หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านสาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า.
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : การฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญฯ สาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า
ภาษาอังกฤษ : Residency Training Program in Occlusion and Orofacial Pain
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : ประกาศนียบัตรหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า
ชื่อย่อ : ป.ทันตแพทย์ประจำบ้าน (ทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Certificate Residency Training in Occlusion and Orofacial Pain
ชื่อย่อ : Cert. Residency Training in Occlusion and Orofacial Pain
ปรัชญาของหลักสูตร
เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางสาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า และส่งเสริมพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการและงานวิจัยสาขานี้ให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล
คำนิยาม
1.คำนิยามของทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า
เป็นสาขาวิชาเฉพาะทางทันตแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจพิเคราะห์และวินิจฉัย ตลอดจนการรักษา และการจัดการโรคความผิดปกติทางทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า
1.1 ทันตกรรมบดเคี้ยว หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทั้งหมดของระบบบดเคี้ยวในการทำหน้าที่ทั้งปกติ ผิดปกติ และนอกหน้าที่ ตลอดจนรูปร่างและการทำงานของฟันที่สัมพันธ์กับฟันคู่สบ ทั้งฟันธรรมชาติและฟันที่ได้รับการบูรณะ การบาดเจ็บเหตุบดเคี้ยว สรีรวิทยาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและระบบประสาท การทำงานของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อการเคี้ยวและกลืน ภาวะจิตสรีรวิทยา การวินิจฉัย ป้องกันและรักษาการทำงานที่ผิดปกติของระบบบดเคี้ยว
1.2 ความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า หมายถึง ความเจ็บปวดและความผิดปกติของโครงสร้างภายใน ช่องปากใบหน้า ศีรษะ และโครงสร้างที่เกี่ยวข้องทั้งทางกายวิภาคและสรีรวิทยา รวมถึงความผิดปกติของการนอนหลับที่เกี่ยวข้อง
2.ผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า
หมายถึง ทันตแพทย์ผู้ที่ผ่านการประเมินของราชวิทยาลัยฯ ว่า มีความรู้ ความสามารถและทักษะระดับผู้ชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า
วัตถุประสงค์
1.วัตถุประสงค์ทั่วไป
ผลิตทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าที่ได้มาตรฐานระดับสากล มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรม มีมนุษย-สัมพันธ์อันดีต่อผู้ป่วยและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ
2.วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความสามารถดังนี้
1.มีความรู้ความชำนาญในด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าเป็นอย่างดีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ทั้งในแนวลึกและแนวกว้าง
2.ตรวจพิเคราะห์ ประเมิน วินิจฉัยโรคความผิดปกติในระบบบดเคี้ยว วางแผนการรักษา ตลอดจนให้การรักษาทางทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
3.ให้คำปรึกษาแก่แพทย์/ทันตแพทย์ เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย และเผยแพร่ความรู้ทางทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าเพื่อประโยชน์แก่สังคมโดยรวม
4.ให้ความร่วมมือในการรักษาผู้ป่วยเป็นทีม หรือรักษาร่วมกับแพทย์/ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี
5.เป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ และพัฒนาตนเองทางวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
6.เป็นผู้มีเจตคติที่ดีต่อสังคมและวิชาชีพ ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น
7.มีความรู้–ความเข้าใจในกระบวนการวิจัย สามารถดำเนินงานวิจัยด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า และนำเสนอผลงานวิจัย รวมถึงสามารถวิพากษ์และประเมินผลงานวิจัยด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าได้
ผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- 1.ได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ทันตแพทยสภารับรอง
- 2.เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 หรือมีคุณสมบัติตามข้อ 40 แห่งข้อบังคับทันตแพทยสภา ว่าด้วย หลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาต่างๆ พ.ศ. 2555
- 3.ปฏิบัติงานทางทันตกรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
- ทันตแพทยสภาอาจอนุมัติให้ผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางทันตกรรมของต่างประเทศที่ทันตแพทยสภารับรองเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรในสาขาใดได้เมื่อ
(1) เป็นไปตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศ และ
(2) มีสถาบันให้การฝึกอบรมรับเข้าฝึกอบรม และ
(3) ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าโดยความเห็นชอบจากราชวิทยาลัยฯ
(4) การรับผู้มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของต่างประเทศให้เป็นไปตามสัดส่วนที่ทันตแพทยสภากำหนด
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
ค่าลงทะเบียนเหมาจ่าย 65,000 บาท/ภาคการศึกษา
ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร 390,000 บาท (ระยะเวลา 3 ปี)
ผู้อำนวยการหลักสูตร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงสุนี พงศ์โรจน์เผ่า
E-mail: sunee.pon@mahidol.ac.th
โทร. 02-200-7856 ต่อ 17
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
งานบริหารการศึกษาหลังปริญญา
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 02 200 7634, 7641
E-mail : dtmupostgrad@mahidol.ac.th
โครงสร้างหลักสูตรและการฝึกอบรม
ภาควิชาการ
ได้แก่ การบรรยาย การประชุมวิชาการ การสัมมนา วารสารสโมสร แบ่งเป็น การศึกษาความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องเป็นระยะเวลาประมาณร้อยละ 30 และการศึกษาความรู้ในสาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า หรือสาขาที่เกี่ยวข้องประมาณร้อยละ 70 ดังนี้
(1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ประกอบด้วย
- ชีววิทยากะโหลกใบหน้า (Craniofacial biology)
- ระเบียบวิธีวิจัย (Research methodology)
- ชีวสถิติ (Biostatistics)
- หลักฐานเชิงประจักษ์ทางทันตแพทยศาสตร์ (Evidence-based dentistry)
- ความเป็นวิชาชีพและจริยธรรมทางการแพทย์ (Professionalism and medical ethics)
(2) กลุ่มวิชาสาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าและสาขาที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
- การเจริญและพัฒนาของระบบบดเคี้ยว (Growth and development of masticatory system)
- หลักการสบฟัน (Principle of occlusion)
- ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของระบบบดเคี้ยว (Functional disturbances of masticatory system)
- ประสาทสรีรวิทยาของระบบบดเคี้ยว (Neurophysiology of masticatory system)
- ความเจ็บปวดบริเวณช่องปากใบหน้า (Orofacial pain)
- ทันตเวชศาสตร์การนอนหลับ (Dental sleep medicine)
- เภสัชวิทยาการจัดการความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า (Pharmacological management for orofacial pain)
- การแพทย์ทางเลือกสำหรับการจัดการความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า (Complementary and alternative medicine for orofacial pain management)
- เวชศาสตร์พฤติกรรมและจิตวิทยา (Behavioral medicine and psychology)
- เวชศาสตร์ทั่วไปสำหรับทันตแพทย์ (General medicine for dentist)
- รังสีกายวิภาคและการแปลภาพรังสีขั้นสูง (Advanced radiographic anatomy and radiographic interpretation)
(3) วิชาเลือก
- เทคนิคปฎิบัติงานวิจัยชีววิทยาช่องปาก (Laboratory Techniques for Oral Biology Research)
- คอมพิวเตอร์ประยุกต์ทางทันตแพทยศาสตร์ (Computer Application in Dental Education)
- ภาษาอังกฤษ (English)
- การถ่ายภาพช่องปาก (Oral Photograph)
- ทันตกรรมป้องกันขั้นสูง (Advanced Preventive Dentistry)
- วิทยาการระบาดของโรคในช่องปาก (Epidemiology of Oral Diseases)
- หรือรายวิชาอื่นที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหิดล
ภาคปฏิบัติ
หมายถึง การปฏิบัติงานในผู้ป่วยและการเตรียมการฝึกและปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ และการหมุนเวียนไปดูงานตามโรงพยาบาล คลินิกที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการช่วยสอนในหัวข้อที่เกี่ยวกับทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า โดยต้องมีระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 2 ปี
- คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า 1
- คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า 2
- คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า 3
- คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า 4
- คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า 5
- คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า 6
งานวิจัย
กำหนดให้มีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
แผนการฝึกอบรม
ชั้นปี | รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | |||||
1 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | ||||
ทพผส 514 | วิทยาระเบียบวิธีวิจัย | (2) | บฑคร 603 | ชีวสถิติ | (3) | |
ทพรบ 731 | ชีววิทยากะโหลกใบหน้า | ทพผส 702 | จิตวิทยาและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ | (1) | ||
ทพรบ 732 | การเจริญและพัฒนาของระบบบดเคี้ยว | ทพรบ 741 | ประสาทสรีรวิทยาของระบบบดเคี้ยว | |||
ทพรบ 733 | หลักการสบฟัน | ทพรบ 742 | เภสัชวิทยาการจัดการความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า | |||
ทพรบ 734 | ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของ | ทพรบ 743 | เวชศาสตร์พฤติกรรมและจิตวิทยา | |||
ทพรบ 735 | ความเจ็บปวดบริเวณช่องปากใบหน้า | ทพรบ 751 | คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า 1 | (ตลอดปีการศึกษา) | ||
ทพผส 514 | วิทยาระเบียบวิธีวิจัย | (ตลอดปีการศึกษา) | ทพรบ 999 | งานวิจัย 1-2 |
ชั้นปี | รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | |||||
2 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | ||||
ทพรบ 831 | ทันตเวชศาสตร์การนอนหลับ | ทพรบ 841 | การแพทย์ทางเลือกสำหรับการจัดการความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า | |||
ทพรบ 832 | เวชศาสตร์ทั่วไปสำหรับทันตแพทย์ | ทพรบ 851 | คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า 2 | (ตลอดปีการศึกษา) | ||
ทพรบ 833 | รังสีกายวิภาคและการแปลภาพรังสีขั้นสูง | ทพรบ 999 | งานวิจัย 3-4 | |||
ทพรบ 851 | คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า 2 | (ตลอดปีการศึกษา) |
ชั้นปี | รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | |||||
3 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | ||||
ทพรบ 931 | หลักฐานเชิงประจักษ์ทางทันตแพทยศาสตร์ | ทพรบ 951 | คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า 3 | (ตลอดปีการศึกษา) | ||
ทพรบ 951 | คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า 3 | (ตลอดปีการศึกษา) | ทพรบ 999 | งานวิจัย 6 | ||
ทพรบ 999 | งานวิจัย 5 |
คำอธิบายรายวิชา
- ชีววิทยากะโหลกใบหน้า (Craniofacial biology)
ชีววิทยาของเซลล์และชีวโมเลกุลของกระดูก เมทริกซ์ภายนอกเซลล์และเนื้อเยื่อสะสม แร่ธาตุอื่นๆ ทั้งการสร้าง การทำลาย และกลไกที่ควบคุม รวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์และเมทริกซ์ภายนอกเซลล์
- ระเบียบวิธีวิจัย (Research methodology)
ศึกษาระเบียบและวิธีวิจัยแบบต่างๆ ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ การวิเคราะห์และวิพากษ์บทความทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนสถิติที่ใช้ในการวิจัย นอกจากนี้ยังได้ครอบคลุมถึงหลักเกณฑ์ในการเขียนโครงร่างการวิจัย และข้อพึงพิจารณาด้านจริยธรรมในการวิจัย
- ชีวสถิติ (Biostatistics)
ความหมายของประชากร ตัวอย่างพารามิเตอร์ ค่าสถิติ และการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการเลือกตัวอย่าง การใช้สถิติเชิงพรรณนาต่างๆ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น การนำเสนอข้อมูลแบบต่างๆ การทดสอบสมมติฐาน การทดสอบความแปรปรวน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและสมการสหสัมพันธ์ การอ่านรายงานการวิจัยในวารสารวิชาการ
- หลักฐานเชิงประจักษ์ทางทันตแพทยศาสตร์ (Evidence-based dentistry)
ความหมายและหลักการ ขั้นตอน การตั้งคำถามทางคลินิก การสืบค้นข้อมูล ลำดับความสำคัญของหลักฐาน การวิพากษ์บทวิจัยประเภทต่างๆ ได้แก่ งานวิจัยเกี่ยวกับสาเหตุของโรค การวินิจฉัย การพยากรณ์โรค การรักษา และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ การสังเคราะห์หลักฐานที่สืบค้น และสรุปข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์
- ความเป็นวิชาชีพและจริยธรรมทางการแพทย์ (Professionalism and medical ethics)
คุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ การรักษาอย่างมีจรรยาบรรณ สิทธิของผู้ป่วย ภาพลักษณ์ของวิชาชีพ การรักษาความลับของผู้ป่วย ทักษะการสื่อสารทางเวชปฏิบัติ ปฏิสัมพันธ์อันดีต่อผู้ป่วยและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพแพทย์
- กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ของระบบบดเคี้ยว (Applied anatomy of masticatory system)
การประยุกต์ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ของศีรษะ ใบหน้าและช่องปาก การเจริญและพัฒนาของระบบบดเคี้ยว รวมทั้งโครงสร้างอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการจัดการผู้ป่วย
- การสบฟันประยุกต์ (Applied occlusion)
นิยามและคำจำกัดความที่ใช้สำหรับการสบฟันตำแหน่งต่างๆ การเคลื่อนขากรรไกรในทิศทางต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างขากรรไกรตำแหน่งศูนย์ ความสัมพันธ์ระหว่างขากรรไกรตำแหน่งนอกศูนย์ ความสัมพันธ์ระหว่างขากรรไกรในมิติดิ่ง การตอบสนองของอวัยวะปริทันต์ต่อแรงบดเคี้ยว การสบฟันก่อบาดเจ็บ การสบฟันธรรมชาติ แนวคิดการสร้างการสบฟันสำหรับฟันเทียมทั้งปาก ความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนขากรรไกรและอิทธิพลต่อรูปร่างฟัน แนวคิดการสร้างหรือแก้ไขการสบฟันธรรมชาติ การประยุกต์การสบฟันในงานทันตกรรมสาขาต่างๆ การสบฟันกับการทำหน้าที่ผิดปกติของระบบบดเคี้ยว การตรวจสบฟัน การบันทึกความสัมพันธ์ระหว่างขากรรไกร การใช้และข้อจำกัดในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อวิเคราะห์การสบฟัน การบำบัด(ปัญหา)การสบฟัน การกรอปรับสบฟัน
- ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของระบบบดเคี้ยว (Functional disturbances of masticatory system)
การทำหน้าที่ พยาธิสภาพและความผิดปกติในการทำหน้าที่ของระบบบดเคี้ยว รวมถึงการทำงานนอกหน้าที่ ระบาดวิทยา อาการและอาการแสดง สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง หลักการประเมิน วินิจฉัย และจัดการผู้ป่วย การลำดับความสำคัญของปัญหา การวางแผนการรักษา การรักษาแบบสหสาขา ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับวิธีการรักษาและประสิทธิผลของการรักษาแต่ละวิธี
- ประสาทสรีรวิทยาของระบบบดเคี้ยว (Neurophysiology of masticatory system)
การทำงานของระบบประสาท ประสาทรับความรู้สึกและสั่งการในระบบบดเคี้ยว สรีรวิทยาของการบดเคี้ยวและการกลืน ลักษณะพิเศษของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว รีเฟล็กซ์ขากรรไกร คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ และชีวกลศาสตร์ของขากรรไกร
- ความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า (Orofacial pain)
กายวิภาคและประสาทชีววิทยาของความเจ็บปวด โดยเฉพาะความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า พันธุกรรมกับความเจ็บปวด ระบาดวิทยาและประเภทของความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า ความเจ็บปวดแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง จิตวิทยาความเจ็บปวด การวัดความเจ็บปวด หลักการประเมิน วินิจฉัยแยกความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าประเภทต่างๆ และการจัดการ
- ทันตเวชศาสตร์การนอนหลับ (Dental sleep medicine)
ความรู้พื้นฐานกายวิภาคศาสตร์และประสาทสรีรวิทยาของการนอนหลับและการหายใจ สาเหตุและพยาธิสภาพของความผิดปกติของการนอนหลับ ความผิดปกติของการนอนหลับที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น นอนกัดฟัน และภาวะนอนไม่หลับ ความสัมพันธ์ระหว่างการนอนหลับกับความเจ็บปวด การตรวจคัดกรอง การซักประวัติและการตรวจผู้ป่วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาผู้ป่วยด้วยเครื่องมือในช่องปากและวิธีการอื่นๆ การจัดการผลข้างเคียงที่เกิดจากเครื่องมือในช่องปากและหลักการรักษาแบบสหสาขาระหว่างทันตแพทย์และแพทย์
- เภสัชวิทยาสำหรับความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า (Pharmacological management for orofacial pain)
เภสัชวิทยาของยาที่ใช้จัดการความเจ็บปวดและความผิดปกติของช่องปากใบหน้า การบริหารยา ข้อบ่งชี้การใช้ยาและผลข้างเคียง ได้แก่ ยาแก้ปวด ยากันชัก ยาต้านเศร้า ยาคลายกังวล ยาคลายกล้ามเนื้อ สเตียรอยด์ ยาชา โบทูลินัมท็อกซิน กรดไฮยาลูโรนิค เป็นต้น
- การแพทย์ทางเลือกสำหรับการจัดการความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า (Complementary and alternative medicine for pain management)
ข้อบ่งชี้และแนวทางการพิจารณาเลือกใช้การแพทย์ทางเลือก ชนิดของการแพทย์ทางเลือกสำหรับการจัดการความเจ็บปวดทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ผลสัมฤทธิ์ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับวิธีการบำบัดรักษาและประสิทธิผลของการรักษาแต่ละวิธีของการแพทย์ทางเลือกในการจัดการความเจ็บปวดบริเวณช่องปากใบหน้า
- เวชศาสตร์พฤติกรรมและจิตวิทยา (Behavioral medicine and psychology)
หลักการทางเวชศาสตร์พฤติกรรมและจิตวิทยา โรคทางจิตเวชที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดและการทำงานที่ผิดปกติของช่องปากใบหน้า หลักการจัดการทางจิตวิทยาสำหรับผู้ป่วย
- เวชศาสตร์ทั่วไปสำหรับทันตแพทย์ (General medicine for dentist)
โรคทางระบบ สาเหตุ อาการและอาการแสดง การตรวจวินิจฉัย การวางแผนการรักษาและการส่งต่อผู้ป่วย รวมทั้งการดูแลผู้ป่วยทางทันตกรรมที่มีโรคทางระบบ ทั้งในภาวะฉุกเฉินและปกติ
- รังสีกายวิภาคและการแปลภาพรังสีขั้นสูง (Advanced radiographic anatomy and radiographic interpretation)
โครงสร้างของเนื้อเยื่อและกระดูกบริเวณศีรษะและใบหน้าที่ปรากฏในภาพรังสีนอกปากเทคนิคต่างๆ การแปลเงาภาพรังสีกายวิภาคปกติไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพขากรรไกรและกะโหลกศีรษะ รวมถึงการแปลภาพเอ็มอาร์ข้อต่อขากรรไกร
- คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า 1-2 (Occlusion and Orofacial Pain Clinic 1-2)
การประเมินผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบบดเคี้ยวความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าอย่างมีจริยธรรม เทคนิคพื้นฐานในการประเมินและซักประวัติผู้ป่วย การส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การส่งตรวจทางภาพรังสี การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตลอดจนการประเมินทางด้านพฤติกรรมและจิตวิทยาสังคมของผู้ป่วย การวางแผนการรักษา การส่งต่อผู้ป่วยการรักษาเบื้องต้น นำเสนอรายงานการวางแผนการรักษาผู้ป่วยเพื่ออภิปราย
- คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า 3-4 (Occlusion and Orofacial Pain Clinic 3-4)
การจัดการอย่างมีจริยธรรมในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบบดเคี้ยวความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า โดยสามารถวิเคราะห์ วางแผนและให้การรักษาผู้ป่วย การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาเฉพาะทางที่เหมาะสม นำเสนอรายงานผู้ป่วยเพื่ออภิปราย
- คลินิกทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า 5-6 (Occlusion and Orofacial Pain Clinic 5-6)
การจัดการรักษาอย่างมีจริยธรรมในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบบดเคี้ยวความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าที่มีความซับซ้อน โดยสามารถวิเคราะห์ วางแผนและให้การรักษาผู้ป่วย การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาเฉพาะทางที่เหมาะสม นำเสนอรายงานผู้ป่วยเพื่ออภิปราย
วิชาเลือก อย่างน้อย 2 รายวิชา
- เทคนิคปฎิบัติงานวิจัยชีววิทยาช่องปาก (Laboratory Techniques for Oral Biology Research)
หลักการและวิธีการใช้เครื่องมือชนิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางชีววิทยาช่องปากและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สเปคโตรสโคปี อิออนอนาลิซิสเซนตริฟิวเกชั่น การเพาะเลี้ยงเซลล์ การแยกและวิเคราะห์ด้วยโครมาโตกราฟี อิเลคโตรฟอริซิส เทคนิคต่างๆ ทางชีววิทยาโมเลกุล จุลชีววิทยา อิมมูโนวิทยา อิมมูโนฮีสโตเคมี เลเซอร์โดปปลอร์ อิเล็กตรอนไมโครสโคป และการวิจัยในสัตว์ทดลอง จริยธรรมการวิจัย
- คอมพิวเตอร์ประยุกต์ทางทันตแพทยศาสตร์ (Computer Application in Dental Education)
เพื่อประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานวิจัย หรืองานวิทยานิพนธ์สำหรับทันตแพทย์ เนื้อหาครอบคลุมการใช้คอมพิวเตอร์, การสืบค้นข้อมูลทางทันตกรรม การจัดทำฐานข้อมูล การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการเขียนวิทยานิพนธ์ การใช้โปรแกรมการคำนวณทางสถิติ การทำกราฟฟิกและการเขียนเว็บเพจเบื้องต้น
- ภาษาอังกฤษ (English)
เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถอ่านและเข้าใจวารสารทางการแพทย์ที่เป็นภาษาอังกฤษ สามารถเขียนบทความเป็นภาษาอังกฤษ ฟังและสนทนาภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้ การศึกษาวิชาภาษาอังกฤษนี้ได้กำหนดให้นักศึกษาต้องแปลและย่อวารสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยไม่น้อยกว่า 12 เรื่อง
- การถ่ายภาพช่องปาก (Oral Photograph)
ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆ ของกล้องถ่ายภาพแบบธรรมดาและแบบดิจิตอล ฟิล์มและเลนส์ ฝึกหัดถ่ายภาพในช่องปากที่มีคุณภาพพื่อการนำเสนออย่างมีจริยธรรม
- ทันตกรรมป้องกันขั้นสูง (Advanced Preventive Dentistry)
ศึกษาการป้องกันโรคในช่องปาก เช่น โรคฟันผุ โรคปริทันต์ เป็นต้น รวมทั้งมีการอภิปรายถึงการดำเนินการป้องกันโรคในช่องปากในชุมชน
- วิทยาการระบาดของโรคในช่องปาก (Epidemiology of Oral Diseases)
ศึกษาถึงหลักวิทยาการระบาดทั่วไปที่นำมาใช้ในการศึกษาในช่องปาก เช่น โรคฟันผุ โรคปริทันต์ เป็นต้น รวมทั้งมีการอภิปรายถึงปัญหาและการดำเนินการแก้ไขโรคในช่องปาก
- หรือรายวิชาอื่นที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหิดล