Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
ประกาศนียบัตรวิชาช่างทันตกรรม

MU DENT faculty of dentistry

โรงเรียนเทคโนโลยีทันตกรรม

1. ชื่อหลักสูตร

(ภาษาไทย) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาช่างทันตกรรม
(ภาษาอังกฤษ) CERTIFICATE PROGRAM IN DENTAL TECHNICIAN

2.   ชื่อประกาศนียบัตร

 

ชื่อภาษาไทย: –

ชื่อเต็ม                    :               ประกาศนียบัตรวิชาช่างทันตกรรม

ชื่อย่อ                      :               ป. วิชาช่างทันตกรรม

ชื่อภาษาอังกฤษ: –

ชื่อเต็ม                    :               CERTIFICATE  IN  DENTAL  TECHNICIAN

ชื่อย่อ                      :               CERT.  IN  DENT.  TECH.

3. หน่วยงานรับผิดชอบ

โรงเรียนเทคโนโลยีทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

4.ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

 

4.1   ปรัชญาของหลักสูตร

ช่างทันตกรรมที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพช่างทันตกรรม  สามารถปฏิบัติงานช่างทันตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีคุณธรรม  จริยธรรม  ใฝ่เรียนรู้  เพื่อปฏิบัติงานช่างทันตกรรมตามคำสั่งงานของทันตแพทย์ได้อย่างถูกต้อง

 
4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตช่างทันตกรรมระดับประกาศนียบัตร ให้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • 1. มีความรู้วิชาศึกษาทั่วไป และสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูล  ประยุกต์  หรืออธิบายการปฏิบัติงานช่างทันตกรรมอย่างมีเหตุผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • 2.มีความรู้ความสามารถและทักษะพื้นฐานวิชาเฉพาะทางช่างทันตกรรม ทำให้ปฏิบัติงานช่างทันตกรรมอย่างปราณีตและถูกต้อง
  • 3.มีคุณธรรม จริยธรรม  จรรยาบรรณ  และเจตคติอันดีงามต่อการประกอบวิชาชีพช่างทันตกรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตลอดจนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย
  • 4.มีความรู้ในหลักการบริหารงาน สามารถบริหารห้องปฏิบัติการช่างทันตกรรม  เป็นผู้นำกลุ่มงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีสามารถผสมผสานและประยุกต์ความรู้ความสามารถทางวิชาการทางช่างทันตกรรมกับวิชาการแขนงต่างๆ  ในการปฏิบัติงาน  สามารถทำงานร่วมกับบุคลากรสาขาวิชาชีพอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 5.มีความสนใจใฝ่เรียนรู้ มีเจตคติที่ดีในการศึกษาด้วยตนเอง  และพัฒนาการประกอบวิชาชีพช่างทันตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง

5.กำหนดการเปิดสอน

เริ่มสอนตั้งแต่ปีการศึกษา  2551 เป็นต้นไป

6.   คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • 6.1 สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ (ม.6)  หรือ  จบหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย  (ม.ศ.5)  หรือโรงเรียนช่างฝีมือ  เทียบเท่าตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
  • 6.2 อายุไม่ต่ำกว่า 16  ปีบริบูรณ์  และไม่เกิน  35  ปี  บริบูรณ์
  • 6.3 ไม่มีโรคติดต่อหรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  • 6.4 มีความประพฤติดี
  • 6.5 จิตใจและร่างกายปกติ
  • 6.6 มีคุณสมบัติอื่น ๆ ครบตามมาตรา  24  แห่งระเบียบข้าราชการพลเรือน  พ.ศ.2518

7.การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

 

7.1  การสอบคัดเลือก  ประกอบด้วย การสอบข้อเขียน  และการสอบสัมภาษณ์

7.1.1  วิชาที่สอบข้อเขียน ได้แก่

(1)  วิชาภาษาอังกฤษ

(2)  วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

(3)  วิชาหัตถศึกษา

7.1.2  การสอบสัมภาษณ์

7.2  ผู้สมัครอาจสมัครเข้าเรียนเองหรือผู้ที่หน่วยราชการส่งมาศึกษา  ต่อเมื่อมีเหตุผลพิเศษ  คณะกรรมการอาจพิจารณาเพิ่มจำนวนนักศึกษาขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร

8. ระบบการศึกษา

8.1 จัดการศึกษาตามระบบหน่วยกิตทวิภาค ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล  ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี  โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น  2  ภาคการศึกษา
8.2 การคิดหน่วยกิต เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง  เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา  กล่าวคือ

  • 1.รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15  ชั่วโมง  ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ  1  หน่วยกิต
  • 2.รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า  30  –  45  ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติ  ให้มีค่าเท่ากับ  1  หน่วยกิต

9. ระยะเวลาการศึกษา

ใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตร  2  ปีการศึกษา  และให้ศึกษาตลอดหลักสูตรอย่างมากไม่เกิน  4  ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล  ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2538 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล  ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540  และระเบียบปฏิบัติคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการประเมินผลการศึกษา พ.ศ. 2545

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

 

11.1   เกณฑ์การวัดผลการศึกษา

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล  ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี  และประกาศหรือระเบียบปฏิบัติหรือข้อบังคับของโรงเรียนเทคโนโลยีทันตกรรม และคณะทันตแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

 

11.2  เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
  • 1. สอบผ่านทุกรายวิชาที่กำหนดในหลักสูตร
  • 2. ได้แต้มเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
  • 3. เป็นผู้มีความประพฤติดี เหมาะสมแก่ศักดิ์ศรีแห่งประกาศนียบัตรวิชาช่างทันตกรรม

12. อาจารย์ประจำ

 

12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร
                      ชื่อ-สกุล                                          คุณวุฒิ  (สาขาวิชา)                             สังกัด   

นอกจากนี้  ยังมีอาจารย์ผู้สอนจากคณะต่างๆ  ดังนี้

(1)    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

(2)    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

(3)    คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

(4)    วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

13. อาจารย์พิเศษ 

(จัดเรียงตามตำแหน่งทางวิชาการเริ่มต้นจาก  ศ.,  รศ.,  ผศ.  และ  อ.  ภายในกลุ่มตำแหน่งทางวิชาการเดียวกันให้เรียงตามตัวอักษร)

14.  จำนวนนักศึกษา

 

ปีการศึกษา
2551
2552
2553
2554
2555
2556
จำนวนที่คาดว่าจะรับ202020
จำนวนสะสม202020202020
จำนวนที่คาดว่าจะจบ202020

 จำนวนนักศึกษาในแต่ละปีอาจเปลี่ยนแปลงได้

15. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15.1  สถานที่

15.1.1  สำนักงานโรงเรียนช่างทันตกรรม 

อาคารพลีคลินิก ชั้น 3  คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

 

15.1.2  การเรียนทฤษฎี

  • ห้องบรรยาย อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา  ชั้น  7 คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

 

15.1.3  การเรียนปฏิบัติ  คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

  • 1. ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์
  • 2. ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน
  • 3. ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก
  • 4. ภาควิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
     
15.2 อุปกรณ์การสอน
  • 15.2.1 ชุดอุปกรณ์การปฏิบัติงานฟันเทียมบางส่วนถอดได้
  • 15.2.2 ชุดอุปกรณ์การปฏิบัติงานฟันเทียมบางส่วนติดแน่น
  • 15.2.3 ชุดอุปกรณ์การปฏิบัติงานฟันเทียมทั้งปาก
  • 15.2.4 ชุดอุปกรณ์การปฏิบัติงานฟันเทียมอะคริลิก
  • 15.2.5 ชุดอุปกรณ์การปฏิบัติงานทันตกรรมจัดฟัน
  • 15.2.6 ชุดอุปกรณ์การปฏิบัติงานทันตกรรมสำหรับเด็ก
  • 15.2.7 ชุดอุปกรณ์การปฏิบัติงานการวิชาประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร
  • 15.2.8 ชุดอุปกรณ์การปฏิบัติงานภาควิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

16.  ห้องสมุด

 

มหาวิทยาลัยมหิดลมีสำนักหอสมุดซึ่งจัดบริการห้องสมุดกระจายอยู่ในทุกพื้นที่  ห้องสมุดคณะ  และสถาบัน/วิทยาลัย  จำนวน  14  แห่ง  ที่มีการให้บริการเชื่อมโยงกันเป็นอย่างดี    สำหรับหอสมุดที่ใช้เป็นหลักในการเรียนการสอนหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะฯ  มี  2  แห่ง  ได้แก่

 

16.1   หอสมุดกลาง  สำนักหอสมุด  (ข้อมูล  ณ  วันที่  30  เมษายน  พ.ศ.2549)

16.2 ห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถี  (ข้อมูล  ณ  วันที่  22  มิถุนายน  พ.ศ.2550)

นอกจากนี้ยังมีวิทยานิพนธ์  รายงานการวิจัย  สิ่งพิมพ์  สื่อการศึกษาในรูปแบบเทปบันทึกเสียงและ  จานคอมแพคต์  วีดิทัศน์  ซีดี-รอม  วิชาการ  วารสารอิเลคทรอนิกส์  รวมทั้งฐานข้อมูลบรรณานุกรม  และฐานข้อมูลวารสาร

17.  งบประมาณ

ใช้งบประมาณจากงบประมาณแผ่นดินร่วมกับภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์  ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน  ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก  และภาควิชาอื่น  ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน

ค่าใช้จ่ายประมาณคนละ  25,000 บาท/ปี

18. หลักสูตร

ให้ระบุรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
18.1     จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  77  หน่วยกิต

18.2        โครงสร้างหลักสูตรหรือองค์ประกอบของหลักสูตร   

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 18.3  รายวิชา

เรียงลำดับรายวิชาตามหมวดวิชา  คือ  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  หมวดวิชาเฉพาะ  และหมวดวิชาเลือกเสรี ในแต่ละหมวดวิชาเรียงลำดับตามอักษรของรหัสย่อภาษาไทย  และตัวเลขรหัส

หน่วยกิตของแต่ละรายวิชาระบุเป็น  “หน่วยกิตรวม  (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า)”  กล่าวคือ  ระบุตัวเลขหน่วยกิตรวมไว้หน้าวงเล็บ ส่วนตัวเลขในวงเล็บแสดงจำนวนชั่วโมงของการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี  ภาคปฏิบัติ  และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองต่อสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษา  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

3 (2-3-5)  =  3  หน่วยกิต  (บรรยาย 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ – ปฏิบัติ 3  ชั่วโมง/สัปดาห์ – ค้นคว้าด้วยตนเอง 5 ชั่วโมง/สัปดาห์)

 

18.4     ความหมายของรหัสรายวิชาในหลักสูตร

รหัสวิชา (Course code) กำหนดไว้ 7 หลัก ประกอบด้วยอักษร 4 หลัก และตัวเลข  3 หลัก ดังนี้

  • ตัวอักษร 4 ตัว
  • ตัวอักษร 2 ตัวแรก เป็นอักษรย่อชื่อคณะ/สถาบันที่รับผิดชอบจัดการเรียนการสอน ได้แก่  ทพ – DT  หมายถึง  คณะทันตแพทยศาสตร์  Faculty of Dentistry
  • ตัวอักษร 2 ตัวหลัง เป็นอักษรย่อชื่อโรงเรียนช่างทันตกรรม  ชท – SD  หมายถึง   โรงเรียนช่างทันตกรรม  School of Dental Technician
  • ตัวเลข 3 ตัว
    • ตัวเลขหลักแรก หมายถึง ปีที่นักศึกษาจะต้องเรียน
    • ตัวเลขหลักที่ 2 หมายถึง วิชาบังคับหรือวิชาเลือกที่นักศึกษาจะต้องเรียน ได้แก่

เลข 2  แทน หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

เลข 3, 4  แทน หมวดวิชาเฉพาะ

เลข 5  แทน หมวดวิชาเลือกเสรี

  • ตัวเลขหลักที่ 3 หมายถึง เลขลำดับวิชาในแต่ละหมวดวิชา

 

ตัวอย่าง

ทพชท 121 รหัสวิชาในคณะทันตแพทยศาสตร์ ของโรงเรียนช่างทันตกรรม  ปีที่  1

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  ลำดับวิชาที่ 1

ทพชท 232  รหัสวิชาในคณะทันตแพทยศาสตร์ ของโรงเรียนช่างทันตกรรม  ปีที่  2

หมวดวิชาเฉพาะ  ลำดับวิชาที่ 2

 

หมายเหตุ   การกำหนดรหัสรายวิชาในรายวิชานอกเหนือจากของคณะทันตแพทยศาสตร์ให้ดูรายละเอียดจากคณะดังกล่าว

19. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

 

หลักสูตรกำหนดระบบการประกันคุณภาพของหลักสูตร  ประกอบด้วยประเด็นหลัก 4 ประเด็น  คือ

 

19.1  การบริหารหลักสูตร

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาช่างทันตกรรม  ประกอบด้วย  รองคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา  คณะกรรมการบริหารโรงเรียนเทคโนโลยีทันตกรรม และนักวิชาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง  ประชุมร่วมกันเพื่อติดตามการจัดการเรียนการสอน  และการวัดและประเมินผลการศึกษา

 

19.2  ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

โรงเรียนเทคโนโลยีทันตกรรม   คณะทันตแพทยศาสตร์  มีอาคารเรียน  ห้องบรรยาย  ห้องปฏิบัติการ  และคลินิก  รวมทั้งแหล่งข้อมูลการเรียนรู้  อาทิเช่น  ห้องสมุด  ระบบสารสนเทศ  ที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน

 

19.3  การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษา  มีหน้าที่ให้คำแนะนำ  ดูแลนักศึกษา  และให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในด้านต่าง ๆ

 

19.4  ความต้องการของตลาดแรงงาน  สังคม  และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

  • ช่างทันตกรรมของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาช่างทันตกรรม  เป็นที่ต้องการของประเทศชาติ  จากแผนอัตรากำลังของกระทรวงสาธารณสุข
  • โรงเรียนเทคโนโลยีทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ช่างทันตกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน

20. การพัฒนาหลักสูตร   

โรงเรียนเทคโนโลยีทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์  ปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาช่างทันตกรรมครั้งสุดท้ายเมื่อปี  2532  และมีการปรับปรุงหลักสูตรในปี  2551  และจะต้องปรับปรุงหลักสูตรทุกระยะ  5  ปีต่อๆ  ไป

21. การเปิดสอนหลักสูตรนี้ของมหาวิทยาลัยอื่น

ขณะนี้  ไม่มี  คณะ/สถาบัน  ที่เปิดสอนหลักสูตรที่คล้ายคลึงกัน  โดยได้รับการรับรองหลักสูตรจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

22. ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น

โรงเรียนเทคโนโลยีทันตกรรมเรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ  ทั้งภายในมหาวิทยาลัย  และภายนอกจากภาครัฐและภาคเอกชน  เข้ามาเป็นวิทยากรรับเชิญ  ในการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาในหลักสูตรมาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง  และส่งนักศึกษาไปดูงานบริษัทช่างทันตกรรมที่มีชื่อเสียงในประเทศ  นอกจากนี้มีความร่วมมือกับสถาบันทางการศึกษาในต่างประเทศ  ในการส่งช่างทันตกรรมทั้งระดับประกาศนียบัตร  ปริญญาตรี  และปริญญาโทจาก  Sister  University  เช่นประเทศญี่ปุ่น  สหรัฐอเมริกา  สหราชอาณาจักร  เยอรมัน  เป็นต้น

23. ความต้องการของนักศึกษาที่จบหลักสูตร

 

นักศึกษาที่จบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาช่างทันตกรรมสามารถสมัครเข้าปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งช่างทันตกรรมในคณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยต่างๆ  โรงพยาบาลทั้งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข  กระทรวงกลาโหม  กระทรวงมหาดไทย  และบริษัทช่างทันตกรรมเอกชนทั้งในประเทศ  และต่างประเทศ  เช่น  สิงคโปร์  ญี่ปุ่น

ช่างทันตกรรมผู้ที่มีความต้องการที่จะกลับเข้ามาฝึกอบรม  และพัฒนาความรู้ความสามารถอย่างต่อเนื่อง  ทั้งในหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว  และสามารถติดต่อสอบถามขอความช่วยเหลือจากคณาจารย์ได้  อีกทั้งสามารถสมัครเข้าศึกษาต่อหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีทันตกรรม  (ต่อเนื่อง  2  ปี)  ของโรงเรียนเทคโนโลยีทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

Post Views: 618