ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : การฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญฯ สาขาทันตกรรมทั่วไป
ภาษาอังกฤษ : Residency Training Program in General Dentistry
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : ประกาศนียบัตรหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาทันตกรรมทั่วไป
ชื่อย่อ : ป.ทันตแพทย์ประจำบ้าน (สาขาทันตกรรมทั่วไป)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Certificate Residency Training in General Dentistry
ชื่อย่อ : Cert. Residency Training in General Dentistry
ปรัชญาของหลักสูตร
ฝึกอบรมทันตแพทย์เพื่อให้มีความรู้ความชำนาญในการจัดการบริการทันตกรรมในสาขาทันตกรรมทั่วไปโดยใช้หลักการของการบริบาลพร้อมมูล (comprehensive care) ด้วยแนวคิดของการบริการแบบองค์รวม (holistic service) เพื่อการดูแลรักษาทันตสุขภาพในระยะยาวตั้งแต่เกิดมีชีวิตจนถึงวันสุดท้ายของการดำรงอยู่ โดยการรับผิดชอบดูแลรักษาทันตสุขภาพในระยะยาวนี้จะรวมถึงความรับผิดชอบในการประสานงานเพื่อให้ประชาชนในความรับผิดชอบได้รับบริการจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็น เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในความรับผิดชอบสามารถดำรงไว้ซึ่งการมีทันตสุขภาพที่ดีได้ตลอดชีวิต ในการนี้ยังหมายถึงการป้องกันการส่งเสริมสุขภาพที่ต้องมีการดำเนินการโดยต่อเนื่องจนตลอดชีวิตเช่นกัน
การบริการทางทันตกรรมโดยใช้หลักการของการบริบาลพร้อมมูล ด้วยแนวคิดของการบริการแบบองค์รวม จะส่งผลให้การบริการทางทันตกรรมของประเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้การใช้ทรัพยากรของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดและทำให้การบริการทางทันตกรรมเกิดการกระจายกันออกไปตามสถานบริการของรัฐบาลและเอกชนในระดับต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง อันจะเป็นผลให้ปัญหาจากการที่ประชาชนมุ่งหวังและพยายามอย่างที่สุด เพื่อให้ได้รับบริการทางทันตกรรมจากสถานบริการใหญ่ๆ ที่มีความชำนาญเฉพาะด้านลดลง รวมทั้งทำให้ความไม่สมดุลย์ของการบริการในปัจจุบันลดลง ดังนั้นการฝึกอบรมทันตแพทย์เพื่อให้มีความรู้ ความชำนาญในการจัดบริการทันตกรรมในสาขาทันตกรรมทั่วไป จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะทำให้ระบบบริการทางทันตสาธารณสุขแก่ประชาชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง อันเป็นผลดีต่อสุขภาพโดยรวมของประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งส่งผลให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติโดยรวมมีความมั่นคงและยั่งยืนสืบต่อไป
คำนิยาม
ทันตกรรมทั่วไป หมายถึง ศาสตร์และศิลป์ของการจัดการบริการทางทันตกรรมที่จำเป็นแก่อย่างครบถ้วนผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุรวมทั้งผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ ผู้ป่วยสูงอายุ และผู้พิการทางกาย สมองและจิต พร้อมทั้งการตรวจ วินิจฉัย การวางแผนการรักษาที่ครอบคลุมผสมผสานสอดคล้องกับข้อจำกัดทางการแพทย์ สภาวะจิตใจ และสถานะเศรษฐกิจของผู้ป่วยนั้นๆ ในลักษณะการบริการแบบองค์รวม โดยมีความชำนาญในการรักษาผู้ป่วยแบบผสมผสานงานในสาขาต่างๆ ในด้านทันตวินิจฉัยและเวชศาสตร์ช่องปาก ศัลยศาสตร์ช่องปากวิทยาเอ็นโดดอนต์ ทันตกรรมหัตถการ ทันตกรรมประดิษฐ์ ปริทันตวิทยา ทันตกรรมสำหรับเด็ก ทันตกรรมจัดฟันและทันตกรรมป้องกัน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาทันตกรรมทั่วไปเพิ่มให้มีการพัฒนาความรู้ ความชำนาญในสาขานี้ ซึ่งเป็นหลักประกันมาตรฐานการบริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. มีความรู้ความสามารถในการตรวจ วินิจฉัย วางแผนการรักษา รักษาโรคในช่องปาก สามารถบูรณาการวิชาการทางทันตกรรมแบบองค์รวม โดยคำนึงถึงร่างกายจิตใจสภาพแวดล้อมของผู้ป่วยควบคู่กันไป
2. มีความรู้ความความชำนาญความสามารถในการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูล (comprehensive dental care) มีความชำนาญในการรักษาผู้ป่วยแบบผสมผสานงานทางทันตกรรมในสาขาต่างๆ ได้
3. มีความสามารถในการประสานงานกับทันตบุคลากร และบุคคลากรทางการแพทย์อย่างเป็นระบบ เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา วางแผน และส่งต่ออย่างมีประสิทธิภาพ
4. มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
ค่าลงทะเบียนเหมาจ่าย 50,000 บาท/ภาคการศึกษา
ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร 300,000 บาท (ระยะเวลา 3 ปี)
ผู้อำนวยการหลักสูตร : อาจารย์ ทันตแพทย์หญิงนัยนา บูรณชาติ
E-mail: micherin40@hotmail.com
โทร. 02-200-7852
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
งานบริหารการศึกษาหลังปริญญา
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6 ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 02 200 7634, 7641
E-mail : dtmupostgrad@mahidol.ac.th
ภาควิชาการไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิตหรือ ๔๕๐ ชั่วโมง ประกอบด้วยวิทยาศาสตร์แพทย์พื้นฐานร้อยละ ๓๐ และทันตกรรมทั่วไปและที่เกี่ยวข้องร้อยละ ๗๐
ภาคปฏิบัติการคลินิกทันตกรรมพร้อมมูลไม่น้อยกว่า ๔๕ หน่วยกิต หรือ ๒,๐๒๕ ชั่วโมง และระยะเวลาฝึกปฏิบัติไม่น้อยกว่า ๒ ปี
งานวิจัย ๑ เรื่องและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพ ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด
ชั้นปี | รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) | |||||
1 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | ||||
ทพทส 720 | ทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมจัดฟัน | (2) | ทพทส 713 | ทันตกรรมพร้อมมูล 1 | (2) | |
ทพทส 721 | ปฏิบัติการทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมจัดฟัน | (1) | ทพทส 716 | เทคโนโลยีดิจิตอลทางทันตกรรม | (1) | |
ทพทส 722 | ทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ 1 | (4) | ทพทส 718 | วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปากและเภสัชวิทยาทางทันตกรรม 1 | (1) | |
ทพทส 723 | ปฏิบัติการทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ | (1) | ทพทส 725 | ทันตกรรมรากเทียมขั้นแนะนำ | (1) | |
ทพทส 749 | คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล 1 | (4) | ทพทส 730 | ศัลยศาสตร์ช่องปากและทันตกรรมโรงพยาบาล 1 | (1) | |
ทพทส 761 | ชีวสถิติ 1 | (1) | ทพทส 741 | วิจัย 1 | (1) | |
ทพทส 762 | ชีวสถิติ 2 | (1) | ทพทส 751 | คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล 2 | (6) | |
ทพทส 763 | ระเบียบวิธีวิจัยทางทันตแพทย์ | (2) | ทพทส 766 | ชีววิทยาช่องปาก | (2) | |
ทพทส 769 | ระบาดวิทยา 1 (โรคในช่องปาก) | (1) | ||||
ทพทส 770 | ระบาดวิทยา 2 (โรคในช่องปาก) | (1) | ||||
รวม 18 หน่วยกิต | รวม 15 หน่วยกิต |
ชั้นปี |
รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) |
|||||
2 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 | ||||
ทพทส 719 | วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปากและเภสัชวิทยาทางทันตกรรม 2 | (1) | ทพทพ 717 | ทันตกรรมขั้นสูง | (1) | |
ทพทส 726 | ทันตกรรมโรคทางระบบและหญิงตั้งครรภ์ | (3) | ทพทส 724 | ทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ 2 | (1) | |
ทพทส 743 | วิจัย 2 | (2) | ทพทส 745 | วิจัย 3 | (2) | |
ทพทส 753 | คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล 3 | (7) | ทพทส 754 | คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล 4 | (7) | |
ทพทส 768 | วิทยาศาสตร์ชีวเวช | (1) | ทพทส 755 | คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล 5 | (1) | |
ทพทส 772 | พฤติกรรมศาสตร์และสุขศึกษา | (2) | ||||
ทพทส 782 | ทันตกรรมป้องกันในคลินิก | (2) | ||||
รวม 18 หน่วยกิต | รวม 15 หน่วยกิต |
ชั้นปี |
รายวิชา (หน่วยกิต หรือ ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ) |
|||||
3 |
ภาคเรียนที่ 1 |
ภาคเรียนที่ 2 |
||||
ทพทส 729 | วารสารสโมสรในงานทันตกรรมทั่วไป | (1) | ทพทส 714 | ทันตกรรมพร้อมมูล 2 | (1) | |
ทพทส 731 | ศัลยศาสตร์ช่องปากและทันตกรรมโรงพยาบาล 2 | (3) | ทพทส 727 | ทันตกรรมผู้สูงอายุ | (2) | |
ทพทส 746 | วิจัย 4 | (1) | ทพทส 728 | ทันตกรรมผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ | (2) | |
ทพทส 756 | คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล 6 | (8) | ทพทส 747 | วิจัย 5 | (1) | |
ทพทส 760 | กฎหมายวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพทันตแพทย์ | (1) | ทพทส 757 | คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล 7 | (8) | |
รวม 18 หน่วยกิต | รวม 15 หน่วยกิต |
หน่วยกิต (บรรยาย – ปฏิบัติ – ศึกษาด้วยตนเอง)
ทพทส ๗๖๑ ชีวสถิติ ๑ ๑ (๑-๐-๒)
ทพทส ๗๖๒ ชีวสถิติ ๒ ๑ (๑-๐-๒)
การวิเคราะห์สถิติแนวใหม่ขั้นพื้นฐาน และการใช้สถิติในการสรุปผลจากข้อมูลที่รวบรวมมาจากการสำรวจและห้องปฏิบัติการ เนื้อหาครอบคลุมการแจกแจงความน่าจะเป็น การแจกแจงเชิงสุ่ม การประเมินค่าช่วงความเชื่อมั่น การอนุมานเชิงสถิติแบบอิงพารามิเตอร์และไม่อิงพารามิเตอร์ การวิเคราะห์แยกประเภท การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอยพหุคูณโดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทางทันตกรรม
ทพทส ๗๖๓ ระเบียบวิธีวิจัยทางทันตแพทย์ ๒ (๒-๐-๔)
ศึกษาระเบียบวิธีและขั้นตอนในการทำวิจัยประเภทต่างๆ ซึ่งได้แก่ การวิจัยทางคลินิก (clinical research) การวิจัยทางห้องปฏิบัติการ (laboratory research) ศึกษาการนำขบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการออกแบบงานวิจัย การตั้งสมมติฐานการวิจัย เทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูล สรุปผล ศึกษาวิเคราะห์อภิปรายผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ทพทส ๗๖๙ หลักวิทยาการระบาดโรคในช่องปาก ๑ ๑ (๑-๐-๒)
ทพทส ๗๗๐ หลักวิทยาการระบาดโรคในช่องปาก ๒ ๑ (๑-๐-๒)
ศึกษาถึงหลักการพื้นฐานทางระบาดวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางคลินิกและโรคที่เป็นปัญหาในชุมชนรวมถึงบทบาทของปัจจัยเสี่ยง วิธีคิด และออกแบบการวิจัยที่ใช้หลักการทางระบาดวิทยา ในการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างโรค และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ตลอดจนการประเมินคุณค่ารูปแบบการศึกษาและวิจารณ์ผลงานวิจัยเชิงระบาดวิทยา
ทพทส ๗๖๖ ชีววิทยาช่องปาก ๒ (๒-๐-๔)
ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างการเจริญ การพัฒนา หน้าที่ความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน และที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบอื่นๆ ของเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ ในช่องปาก ระบบจุลชีววิทยาช่องปากในช่องปาก ติดตามความก้าวหน้าวิชาการทางชีววิทยาช่องปาก วิทยาภูมิคุ้มกันโรคในช่องปาก ความเจ็บปวดและภาวะไวเกินของฟัน รวมถึงยาที่ใช้ในทางทันตกรรม
ทพทส ๗๖๘ วิทยาศาสตร์ชีวเวช (Bio medical science) ๑ (๑-๐-๒)
การประยุกต์ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (basic medical science) ที่มีความสําคัญทางคลินิกโดยนําหลักการสําคัญ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์มาใช้อธิบายกระบวนการทางคลินิก คือ การตรวจวินิจฉัยโรค การวางแผนในการรักษา การรักษา การประเมินผลการรักษา การคาดการณ์ผลการรักษา การแก้ไขผลการแทรกซ้อนจากการรักษาโดยให้การรักษาอย่างมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
ทพทส ๗๖๐ กฎหมายวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพทันตแพทย์ ๑ (๑-๐-๒)
ศึกษาถึงจิตวิทยาของผู้ป่วยในการรักษาทางทันตกรรม การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีพทางทันตแพทย์ไปใช้ในด้านจิตวิทยาเป็นการส่งเสริมการรักษาแก้ไขความผิดปกติของผู้ป่วย ศึกษาถึงการใช้การทางจิตวิทยา เพื่อส่งเสริมให้ให้ประชาชนมีการป้องกันความผิดปกติและโรคในช่องปากที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยชี้แจงอธิบายถึงสาเหตุการวินิจฉัย และความสัมพันธ์ของสุขภาพ ความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ศึกษาถึงหลักของ “จริยธรรม” ในสาขาวิชาชีพทันตแพทย์ และให้ผู้เข้าศึกษาอบรมตระหนักและยึดมั่นในหลักการของจริยธรรมเพื่อถือปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพทันตแพทย์ต่อไป
ทพทส ๗๒๙ วารสารสโมสรในงานทันตกรรมทั่วไป ๑ (๐-๓-๑)
การนำเสนอความรู้และวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทั่วไป ที่ได้จากการค้นคว้าบทความทางวิชาการ การอภิปรายกลุ่มย่อยเกี่ยวกับการประเมิน วิเคราะห์ และสังเคราะห์ความเชื่อมโยงของข้อมูลจากบทความที่นำเสนอ นำไปสู่การสรุปความรู้เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วย
หน่วยกิต (บรรยาย – ปฏิบัติ – ศึกษาด้วยตนเอง)
ทพทส ๗๒๒ ทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ ๑ ๔ (๔-๐-๘)
ปรัชญาและหลักการของทันตกรรมทางปริทันตวิทยา วิทยาเอ็นโดดอนต์ ทันตกรรมประดิษฐ์และทันต กรมบูรณะ การวางแผนการวินิจฉัยด้วยความเข้าใจ และการรักษาในด้านทันตกรรมทั่วไป การรักษาแบบดั้งเดิมและการฟื้นสภาพฟันในผู้ป่วยที่มีปัญหาทางปริทันตวิทยา วิทยาเอ็นโดดอนต์ เพื่อความสวยงามและคงหน้าที่การบูรณะในผู้ป่วยที่มีสันเหงือกยุบตัวมาก การทบทวนวรรณกรรมทันสมัยเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติทางคลินิก มาตรการการป้องกันและทันตวัสดุ
ทพทส ๗๒๔ ทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ ๒ ๑ (๑-๐-๒)
การรักษาผู้ป่วยทางทันตกรรมที่ยุ่งยากซับซ้อน (complicated case) ในงานสหสาขาวิชาที่ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานในด้านต่างๆ เช่น ปริทันตวิทยา วิทยาเอ็นโดดอนต์ ทันตกรรมหัตถการ และ ทันตกรรมประดิษฐ์ โดยมีการประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎี และวิทยาการปัจจุบัน เพื่อนำมารักษาผู้ป่วยแบบผสมผสานภายใต้กรอบความคิดของทันตกรรมพร้อมมูลได้อย่างเหมาะสม มีขั้นตอน วิธีการรักษาถูกต้องอย่างมีแบบแผน และเกิดความพึงพอใจแก่ผู้ป่วยและทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา
ทพทส ๗๒๕ ทันตกรรมรากเทียมขั้นแนะนำ ๑ (๑-๐-๒)
ศึกษาหลักการและความรู้พื้นฐานในงานทันตกรรมรากเทียม การวินิจฉัย การวิเคราะห์สภาพช่องปาก การวางแผนการรักษา เครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยเพื่อความสำเร็จในการบูรณะด้วยรากเทียม ขั้นตอนการรักษาทั้งส่วนการปลูกรากเทียม และการทำฟันเทียมบนรากเทียมเพื่อให้ได้ทั้งความสวยงามและใช้บดเคี้ยวได้ การอภิปรายเรื่องการประเมินความสำเร็จและความล้มเหลวของการบูรณะด้วยรากเทียม การป้องกันและคงสภาพรากเทียมรวมถึงการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
ทพทส ๗๒๐ ทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมจัดฟัน ๒ (๒-๐-๔)
หลักการในการป้องกัน และบำบัดทางทันตกรรมสำหรับเด็ก หลักการตรวจวินิจฉัย การวางแผนการบำบัด วิธีการจัดการพฤติกรรม การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์โรคในช่องปากและการเรียงตัวของฟัน หลักการในการจัดการกับฟันน้ำนม และฟันแท้ที่เกิดอุบัติเหตุกระแทก การทบทวนวรรณกรรมในเรื่องทันตกรรมสำหรับเด็ก และการจัดการกับฟันที่ได้รับภยันตราย ทันตกรรมจัดฟันทั้งแบบป้องกันและบำบัด การวิเคราะห์ชุดฟันแบบผสมการพัฒนา และการเจริญของกะโหลกใบหน้า ชีวกลศาสตร์ของการเคลื่อนของฟัน แผนการวินิจฉัย และการบำบัดโดยใช้ฐานของการเคลื่อนของฟันเฉพาะตำแหน่งด้วยการใช้เครื่องมือชนิดถอดได้ การวางแผนการบำบัด การส่งต่อและแนะนำผู้ป่วยปากแหว่งและเพดานโหว่ การวางแผนบำบัดด้วยสหสาขาวิชาการเป็นการเสริมสำหรับแผนการบำบัดแบบครอบคลุม
ทพทส ๗๑๓ ทันตกรรมพร้อมมูล ๑ ๒ (๑-๓-๓)
ในรายวิชานี้มีการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทันตกรรมพร้อมมูล และการทำความเข้าใจตนเองของทันตแพทย์ให้พร้อมที่จะดูแลผู้ป่วยแบบทันตกรรมพร้อมมูล ฝึกฝนทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งเพื่อทำความเข้าใจผู้ป่วยจากมุมมองของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลาย และแตกต่างกันทั้งสุขภาพ บริบทของชีวิต เศรษฐสถานะ ทัศนคติต่อการดูแลทันตสุขภาพและการรักษาทางทันตกรรม และ
ศึกษาถึงการถ่ายภาพในคลินิกทันตกรรม (clinical dental photography) หลักการทั่วไปของกล้องถ่ายภาพ องค์ประกอบและเทคนิคการถ่ายภาพมาตรฐานภายในและภายนอกช่องปาก รวมถึงภาพถ่ายรังสี การแก้ไขข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการถ่ายภาพ ข้อจำกัดของกล้องดิจิตอลทั้งความเหมือนและความต่างในด้านคุณภาพการจัดการภาพถ่ายและการตกแต่งภาพเพื่อการนำเสนอผู้ป่วยทางทันตกรรมพร้อมมูล
ทพทส ๗๑๔ ทันตกรรมพร้อมมูล ๑ ๑ (๐-๓-๑)
การนำหลักการและกระบวนทัศน์ในการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูล มาประยุกต์ใช้ร่วมกับความรู้ทางทฤษฎีในสาขาต่างๆ ของงานทันตกรรมในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยอย่างถูกต้องเหมาะสม ตามข้อกำจัดต่างๆ ของผู้ป่วยทั้งทางการแพทย์ สภาวะจิตใจ ความต้องการ สภาวะทางเศรษฐกิจ ทัศนคติ เวลา และสามารถนำเสนอแผนการรักษาได้อย่างเป็นระบบ
ทพทส ๗๓๐ ศัลยศาสตร์ช่องปากและทันตกรรมโรงพยาบาล ๑ ๑ (๑-๐-๒)
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ การดูแลผู้ป่วยทางศัลยกรรมช่องปากพื้นฐานแบบพร้อมมูลในเรื่องวิธีการศัลยกรรมช่องปากแบบพื้นฐาน เทคนิคพื้นฐานสำหรับการประเมิน การวินิจฉัย การจัดการกับการติดเชื้อบริเวณใบหน้าและขากรรไกร การใช้ยา และการจัดการกับเหตุฉุกเฉินในสถานที่ปฏิบัติการทางทันตกรรม การปฎิบัติ และการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทางศัลยกรรมช่องปากอย่าง
ทพทส ๗๑๘ วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปากและเภสัชวิทยา ๑ ๑ (๑-๐-๒)
ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการซักประวัติผู้ป่วย การตรวจภายในช่องปาก และภายนอกช่องปากอย่างละเอียดเพื่อให้ทราบสาเหตุกลไกการเกิดพยาธิสภาพของโรคในช่องปากทั้งเฉพาะที่ และเกี่ยวข้องกับระบบต่างๆ ของร่างกายรวมทั้งมีทักษะในการวินิจฉัยแยกโรค วินิจฉัยโรค การวางแผนการรักษา การส่งต่อและประสานงานกับบุคลากรทางการแพทย์ การบำบัดรอยโรคในช่องปากที่พบบ่อยอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการบรรยายเกี่ยวกับยาที่ใช้บ่อยที่เกี่ยวข้องกับโรคในช่องปาก เช่น ยาต้านจุลชีพ การรักษาอาการเสียวฟันเป็นต้น
ทพทส ๗๑๙ วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปากและเภสัชวิทยา ๒ ๑ (๑-๐-๒)
การบรรยายเกี่ยวกับการทำงานปกติของร่างกาย ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เนื้องอกในช่องปาก รอยโรคที่เกิดจากการใส่ฟันปลอม รวมทั้งการติดเชื้อในช่องปากและอื่นๆ กลไกการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่มต่างๆ การเสริมฤทธิ์ และการต้านฤทธิ์ของยาที่รักษาโรคระบบต่างๆ กับยาที่ใช้ในทางทันตกรรมเพื่อการเลือกใช้ยาของทันตแพทย์ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพรวมถึงการศึกษายาชนิดใหม่ๆ ที่มีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้การเลือกใช้ยาเป็นไปอย่างมีเหตุผล และเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันอยู่เสมอ
ทพทส ๗๑๖ เทคโนโลยีดิจิตอลทางทันตกรรม ๑ (๑-๐-๒)
ศึกษาการใช้งานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เสริม ในการประยุกต์ใช้ในงานทันตกรรม วิธีใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหา และจัดเก็บข้อมูลทางทันตกรรม การจัดทำสื่อกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาการบริการทางทันตกรรม
ทพทส ๗๒๖ ทันตกรรมโรคทางระบบและหญิงตั้งครรภ์ ๓ (๓-๐-๖)
การดูแลรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ โดยมุ่งเน้นการซักประวัติ การตรวจร่างกายเบื้องต้น การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น เพื่อให้ทราบการเกิดโรค สถานภาพการเจ็บป่วย การป้องกันปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น จากการให้บริการทางทันตกรรม และการจัดการบริการทางทันตกรรมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
ทพทส ๗๒๗ ทันตกรรมผู้สูงอายุ ๒ (๒-๐-๔)
ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางร่างกาย จิตใจ และสมองของผู้สูงอายุที่มีผลกระทบต่อทันตสุขภาพ โรคทางระบบที่พบในผู้สูงอายุ เภสัชวิทยาของยาที่ใช้ในผู้สูงอายุและโภชนาการที่มีผลต่อทันตสุขภาพ การวางแผนการรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุโดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ อย่างเหมาะสมด้วยความเข้าใจ
ศึกษาทัศนคติ กรอบความเชื่อที่แตกต่างกันระหว่างทันตแพทย์และผู้สูงอายุ อันนำไปสู่การทำความเข้าใจระหว่างกันและการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทันตแพทย์ ผู้สูงอายุและผู้ดูแลอย่างเหมาะสม
ทพทส ๗๒๘ ทันตกรรมผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ ๒ (๒-๐-๔)
การศึกษาเกี่ยวกับการพิการทางกาย สมอง และจิตในผู้ป่วยแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรมเภสัชวิทยาของยาที่ใช้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีผลต่อทันตสุขภาพ การวางแผนการรักษาทางทันตกรรม ศึกษาด้านพฤติกรรมและจิตใจ การรักษาที่เหมาะสม ปัจจัย และข้อจำกัดในการรักษาทางทันตกรรม
ทพทส ๗๑๗ ทันตกรรมขั้นสูง ๑ (๑-๐-๒)
การศึกษาความก้าวหน้าทางวิชาการ และพัฒนาการของเทคโนโลยีทางทันตกรรมใหม่ๆ (advanced dentistry) เช่น เลเซอร์ทางทันตกรรม ทันตกรรมรากเทียม และความก้าวหน้าทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล และพันธุศาสตร์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการรักษาผู้ป่วย รวมถึง เพื่อให้สามารถติดตามการพัฒนาทางวิชาการของทันตแพทย์ได้อย่างเข้าใจ และต่อเนื่อง
ทพทส ๗๗๒ พฤติกรรมศาสตร์และสุขศึกษา ๒ (๒-๐-๔)
ทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์ขั้นสูงเพื่อใช้ในการให้ทันตสุขศึกษา การวางแผนทันตสุขศึกษา และการจัดการกับผู้ป่วยในทันตกรรมเบ็ดเสร็จ
ทพทส ๗๘๒ ทันตกรรมป้องกันในคลินิก ๒ (๒-๐-๔)
การศึกษาปรัชญาแนวคิดและหลักการดำเนินงานทันตกรรมป้องกัน รวมทั้งความหมาย ขอบเขตโดยอาศัยแนวคิดในการดูแลทันตสุขภาพแบบองค์รวม การประยุกต์ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์ของบุคคลและชุมชน แนวคิดการดูแลทันตสุขภาพตนเอง มาตรการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในระดับบุคคลและชุมชน และการดำเนินงานทันตกรรมป้องกันประเภทต่างๆ และฝึกปฏิบัติทันตกรรมป้องกันในคลินิก
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
ทพทส ๗๒๓ ปฏิบัติการทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ ๑ (๐-๓-๑)
ฝึกปฏิบัติทางปริทันต์วิทยา วิทยาเอนโดดอนต์ และทันตกรรมบูรณะในห้องปฏิบัติการ ก่อนให้การรักษาในผู้ป่วยจริง รวมถึงการศึกษาดูงานด้านทันตกรรมประดิษฐ์ ในห้องปฏิบัติงานเอกชน เพื่อความเข้าใจในการสร้างชิ้นงานทางทันตกรรมประดิษฐ์
ทพทส ๗๒๑ ปฏิบัติการทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมจัดฟัน ๑ (๐-๓-๑)
ฝึกปฏิบัติรักษาทางทันตกรรมเด็ก การบูรณะฟันเทคนิคเฉพาะสำหรับฟันน้ำนมและการบูรณะด้วยครอบฟันสำหรับเด็ก ฝึกปฏิบัติรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกระดูกขากรร ไกรฟัน จากแบบจำลองฟัน และภาพรังสีเซฟาโลเมตริก ทันตกรรมจัดฟันดิจิตอล
ทพทส ๗๔๙ คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล ๑ ๔ (๐-๑๒-๔)
ตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยโรค วางแผนการรักษาและให้การรักษาเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
ทพทส ๗๕๑ คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล ๒ ๖ (๐-๑๘-๖)
ตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยโรค วางแผนการรักษาและให้การรักษาเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ให้คำแนะนำและวางแผนการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคได้อย่างเหมาะสม
ทพทส ๗๕๓ คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล ๓ ๗ (๐-๒๑-๗)
ตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยโรค วางแผนการรักษา และให้การรักษาแก่ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ให้คำแนะนำในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากแบบซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม
ทพทส ๗๕๔ คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล ๔ ๗ (๐-๒๑-๗)
ตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยโรค วางแผนการรักษาและให้การรักษาแก่ผู้ป่วย ให้คำแนะนำและวางแผนการป้องกัน การกลับมาเป็นซ้ำของโรค ในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากแบบซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม
ทพทส ๗๕๕ คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล ๕ ๑ (๐-๓-๑)
ให้คำแนะนำหลักการในการตรวจ วินิจฉัย วางแผนการรักษา และสอนเทคนิคการให้การรักษาผู้ป่วยแก่นักศึกษาในระดับปริญญาตรีได้อย่างเหมาะสม
ทพทส ๗๕๖ คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล ๖ ๘ (๐-๒๔-๘)
ตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยโรค วางแผนการรักษา และให้การรักษาเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากที่ยุ่งยากได้อย่างเหมาะสม
ทพทส ๗๕๗ คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล ๗ ๘ (๐-๒๔-๘)
ตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยโรค วางแผนการรักษาและให้การรักษาแก่ผู้ป่วย ให้คำแนะนำและวางแผนการป้องกันการกลับมาซ้ำของโรคในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากแบบซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม
ทพทส ๗๓๑ ศัลยศาสตร์ช่องปากและทันตกรรมโรงพยาบาล ๒ ๓ (๑-๖-๔)
ตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยโรค วางแผนการรักษาและให้การรักษาแก่ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ มีโรยโรคถุงน้ำ อุบัติเหตุหรือติดเชื้อบริเวณใบหน้าและขากรรไกร ให้คำแนะนำและวางแผนการป้องกันการกลับมาซ้ำของโรคได้อย่างเหมาะสม
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
ทพทส ๗๔๑ วิจัย ๑ (การเขียนโคร่งร่างงานวิจัย) ๑ (๐-๓-๑)
ศึกษาเกี่ยวกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของโครงร่างวิจัย สามารถเขียนโครงร่างวิจัยของตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ และสามารถนำเสนอโครงร่างงานวิจัยของตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ทพทส ๗๔๓ วิจัย ๒ (การวิจัยเชิงปฏิบัติ) ๒ (๐-๖-๒)
ทพทส ๗๔๕ วิจัย ๓ (การนำเสนอผลงานวิจัย) ๒ (๐-๖-๒)
ทพทส ๗๔๖ วิจัย ๔ (หลักการเขียนผลงานวิจัยเพื่อเผยแพร่) ๑ (๐-๓-๑)
ศึกษาเกี่ยวกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของบทความ (article) เพื่อการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ สามารถเขียนบทความผลงานวิจัยของตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ
ทพทส ๗๔๗ วิจัย ๕ (การเตรียมผลงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่) ๑ (๐-๓-๑)
ศึกษาเกี่ยวกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของบทความ (article) เพื่อการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ สามารถเขียนบทความผลงานวิจัยของตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ
เลขที่ 888 ม.6 ถ.บรมราชชนนี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
เบอร์ตรง 0-2849-6600