ภาษาไทย : หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Dental Surgery Program
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ : ท.บ.
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Doctor of Dental Surgery
ชื่อย่อ : D.D.S.
โครงสร้างหลักสูตร
จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 ปรากฏดังนี้
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
– กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 10 หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาภาษา 12 หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 8 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 199 หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 51 หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 14 หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน 37 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
หลักสูตรระดับปริญญาตรี ระยะเวลาศึกษา 6 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2552 และตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ พ.ศ.2557
หลักสูตรระดับปริญญาตรี ระยะเวลาศึกษา 6 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2552 และตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ พ.ศ.2557
ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
สำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า มีคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะ ดังนี้
(1) ตามระเบียบการสอบคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เช่น ระบบ TCAS ในปัจจุบัน) และ/หรือ
(2) ตามระเบียบโครงการพิเศษของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) หรือระเบียบ การสอบคัดเลือกที่มหาวิทยาลัยมหิดลหรือคณะทันตแพทยศาสตร์ดำเนินการสอบคัดเลือก
(3) คุณสมบัติเฉพาะให้เป็นไปตามมติขององค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (อ.บ.ท.ท.)
ใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตร 6 ปีการศึกษา โดยแบ่งเป็นการศึกษาระดับเตรียมทันตแพทย์ 1 ปี ระดับพรีคลินิก 2 ปี และระดับคลินิก 3 ปี และให้ศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 12 ปีการศึกษา
รับเฉพาะนักศึกษาสัญชาติไทยที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับดี เป็นไปตามระเบียบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และ/หรือตามที่คณะทันตแพทยศาสตร์ได้กำหนดเพิ่มเติม
1) ทันตแพทย์ทำงานในหน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ เอกชน หรือเปิดคลินิกอิสระ
2) ผู้ช่วยอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย อาจารย์ในระดับวิทยาลัย
3) นักวิชาการทางทันตสาธารณสุข
4) สามารถศึกษาต่อเป็นทันตแพทย์เฉพาะทางในระดับบัณฑิตศึกษาและระดับวุฒิบัตรในสาขาวิชาต่าง ๆ และศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาอื่น
1) ศูนย์ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล
2) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3) โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร มหาวิทยาลัยมหิดล
4) ปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์วิชาชีพใน โรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆตามที่คณะฯกำหนด
บัณฑิตทันตแพทยศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม ใฝ่เรียนรู้ เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน
มีการส่งเสริมการเรียนการสอนโดยเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learning centred educatation) เพื่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน (Outcome-based education) ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ และสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเอง (Constructivism) รวมทั้งส่งเสริมให้นำศักยภาพที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมได้อย่างเต็มที่
เพื่อผลิตทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ที่มีคุณลักษณะและมีความรู้ ความสามารถ ต่อไปนี้
(1) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ (Affective Domain)
(2) มีความรอบรู้ และทักษะในการจัดการดูแลรักษาทางทันตกรรมแบบองค์รวม สามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคช่องปากทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน (Cognitive / Psychomotor Domains)
(3) สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักการของกระบวนการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในงานทันตกรรม (Cognitive / Psychomotor Domains)
(4) สามารถพัฒนาตนเองเชิงวิชาชีพและเชิงปัจเจกบุคคล มีความใฝ่รู้ ปรับตัวให้พร้อมรับกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Affective / Interpersonal / Collaboration Domains)
(5) สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย (Interpersonal / Communication Domains)
PLOs | SubPLOs |
PLO1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการจัดการ การวิจัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตามหลักการการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ | ๑.๑ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องและเหมาะสมกับปัญหาที่กำหนด
๑.๒ วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ โดยใช้หลักฐานเชิง-ประจักษ์ ๑.๓ เลือกวิธีการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับตนเองในสถานการณ์ต่าง ๆ ๑.๔ ใช้ทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving) ในการแก้ไขปัญหาที่กำหนดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ๑.๕ ประเมินการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เพื่อปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ๑.๖ ประยุกต์ทักษะการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง |
PLO2 วินิจฉัยโรคช่องปาก ใบหน้า ขากรรไกรได้อย่างถูกต้อง โดยอาศัยข้อมูลที่รวบรวมได้จากผู้ป่วย ตามมาตรฐานวิชาชีพทางทันตกรรม | ๒.๑ ซักประวัติจากผู้ป่วยและญาติหรือผู้ดูแล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการวินิจฉัยโรคและเหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วย
๒.๒ ตรวจผู้ป่วยในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วย โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานทางทันตกรรม ๒.๓ เลือกการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจทางภาพรังสี และการตรวจอื่น ๆ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและความเหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วย พร้อมทั้งแปลผลจากข้อมูลดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง ๒.๔ ประเมินสภาวะผู้ป่วยทั้งทางการแพทย์และทางทันตกรรมเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ๒.๕ วินิจฉัยเบื้องต้นและพิเคราะห์แยกโรคทางทันตกรรมเพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง |
PLO3 วางแผนการรักษาทางทันตกรรมแบบองค์รวมร่วมกับผู้ป่วย และ/หรือกลุ่มสหสาขาวิชาชีพ คำนึงถึงประโยชน์และความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ | ๓.๑ ประเมินสภาวะโรคช่องปากและใบหน้าขากรรไกรเพื่อวางแผนการรักษาอย่างรอบด้าน
๓.๒ วางแผนการรักษาทางทันตกรรมให้ถูกต้องเหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยประยุกต์ใช้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม (Holistic approach) ๓.๓ ตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยให้แก่ทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ หากงานทันตกรรมอยู่เหนือระดับสมรรถนะ ของตน ๓.๔ ใช้ความรู้ทางทันตกรรมและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความคิดเห็นเชิงวิชาการเมื่อได้รับการขอคำปรึกษาจากผู้ร่วมงาน |
PLO4 จัดการและให้การดูแลรักษาทาง ทันตกรรมแบบองค์รวม ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ทันตกรรม | ๔.๑ จัดการสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อในบริเวณที่ทำหัตถการ
๔.๒ ใช้ยาได้อย่างสมเหตุผลและเหมาะสมกับภาวะของผู้ป่วย รวมทั้งจัดการต่อผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา ๔.๓ ทำหัตถการทางทันตกรรมเพื่อจัดการโรคในช่องปากและใบหน้าขากรรไกรในระดับที่เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม** และมุ่งเน้นความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ๔.๔ ประเมินผลการรักษาตามแนวทางทันตกรรมแบบองค์รวมเพื่อสะท้อนคุณภาพการรักษา นำไปสู่การปรับปรุงการรักษา ๔.๕ จัดการภาวะแทรกซ้อนทางทันตกรรมและภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่พบบ่อยในระหว่างและหลังการรักษาทางทันตกรรม ๔.๖ จัดการพฤติกรรม รวมถึงภาวะความเจ็บปวด ความเครียด และความวิตกกังวลของผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ด้วยการใช้ยาและไม่ใช้ยา |
PLO5 ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ช่องปาก ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว
และชุมชน โดยมุ่งเน้นถึงสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องตามหลักสุขภาพ องค์รวม |
๕.๑ ดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชนในระดับบุคคลโดยผ่านแนวคิดการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้
๕.๒ ให้ทันตสุขศึกษาแก่ประชาชนในระดับบุคคล ครอบครัวหรือชุมชน โดยผ่านแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ ๕.๓ ประเมินสถานการณ์สุขภาพช่องปาก ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และความสำคัญของระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ |
PLO6 สื่อสารกับผู้ป่วยและญาติหรือผู้ดูแล กลุ่มสหสาขาวิชาชีพ และสาธารณชนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ตรงตามวัตถุประสงค์ | ๖.๑ สื่อสารกับผู้ป่วยและผู้ดูแล ปรึกษาและให้คำแนะนำต่อกลุ่มสหสาขาวิชาชีพ รวมทั้งให้ข้อมูลและความรู้แก่สาธารณชนได้อย่างเหมาะสม
๖.๒ บันทึกเวชระเบียนได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล ๖.๓ อธิบายและแนะนำสภาพโรค การรักษา การป้องกัน และการดูแลกับผู้ป่วยและกลุ่มสหสาขาวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม ๖.๔ สื่อสารกับผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลอย่างมีจริยธรรม |
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตรประมาณ 600,000 บาท (ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหิดล)
https://op.mahidol.ac.th/sa/scholarship-mu
https://op.mahidol.ac.th/sa/studentloan
https://op.mahidol.ac.th/sa/studentloan-1
ชื่อแหล่งทุน | คุณสมบัติ | จำนวนทุน | จำนวนเงินทุนละ (บาท) |
ทุนตลอดหลักสูตร | |||
1.ทุนมูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก : ทุนการศึกษา | – นักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 2-6
– มีความประพฤติดี – ผลการเรียนดี | 1 ทุน | 60,000 |
2.ทุนมูลนิธิคณะทันตแพทยศาสตร์มหิดล จากกองทุนศาสตราจารย์อิศระ–ทพญ.ขนบพันธุ์ ยุกตะนันทน์ (ทุนละ 40,000 บ.) | – นักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 3-6
| 2 ทุน | 80,000 |
3.บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด : ทุนการศึกษา
| – ขาดแคลนทุนทรัพย์
– มีความประพฤติดี – ผลการเรียนดี – มีความตั้งใจที่จะศึกษา จนสำเร็จตามหลักสูตร | 1 ทุน | 25,000 |
4.ทุนมูลนิธิชวน รัตนรักษ์ | – ขาดแคลนทุนทรัพย์
– มีความประพฤติดี – ผลการเรียนดี – มีความตั้งใจที่จะศึกษา จนสำเร็จตามหลักสูตร | 1 ทุน | เบิกตามความเป็นจริง |
ทุนเฉพาะรายปี | |||
1.โครงการเงินอุดหนุนการศึกษานักศึกษา
จากงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ | – ครอบครัวประสบปัญหาฉุกเฉินทำให้ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา
– สมทบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาทันตแพทย์ที่ได้รับทุนมูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก – นักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 2-6 – ผลการเรียนดีเฉลี่ย 2.5 ขึ้นไป – ขาดแคลนทุนทรัพย์ – ความประพฤติดี | 100,000 บ. | |
2.ทุนสนับสนุนการศึกษาแก่นักศึกษา
จากกองทุนมูลนิธิคณะทันตแพทยศาสตร์มหิดล | – นักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 2-6
– ผลการเรียนดี | 5 ทุน | 5,000 |
3.ทุนการศึกษา จากกองทุนวัชรินทร์ มรรคดวงแก้ว | – นักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 2-6
– ไม่เคยสอบแก้ตัวหรือเรียนซ้ำรายวิชาใดๆ – ความประพฤติดี – ไม่ได้รับทุนการศึกษาอื่นในปีการศึกษา ที่รับทุน | 1 ทุน | 5,000
|
4.ทุนช่วยเหลือนักศึกษา จากกองทุนอาจารย์อมรา ม่วงมิ่งสุข | – นักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 1-6
– ผลการเรียนดี – ขาดแคลนทุนทรัพย์ – ความประพฤติดี | 1 ทุน | 5,000 |
5.ทุนการศึกษา จากกองทุน ดร.แพน สุ่นสวัสดิ์ | – นักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 2
– นักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 6 – ความประพฤติดี – ผลการเรียนดี | 1 ทุน
1 ทุน | 5,000
5,000 |
ชื่อแหล่งทุน | คุณสมบัติ | จำนวนทุน | จำนวนเงินทุนละ (บาท) |
6.ทุนมหาวิทยาลัยมหิดล
| – นักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 1-6
– ความประพฤติดี – ขาดแคลนทุนทรัพย์ | ปีการศึกษา 2561
ได้รับพิจารณา จำนวน 75,000 บาท | |
7.ทุนมูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี | – นักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 1-6
– ความประพฤติดี – ขาดแคลนทุนทรัพย์ | 100,000 บ. |
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 1 ธ.ค 2562
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 02 200 5000 ต่อ 7644
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ทันตแพทยศาสตร์
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร : 600,000 บาท
จำนวนที่เปิดรับ 5 คน
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. คุณสมบัติทั่วไป
1.1 เป็นผู้กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีสุดท้าย ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2566
1.2 เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี
1.3 ต้องไม่เป็นผู้รับทุนของโครงการอื่น ๆ ที่มีภาระผูกพันการศึกษาหรือปฏิบัติงาน
1.4 มีคุณสมบัติเฉพาะตามเกณฑ์ขององค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย กำหนดดังต่อไปนี้
1.4.1 ต้องมีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐได้ หลังจากจบการศึกษาแล้ว โดยต้องสามารถทำสัญญาผูกพันฝ่ายเดียว หรือสัญญาปลายเปิดกับรัฐบาล ตามระเบียบและเงื่อนไขของรัฐบาล และมหาวิทยาลัย
1.4.2 ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม ดังต่อไปนี้
1.4.2.1 มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต (psychotic disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (mood disorders) บุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorders) ชนิด antisocial personality disorders หรือ borderline personality disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
1.4.2.2 เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
1.4.2.3 เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
1.4.2.4 มีความพิการทางร่างกายอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
1.4.2.5 มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 – 2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (speech discrimination score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาท และเซลล์ประสาทการได้ยิน (sensorineural hearing loss) อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
1.4.2.6 มีความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้ว แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40 ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
1.4.2.7 มีภาวะตาพร่องสีทุกสี (total color blindness) อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
1.4.2.8 โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
ทั้งนี้สำหรับปัญหาสุขภาพหรือโรคในข้อ 1.4.2 เมื่อคณะทันตแพทยศาสตร์พิจารณาตัดสิน ให้ถือว่าผลการพิจารณาเป็นที่สิ้นสุด
2.คุณสมบัติเฉพาะ
2.1 เป็นผู้ที่มีผลการศึกษาเฉลี่ยสะสม (GPAX) ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รวม 4 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 3.50
2.2 เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวม 4 ภาคการศึกษา
วิทยาศาสตร์ | คณิตศาสตร์ | ภาษาอังกฤษ | ภาษาไทย | สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม |
≥3.50 | ≥3.50 | ≥3.50 | ≥3.00 | ≥3.00 |
2.3 เป็นผู้มีความสามารถพิเศษทางวิชาการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
2.3.1 เป็นผู้สอบผ่านการคัดเลือกในลำดับที่ 1 – 50 ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันระดับประเทศของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและมาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (โครงการโอลิมปิกมูลนิธิ สอวน.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาเคมี หรือสาขาชีววิทยา หรือ
2.3.2 เป็นผู้ผ่านการอบรมคัดเลือกครั้งที่ 2 สาขาเคมี หรือ สาขาชีววิทยา จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการโอลิมปิก สสวท.) ให้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันระหว่างประเทศ
2.4 มีผลงานทางวิชาการที่ได้รับรางวัลในระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ
2.5 มีผลการวัดความรู้ทางภาษาอังกฤษที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันรับสมัครวันสุดท้าย อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
(1) MU-GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 80
(2) MU-GRAD Plus ไม่ต่ำกว่า 90
(3) MU ELT ไม่ต่ำกว่า 84
(4) TOEFL (Internet-based test) ไม่ต่ำกว่า 80
(5) IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
3. เอกสารประกอบการสมัครผ่านระบบ Online
3.1 แฟ้มสะสะผลงาน Portfolio จัดทำเป็นไฟล์.pdf ความยาวรวมทุกส่วนไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 ประวัติส่วนตัว
ส่วนที่ 2 จดหมายรับรอง จากอาจารย์ประจำชั้น หรืออาจารย์ที่ปรึกษา หรือผู้อำนวยการโรงเรียน (Letter of recommendation) อย่างน้อย 2 ท่าน เขียนแนะนำว่าผู้สมัครมีความเหมาะสมที่จะเป็นทันตแพทย์เพราะอะไร
ส่วนที่ 3 บทความแนะนำตัว (Statement of Purpose) โดยมีความยาว ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (พิมพ์ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
ส่วนที่ 4 ผลงานทางวิชาการที่ได้รับรางวัลระดับชาติ หรือนานาชาติ ที่ผู้สมัครคิดว่ามีคุณค่า หรือมีความหมายมากที่สุด พร้อมอธิบายรายละเอียด และเหตุผลที่เลือก
ส่วนที่ 5 กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และความสามารถพิเศษ หรือ จิตอาสา ที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
3.2 สำเนาเอกสารรับรองว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2.3
3.3 หลักฐานแสดงผลการวัดความรู้ทางภาษาอังกฤษที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันรับสมัครวันสุดท้าย อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
(1) MU-GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 80
(2) MU-GRAD Plus ไม่ต่ำกว่า 90
(3) MU ELT ไม่ต่ำกว่า 84
(4) TOEFL (Internet-based test) ไม่ต่ำกว่า 80
(5) IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
3.3 รูปถ่ายดิจิทัลของผู้สมัคร เป็นรูปเดี่ยว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ สวมชุดนักเรียน พื้นหลังสีขาวหรือสีฟ้า ขนาด 1.5×2 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน และไม่ถูกปรับแต่งทางดิจิทัล มีขนาดของใบหน้าประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่รูป เป็นไฟล์นามสกุล .jpg ขนาดความกว้าง 180-500 พิกเซล และความสูง 200-600 พิกเซล ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 240 KB
3.4 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนด้านหน้าที่มีรูปของบัตร (ใช้เฉพาะด้านหน้า) บนกระดาษขนาด A4 ผู้สมัครลงลายมือชื่อ – ชื่อสกุลรับรองสำเนาถูกต้อง แล้วสแกนเป็นไฟล์นามสกุล .pdf ขนาดภาพเท่ากับ A4 ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 2 MB
* ในกรณีที่ชื่อ หรือชื่อสกุลของผู้สมัคร ตามบัตรประชาชนไม่ตรงกับสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) ให้ถ่ายเอกสารหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุลบนกระดาษ A4 แล้วสแกนเป็นไฟล์นามสกุล .pdf ขนาดภาพเท่ากับ A4 ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 2 MB โดยสแกนเป็นไฟล์เดียวกันกับบัตรประจำตัวประชาชน
3.5 สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัครบนกระดาษขนาด A4 ผู้สมัครลงลายมือชื่อ – ชื่อสกุลรับรองสำเนาถูกต้อง แล้วสแกนเป็นไฟล์นามสกุล .pdf ขนาดภาพเท่ากับ A4 ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 2 MB
3.6 สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่โรงเรียนออกให้พร้อมมีตราประทับของโรงเรียน บนกระดาษ A4 แล้วสแกนเป็นไฟล์นามสกุล .pdf หรือ (กรณีมี 2 หน้าให้สแกน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ขนาดภาพเท่ากับ A4 ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 2 MB
4. การสัมภาษณ์
1.สัมภาษณ์ แบบ Multiple mini interview (MMI) (ค่าสอบสัมภาษณ์ 2,500 บาท)
2.ทดสอบสุขภาพจิต (ค่าทดสอบสุขภาพจิตประมาณ 300 บาท)
5.การตรวจร่างกาย
ประมาณ 700 บาท (เป็นไปตามโรงพยาบาลรามาธิบดีกำหนด)
6.อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสาขาทันตแพทยศาสตร์ สามารถประกอบอาชีพเป็นทันตแพทย์ทำงานในหน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ เอกชน หรือเปิดคลินิกอิสระ ผู้ช่วยอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย อาจารย์ในระดับวิทยาลัย นักวิชาการทางทันตสาธารณสุข และสามารถศึกษาต่อเป็นทันตแพทย์เฉพาะทางในระดับบัณฑิตศึกษาและระดับวุฒิบัตรในสาขาวิชาต่าง ๆ และศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาอื่น
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 02 200 5000 ต่อ 7644
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ทันตแพทยศาสตร์
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 600,000 บาท
จำนวนที่เปิดรับ 80 คน
1. เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง มีความละเอียดรอบคอบ ซื่อสัตย์สุจริต ที่สามารถแสดงให้เห็นได้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ ขั้นตอนการสมัครสอบ การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ และตรวจสุขภาพ
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรหรือกาลังศึกษาชั้นปีสุดท้ายในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย และคาดว่าจะจบการศึกษาก่อนเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2567
3. เป็นผู้มีสัญชาติไทย
4. เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะไปปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ตามระเบียบของทางราชการ เรื่องการปฏิบัติงานชดใช้
5. ในปีการศึกษา 2566 ไม่เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย/ สถาบันการศึกษาของรัฐ ในหลักสูตร ต่อไปนี้ เว้นแต่ได้รับการอนุมัติให้ลาออกจากการศึกษาจากมหาวิทยาลัยก่อนวันที่ 25 เมษายน 2567
6. ไม่เป็นผู้ที่กำลังศึกษาเกินชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาของรัฐ ยกเว้นผู้ที่ได้รับการอนุมัติให้ลาออกจากการศึกษา โดยได้รับการอนุมัติให้ลาออกจากมหาวิทยาลัยที่ศึกษาก่อนวันที่ 10 กันยายน 2566 และผู้ที่คาดว่าจะจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาในปีการศึกษา 2566
(ผู้ที่ศึกษาเกินชั้นปีที่ 1 หมายถึง ผู้ที่มีสถานภาพนิสิต/นักศึกษาเกินกว่าชั้นปีที่ 1 อันได้แก่ ผู้ที่ได้ลงทะเบียนในรายวิชาบังคับของชั้นปีที่สูงกว่าปีที่ 1 หรือผู้ที่มีสิทธิ์ลงทะเบียนในรายวิชาบังคับตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไปแม้จะได้ ลาพัก/ได้รับอนุมัติให้ลาพักการศึกษาแล้ว)
7. ไม่เป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกและยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในสถาบันที่เข้าร่วมการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (TCAS) ปีการศึกษา 2567 (TCAS67) ในรอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือในรอบที่ 2 โควตา (Quota)
ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตามเกณฑ์ขององค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย กำหนดดังต่อไปนี้
1.1 ต้องมีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่างๆ ของรัฐได้ หลังจากจบการศึกษาแล้ว โดยต้องสามารถทำสัญญาผูกพันฝ่ายเดียว หรือสัญญาปลายเปิดกับรัฐบาล ตามระเบียบและเงื่อนไขของรัฐบาล และมหาวิทยาลัย
1.2 ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม ดังต่อไปนี้
1.3 มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต (psychotic disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (mood disorders) บุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorders) ชนิด antisocial personality disorders หรือ borderline personality disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
1.4 เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
1.5 เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
1.6 มีความพิการทางร่างกายอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
1.7 มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 – 2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (speech discrimination score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาท และเซลล์ประสาทการได้ยิน (sensorineural hearing loss) อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
1.8 มีความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้ว แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40 ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
1.9 มีภาวะตาพร่องสีทุกสี (total color blindness) อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
1.10 โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
ทั้งนี้สำหรับปัญหาสุขภาพหรือโรค เมื่อคณะทันตแพทยศาสตร์พิจารณาตัดสิน ให้ถือว่าผลการพิจารณาเป็นที่สิ้นสุด
ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติตามที่ กสพท กำหนด เข้าสอบวิชาสามัญที่จัดสอบ โดย ทปอ. และวิชาเฉพาะที่จัดสอบโดย กสพท โดยนำคะแนนมาใช้ในการประมวลผลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดรายละเอียดตามตาราง ดังนี้
วิชาที่ใช้ในการประมวลผล | ชื่อวิชา | น้ำหนักคะแนน | เงื่อนไข |
A-Level (9 วิชาสามัญ) 70% จัดสอบโดย ทปอ.
| 1. วิทยาศาสตร์ (คิดคะแนนรวมของฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา) | 40 % | – ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของคะแนนเต็มในแต่ละวิชา – ใช้คะแนนสอบวิชาสามัญ
|
2. คณิตศาสตร์ 1 | 20 % | ||
3. ภาษาอังกฤษ | 20 % | ||
4. ภาษาไทย | 10 % | ||
5. สังคมศึกษา | 10 % | ||
TPAT 1 (วิชาเฉพาะ กสพท) 30% จัดสอบโดย กสพท ในวันที่ 16 ธันวาคม 2566 วันเดียว เท่านั้น
| 1. การทดสอบศักยภาพในการเรียนรู้ ได้แก่ ความสามารถในการจับใจความ คิดวิเคราะห์สังเคราะห์ เชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผล และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2. การประเมินแนวคิดทางจริยธรรม | – ใช้คะแนนที่สอบในวันที่ 16 ธันวาคม 2566 เท่านั้น
|
1.สัมภาษณ์
2.ทดสอบสุขภาพจิต (ค่าทดสอบสุขภาพจิตประมาณ 300 บาท)
ประมาณ 700 บาท (เป็นไปตามโรงพยาบาลรามาธิบดีกำหนด)
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสาขาทันตแพทยศาสตร์ สามารถประกอบอาชีพทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน หลังจากชดใช้ทุน
เลขที่ 888 ม.6 ถ.บรมราชชนนี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
เบอร์ตรง 0-2849-6600