ ในระหว่างการเคลื่อนที่ของฟันกระดูกที่รองรับฟันและที่อยู่รอบๆรากฟันจะมีการทำลายและมีการสร้างตัวใหม่ (รูปที่ 6)ดังนั้นในผู้ป่วยเด็ก จะมีความสามารถของกระบวนการสร้างเสริมกระดูกรอบๆรากฟันรวดเร็วและดีกว่าในผู้ป่วยผู้ใหญ่ จึงแนะนำให้ผู้ป่วยเด็กที่ฟันน้ำนมหลุดออกไปหมดแล้วเริ่มมารับการรักษาทางการจัดฟัน ซึ่งผู้ป่วยเด็กกลุ่มนี้จะมีอายุประมาณ 11-12 ปี แล้วแต่บุคคล ในผู้ป่วยเด็กจึงมักจะใช้เวลาในการรักษาน้อยกว่าในผู้ป่วยผู้ใหญ่

สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ไปพบทันตแพทย์เด็กสม่ำเสมอ ก็จะได้รับการตรวจดูแลสภาพช่องปากเป็นประจำ และเมื่อทันตแพทย์เด็กตรวจพบความผิดปกติใดๆของการสบฟัน ก็จะมีการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อขอรับคำแนะนำจากทันตแพทย์จัดฟันต่อไป

 

การเตรียมตัวก่อนจัดฟัน
การมีเครื่องมือจัดฟันติดอยู่บนผิวฟัน เมื่อรับประทานอาหารก็จะมีเศษอาหารติดที่เครื่องมือจัดฟัน (รูปที่ 8) และระหว่างเครื่องมือกับผิวฟันได้ง่ายขึ้น ก่อนการติดเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น ทันตแพทย์จัดฟันจะส่งตัวผู้ป่วยให้ไปทำความสะอาดช่องปากโดยการขูดหินปูน รวมถึงการอุดฟันที่ผุทั้งช่องปากให้เรียบร้อยก่อนมาติดเครื่องมือจัดฟัน เพราะถ้าผู้ป่วยมีฟันผุและดูแลสภาพช่องปากของตนเองได้ไม่ดี การติดเครื่องมือติดแน่นในช่องปากจะทำให้การผุลุกลาม รวดเร็วขึ้นและโรคเหงือกจะเป็นรุนแรงมากขึ้น ทำให้เกิดเหงือกทั่วไปในช่องปากอักเสบมากได้

 

การดูแลสุขภาพช่องปากระหว่างการจัดฟัน
เมื่อมีเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่นในช่องปาก การรับประทานอาหารแต่ละครั้ง จะมีเศษอาหารติดที่เครื่องมือและที่รอยต่อระหว่างเครื่องมือจัดฟันและผิวฟันได้ง่าย เมื่อได้รับการรักษาจัดฟัน ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องดูแลทำความสะอาดฟันและเหงือกของตนเองให้ดีกว่าการดูแลฟันปกติ คือ ต้องแปรงฟันหลังการรับประทานอาหารทุกครั้ง ให้ใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้แก่ แปรงซอกฟันขนาดเล็ก (รูปที่ 9) โดยหลังจากการแปรงฟันปกติ ต้องใช้แปรงซอกฟันขนาดเล็กทำความสะอาดที่รอบๆ ฐานbracketและตรงรอยต่อที่ติดกับผิวฟันด้วย ต้องใช้ไหมขัดฟัน โดยให้ร้อยไหมขัดฟันเข้าไปใต้ลวดจัดฟันและทำความสะอาดที่ซอกระหว่างฟันด้วย

 

หลังจากถอดเครื่องมือจัดฟันแล้วต้องทำอย่างไรต่อไป
หลังจากถอดเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่นแล้ว ยังต้องใส่เครื่องมือคงสภาพฟันซึ่งเป็นเครื่องมือแบบถอดได้ต่อไปอีก โดยให้ใส่ตลอดเวลาทั้งวันและใส่ตอนนอน ถอดออกเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารและแปรงฟัน อย่างน้อย 6 เดือน หลังจากนั้นให้ใส่เครื่องมือคงสภาพฟันเฉพาะตอนนอน อีกประมาณ 2-3 ปี เพื่อให้ฟันที่ได้จัดเรียบร้อยแล้วคงสภาพเรียงตรงอยู่ได้