หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านสาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก.
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : การฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญฯ สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก
ภาษาอังกฤษ : Residency Training Program in Oral Diagnostic Sciences
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : ประกาศนียบัตรหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก
ชื่อย่อ : ป.ทันตแพทย์ประจำบ้าน (วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Certificate Residency Training in Oral Diagnostic Sciences
ชื่อย่อ : Cert. Residency Training in Oral Diagnostic Sciences
ปรัชญาของหลักสูตร
เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางสาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก และส่งเสริมพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการและวิจัยสาขานี้ให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล ใช้ขบวนการวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการวางแผนการรักษาได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิผลเต็มที่ รวมถึงการทำนายโรคเพื่อการดูแลระวังภายหลังจากการรักษา ซึ่งจะเป็ผลส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
คำนิยาม
“วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก” เป็นสาขาวิชาเฉพาะทางทันตแพทยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ พิเคราะห์และวินิจฉัย ตลอดจนการรักษาโรคโดยใช้ความรู้ และเทคโนโลยีทางเวชศาสตร์ช่องปาก พยาธิวิทยาช่องปาก และรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตทันตแพทย์ประจำบ้านสาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปากที่ยังขาดแคลน เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย ทั้งนี้ทันตแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอย่างดี และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการให้การวินิจฉัยโรคช่องปาก
2. มีความรู้ในด้านเวชศาสตร์ช่องปาก พยาธิวิทยาช่องปาก และรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโล เฟเชียล รวมทั้งสามารถบูรณาการวิชาเหล่านี้เพื่อประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรค และดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยถูกต้องเหมาะสม
3. มีความใฝ่รู้ ค้นคว้าศึกษา มีวิสัยทัศน์ในการวิเคราะห์ปัญหาด้วยตนเอง
4. มีเจตคติที่ดีต่อสังคมและวิชาชีพ ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมมีมนุษยสัมพันธ์อันดีต่อผู้อื่น
5. มีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการวิจัย
ผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- 1. เป็นผู้ได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่ทันตแพทยสภารับรอง
- 2. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 หรือมีคุณสมบัติตามข้อ 40 แห่งข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาต่างๆ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
- 3. เป็นผู้ที่ไม่มีความประพฤติเสียหาย และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ
- 4. ปฏิบัติงานทางทันตกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
ค่าลงทะเบียนเหมาจ่าย 25,000 บาท/ภาคการศึกษา
ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร 150,000 บาท (ระยะเวลา 3 ปี)
ผู้อำนวยการหลักสูตร : ศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิงวรานันท์ บัวจีบ
E-mail: waranun.bua@mahidol.ac.th
โทร. 02-200-7841
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. ภาควิชาพยาธิวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3. ภาควิชารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
งานบริหารการศึกษาหลังปริญญา
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 02 200 7634, 7641
E-mail : dtmupostgrad@mahidol.ac.th
โครงสร้างหลักสูตรและการฝึกอบรม
ภาคทฤษฎี
โดยการบรรยาย การนำเสนอทางวิชาการ การสัมมนา วารสารสโมสร การประชุมวิชาการ ใช้เวลารวมกันไม่น้อยกว่า 32 หน่วยกิต หรือ 450 ชั่วโมง ประกอบด้วย
– หมวดวิชาพื้นฐานบังคับ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต หรือ 135 ชั่วโมง
– หมวดวิชาพื้นฐานวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 13 หน่วยกิต หรือ 195 ชั่วโมง
– หมวดวิชาหลักเฉพาะทาง ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต หรือ 120 ชั่วโมง
– วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 2 หน่วยกิต
ภาคปฏิบัติ
จำนวนหน่วยกิตวิชาบังคับเฉพาะสาขา ภาคปฏิบัติ 55 หน่วยกิต การกระจาย ชั่วโมง 45 สัปดาห์ต่อปี 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รวมใช้เวลาในการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ ไม่ต่ำกว่า 2,500 ชั่วโมงในเวลา 3 ปี ทั้งนี้รวมการเรียนการอยู่เวรฉุกเฉินและการฝึกปฏิบัติงานด้วยตนเอง
ภาควิจัย
กำหนดให้มีผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งต้องตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
– รายวิชาที่ใช้บรรยายและสัมมนา 15 ชั่วโมง ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต/หรือ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติ
– รายวิชาที่ใช้ฝึกปฏิบัติและคลินิกประมาณ 30 – 45 ชั่วโมง ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต หรือ 2 – 3 ชั่วโมงเท่ากับบรรยาย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติ
แผนการฝึกอบรม
ชั้นปี | รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | |||||
1 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | ||||
วทคร 500 | ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล | (3) | บฑคร 603 | ชีวสถิติ | (3) | |
ทพผส 514 | ระเบียบวิธีวิจัย | (2) | ทพชว 624 | เทคนิคปฏิบัติงานวิจัยชีววิทยาช่องปาก | (2) | |
ทพผส 515 | ชีววิทยาช่องปาก 1 | (2) | ทพวว 806 | สัมมนาการวิเคราะห์กรณีศึกษา | (1) | |
ทพวว 801 | วินิจฉัยโรคช่องปาก 1 (พยาธิวิทยาช่องปากพื้นฐาน) | (3) | ทพวว 815 | ศัลยพยาธิวิทยาช่องปาก 2*** | 100 ชม. | |
ทพวว 802 | วินิจฉัยโรคช่องปาก 2 (เวชศาสตร์ช่องปากพื้นฐาน) | (3) | ทพวว 839 | เวชศาสตร์ช่องปากคลินิก 2*** | 100 ชม. | |
ทพวว 803
|
วินิจฉัยโรคช่องปาก 3
(รังสีวิทยาช่องปาก และแม็กซิลโลเฟเชียลพื้นฐาน) |
(3)
|
ทพวว 851 | การแปลภาพรังสี*** | (3)
|
|
ทพวว 891 | คลินิกวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก | 400 ชม. | ทพวว 855 | คลินิกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 2*** | 100 ชม. | |
ทพวว 881 | วิจัย 1 | 100 ชม. | ||||
ทพวว 892 | ศัลยพยาธิวิทยาช่องปาก 1** | 200 ชม. | ||||
ทพวว 893 | เวชศาสตร์ช่องปากคลินิก 1** | 100 ชม. | ||||
ทพวว 894 | คลินิกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 1** | 200 ชม. | ||||
หมายเหตุ ต้องเลือกเรียนรายวิชาสาขาเฉพาะทาง ซึ่งมีสัญลักษณ์ ** ซึ่งไม่ใช่สาขาวิชาที่เลือกเรียน 2 รายวิชาและเลือกเรียรายวิชาสาขาเฉพาะทาง ซึ่งมีสัญลักษณ์ *** ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่เลือกเรียน |
||||||
รวม 16 หน่วยกิต 400 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ |
รวม 6 หน่วยกิต 500 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ 100 ชั่วโมงวิจัย ยกเว้นสาขารังสีวิทยาฯ รวม 9 หน่วยกิต 500 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ 100 ชั่วโมงวิจัย |
ชั้นปี | รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | |||||||
2
(เลือกตามสาขาเฉพาะทาง)
|
ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | ||||||
สาขาพยาธิวิทยาช่องปาก | สาขาพยาธิวิทยาช่องปาก | |||||||
ทพวว 804 | สัมมนาพยาธิวิทยาคลินิก 1 | (1) | ทพผส 702 | จิตวิทยาและจรรยาบรรณ | ||||
ทพวว 811 | วารสารสัมมนาทางพยาธิวิทยาช่องปาก | (2) | ทพวว 805 | สัมมนาพยาธิวิทยาคลินิก 2 | ||||
ทพวว 812 | วิธีการทางพยาธิวิทยาขั้นสูง | (2) | ทพวว 810 | สัมมนาจุลพยาธิวิทยาช่องปากขั้นสูง | ||||
ทพวว 813 | พยาธิวิทยาคลินิกขั้นสูง | (2) | ทพวว 817 | ศัลยพยาธิวิทยาช่องปาก 4 | ||||
ทพวว 816 | ศัลยพยาธิวิทยาช่องปาก 3 | 300 ชม. | ทพวว 821 | พยาธิกายวิภาคศาสตร์ 2 | ||||
ทพวว 820 | พยาธิกายวิภาคศาสตร์ 1 | 130 ชม. | ทพวว 883 | วิจัย 3 | ||||
ทพวว 882 | วิจัย 2 | 100 ชม. | ||||||
รวม 7 หน่วยกิต 430 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ 100 ชั่วโมงวิจัย | รวม 4 หน่วยกิต 480 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ 100 ชั่วโมงวิจัย | |||||||
สาขาเวชศาสตร์ช่องปาก | สาขาเวชศาสตร์ช่องปาก | |||||||
ทพวว 804 | สัมมนาพยาธิวิทยาคลินิก 1 | (1) | ทพผส 702 | จิตวิทยาและจรรยาบรรณ | (1) | |||
ทพวว 830 | อายุรศาสตร์ทั่วไป | (1) | ทพวว 805 | สัมมนาพยาธิวิทยาคลินิก 2 | (1) | |||
ทพวว 831 | เภสัชวิทยาสำหรับเวชศาสตร์ช่องปาก | (1) | ทพวว 833 | สัมมนาเวชศาสตร์ช่องปากคลินิก
และการวินิจฉัยโรคช่องปาก 2 |
(1) | |||
ทพวว 832 | สัมมนาเวชศาสตร์ช่องปากคลินิก
และการวินิจฉัยโรคช่องปาก 1 |
(1) | ทพวว 837 | เวชศาสตร์ช่องปากขั้นสูง 3 | (1) | |||
ทพวว 835 | เวชศาสตร์ช่องปากขั้นสูง 1 | (1) | ทพวว 841 | เวชศาสตร์ช่องปากคลินิก 4 | 400 ชม. | |||
ทพวว 836 | เวชศาสตร์ช่องปากขั้นสูง 2 | (1) | ทพวว 883 | วิจัย 3 | 100 ชม. | |||
ทพวว 840 | เวชศาสตร์ช่องปากคลินิก 3 | 400 ชม. | ||||||
ทพวว 882 | วิจัย 2 | 100 ชม. | ||||||
รวม 6 หน่วยกิต 400 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ 100 ชั่วโมงวิจัย | รวม 4 หน่วยกิต 400 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ 100 ชั่วโมงวิจัย | |||||||
สาขารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล | สาขารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล | |||||||
ทพวว 804 | สัมมนาพยาธิวิทยาคลินิก 1 | (1) | ทพผส 702 | จิตวิทยาและจรรยาบรรณ | (1) | |||
ทพวว 850 | รังสีฟิสิกส์ | (1) | ทพวว 805 | สัมมนาพยาธิวิทยาคลินิก 2 | (1) | |||
ทพวว 852 | รังสีชีววิทยา | (1) | ทพวว 854 | สัมมนารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 2 | (1) | |||
ทพวว 853 | สัมมนารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 1 | (1) | ทพวว 857 | คลินิกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 4 | 400 ชม. | |||
ทพวว 856 | คลินิกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 3 | 400 ชม. | ทพวว 883 | วิจัย 3 | 100 ชม. | |||
ทพวว 882 | วิจัย 2 | 100 ชม. | ||||||
รวม 5 หน่วยกิต 400 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ 100 ชั่วโมงวิจัย | รวม 3 หน่วยกิต 400 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ 100 ชั่วโมงวิจัย |
ชั้นปี | รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | ||||||
3
(เลือกตามสาขาเฉพาะทาง) |
ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | |||||
สาขาพยาธิวิทยาช่องปาก | สาขาพยาธิวิทยาช่องปาก | ||||||
ทพวว 818 | ศัลยพยาธิวิทยาช่องปาก 5 | 345 ชม. | ทพวว 814 | ตจพยาธิวิทยา | 45 ชม. | ||
ทพวว 807 | การนำเสนอและรายงานกรณีผู้ป่วยที่สมบูรณ์ | (1) | ทพวว 819 | ศัลยพยาธิวิทยาช่องปาก 6 | 300 ชม. | ||
ทพวว 884 | วิจัย 4 | 100 ชม. | ทพวว 885 | วิจัย 5 | 100 ชม. | ||
รวม 1 หน่วยกิต 345 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ 100 ชั่วโมงวิจัย | รวม 345 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ 100 ชั่วโมงวิจัย | ||||||
สาขาเวชศาสตร์ช่องปาก | สาขาเวชศาสตร์ช่องปาก | ||||||
ทพวว 834 | สัมมนาเวชศาสตร์ช่องปากคลินิก
และการวินิจฉัยโรคช่องปาก 3 |
(1) | ทพวว 843 | เวชศาสตร์ช่องปากคลินิก 6 | 400 ชม. | ||
ทพวว 807 | การนำเสนอและรายงานกรณีผู้ป่วยที่สมบูรณ์ | (1) | ทพวว 885 | วิจัย 5 | 100 ชม. | ||
ทพวว 842 | เวชศาสตร์ช่องปากคลินิก 5 | 400 ชม. | |||||
ทพวว 884 | วิจัย 4 | 100 ชม. | |||||
รวม 2 หน่วยกิต 400 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ 100 ชั่วโมงวิจัย | รวม 400 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ 100 ชั่วโมงวิจัย | ||||||
สาขารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล | สาขารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล | ||||||
ทพวว 807 | การนำเสนอและรายงานกรณีผู้ป่วยที่สมบูรณ์ | (1) | ทพวว 859 | คลินิกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 6 | 400 ชม. | ||
ทพวว 858 | คลินิกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 5 | 400 ชม. | ทพวว 885 | วิจัย 5 | 100 ชม. | ||
ทพวว 884 | วิจัย 4 | 100 ชม. | |||||
รวม 1 หน่วยกิต 400 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ 100 ชั่วโมงวิจัย | รวม 400 ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ 100 ชั่วโมงวิจัย |
คำอธิบายรายวิชา
ระเบียบวิธีวิจัย หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Research Methodology 2 (2-0)
ศึกษาระเบียบวิธีและขั้นตอนในการทำวิจัยประเภทต่างๆ ซึ่งได้แก่ การวิจัยทางคลินิก (Clinical Research) การวิจัยทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory Research) ศึกษาการนำขบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการออกแบบงานวิจัย การตั้งสมมติฐานการวิจัย ศึกษาเทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูลการจัดกระทำข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัย เกณฑ์การประเมินผล เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ศึกษาวิเคราะห์อภิปราย ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ โดยนักศึกษาจะต้องเขียนโครงร่างงานวิจัยและรายงานผลการวิจัย เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และทักษะในการทำวิจัยด้วย
ชีววิทยาช่องปาก 1 หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Oral Biology 1 2 (2-0)
ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง การเจริญและพัฒนา หน้าที่ ความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน และที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบอื่น ๆ ของเนื้อเยื่อชนิดต่าง ๆ ในช่องปาก ซึ่งได้แก่ mineralized tissue เยื่อบุช่องปาก อวัยวะปริทันต์ ต่อมน้ำลายและน้ำลาย ทั้งในสภาพปกติและที่เป็นโรค รวมทั้งระบบจุลชีพในช่องปาก
ชีวสถิติ หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Biostatistics 3 (3-0)
ศึกษาความรู้พื้นฐานทางสถิติ เช่น ประชากรและตัวแทน การวิเคราะห์ ข้อมูลเบื้องต้นจากตัวแทนการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย การนำ เสนอข้อมูลเบื้องต้น ความน่าจะเป็นของตัวแปร การ กระจายแบบต่าง ๆ ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน การประมาณค่าเป็นรายข้อมูลและเป็นช่วง ศึกษาเน้นหนักถึงหัวข้อเรื่องการทดสอบมาตรฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนจากตัวแทนด้วยวิธีที่เหมาะสม การวิเคราะห์ความแปรปรวน การจำแนกแบบทางเดียวและสองทาง การวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบไม่มีพารามิเตอร์ โดยใช้ตัวอย่างข้อมูลทางการแพทย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้จากวิธีสถิติมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยทางการแพทย์และที่เกี่ยวข้องได้
จิตวิทยาและจรรยาบรรณ หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Psychology and Ethics 1 (1-0)
ศึกษาถึงจิตวิทยาของผู้ป่วยในการรักษาทางทันตกรรม การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีพทางทันตแพทย์ไปใช้ในด้านจิตวิทยาเป็นการส่งเสริมการรักษาแก้ไขความผิดปกติของผู้ป่วย ศึกษาถึงการใช้หลักการทางจิตวิทยา เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการป้องกันความผิดปกติและโรคในช่องปากที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยชี้แจงอธิบายถึง สาเหตุ การวินิจฉัย และความสัมพันธ์ของสุขภาพ ความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นศึกษาถึงหลักการของ “จริยธรรม” ในสาขาวิชาชีพทันตแพทย์ และให้ผู้เข้าศึกษาอบรมตระหนักและยึดมั่นในหลักการของจริยธรรม เพื่อถือปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพทันตแพทย์ต่อไป
ชีววิทยาช่องปาก 2 หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Oral Biology II 1 (1-0)
การเจริญและพัฒนาของปากและใบหน้า ระบบ motor และ sensory ของช่องปาก ซึ่งจะรวมถึงโครงสร้างและหน้าที่ของประสาทและกล้ามเนื้อของปากและใบหน้า
กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์บริเวณศีรษะและคอ หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Applied Anatomy of Head and Neck 1 (1-0)
ศึกษาเกี่ยวกับระบบโครงสร้างต่าง ๆ ของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณศีรษะและคอ รวมทั้งหน้าที่ของระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท และอวัยวะต่าง ๆ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์สำหรับการบำบัดทาง
ทันตกรรม
จุลชีววิทยาและอิมมิวโนวิทยาช่องปากขั้นสูง หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Advanced Oral Microbiology and Immunology 2 (2-0)
นิเวศวิทยาของจุลินทรีย์ในช่องปากและกลไกการตอบสนองของร่างกาย การเกิดคราบจุลินทรีย์และบทบาทในการทำให้เกิดโรค จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคฟันผุและโรคปริทันต์ และจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้ออื่นๆ ที่สำคัญทางทันตกรรม การใช้วิธีการจุลชีววิทยา เพื่อช่วยตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อในช่องปาก และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์เพื่อการค้นคว้าและวิจัยต่อไปได้
ชีวเคมีช่องปาก หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Oral Biochemistry 2 (2-0)
หลักการและวิธีการนำความรู้เบื้องต้นทางชีวเคมีมาประยุกต์ใช้กับความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาของช่องปาก หลักการของเทคนิคและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้กันมากในการวิจัยค้นคว้าทางชีวเคมี ทบทวนโครงสร้างคุณสมบัติทางชีวภาพและเมตาบอลิสมของชีวโมเลกุล ความสำคัญของอาหารต่อสภาพของช่องปากและระบบอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำความรู้เรื่องโภชนาการไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทันตแพทยศาสตร์ และการพัฒนาสารเคมีต่างๆ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยบำบัดรักษาและป้องกันโรคในช่องปากการใช้ฟลูออไรด์ในทางทันตกรรมป้องกัน
วินิจฉัยโรคช่องปาก 1 (พยาธิวิทยาช่องปากพื้นฐาน) หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ)
Oral Diagnosis 1 (Basic Oral Pathology) 3 (3-0)
ศึกษาพื้นฐานของสาเหตุ พยาธิกำเนิดและพยาธิสภาพของโรคต่างๆในช่องปากและอวัยวะโดยรอบที่เกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพที่พบในคลินิก
วินิจฉัยโรคช่องปาก 2 (เวชศาสตร์ช่องปากพื้นฐาน) หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Oral Diagnosis 2 (Basic Oral Medicine) 3 (3-0)
สัมมนาและประชุมปรึกษาการตรวจ การประเมินปัญหาผู้ป่วย บันทึกประวัติผู้ป่วยทางการแพทย์และทางทันตกรรม การตรวจทางห้องปฎิบัติการ และการใช้พื้นฐานความรู้ทางวิทยาการวินิจฉัยในการวินิจฉัยโรคและการวางแผนการรักษา
วินิจฉัยโรคช่องปาก 3 (รังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลพื้นฐาน) หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Oral Diagnosis 3 (Basic Oral and Maxillofacial Radiology) 3 (3-0)
ทบทวนการเกิดภาพรังสีทั้งระบบฟิล์มและระบบดิจิทัล ศึกษาหลักการพื้นฐานทางรังสีฟิสิกส์และการป้องกันอันตรายจากรังสี หลักการพื้นฐานในการแปลผลภาพรังสี ทบทวนเทคนิคการถ่ายภาพรังสีของช่องปากและใบหน้าขากรรไกรด้วยเทคนิคต่างๆในปัจจุบัน ข้อผิดพลาดและวิธีแก้ไขภาพรังสีในงานทันตกรรม ลักษณะทางภาพรังสีของตำแหน่งหมายกายวิภาคที่ปกติ การแปลภาพรังสีของช่องปากและใบหน้าขากรรไกรของภาวะวิกลระหว่างพัฒนา สภาวะการติดเชื้อ ภยันตรายต่อฟัน ช่องปากและใบหน้าขากรรไกร รอยโรคของถุงน้ำและรอยโรคคล้ายถุงน้ำ รอยโรคเนื้องอกและรอยโรคคล้ายเนื้องอกชนิดต่างๆ โรคทางระบบ รอยโรคและความผิดปกติที่เกิดขึ้นในบริเวณโพรงอากาศขากรรไกรบนและข้อต่อขากรรไกร ภาพรังสีในงานทันตกรรมรากเทียม การควบคุมคุณภาพของภาพรังสีและการป้องกันการติดเชื้อ รวมทั้งภาพรังสีในงานทันตนิติวิทยา
สัมมนาพยาธิวิทยาคลินิก 1 หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Clinico-Pathological Conferences 1 1 (1-0)
วิเคราะห์กรณีศึกษาของรอยโรคและความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดในบริเวณช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลโดยการศึกษาทั้งลักษณะทางคลินิก ลักษณะทางรังสีวิทยา และลักษณะเนื้อเยื่อทางพยาธิวิทยาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยแยกโรคและการรักษา
สัมมนาพยาธิวิทยาคลินิก2 หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Clinico-Pathological Conferences 2 1 (1-0)
วิเคราะห์กรณีศึกษาของรอยโรคและความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดในบริเวณช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล โดยการศึกษาทั้งลักษณะทางคลินิก ลักษณะทางรังสีวิทยา และลักษณะเนื้อเยื่อทางพยาธิวิทยาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยแยกโรคและการรักษา
ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Cell and Molecular Biology 3 (3-0)
โครงสร้างและหน้าที่ชองเซลล์ ชีวิตและการส่งผ่านข้อมูลภายในเซลล์ การส่งผ่านพลังงานในระบบชีวภาพ การส่งสัญญาณของเซลล์ การแบ่งตัวของเซลล์ การพัฒนาเป็นเซลล์ชนิดจำเพาะ การตายและการพัฒนาของเซลล์
สัมมนาการวิเคราะห์กรณีศึกษา หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Case Analysis Seminar 1 (1-0)
วิเคราะห์กรณีศึกษาของรอยโรคและความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดในบริเวณช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล โดยเน้นกระบวนการวินิจฉัยแยกโรค การวินิจฉัยโรค และการรักษา สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์กรณีศึกษาต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
อายุรศาสตร์ทั่วไป หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
General Medicine 1 (1-0)
สัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบ สาเหตุอาการแสดงการตรวจวินิจฉัย การวางแผนรักษาและการส่งต่อผู้ป่วย รวมทั้งการดูแลผู้ป่วยทางทันตกรรมที่มีโรคทางระบบทั้งในภาวะฉุกเฉินและปกติ
เภสัชวิทยาสำหรับเวชศาสตร์ช่องปาก หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Pharmacology for Oral Medicine 1 (1-0)
ศึกษาทางเภสัชวิทยาของตัวยาที่ใช้ทางเวชศาสตร์ช่องปาก ทั้งในด้านโครงสร้างและคุณสมบัติทางเคมี ปฏิกิริยา ผลข้างเคียง รวมทั้งเภสัชจลนศาสตร์
เวชศาสตร์ช่องปากขั้นสูง 1 หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Advanced Oral Medicine 1 1 (1-0)
ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพ ในระบบการทำงานของร่างกายเมื่อเกิดโรค ครอบคลุมถึงสาเหตุ พยาธิสภาพ และการเปลี่ยนแปลงในระบบนั้น ที่มีผลทำให้เกิดอาการแสดงต่างๆ ในช่องปาก เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดอาการดังกล่าว
สัมมนาเวชศาสตร์ช่องปากคลินิกและการวินิจฉัยโรคช่องปาก 1 หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Clinical Oral Medicine and Oral Diagnosis Seminar 1 1 (1-0)
สัมมนาเกี่ยวกับการตรวจร่างกายทั่วไป โรคในช่องปาก การตรวจวินิจฉัย กลไกการเกิดโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการประเมินผล เพื่อให้ได้การวินิจฉัยโรค การวางแผนการรักษา การรักษาและการติดตามการรักษาการใช้เทคโนโลยีในงานวินิจฉัยโรค
เวชศาสตร์ช่องปากขั้นสูง 2 หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Advanced Oral Medicine 2 1 (1-0)
การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคในช่องปากที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อและรอยโรคที่เป็นผลมาจากภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ อาการแสดงของโรคในช่องปาก และอวัยวะข้างเคียง การอ่านผลชิ้นเนื้อเบื้องต้น สรีรชีวพยาธิวิทยาของผิวหนังและเยื่อเมือกช่องปาก พยาธิชีววิทยาของเนื้องอก การวินิจฉัย และการวินิจฉัยแยกโรค และการดูแลรักษา
สัมมนาเวชศาสตร์ช่องปากคลินิกและการวินิจฉัยโรคช่องปาก 2 หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Clinical Oral Medicine and Oral Diagnosis Seminar 2 1 (1-0)
สัมมนาเกี่ยวกับโรคเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากโดยการรวบรวมจากบทความจากวารสารและสรุปการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับโรคนั้นๆ สัมพันธ์กับการดูแลผู้ป่วยในคลินิก รวมทั้งการประเมินผลจากการรักษาเทียบกับการรักษาจากที่มีรายงาน
เวชศาสตร์ช่องปากขั้นสูง 3 หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Advanced Oral Medicine 3 1 (1-0)
การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุอาการแสดงของเนื้องอกของเยื่อบุผิวในช่องปาก และอวัยวะข้างเคียง โรคระบบที่เกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆในช่องปากและการรักษาทางทันตกรรม การจัดการกับผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคทางระบบ และการประสานการรักษากับบุคคลากรทางการแพทย์อื่นๆ
สัมมนาเวชศาสตร์ช่องปากคลินิกและการวินิจฉัยโรคช่องปาก 3 หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Clinical Oral Medicine and Oral Diagnosis Seminar 3 1 (1-0)
สัมมนาเกี่ยวกับพยาธิสรีระวิทยาของโรคระบบที่เกี่ยวของกับปัญหาในช่องปากและงานทันตกรรม การประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีโรคระบบ รูปแบบของการรักษาโรคทั่วไป
สัมมนาจุลพยาธิวิทยาช่องปากขั้นสูง หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Advanced Oral Histopathology Seminar 2 (2-0)
สัมมนาทางพยาธิสภาพและจุลพยาธิวิทยาของ รอยโรคในช่องปาก โดยเน้นถึงขบวนการที่นำมาใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งการวินิจฉัยโรคจำเพาะ (Definitive diagnosis) รวมทั้งแนวคิดและการใช้ข้อมูลประกอบอื่นๆตลอดจนการเสนอแนะการวางแผนการรักษา การดำเนินของโรคและการป้องกัน
วารสารสัมมนาทางพยาธิวิทยาช่องปาก หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Oral Pathology Journal Club 2 (2-0)
ศึกษาโดยการนำเสนอบทความจากวารสารที่เกี่ยวข้องกับพยาธิวิทยาช่องปาก โดยสามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ เสนอแนะและสรุปบทความได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
วิธีการทางพยาธิวิทยาขั้นสูง หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Advanced Methods in Pathology 2 (2-0)
ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการที่ก้าวหน้าทางพยาธิวิทยา ซึ่งจะช่วยให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของเซลล์และเนื้อเยื่อที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีพยาธิสภาพจนถึงระดับโมเลกุล และ DNA โดยเน้นทางเทคนิค วิธีการทำ การแปลผลตลอดจนการประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค การรักษา และการป้องกัน
พยาธิวิทยาคลินิกขั้นสูง หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Advanced Clinical Pathology 2 (2-0)
ศึกษาการเลือก สั่ง และแปลผลการศึกษาจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการคลินิก เกี่ยวกับของเหลวจากร่างกาย และการใช้ข้อมูลระดับของอิเล็คโตรไลท์ เอ็นไซม์ และซีรัม ช่วยในการวินิจฉัยโรค รวมทั้งการเลือกใช้และแปลผล
รังสีฟิสิกส์ หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Radiation Physics 2 (2-0)
ศึกษาหลักการพื้นฐานทางรังสีฟิสิกส์ ได้แก่ การเกิดรังสีเอกซ์ ปฏิกริยาของรังสีเอกซ์เมื่อกระทบวัตถุ คุณสมบัติทางฟิสิกส์ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์และด้านทันตแพทย์เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค อันได้แก่ หลักการเกี่ยวกับฟลูออโรสโคปี แองจิโอกราฟฟี ภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ทั้งที่ใช้ในทางการแพทย์และทางทันตกรรม ภาพเอ็มอาร์ ภาพบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นต้น
การแปลภาพรังสี หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Radiographic Interpretation 3 (3-0)
การใช้ภาพรังสีและการประยุกต์ใช้ภาพรังสีชนิดต่างๆ ในการแปลผลรอยโรคที่เกิดขึ้นกับช่องปากและใบหน้าขากรรไกร ภยันตรายต่อฟัน กะโหลกศีรษะใบหน้าและขากรรไกร การติดเชื้อ ความผิดปกติชนิดต่างๆของเนื้อเยื่อแข็งที่ปรากฏในภาพรังสี เนื้องอกชนิดไม่ร้าย และชนิดร้าย รอยโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อไฟบรัสที่ปะปนกับกระดูกและรอยโรคอื่นๆที่ยังไม่ทราบสาเหตุ ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเจริญเติบโต และโรคทางระบบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับโพรงอากาศขากรรไกรบน ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร นอกจากนี้ยังศึกษาถึงเทคนิคและการวินิจฉัยโรคด้วยการฉีดสารเข้าต่อมน้ำลาย เทคนิคและการวินิจฉัยโรคโดยการฉีดสารเข้าในข้อต่อขากรรไกร
รังสีชีววิทยา หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Radiation Biology 1 (1-0)
ศึกษาผลทางชีววิทยาของรังสีเอกซ์ที่ใช้ทั้งในด้านรังสีวินิจฉัย และรังสีรักษา ศึกษาการบริหารและจัดการคลินิกรังสีวิทยา การคำนึงถึงความปลอดภัยจากการใช้รังสีที่มีต่อตัวบุคคล สังคมและชุมชนตลอดจนสิ่งแวดล้อม ศึกษาหน่วยวัดรังสี วิธีการวัดปริมาณรังสี หลักการทางรังสีรักษา การควบคุมการติดเชื้อจากการถ่ายภาพรังสี
สัมมนารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 1 หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Oral and Maxillofacial Radiology Seminar 1 1 (1-0)
นำเสนอการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับรอยโรคต่างๆที่เกิดขึ้นในกระดูกใบหน้าและขากรรไกร รวมถึงทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆในด้านรังสีทันตกรรม
สัมมนารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 2 หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Oral and Maxillofacial Radiology Seminar 2 1 (1-0)
นำเสนอ ทบทวนและสัมมนาเกี่ยวกับกรณีผู้ป่วยขั้นสูง เป็นกรณีศึกษาซึ่งปรากฏรอยโรคในภาพรังสีที่ซับซ้อนขึ้น เพื่อนำไปสู่การตรวจพิเคราะห์ การวินิจฉัยและการพยากรณ์โรคได้ถูกต้อง การทบทวนและวิเคราะห์บทความทางด้านทันตแพทย์ ด้านการแพทย์ รวมถึงบทความทางด้านพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาการ และศึกษาถึงการใช้สถิติในการวิจัยแบบต่างๆดังกล่าว
การนำเสนอ และรายงานกรณีผู้ป่วยที่สมบูรณ์ หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Complete Case Report and Presentation 1 (1-0)
นำเสนอกรณีผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวินิจฉัย วางแผนการรักษา และติดตามผลการรักษาอย่างสมบูรณ์ โดยสามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และจัดทำรายงานกรณีผู้ป่วยอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
เทคนิคปฎิบัติงานวิจัยชีววิทยาช่องปาก หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Laboratory Techniques for Oral Biology Research 2 (1-3)
หลักการและวิธีการใช้เครื่องมือชนิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางชีววิทยาช่องปากและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สเปคโตรสโคปี อิออนอนาลิซิส เซนตริฟิวเกชั่น การเพาะเลี้ยงเซลล์ การแยกและวิเคราะห์ด้วยโครมาโตกราฟี อิเลคโตรฟอริซิส เทคนิคต่างๆ ทางชีววิทยาโมเลกุล จุลชีววิทยา อิมมูโนวิทยา อิมมูโนฮิสโตเคมี เลเซอร์โดปปลอร์ อิเล็กตรอนไมโครสโคป และการวิจัยในสัตว์ทดลอง จริยธรรมการวิจัย
คอมพิวเตอร์ประยุกต์ทางทันตแพทยศาสตร์ หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Computer Application in Dental Education 1 (1-0)
เพื่อประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานวิจัย หรืองานวิทยานิพนธ์สำหรับทันตแพทย์ เนื้อหาครอบคลุมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์, การสืบค้นข้อมูลทางทันตกรรม การจัดทำฐานข้อมูล การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการเขียนวิทยานิพนธ์ การใช้โปรแกรมการคำนวนทางสถิติ การทำกราฟฟิกและการเขียนเว็บเพจเบื้องต้น
ภาษาอังกฤษ หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
English 2 (1-2)
เป็นการบรรยายโดยอาจารย์ซึ่งคณะฯ เชิญเป็นอาจารย์พิเศษ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถอ่านและเข้าใจวารสารทางการแพทย์ที่เป็นภาษาอังกฤษ สามารถเขียนบทความเป็นภาษาอังกฤษ ฟังและสนทนาอังกฤษในระดับใช้งานได้ การศึกษาวิชาภาษาอังกฤษนี้ได้กำหนดให้นักศึกษาต้องแปลและย่อวารสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ไม่น้อยกว่า 12 เรื่อง
การถ่ายภาพช่องปาก หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Oral Photography 1 (0-2)
ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆ ของกล้องถ่ายภาพแบบธรรมดาและแบบดิจิทอล ฟิล์มและเลนส์ ฝึกหัดถ่ายภาพในช่องปากที่มีคุณภาพเพื่อการนำเสนออย่างมีจริยธรรม
ทันตกรรมป้องกันขั้นสูง หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Advanced Preventive Dentistry 2 (2-0)
ศึกษาการป้องกันโรคในช่องปาก เช่น โรคฟันผุ โรคปริทันต์ เป็นต้น รวมทั้งมีการอภิปรายถึงการดำเนินการป้องกันโรคในช่องปากในชุมชน
วิทยาการระบาดของโรคในช่องปาก หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
Epidemiology of Oral Diseases 2 (2-0)
ศึกษาถึงหลักวิทยาการระบาดทั่วไปที่นำมาใช้ในการศึกษาในช่องปาก เช่น โรคฟันผุ โรคปริทันต์ เป็นต้น รวมทั้งมีการอภิปรายถึงปัญหาและการดำเนินการแก้ไขของโรคในช่องปาก
คลินิกวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก ชั่วโมง
Oral Diagnostic Sciences Clinic 400
การฝึกปฏิบัติให้การตรวจผู้ป่วยในคลินิกผู้ป่วยนอก เริ่มต้นจากการซักประวัติทางการแพทย์และทันตกรรม ซักอาการสำคัญที่ผู้ป่วยร้องทุกข์ หาสาเหตุของโรคและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโรค บันทึกสภาวะของช่องปากและอวัยวะข้างเคียงที่เกี่ยวข้องบันทึกภาพถ่ายและภาพถ่ายรังสี การทำแบบจำลองฟัน บันทึกการอ่านภาพรังสี ให้การพิเคราะห์โรคทั้งทางคลินิกและห้องปฏิบัติการ การพยากรณ์โรค การวางแผนการรักษาขั้นต้น และกระตุ้นผู้ป่วยให้เห็นความสำคัญของอนามัยในช่องปากและสอนการทำความสะอาดในช่องปาก
เวชศาสตร์ช่องปากคลินิก 1 ชั่วโมง
Oral Medicine Clinic 1 200
การให้การวินิจฉัยและรักษาในผู้ป่วยที่มีปัญหาของเนื้อเยื่ออ่อนบุช่องปากการประเมินผลการหายภายหลังการรักษาเบื้องต้น การวางแผนการรักษาขั้นแก้ไขเพิ่มเติม การให้การรักษาอื่นรวมกับทันตแพทย์ต่างสาขา เพื่อส่งเสริมผลการรักษาขั้นแก้ไข เช่น การขูดหินน้ำลาย การรักษารากฟัน การปรับการสบฟัน การทำเฝือกฟัน การใส่ฟันปลอมชั่วคราว การทำเฝือกสบฟัน
เวชศาสตร์ช่องปากคลินิก 2 ชั่วโมง
Oral Medicine Clinic 2 100
การฝึกอบรมทางคลินิกเบื้องต้นในด้านการตรวจพิเคราะห์แยกโรคและการวินิจฉัยโรค วางแผนการรักษาและบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการในช่องปาก และ/หรือ อาการในช่องปากที่เกี่ยวข้องกับ โรคทางระบบ
เวชศาสตร์ช่องปากคลินิก 3 ชั่วโมง
Oral Medicine Clinic 3 400
การฝึกอบรมทางคลินิกในด้านการตรวจพิเคราะห์แยกโรคและการวินิจฉัยโรค วางแผนการรักษาและบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการในช่องปาก และ/หรือ อาการในช่องปากที่เกี่ยวข้องกับ โรคทางระบบทั้งในและนอกสถานที่
เวชศาสตร์ช่องปากคลินิก 4 ชั่วโมง
Oral Medicine Clinic 4 400
การฝึกอบรมทางคลินิกในด้านการตรวจพิเคราะห์แยกโรคและการวินิจฉัยโรค วางแผนการรักษาและบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการในช่องปาก และ/หรือ อาการในช่องปากที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบทั้งในและนอก สถานที่
เวชศาสตร์ช่องปากคลินิก 5 ชั่วโมง
Oral Medicine Clinic 5 400
การฝึกอบรมทางคลินิกเพื่อให้มีความชำนาญในด้านการตรวจพิเคราะห์แยกโรคและการวินิจฉัยโรค วางแผนการรักษาและบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการในช่องปาก และ/หรือ อาการในช่องปากที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบทั้งในและนอกสถานที่ รวมทั้งการอภิปรายและนำเสนอรายงานผู้ป่วย
เวชศาสตร์ช่องปากคลินิก 6 ชั่วโมง
Oral Medicine Clinic 6 400
การฝึกอบรมทางคลินิกเพื่อให้มีความชำนาญในด้านการตรวจพิเคราะห์แยกโรคและการวินิจฉัยโรค วางแผนการรักษาและบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการในช่องปาก และ/หรือ อาการในช่องปากที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบ รวมทั้งการรายงานผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างสมบูรณ์
ศัลยพยาธิวิทยาช่องปาก 1 ชั่วโมง
Surgical Oral Pathology 1 200
การฝึกปฏิบัติให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความสามารถให้การวินิจฉัยในระดับจุลพยาธิสภาพของขบวนการของโรคของเนื้อเยื่อในช่องปากและเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียง
ศัลยพยาธิวิทยาช่องปาก 2 ชั่วโมง
Surgical Oral Pathology 2 100
การฝึกปฏิบัติให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความสามารถให้การวินิจฉัยในระดับจุลพยาธิสภาพของขบวนการของโรคของเนื้อเยื่อในช่องปากและเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียง
ศัลยพยาธิวิทยาช่องปาก 3 ชั่วโมง
Surgical Oral Pathology 3 300
การฝึกปฏิบัติให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความสามารถให้การวินิจฉัยในระดับจุลพยาธิสภาพของขบวนการของโรคของเนื้อเยื่อในช่องปากและเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียง
ศัลยพยาธิวิทยาช่องปาก 4 ชั่วโมง
Surgical Oral Pathology 4 400
การฝึกปฏิบัติให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความสามารถให้การวินิจฉัยในระดับจุลพยาธิสภาพของขบวนการของโรคของเนื้อเยื่อในช่องปากและเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียง
ศัลยพยาธิวิทยาช่องปาก 5 ชั่วโมง
Surgical Oral Pathology 5 315
การฝึกปฏิบัติให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความสามารถให้การวินิจฉัยในระดับจุลพยาธิสภาพของขบวนการของโรคของเนื้อเยื่อในช่องปากและเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียง
ศัลยพยาธิวิทยาช่องปาก 6 ชั่วโมง
Surgical Oral Pathology 6 300
การฝึกปฏิบัติให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความสามารถให้การวินิจฉัยในระดับจุลพยาธิสภาพของขบวนการของโรคของเนื้อเยื่อในช่องปากและเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียง
พยาธิกายวิภาคศาสตร์ 1 ชั่วโมง
Anatomical Pathology 1 130
เตรียมผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจะมีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับผู้ร่วมงานในสาขาแพทยศาสตร์ โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถช่วยในการตรวจศพ (Autopsy) ดำเนินการตรวจวินิจฉัยสิ่งส่งตรวจทางศัลยกรรม(Surgical specimens) และสิ่งส่งตรวจจากศพ (Necropsy specimens) ทั้งระดับ Gross และ Microscopic level ให้การวินิจฉัยในระดับจุลพยาธิวิทยา ทั้งโรคเฉพาะที่และโรคทางระบบ (Local and systemic disease) การดูด้วยตาเปล่าใช้ แสงโพลาไรส์ (Polarized light) ระดับดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ สำหรับแยกสิ่งแปลกปลอม ในเนื้อเยื่อของคน ใช้และแปลผลจากเทคนิคจุลเคมีภูมิคุ้มกัน (Immunohistochemical techniques) ที่ใช้เป็นประจำสำหรับการวินิจฉัยโรคที่น่าสนใจและศึกษา
พยาธิกายวิภาคศาสตร์ 2 ชั่วโมง
Anatomical Pathology 2 80
เตรียมผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจะมีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับผู้ร่วมงานในสาขาแพทยศาสตร์ โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถช่วยในการตรวจศพ (Autopsy) ดำเนินการตรวจวินิจฉัยสิ่งส่งตรวจทางศัลยกรรม(Surgical specimens) และสิ่งส่งตรวจจากศพ (Necropsy specimens) ทั้งระดับ Gross และ Microscopic level ให้การวินิจฉัยในระดับจุลพยาธิวิทยา ทั้งโรคเฉพาะที่และโรคทางระบบ (Local and systemic disease) การดูด้วยตาเปล่าใช้ แสงโพลาไรส์ (Polarized light) ระดับดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ สำหรับแยกสิ่งแปลกปลอม ในเนื้อเยื่อของคน ใช้และแปลผลจากเทคนิคจุลเคมีภูมิคุ้มกัน (Immunohistochemical techniques) ที่ใช้เป็นประจำสำหรับการวินิจฉัยโรคที่น่าสนใจและศึกษา
ตจพยาธิวิทยา ชั่วโมง
Dermatopathology 45
การฝึกปฏิบัติให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถให้การวินิจฉัยรอยโรคที่เกิดจากปฏิกิริยาอักเสบ (Inflammatory reaction) และเนื้องอกของผิวหนัง
คลินิกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 1 ชั่วโมง
Oral and Maxillofacial Radiology Clinic 1 200
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกรังสีวิทยาช่องปากและใบหน้าขากรรไกร โดยนำความรู้พื้นฐานทางรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล การป้องกันการติดเชื้อและอันตรายจากรังสี ความรู้ในการแปลผลภาพรังสีขั้นพื้นฐานมาประยุกต์ใช้ สามารถเข้าใจหลักการและขั้นตอนในการใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีในปาก เครื่องถ่ายภาพรังสีนอกปาก ระบบภาพรังสีดิจิทัล และฝึกการแปลผลภาพรังสีเทคนิคต่างๆ
คลินิกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 2 ชั่วโมง
Oral and Maxillofacial Radiology Clinic 2 100
ฝึกปฏิบัติงานทางรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เพื่อให้นักศึกษามีความชำนาญในการถ่ายภาพรังสีในและนอกปากแก่ผู้ป่วย โดยเน้นให้สามารถถ่ายภาพรังสีได้ด้วยตนเอง สามารถเลือกใช้เทคนิคภาพรังสีต่างๆ ให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยแต่ละราย สามารถทราบสาเหตุและวิธีแก้ไขสิ่งแปลกปน (artifact) ของภาพรังสีในปาก ภาพรังสีปริทัศน์ และภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างเพื่อให้ได้ภาพรังสีที่มีคุณภาพที่ดีในการวินิจฉัย
คลินิกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 3 ชั่วโมง
Oral and Maxillofacial Radiology Clinic 3 400
ฝึกปฏิบัติงานทางรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เพื่อให้นักศึกษามีความชำนาญในการถ่ายภาพรังสีในและนอกปากแก่ผู้ป่วยยิ่งขึ้นสามารถถ่ายและแปลผลภาพรังสีนอกปากเทคนิคพิเศษ เช่น Waters’ view, PA mandible, cone beam CT, etc. เพื่อประกอบการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาในงานทันตกรรมรากเทียม งานศัลยศาสตร์พื้นฐาน เป็นต้น
คลินิกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 4 ชั่วโมง
Oral and Maxillofacial Radiology Clinic 4 400
ฝึกปฏิบัติงานทางรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เพื่อให้นักศึกษามีความชำนาญในการถ่ายและแปลผลภาพรังสีนอกปากเทคนิคพิเศษ เพื่อประกอบการวินิจฉัยรอยโรคต่างๆของใบหน้าและขากรรไกร รวมทั้งสามารถวินิจฉัยแยกโรคได้
คลินิกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 5 ชั่วโมง
Oral and Maxillofacial Radiology Clinic 5 400
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกรังสีวิทยาช่องปากและใบหน้าขากรรไกร เพื่อนำความรู้และทักษะทั้งหมดที่ได้รับตลอดหลักสูตร มาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย ทั้งในด้านการวางแผนการรักษาและความปลอดภัยทางด้านรังสี
คลินิกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 6 ชั่วโมง
Oral and Maxillofacial Radiology Clinic 6 400
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกรังสีวิทยาช่องปากและใบหน้าขากรรไกร เพื่อนำความรู้และทักษะทั้งหมดที่ได้รับตลอดหลักสูตร มาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย ทั้งในด้านการวางแผนการรักษาและความปลอดภัยทางด้านรังสี
วิจัย 1 ชั่วโมง
Research 1 100
การกำหนดหัวข้อวิจัย การเขียนโครงร่างวิจัย
วิจัย 2 ชั่วโมง
Research 2 100
การนำเสนอโครงร่างวิจัย การดำเนินการวิจัยตามหลักจริยธรรมการวิจัย
วิจัย 3 ชั่วโมง
Research 3 100
การดำเนินการวิจัยตามหลักจริยธรรมการวิจัย
วิจัย 4 ชั่วโมง
Research 4 100
การเขียนบทนิพนธ์ต้นฉบับตามหลักจริยธรรมเพื่อเผยแพร่ และการสอบงานวิจัย
วิจัย 5 ชั่วโมง
Research 5 100
การเขียนบทนิพนธ์ต้นฉบับตามหลักจริยธรรมเพื่อเผยแพร่ และการสอบงานวิจัย