มมศท ๑๐๑ | การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ | ๒ (๑-๒-๓) |
MUGE 101 | General Education for Human Development |
วิชาบังคับก่อน : –
ความหมาย ความสำคัญ และความสัมพันธ์ของวิชาศึกษาทั่วไปกับวิชาชีพ / วิชาเฉพาะ ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับคุณสมบัติของจิตใจ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ คุณสมบัติของบัณฑิตที่พึงประสงค์ การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์ / สถานการณ์/ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา หรือปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
The meaning, significance, and relation of General Education to other vocational/specific subjects; the relation between behavior and mentality; critical thinking; the qualifications of ideal graduates; analysis of causes and consequences of events/ situations/ problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events / situations to benefit individuals and their community; and the application of knowledge to solve the problems of case studies.
มมศท ๑๐๒ | สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ | ๓ (๒-๒-๕) |
MUGE 102 | Social Studies for Human Development |
วิชาบังคับก่อน : –
หลักการและทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ / เหตุการณ์ / ปัญหาที่สำคัญของสังคม ไทยและสังคมโลก อาทิ วิวัฒนาการของอารยธรรมและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ ระบบการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ระบบสุขภาพ การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา หรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ /เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
Basic principles and theory in relation to events / situations / major problems of the Thai and global communities, for example, evolution of civilization; important events in historical, political and public administration systems; the economic and health systems, etc.; analysis of causes and consequences of events/situations/problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events/situations to benefit individuals and their community; and the application of knowledge to solve the problems of case studies.
มมศท ๑๐๓ | ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ | ๒ (๑-๒-๓) |
MUGE 103 | Arts and Science for Human Development |
วิชาบังคับก่อน : –
มนุษยภาพในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหาเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญทางด้านศิลปวิทยาการของประเทศไทยและของโลก แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา หรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ / เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
Humankind in the past, present and future; events / situations / problems in relation to the evolution of the arts and sciences in the Thai and global communities; concepts of the sufficiency economy; analysis of causes and consequences of events / situations / problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events / situations to benefit individuals and their community; and the application of knowledge to solve the problems of case studies.
ทพคร ๔๔๔ | ทักษะสัมพันธภาพและการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ | ๑ (๐-๒-๑) |
DTID 444 | Interpersonal relationship and Communication Skill for Medical Personnel |
วิชาบังคับก่อน : –
หลักการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารกับผู้ป่วย ครอบครัวผู้ป่วยและผู้ร่วมงาน เพื่อให้เกิดทักษะและเจตคติที่ดีในการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร ที่ทำให้นักศึกษาสามารถให้บริการผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
Principle of interpersonal relationship and communication with patients, patients’ families and professional associates to improve students’ interpersonal relationship and communication skill and attitude that enables the students to perform effectively and efficiently.
ทพคร ๖๓๖ | การปฏิบัติอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 636 | Evidence-Based Practice |
วิชาบังคับก่อน : –
คำจำกัดความของการปฏิบัติอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ วิธีการคิดอย่างวิกฤติและการค้นหาข้อสนเทศที่เกี่ยวกับข้อโต้เถียงทางการแพทย์ การจัดระดับหลักฐาน และการประเมินอย่างวิกฤติสำหรับวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการสนับสนุนแนวทางปฏิบัติ
Definition of evidence-based practice, critical thinking and searching of information related to medical controversy, level of evidence and critical appraisal of scientific literature to support the practice.
ทพทช ๕๓๓ | การบริหารงานทันตสาธารณสุข | ๒ (๒-๐-๔) |
DTCM 533 | Dental Public Health Administration |
วิชาบังคับก่อน : –
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป : เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ระบบการเงินเพื่อสุขภาพ หลักประกันสุขภาพและการประกันสังคม การจัดทำและการบริหารงบประมาณ การวิเคราะห์ต้นทุนการบริการ
หมวดวิชาเฉพาะ : ปัญหาทันตสาธารณสุข การวางแผนงาน การดูแลทันตสุขภาพ และการประเมินผล
General education course: health economics, health care financing system, universal health coverage and social security scheme, budgeting and budget administration, unit cost analysis.
Specific course: Problems in dental public health, dental health care planning and evaluation.
ศศภท ๑๐๐ | ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร | ๓ (๒-๒-๕) |
LATH 100 | Art of Using Thai Language in Communication |
วิชาบังคับก่อน : –
ศิลปะการใช้ภาษาไทย ทักษะการใช้ภาษาไทยในด้านการพูด การฟัง การอ่าน การเขียนและการคิด เพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
Art of using Thai language and of speaking, listening, reading, writing, and thinking skills for accurate and appropriate communication.
ศศภอ ๑๐๓* | ภาษาอังกฤษระดับ ๑ | ๓ (๒-๒-๕) |
LAEN 103* | English Level I |
วิชาบังคับก่อน : –
โครงสร้าง ไวยากรณ์ และศัพท์ภาษาอังกฤษในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ในลักษณะของบูรณาการทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษ รวมทั้งกลยุทธ์ในการอ่านบทความ การเขียนในระดับประโยค การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ การออกเสียง และการพูดสื่อสารในชั้นเรียนระดับบทสนทนา
English structure, grammar and vocabulary in the context of daily language use, dealing with integration in listening, speaking, reading, and writing skills; reading strategies, sentence writing, listening for the gist, pronunciation and classroom communication
ศศภอ ๑๐๔* | ภาษาอังกฤษระดับ ๒ | ๓ (๒-๒-๕) |
LAEN 104* | English Level II |
วิชาบังคับก่อน : –
คำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษในบริบททางสังคมปัจจุบัน ทักษะการสนทนาในกลุ่มย่อย การทำบทบาทสมมุติในสถานการณ์ต่าง ทักษะการเขียนในระดับย่อหน้า และเนื้อหาการอ่านและการฟังเรื่องต่างๆ
Vocabulary, expressions, grammar, and contextualized social language; essential communicative skills in small groups; simulations in various situations; writing practice at a paragraph level; and reading and listening from various sources
ศศภอ ๑๐๕* | ภาษาอังกฤษระดับ ๓ | ๓ (๒-๒-๕) |
LAEN 105* | English Level III |
วิชาบังคับก่อน : –
กลยุทธ์ที่สำคัญในทักษะการใช้ภาษาทั้งสี่ การอ่านและการฟังจากแหล่งต่างๆ การพูดในชีวิตประจำวัน และการเขียนระดับย่อหน้าและเรียงความสั้นๆ รวมทั้งทักษะย่อย คือ ไวยากรณ์ การออกเสียงและคำศัพท์ เน้นภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวันและการอ่านเชิงวิชาการ และเนื้อหาเกี่ยวกับสังคมโลก
Essential strategies for four language skills: reading and listening from various sources, speaking in everyday use and writing at a paragraph level and short essay, including sub-skills i.e., grammar, pronunciation, and vocabulary; focusing on English in everyday life and in academic reading and issues that enhance students world knowledge.
ศศภอ ๑๐๖* | ภาษาอังกฤษระดับ ๔ | ๓ (๒-๒-๕) |
LAEN 106* | English Level IV |
วิชาบังคับก่อน : –
บูรณาการทักษะภาษาอังกฤษ โดยการฝึกอ่านข่าว บทความวิจัย ความคิดเห็น และเนื้อหาทางวิชาการ เพื่อความเข้าใจและคิดอย่างวิเคราะห์ จากแหล่งต่างๆโดยเน้นประเด็นซึ่งช่วยให้นักศึกษารู้เกี่ยวกับสังคมโลก ฝึกการฟังข่าว การบรรยายและสุนทรพจน์จากสื่อมัลติมีเดียและอินเตอร์เน็ต การสนทนาในสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งการฝึกพูดในที่ชุมชน การนำเสนอและการทำบทบาทสมมุติ ฝึกการเขียนเรียงความรูปแบบโดยใช้การอ้างอิงและบรรณานุกรม ทั้งนี้รวมทั้งการฝึกทักษะย่อย เช่น ไวยากรณ์ การออกเสียงและคำศัพท์ในบริบทที่เหมาะสม
Integrating four English skills by practicing reading news, research articles, commentary, and academic texts, for comprehension and critical thinking, from various sources focusing on the issues that enhance students’ world knowledge; listening to news, lecture, and speech via multimedia and the Internet; making conversations in various situations including speaking in public, giving oral presentations and making simulations; and writing essays in various types using citations and references; also practicing sub-skills such as grammar, pronunciation, and vocabulary used in appropriate context
ทพคร ๕๓๒ | ภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ | ๑ (๐-๒-๑) |
DTID 532 | English for Medical Personnel |
วิชาบังคับก่อน : –
ศัพท์ โครงสร้างประโยค และสำนวนภาษาอังกฤษที่ใช้ทางวิชาชีพแพทย์ ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการเขียน ฟัง และพูด
English terms, sentence structure and expression used in medical professionals, writing, listening and speaking skill.
ทพคร ๔๓๑ | ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัย | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 431 | Research Methodology |
วิชาบังคับก่อน : –
ความหมาย ชนิดและเป้าหมายของการวิจัย กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การเขียนโครงการวิจัย การตั้งปัญหาการวิจัย และสมมุติฐานการวิจัย การเก็บข้อมูล การประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานผลการวิจัย
Meaning, types and goal of research, scientific research process, research protocol writing, formulation of research question and research hypothesis, data collection, data processing and analysis, research report.
ทพชค ๒๓๔ | พันธุศาสตร์ขั้นแนะนำ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTBC 234 | Introduction to Genetics |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา วทชว ๑๑๓ และ วทชว ๑๒๓
การแบ่งโครโมโซม และการแบ่งเซลล์ หลักการถ่ายทอดพันธุกรรมตามกฎของเมนเดล และที่นอกเหนือจากกฎของเมนเดล การเกิดรีคอมบิเนชัน ครอสโอเวอร์ และวิธีการหาตำแหน่งและระยะทางของยีน ยีนในประชากรที่สัมพันธ์กับวิวัฒนาการ ความสัมพันธ์ระหว่างยีนกับโครโมโซม ในเชิงโครงสร้างและการทำงาน การควบคุมการแสดงออกของยีน การผ่าเหล่าในระดับโมเลกุล และการซ่อมแซมดีเอ็นเอ
Chromosome and cell division, Mendelian and Non-Mendelian genetics, recombination, cross-over, population genetics and evolution, gene and chromosome relationship, structure and function of gene, regulation of gene expression, mutation, and DNA repair.
วทคณ ๑๘๑ | สถิติศาสตร์สำหรับวิทยาศาสตร์การแพทย์ | ๒ (๒-๐-๔) |
SCMA 181 | Statistics for Medical Science |
วิชาบังคับก่อน : –
แนวคิดและการประยุกต์ความน่าจะเป็นและการแจกแจงความน่าจะเป็นในเหตุการณ์หลากหลายการอธิบายค่าสถิติ สถิติพรรณนา การชักตัวอย่างเพื่อให้ได้ตัวแทนที่ดีของประชากรและการนำไปใช้ในการประมาณค่าและการทดสอบสมมุติฐาน การนำเสนอบทความหรืองานวิจัยที่ตีพิมพ์ตามความสนใจของกลุ่มนักศึกษาโดยวิธี เชิงสถิติ
Concepts and applications of probability and probability distributions in various events; interpretation of statistical values; descriptive statistics; sampling for good representatives of populations and its use in estimation and hypothesis testing; presentation of article or published research.
วทคม ๑๑๑ | เคมีทั่วไป | ๓ (๓-๐-๖) |
SCCH 111 | General Chemistry |
วิชาบังคับก่อน : –
โครงสร้างของอะตอม พันธะเคมี แก๊สและทฤษฎีจลน์ระดับโมเลกุลของแก๊ส สมดุลระหว่าง วัฏภาค สารละลายและคอลลอยด์ อุณหพลศาสตร์เคมี จลนพลศาสตร์เคมี สมดุลของไอออน ไฟฟ้าเคมี
Atomic structure, chemical bonding, gases and the kinetic molecular theory of gases, phase equilibria, solutions and colloids, chemical thermodynamics, chemical kinetics, ionic equilibria, electrochemistry.
วทคม ๑๒๒ | เคมีอินทรีย์ | ๓ (๓-๐-๖) |
SCCH 122 | Organic Chemistry |
วิชาบังคับก่อน : –
โครงสร้างโมเลกุลและสมบัติของสารอินทรีย์ การจำแนกและการเรียกชื่อหมู่ฟังก์ชันต่าง ๆ สเตอริโอเคมี สเตอริโอไอโซเมอร์และการหมุนระนาบของแสง การสังเคราะห์ ปฏิกิริยา และการระบุสารแอลเคน แอลคีน แอลไคน์ อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน เฮไลด์หรือออร์กาโนฮาโลเจน แอลกอฮอล์ ฟีนอล อีเทอร์ แอลดีไฮด์ คีโตน กรดคาร์บอซิลิก อนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิก และอะมีน โครงสร้างโมเลกุลและสมบัติของสารชีวโมเลกุลจำพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ลิปิด และกรดนิวคลิอิก
Molecular structure and properties of organic compounds, classification and nomenclature of various functional groups, stereochemistry, stereoisomers and their optical activities, synthesis, reactions and identification of alkanes, alkenes, alkynes, aromatic hydrocarbons, halides or organohalogens, alcohols, phenols, ethers, aldehydes, ketones, carboxylic acids, carboxylic acid derivatives and amines. Molecular structure and properties of biomolecules: carbohydrates, proteins, lipid and nucleic acids.
วทชว ๑๑๓ | ชีววิทยาสาระสำคัญ | ๒ (๒-๐-๔) |
SCBI 113 | Essential Biology |
วิชาบังคับก่อน : –
แนวความคิดและวิธีการทางชีววิทยา สารอาหารและความเชื่อมโยงกับโรค เซลล์และพลังงาน การสื่อสารของเซลล์ หลักการสืบทอด พันธุศาสตร์ของจุลชีพและเทคโนโลยีทันสมัย เช่น รีคอมบิแนนต์ดีเอ็นเอ การบำบัดทางพันธุศาสตร์และกระบวนการจุลภาคดีเอ็นเอ กลไกของวิวัฒนาการและวิวัฒนาการของมนุษย์ นิเวศวิทยา ประชากร ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก และการอนุรักษ์
Concepts and methods in biology, diet and their links to diseases, cell and energy, cell communication, principles of inheritance, microbial genetic and modern techniques (such as recombinant DNA, genetic therapy and, DNA microarray), mechanisms of evolution and human evolution, ecology, population, environmental world problems and conservation.
วทฟส ๑๕๓ | ฟิสิกส์พื้นฐานสำหรับวิทยาศาสตร์การแพทย์ | ๒ (๒-๐-๔) |
SCPY 153 | Basic Physics for Medical Science |
วิชาบังคับก่อน : –
กลศาสตร์ อุณหภูมิและความร้อน ของไหล คลื่น เสียงและการได้ยิน ทัศนศาสตร์และการมองเห็น แม่เหล็กไฟฟ้าขั้นพื้นฐาน กลศาสตร์ควอนตัมพื้นฐาน ฟิสิกส์อะตอม ฟิสิกส์นิวเคลียร์และกัมมันตภาพรังสี
Mechanics, temperature and heat, fluid, waves, sound and hearing, optics and visualization, basic electromagnetism, basic quantum mechanics, atomic physics, nuclear physics and radioactivity.
วทคณ ๑๖๔ | แคลคูลัสและระบบสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ | ๓ (๓-๐-๖) |
SCMA 164 | Calculus and System of Ordinary Differential Equations |
วิชาบังคับก่อน : –
การทบทวนแคลคูลัส หลักเกณฑ์ลูกโซ่และอนุพันธ์ของฟังก์ชันผกผัน อนุพันธ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ ฟังก์ชันตรีโกณมิติผกผัน ฟังก์ชันเชิงกำลังและฟังก์ชันลอการิทึม การหาอนุพันธ์โดยปริยายและอัตราสัมพัทธ์ การประยุกต์อนุพันธ์ ปฏิยานุพันธ์ ปริพันธ์จำกัดเขตและไม่จำกัดเขต ทฤษฎีบทหลักมูลของแคลคูลัส เทคนิคการหาปริพันธ์ การประยุกต์การหาปริพันธ์ ระบบสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ สนามทิศทางและรูปเฟส ตัวแทนเมทริกซ์ ผลเฉลยนิ่ง ผลเฉลยโดยวิธีค่าลักษณะเฉพาะ การประยุกต์ระบบสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ
Review of calculus, chain rule and derivatives of inverse functions, derivatives of trigonometric, inverse trigonometric, exponential and logarithmic functions, implicit differentiation and related rates, applications of derivatives, antiderivatives, definite and indefinite integrals, fundamental theorems of calculus, techniques of integration, applications of integration, systems of ordinary differential equations, direction fields and phase portraits, matrix representation, stationary solutions, solutions by eigenvalue method, applications of systems of ordinary differential equations.
วทคม ๑๑๑ | เคมีทั่วไป | ๓ (๓-๐-๖) |
SCCH 111 | General Chemistry |
วิชาบังคับก่อน : –
โครงสร้างของอะตอม พันธะเคมี แก๊สและทฤษฎีจลน์ระดับโมเลกุลของแก๊ส สมดุลระหว่าง วัฏภาค สารละลายและคอลลอยด์ อุณหพลศาสตร์เคมี จลนพลศาสตร์เคมี สมดุลของไอออน ไฟฟ้าเคมี
Atomic structure, chemical bonding, gases and the kinetic molecular theory of gases, phase equilibria, solutions and colloids, chemical thermodynamics, chemical kinetics, ionic equilibria, electrochemistry.
วทคม ๑๑๙ | ปฏิบัติการเคมี | ๑ (๐-๓-๑) |
SCCH 119 | Chemistry Laboratory |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา วทคม ๑๑๑ หรือ วทคม ๑๒๒
ทดลองเคมีทั่วไปและเคมีอินทรีย์เบื้องต้น ได้แก่ ความคลาดเคลื่อนและเลขนัยสำคัญ การเตรียมสารละลาย การไทเทรตกรด-เบส การใช้แบบจำลองศึกษาสเตอริโอเคมีของสารอินทรีย์ สมดุลเคมี กฎอัตราของปฏิกิริยา ปฏิกิริยา รีดอกซ์ การจำแนกสารอินทรีย์ตามการละลาย ปฏิกิริยาของ ไฮโดรคาร์บอน อัลกอฮอล์ ฟีนอล อัลดีไฮด์ คีโตนกรดคาร์บอกซิลิก อนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิกและเอมีน
Experiments of general chemistry and basic organic chemistry, e.g., errors, significant numbers, precision and accuracy, preparation of solution, acid-base titration, use of models for stereochemistry of organic substances, chemical equilibria, rate of reaction, redox reaction, solubility classification and reactions of hydrocarbons, reactions of alcohols and phenols, reactions of aldehydes and kietones, reactions of carboxylic Acids and derivatives, reactions of amines.
วทคม ๑๒๒ | เคมีอินทรีย์ | ๓ (๓-๐-๖) |
SCCH 122 | Organic Chemistry |
วิชาบังคับก่อน : –
โครงสร้างโมเลกุลและสมบัติของสารอินทรีย์ การจำแนกและการเรียกชื่อหมู่ฟังก์ชันต่าง ๆ สเตอริโอเคมี สเตอริโอไอโซเมอร์และการหมุนระนาบของแสง การสังเคราะห์ ปฏิกิริยา และการระบุสารแอลเคน
แอลคีน แอลไคน์ อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน เฮไลด์หรือออร์กาโนฮาโลเจน แอลกอฮอล์ ฟีนอล อีเทอร์ แอลดีไฮด์
คีโตน กรดคาร์บอซิลิก อนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิก และอะมีน โครงสร้างโมเลกุลและสมบัติของสารชีวโมเลกุลจำพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ลิปิด และกรดนิวคลิอิก
Molecular structure and properties of organic compounds, classification and nomenclature of various functional groups, stereochemistry, stereoisomers and their optical activities, synthesis, reactions and identification of alkanes, alkenes, alkynes, aromatic hydrocarbons, halides or organohalogens, alcohols, phenols, ethers, aldehydes, ketones, carboxylic acids, carboxylic acid derivatives and amines. Molecular structure and properties of biomolecules: carbohydrates, proteins, lipid and nucleic acids.
วทชว ๑๐๒ | ปฏิบัติการหลักชีววิทยา ๑ | ๑ (๐-๓-๑) |
SCBI 102 | Biology Laboratory I |
วิชาบังคับก่อน : –
ปฏิบัติการเรื่องกล้องจุลทรรศน์ โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์และเนื้อเยื่อ การแบ่งเซลล์
พันธุศาสตร์ การคัดเลือกโดยธรรมชาติ นิเวศวิทยา และพฤติกรรม
Microscopy; cell structure and function; tissue; cell division; genetics and natural selection; ecology; and behavior.
วทชว ๑๐๔ | ปฏิบัติการหลักชีววิทยา ๒ | ๑ (๐-๓-๑) |
SCBI 104 | Biology Laboratory II |
วิชาบังคับก่อน : –
ทักษะการจัดกลุ่มชนิดต่างๆ ของพืชและสัตว์ทั้งชนิดที่ไม่มีกระดูกสันหลัง และที่มีกระดูกสันหลัง การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ชีววิทยาของการเจริญ ระบบประสาทและการควบคุมการทำงานของร่างกาย การไหลเวียนของเลือด
Diversity of plants and animals including invertebrates and vertebrates; reproduction and development; nervous system and control of body function; Blood circulatory system
วทชว ๑๒๓ | กระบวนการของชีวิต | ๓(๓-๐-๖) |
SCBI 123 | Process of Life |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา วทชว ๑๑๓
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต กระบวนการของชีวิตของพืชรวมถึงอาหารของพืช การลำเลียง ภาวะธำรงดุล การสืบพันธุ์และการเจริญ กระบวนการของชีวิตของสัตว์รวมถึงการสืบพันธุ์ การเจริญ การควบคุมต่อมไร้ท่อ การป้องกันภายใน การแลกเปลี่ยนก๊าซ การลำเลียงภายใน การย่อยอาหาร การควบคุมออสโมซิสและการกำจัดของเสียที่เกิดจากเมแทบอลิซึม การส่งสัญญาณประสาท การควบคุมประสาท และการรับความรู้สึก
Diversity of life, life processes in plants including plant nutrition, transport, homeostasis, reproduction and development, life processes in animals including reproduction, development, endocrine regulation, internal defense, gas exchange, internal transport, digestion, osmoregulation and disposal of metabolic wastes, neural signaling, neural regulation and sensory reception.
วทฟส ๑๑๐ | ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป | ๑ (๐-๓-๑) |
SCPY 110 | General Physics Laboratory |
วิชาบังคับก่อน : –
การทดลองฟิสิกส์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรฟิสิกส์ที่นักศึกษาแต่ละคณะกำลังศึกษา
Basic Physics experiments relating to Physics curriculums taught to the first year students in each faculty.
วทฟส ๑๕๔ | ฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์การแพทย์ | ๓ (๓-๐-๖) |
SCPY 154 | Physics for Medical Science |
วิชาบังคับก่อน : –
กลศาสตร์ : การเคลื่อนที่แบบกวัดแกว่ง ระบบหลายอนุภาค การเคลื่อนที่ของวัตถุเกร็ง
เทอร์โมไดนามิกส์ : กฎของเทอร์โมไดนามิกส์ ทิศทางของกระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์เอนโทรปี
แสงเชิงกายภาพ : การเลี้ยวเบน การแทรกสอด โพลาไรเซชันของแสง
แม่เหล็กไฟฟ้า : กฎของเกาส์ กฎของบิโอต์-ซาวาร์ต กฎของแอมแปร์ กฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์-เฮนรี สมการของแมกเวลส์ วงจรไฟฟ้าที่มีตัวเก็บประจุและตัวเหนี่ยวนำเป็นส่วนประกอบ
ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ : การแปลงแบบลอเรนซ์ การหดสั้นของความยาว การยืดออกของช่วงเวลาโมเมนตัมเชิงสัมพัทธ์และพลังงานเชิงสัมพัทธ์
กลศาสตร์ควอนตัม : การแผ่รังสีของวัตถุดำ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก ปรากฏการณ์คอมป์ตัน สมมุติฐานของเดอ บอรย์ (ทวิภาวะคลื่น-อนุภาค) การทดลองของเดวิสสัน-เจอร์เมอร์ ฟังก์ชันคลื่นและความน่าจะเป็นของการพบอนุภาค สมการของชเรอดิงเงอร์ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้สมการของชเรอดิงเงอร์ สำหรับระบบอย่างง่าย
ฟิสิกส์อะตอม : สมการของชเรอดิงเงอร์ สำหรับอะตอมที่มีอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว ฟังก์ชันคลื่นและระดับพลังงานที่เป็นไปได้ของอิเล็กตรอน เลขควอนตัม โมเมนตัมเชิงมุม สปินของอิเล็กตรอน การจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนในอะตอมที่มีอิเล็กตรอนหลายตัว ตารางธาตุ
ฟิสิกส์นิวเคลียร์ : โครงสร้างและสมบัติของนิวเคลียส พลังงานยึดเหนี่ยว แบบจำลองของนิวเคลียส เสถียรภาพของนิวเคลียสและการสลายตัวแบบต่างๆ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ การแบ่งแยกนิวเคลียส หลักการควบคุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การหลอมรวมนิวเคลียส
ฟิสิกส์ของอนุภาค : อนุภาคมูลฐาน แบบจำลองมาตราฐานของอนุภาคมูลฐาน
Mechanics: Oscillation motion, system of many particles, motions of rigid bodies,Thermodynamics: Laws of themodynamics, directons of thermodynamic processes, entropy
Physicals Optics: Diffraction, interference, polarization
Electromagnetism: Gauss’s law, Biot-Savart’s law, Ampere’s law, Faraday-Henry’s induction law
Special theory of relativity: Lorentz transformation, length contraction, time dilation, relativistic momentum and relativistic energy
Quantum mechanics: Black body radiation, photoelectric effect, Comton effect, De Broglie’s hypothesis (wave-particle duality), Davission-Germer’s experiment, wave function and probability of finding particles, Schrodinger’s equation, application of Schrodinger’s equation to simple systems
Atomic physics: Schrodinger’s equation for single-electrons atom, possible wave function and energy level fo electrons, quantum numbers, angular momentum, electron spins, electron configurations in atoms, periodic table
Nuclear physics: structures and properties of nucleus, binding energy, nuclear models, stability of nucleus and decay, nuclear fission, principles of nuclear reactor control, nuclear fusion
Particle physics: Elementary particles, models of elementary particles
ทพกย ๒๓๑ | วิทยาเอ็มบริโอ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTAN 231 | Embryology |
วิชาบังคับก่อน : –
การเจริญของเซลล์สืบพันธุ์ การปฏิสนธิ และการเจริญของตัวอ่อนตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงก่อนคลอด
การเจริญของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และการเจริญที่ผิดปกติโดยสังเขป
Gametogenesis, fertilization, development from fertilization to birth, development of organ systems and congenital malformations.
ทพกย ๒๓๒ | มหกายวิภาคศาสตร์ ๑ | ๓ (๒-๓-๕) |
DTAN 232 | Gross Anatomy I |
วิชาบังคับก่อน : –
โครงสร้างทั่วไปเชิงกายวิภาคศาสตร์ กระดูก ข้อต่อ กะโหลกศีรษะ โครงสร้างของศีรษะและคอ ช่องปาก ต่อมน้ำลาย จมูกและโพรงอากาศข้างจมูก เยื่อหุ้มสมองและโพรงหลอดเลือดดำ ระบบประสาทส่วนปลายและระบบประสาทอัตโนมัติ อวัยวะการรับรู้เฉพาะ โครงสร้างศีรษะส่วนสัมพันธ์กับการฉีดยาชาเฉพาะที่ทางทันตกรรม
General anatomical structures, bones, joints, skull, anatomy of head and neck, oral cavity, salivary glands, nose and paranasal air sinuses, meninges and venous sinuses, peripheral and autonomic nervous systems, structures of head related to local anesthesia.
ทพกย ๒๓๓ | จุลกายวิภาคศาสตร์ ๑ | ๒ (๑-๓-๓) |
DTAN 233 | Microanatomy I |
วิชาบังคับก่อน : –
ส่วนประกอบและการใช้กล้องจุลทรรศน์ จุลกายวิภาคศาสตร์ของเซลล์และเนื้อเยื่อของร่างกาย
ได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว ต่อม เนื้อเยื่อยึดต่อ กระดูกอ่อน กระดูก เม็ดเลือด เนื้อเยื่อสร้างเม็ดเลือด เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อประสาท
Microscope, light and electron microscopic structures of cell and tissue, such as epithelium, gland, connective tissue, cartilage, bone, blood, hemopoietic tissue, muscular tissue and nervous tissue.
ทพกย ๒๔๓ | จุลกายวิภาคศาสตร์ ๒ | ๒ (๑-๓-๓) |
DTAN 243 | Microanatomy II |
วิชาบังคับก่อน : –
จุลกายวิภาคศาสตร์ของหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง เนื้อเยื่อและอวัยวะน้ำเหลือง ผิวหนัง โครงสร้างของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหาร ระบบปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ
Microanatomy of blood and lymph vessels, lymphatic tissue and organs, skin, organs
of respiration, blood circulation, alimentary, urinary, reproduction and endocrine systems.
ทพกย ๒๔๒ | ประสาทกายวิภาคศาสตร์ | ๓ (๒-๓-๕) |
DTAN 242 | Neuroanatomy |
วิชาบังคับก่อน : –
กายวิภาคศาสตร์ของระบบประสาทส่วนกลาง ระบบหลอดเลือด วิถีน้ำไขสันหลัง และตัวอย่าง
พยาธิสภาพทางประสาทโดยสังเขป
Anatomy of central nervous system, blood supply, cerebrospinal fluid pathway, and some neurological pathology.
ทพกย ๒๕๑ | มหกายวิภาคศาสตร์ ๒ | ๒ (๑-๓-๓) |
DTAN 251 | Gross Anatomy II |
วิชาบังคับก่อน : –
โครงสร้างคอหอยและกล่องเสียง หลอดเลือด การระบายน้ำเหลือง และช่องพังผืดของศีรษะและคอ ผนังทรวงอก อวัยวะภายในช่องอก ระบบไหลเวียนโลหิต ผนังช่องท้อง อวัยวะภายในช่องท้อง อวัยวะในเชิงกราน
และโครงสร้างของแขน
Structures of pharynx and larynx, vascular supply, lymphatic drainage and fascial spaces of head and neck, thoracic wall and organs, circulatory system, abdominal wall and organs, pelvic organs, structures of upper limb.
ทพคร ๒๓๓ | ชีวสถิติ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 233 | Biostatistics |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา วทคณ ๑๘๑
หลักการและวิธีเชิงสถิติ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ทางทันตกรรม การเก็บรวบรวมข้อมูล หลักการสำรวจตัวอย่างและการทดลอง สถิติพรรณนา การประมาณและการทดสอบสมมุติฐาน โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับการวิเคราะห์ทางสถิติและการแปลความหมาย
Principle and statistical methods, illustrating their application in dentistry, topics include data collection, principle of sample surveys and experiments , descriptive statistics, estimation and hypothesis testing , statistical package for statistical analysis and interpretation.
ทพคร๒๔๑ | วิทยาโรคฟันผุ ๑ | ๒ (๑-๒-๓) |
DTID 241 | Cariology I |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพชค ๒๓๑ และ ทพชค ๒๓๒
สมุฏฐานวิทยาของโรคฟันผุ พยาธิกำเนิด และการดำเนินของโรค ในแง่ของลักษณะทางกายภาพ ชีวเคมี จุลพยาธิวิทยา จุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน
Etiology of dental caries, pathogenesis and process of the disease in morphological, biochemical, histopathological, microbiological and immunological aspects.
ทพคร ๓๓๒ | วิทยาโรคฟันผุ ๒ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 332 | Cariology II |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพคร ๒๔๑
การวินิจฉัยโรคฟันผุ และการป้องกันโรคฟันผุ โดยใช้ฟลูออไรด์และสารเคมี การเคลือบหลุม ร่องฟัน การดูแลสุขภาพช่องปาก การให้คำแนะนำด้านโภชนาการ
Diagnosis of dental caries and caries prevention including the use of fluoride and other chemical agents, sealant, oral hygiene care and diet counseling.
ทพคร ๓๔๑ | การเจริญเติบโตและการพัฒนาของกะโหลกศีรษะและใบหน้า | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 341 | Craniofacial Growth and Development |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพกย ๒๓๑
การเจริญเติบโตของโครงสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้า ตั้งแต่ก่อนเกิดจนถึงหลังเกิด การพัฒนาการส่วนโค้งคอหอย กะโหลกศีรษะ ใบหน้า ช่องปาก ช่องจมูก ขากรรไกรบนและล่าง แนวคิดและทฤษฏีการเจริญเติบโตของกะโหลกศีรษะและใบหน้า กลไกการเจริญของกระดูกหุ้มสมอง การเจริญของใบหน้าส่วนกลางและขากรรไกรล่าง ความผิดปกติของการเจริญพัฒนาของกะโหลกศีรษะและใบหน้า
Prenatal and postnatal growth of craniofacial structures, developmental of pharyngeal arches, cranium, face, oral and nasal cavities, maxilla and mandible, concept and theories of craniofacial growth, mechanism of growth of cranium, growth of middle face and mandible and developmental anomalies of craniofacial structures.
ทพจว ๒๔๒ | หลักมูลจุลชีววิทยาการแพทย์สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ | ๓ (๒-๓-๕) |
DTMI 242 | Fundamental of Medical Microbiology for Dental Students |
วิชาบังคับก่อน : ศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพชค ๒๓๑
การจัดหมวดหมู่และลักษณะพื้นฐานของจุลินทรีย์ต่างๆ ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส รา ริกเกตเซีย คลามัยเดีย มัยโคพลาสมา แอลฟอร์มแบคทีเรีย โปรโตซัว และหนอนพยาธิ การเจริญเติบโตและสรีรวิทยาของจุลินทรีย์ และการศึกษาจุลินทรีย์ก่อโรคในคนที่มีความสำคัญทางการแพทย์โดยศึกษาความสามารถในการก่อโรคติดเชื้อทั้งแบบเฉพาะที่และทั่วกาย
Classification and basic characteristics of microorganisms e.g., bacteria, viruses, fungi, rickettsiae, chlamydiae, mycoplasma, L-form bacteria, protozoa and helminths, microbial growth and physiology studying pathogenic microorganisms of medical importance focusing on pathogenesis of generalized and systemic infectious diseases.
ทพจว ๓๓๑ | จุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกันช่องปาก | ๓ (๒-๓-๕) |
DTMI 331 | Oral Microbiology and Immunology |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพจว ๒๔๒ และเคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพจว ๓๓๒
ชนิดและนิเวศวิทยาของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ในช่องปาก การเกิดคราบจุลินทรีย์และบทบาทในการก่อโรคการติดเชื้อที่เกี่ยงข้องกับวิชาชีพทันตแพทย์ การติดเชื้อในช่องปากและทั่วกายที่เกิดจากจุลินทรีย์ประจำถิ่นภูมิคุ้มกันและกลไกการป้องกันการติดเชื้อในช่องปาก การควบคุมการติดเชื้อทางทันตกรรม เทคนิคชีววิทยาระดับโมเลกุลในจุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกันช่องปาก
Oral microflora and ecology, dental plaque formation and its pathogenesis roles, occupation related infections, oral and systemic infections caused by oral microflora, immunity and defense mechanisms against oral infections, infection control in dentistry, molecular biological techniques in oral microbiology and immunology
ทพจว ๓๓๒ | วิทยาภูมิคุ้มกันที่จำเป็นทางทันตกรรม | ๒ (๒-๐-๔) |
DTMI 332 | Essential Immunology in Dentistry |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพชค ๒๓๑
กลไกการสร้างภูมิคุ้มกันและปฏิกิริยาของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอม ภูมิคุ้มกันผ่านทางสารน้ำ ภูมิคุ้มกันผ่านเซลล์ ภูมิคุ้มกันเยื่อเมือก ปฏิกิริยาระหว่างสารก่อภูมิต้านทานและสารภูมิต้านทาน ปฏิกิริยาภูมิไวเกิน ภูมิต้านตนเอง การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อและอวัยวะ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาภูมิคุ้มกันในทางคลินิก
Body defense mechanisms and reactions against foreign bodies, humoral immunity, cell-mediated immunity, mucosal immunity, antigen-antibody reactions, hypersensitivity reactions, autoimmunity, tissue and organ transplantation, clinical applications of immunology.
ทพชค ๒๓๑ | ชีวเคมี | ๓ (๓-๐-๖) |
DTBC 231 | Biochemistry |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา วทคม ๑๒๒
หลักการพื้นฐานของชีวเคมี : การศึกษาโครงสร้าง สมบัติ หน้าที่ของสารมหโมเลกุลของ ร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรท ไขมัน โปรตีน เอนไซม์ และ กรดนิวคลิอิก กระบวนการทางชีวเคมีของสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการเมตาบอลิสมกับโครงสร้างหน้าที่ของชีวโมเลกุลที่สำคัญที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์รวมทั้งเนื้อเยื่อช่องปากและฟัน
Basic principles of biochemistry: the study of structures, properties, functions, of macromolecules such as carbohydrate, lipid, protein, enzyme and nucleic acid. Biochemical process of living organism and relationship between metabolic process and important biological molecules that involves in medicine including oral tissues and teeth.
ทพชค ๒๓๒ | ปฏิบัติการชีวเคมี | ๑ (๐-๓-๑) |
DTBC 232 | Biochemistry Laboratory |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา วทคม ๑๒๒ และเคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพชค ๒๓๑
ศึกษาสมบัติทางเคมีและกายภาพของชีวโมเลกุล โดยใช้วิธีการพื้นฐานของการทำฏิบัติการทางชีวเคมี เช่น โครมาโตกราฟฟี, สเปคโตรโฟโตเมตรี, อิเลคโตรโฟรีซิส และจนศาสตร์ของเอนไซม์
The study of chemical and physical properties of biomolecules through basic biochemical techniques such as chromatography, spectrophotometry, electrophoresis and enzyme kinetics.
ทพชค ๒๓๕ | หลักการทางฟิสิกส์ในวิทยาศาสตร์ชีวภาพและทันตแพทยศาสตร์ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTBC 235 | Physical Principles in Life Science and Dentistry |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา วทฟส ๑๑๐, วทฟส ๑๕๓ และ วทฟส ๑๕๔
หลักการทางฟิสิกส์และอุณหพลศาสตร์ระดับโมเลกุล ที่นำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในระดับเซลล์ของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งหลักการและเทคนิคทางการศึกษาวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่สามารถประยุกต์ใช้ในการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับ สาขาทันตแพทยศาสตร์
Principles of Physics and Thermodynamics relating to chemical phenomena in cellular level of living organism including principles and techniques use in life science research. Application for dental science.
ทพพย ๒๓๑ | วิทยาเนื้อเยื่อช่องปาก | ๑ (๐-๓-๑) |
DTPA 231 | Oral Histology |
วิชาบังคับก่อน : –
วิธีการเตรียมฟันเพื่อศึกษาทางกล้องจุลทรรศน์ ศึกษาการเจริญและการเติบโตของฟัน โครงสร้างและหน้าที่ของเนื้อเยื่อต่างๆ ของฟัน คือ เคลือบฟัน เนื้อฟัน เนื้อเยื่อในฟัน เนื้อเยื่ออวัยวะปริทันต์ (เหงือก เคลือบรากฟัน กระดูกเบ้าฟัน และเอ็นยึดปริทันต์) เยื่อบุในช่องปากริมฝีปาก แก้ม ลิ้น เพดานปาก ข้อต่อขากรรไกร และต่อมน้ำลาย
Method to prepare tooth specimen for histological study, development and growth of teeth, structure and functions of enamel, dentin, pulp, periodontium (gingiva, cementum, alveolar bone and periodontal ligament), oral mucosa, lip, cheek, tongue, palate, temporomandibular joint and salivary gland.
ทพพย ๒๔๓ | พยาธิวิทยาทั่วไป | ๑ (๐-๒-๑) |
DTPA 243 | General Pathology |
วิชาบังคับก่อน : –
ความรู้พื้นฐานทางพยาธิวิทยาของเซลล์และเนื้อเยื่อ ได้แก่ การตอบสนองของเซลล์ต่อ การบาดเจ็บ การตายของเซลล์ การเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ เนื้องอก การอักเสบ การหายของแผล โรคภูมิคุ้มกัน โรคติดเชื้อทั่ว ๆ ไปและโรคติดเชื้อในช่องปาก และโรคที่มีสาเหตุจากพันธุกรรม
Introduction to the pathology of cells and tissues. These include cell injury and cell death,
disorders of cell growth, neoplasia, inflammation, wound healing, diseases of immunity, general pathology of
infectious diseases and mucosal infections and genetic diseases.
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า)
ทพพย ๓๔๒ | พยาธิวิทยาทั่วกาย | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPA 342 | Systemic Pathology |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพพย ๒๔๓
คำจำกัดความ สาเหตุ พยาธิกำเนิด ลักษณะทางคลินิก ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์และทางจุลพยาธิวิทยา การวินิจฉัย การรักษา และการพยากรณ์โรคของโรคทางระบบซึ่งได้แก่ โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ เลือดและเนื้อเยื่อน้ำเหลือง ระบบทางเดินหายใจ ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท ผิวหนัง ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
Definition, etiology, pathogenesis, clinical feature, gross and histopatholoical feature, diagnosis, treatment and prognosis of diseases of the cardiovascular system, the blood and lymphoid tissues, the respiratory system, the gastrointestinal system, the urinary tract and reproductive system, the nervous system, the skin, the musculoskeletal system and endocrine and metabolic diseases.
ทพรบ ๒๓๓ | ทันตวิภาคศาสตร์ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTMS 233 | Dental Anatomy |
วิชาบังคับก่อน : –
การจำแนกกลุ่มฟัน การเรียกชื่อฟันและสัญลักษณ์แทนฟัน จำนวน เวลาการขึ้นและหลุด หน้าที่ โครงสร้างและส่วนต่างๆ ของฟัน ขนาดและรูปร่างลักษณะของฟันแท้และฟันน้ำนมทุกซี่ การแยกลักษณะแตกต่างของฟันแท้และฟันน้ำนมแต่ละซี่ ความสัมพันธ์ของฟันในขากรรไกร ระบบการปกป้องตนเองโดยธรรมชาติของฟัน และการนำความรู้ทางทันตกายวิภาคศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ทางคลินิก
Classification, naming and coding system, number, chronology of eruption and exfoliation, and function of human dentition; structures and parts of tooth; size and morphology of deciduous and permanent dentitions; tooth identification; intra-arch relationship of the dentition; natural self-protection system of human dentition; applied dental anatomy in clinical practice.
ทพรบ ๒๓๔ | ปฏิบัติการทันตวิภาคศาสตร์ ๑ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTMS 234 | Dental Anatomy Laboratory I |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพรบ ๒๓๓
ฝึกหัดการจำแนกกลุ่มฟัน การเรียกชื่อฟันและสัญลักษณ์แทนฟันแท้และฟันน้ำนมทุกซี่ ศึกษาและฝึกหัดเรียกชื่อโครงสร้างและส่วนต่างๆ ของฟันและอวัยวะรองรับรากฟันโดยอาศัยแบบจำลอง ฝึกหัดการแยกลักษณะแตกต่างของฟันแท้และฟันน้ำนมแต่ละซี่ ฝึกหัดแกะแต่งตัวฟันของฟันหน้าแท้บนในแบบจำลองโดยใช้ขี้ผึ้งทางทันตกรรม
Laboratory demonstration: classification of teeth, naming and coding, structure and parts of tooth and supporting structures, tooth identification of deciduous and permanent dentitions; Laboratory practice: wax carving of permanent anterior teeth in typodont.
ทพรบ ๒๓๕ | ปฏิบัติการทันตวิภาคศาสตร์ ๒ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTMS 235 | Dental Anatomy Laboratory II |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพรบ ๒๓๓
ฝึกหัดแกะสลักแต่งฟันของฟันหลังแท้บนและล่างในหุ่นจำลองโดยใช้ขี้ผึ้งทางทันตกรรม
Laboratory practice: wax carving of permanent posterior teeth in typodont.
ทพสร ๒๔๑ | สรีรวิทยา ๑ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPS 241 | Physiology I |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพสร ๒๔๒ และ ทพสร ๒๔๓
การทำงานของเซลล์ประสาท เส้นประสาท กล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบประสาทอิสระ
Function of neurons, nerve, muscle, nervous system, autonomic nervous system.
ทพสร ๒๔๒ | สรีรวิทยา ๒ | ๓ (๓-๐-๖) |
DTPS 242 | Physiology II |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพสร ๒๔๑ และ ทพสร ๒๔๓
การทำงานของระบบรับสัมผัสพิเศษ ได้แก่ การมองเห็น การรับกลิ่น การรับรส การได้ยินและ การทรงตัว การทำงานของระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนของโลหิต ระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่ายปัสสาวะและการควบคุมความเป็น กรด-ด่างของร่างกาย ระบบต่อมไร้ท่อและระบบสืบพันธุ์
Function of special sense e.g. vision, olfaction, taste, hearing and equilibrium, function of respiratory system, circulatory, gastrointestinal, urinary and acid-base balance, endocrine and reproductive system
ทพสร ๒๔๓ | ปฏิบัติการสรีรวิทยา | ๑ (๐-๓-๑) |
DTPS 243 | Physiology Laboratory |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพสร ๒๔๑ และ ทพสร ๒๔๒
ศึกษาการทำงานของเซลล์ เส้นประสาท กล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบประสาทอิสระ การทำงานของระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนของโลหิต ระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่ายปัสสาวะในสัตว์ทดลอง
หรือมนุษย์
Study on the function of cell, nerve, muscle, nervous system, autonomic nervous system, function of respiratory system, circulatory, gastrointestinal, urinary system in the experimental animals or humans.
ทพคร ๒๓๒ | จริยศาสตร์ทันตแพทย์ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 232 | Dental Ethics |
วิชาบังคับก่อน : –
ประวัติวิชาชีพทันตแพทยศาสตร์ และองค์กรวิชาชีพ ความหมายของจริยศาสตร์ทันตแพทย์ หลักจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม สิทธิผู้ป่วยและผู้บริโภค วิเคราะห์ประเด็นปัญหาจริยธรรมและการใช้เหตุผลทางจริยศาสตร์
History of dental profession and organization, definition of dental ethics, principle of ethics and code of conduct in dentistry, patient and consumer’s rights, analysis of ethical issues and ethical reasoning
ทพคร ๒๔๔ | หลักมูลทันตชีววัสดุศาสตร์ | ๒ (๒-๐-๔) |
DTID 244 | Fundamental of Dental Biomaterial Science |
วิชาบังคับก่อน : –
กระบวนการมาตรฐาน สมบัติเชิงกายภาพ เชิงกล และเชิงชีวภาพของทันตวัสดุ แนวคิดพื้นฐานทันตวัสดุจำพวกโพลีเมอร์ ขี้ผึ้ง ยิปซัม เรซินอะคริลิก และวัสดุเพื่อการบูรณะในช่องปาก ได้แก่ โลหะเจือ อมัลกัม คอมโพสิต เรซิน กลาสไอโอโนเมอร์ วัสดุปิดร่องและหลุมบนฟัน ซีเมนต์ประเภทต่างๆ และวัสดุอื่นๆ ทางทันตกรรมเพื่อใช้บันทึกการสบฟันและอุดคลองรากฟัน หลักการและแนวคิดพื้นฐานของสารยึดติดทางทันตกรรม วัสดุพิมพ์ปากทุกชนิด โลหะเจือทางทันตกรรม การกัดกร่อนของโลหะเจือทางทันตกรรม วัสดุทำเบ้าเพื่อหล่อ วัสดุทำเบ้าเพื่อเชื่อม สารบัดกรี เซรามิกทางทันตกรรม และวัสดุเพื่อการขัดแต่งทันตวัสดุต่าง ๆ
Standardization, physical, mechanical and biological properties of dental materials. basic concept of polymeric materials, wax, gypsum acrylic resin and all basic restorative materials such as alloys, amalgam, composite resin, glass ionomer, pit and fissure sealant, cements, interocclusal record materials and root canal filling materials. Principle and basic concepts of dental adhesives, impression materials, dental alloys and corrosion, casting investment, soldering investment, dental ceramics and, finishing and polishing materials.
ทพคร ๓๓๑ | การยศาสตร์ในทันตกรรม | ๑ (๐-๒-๑) |
DTID 331 | Ergonomics in Dentistry |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา มมศท ๑๐๑, ทพกย ๒๕๑, ทพคร ๒๔๑ และ ทพรบ ๒๓๓
การทำงานทันตกรรมเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้ป่วย
ประกอบด้วยการจัดท่าทางการทำงาน การดูแลสุขภาพร่างกายของตนเอง การมองภาพในช่องปากของผู้ป่วย
การจับเครื่องมือทันตกรรม การใช้เครื่องมือทันตกรรมที่ถูกต้อง ความสัมพันธ์ของการนั่งทำงานของทันตแพทย์
และท่านอนของผู้ป่วย โดยการใช้ศีรษะจำลองเป็นที่ฝึกปฏิบัติ
The dental procedure by the correct method to use the instruments and equipments for the efficacy results and there are not danger to the dentist and patient. They compose the posures and position setting, view, clasp the filling and scaling instrument, use the handpiece, the dental chair and maintenance.
ทพคร ๓๓๔ | ปฏิบัติการทันตชีววัสดุศาสตร์ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTID 334 | Dental Biomaterial Science Laboratory |
วิชาบังคับก่อน : –
ฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเพื่อการศึกษา และทดสอบสมบัติต่าง ๆ ที่มีผลต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพของทันตวัสดุกลุ่มแอดฮีซีฟ วัสดุพิมพ์ปาก ยิปซัม อะคริลิก โลหะเจือทางทันตกรรม ขี้ผึ้ง เซรามิก ซีเมนส์ กระบวนการมาตรฐาน และการรายงานผลการศึกษาวัสดุต่าง ๆ
Laboratory practice of property testing of the dental materials such as dental adhesive materials, impression materials, gypsum, dental alloys, wax, acrylic resin, cements and biocompatibility test.
ทพคร ๓๓๕ | ทันตชีววัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 335 | Dental Biomaterial Science and Technology |
วิชาบังคับก่อน : –
ทันตวัสดุใหม่ๆ เพื่อใช้งานฟันเทียมบางส่วนติดแน่นและถอดได้ ข้อพึงระวังและการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมในทางปฏิบัติ เทคโนโลยีใหม่ๆ ทางทันตกรรม การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการผลิตชิ้นงานทางทันตกรรม ความก้าวหน้าทางภาพถ่ายและภาพถ่ายรังสีดิจิทัล ข้อดี ข้อเสีย การประยุกต์ใช้ทางคลินิก
Current dental materials for fixed and removable Prosthodontic, cautions and selection of dental material for appropriate dental practice, new dental technologies such as dental CAD/CAM, advances in digital imaging and radiograph, advantages, disadvantages and clinical application.
ทพคร ๓๔๒ | การจัดการความเจ็บปวด ๑: การทำให้ชาเฉพาะที่ในทันตกรรม | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 342 | Pain Management I : Local Anesthesia in Dentistry |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพภส ๓๓๑
เภสัชวิทยาของยาชาและยาบีบหลอดเลือด การเตรียมยาชาเฉพาะที่ และพื้นฐานการเลือก โครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ที่เกี่ยวกับยาชาเฉพาะที่ วิธีการฉีดยาชาในทางทันตแพทยศาสตร์ การแทรกซ้อนและปฏิกิริยาระหว่างยากับยาชา และการฝึกทางคลินิก
Pharmacology of local anesthetics and vasoconstrictors, clinical preparation of local anesthetics and selection basis, anatomical structures related to local anesthesia, method of induction local anesthesia in dentistry, complications and drugs interactions with local anesthetics, and clinical practice.
ทพคร ๓๔๔ | กลไกและการจำแนกประเภทของความเจ็บปวดในบริเวณใบหน้าและช่องปาก | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 344 | Orofacial Pain Mechanism and Classification |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพกย ๒๔๒
ประสาทชีววิทยาของความเจ็บปวด กลไกประสาทส่วนกลางและส่วนปลายของความเจ็บปวด กลไก ลักษณะอาการทางคลินิกและการวินิจฉัยความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าและช่องปากทั้งความเจ็บปวดเหตุจากฟันและความเจ็บปวดที่ไม่ใช่เหตุจากฟัน
Neurobiology of pain, peripheral and central mechanism of pain, mechanism, clinical characteristic and differential diagnosis of orofacial pain: odontogenic and non-odontogenic origin.
ทพคร ๔๓๓ | รอยโรคช่องปากและใบหน้าขากรรไกร ๒ | ๒ (๒-๐-๔) |
DTID 433 | Oral and Maxillofacial Lesions II |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพพย๓๓๑, ทพพย ๓๓๒, ทพพย ๓๓๓, และ ทพพย ๓๔๑
การตรวจวินิจฉัย การตรวจทางภาพถ่ายรังสี การวางแผนการรักษา และวิธีการรักษาทางศัลยกรรมของถุงน้ำ เนื้องอกชนิด ไม่ร้ายแรงในช่องปากและขากรรไกร โรคของต่อมน้ำลาย รวมทั้งการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ การปลูกกระดูกหรือแก้ไขการสูญเสียเนื้อเยื่อที่มีสาเหตุจากเนื้องอกหรือการผ่าตัด ศึกษาถึงเนื้องอกชนิดร้ายแรงในช่องปาก ใบหน้าและลำคอ การตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ การใช้รังสีรักษา เคมีบำบัด การดูแลรักษาทาง ทันตกรรม/ศัลยกรรมในผู้ป่วยเนื้องอกชนิดร้ายแรงทั้งก่อนและหลังทำการรักษา และผลของการรักษาต่ออวัยวะของช่องปาก และฟัน ภาวะกระดูกตายจากการฉายรังสี และภาวะกระดูกตายจากยาป้องกันโรคกระดูกพรุน
Clinical examination, radiographic examination, diagnosis, treatment planning and surgical management in cysts, salivary gland diseases, benign and malignant tumors of oral and maxillofacial regions, include tissue biopsy, reconstruction of pathological defects and radiotherapy, chemotherapy and its effects to soft tissue and bone of oral and maxillofacial regions and pre- and post operative dental management in malignant patients.
ทพคร ๔๔๒ | สัมมนาการอักเสบและการหายของแผล | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 442 | Inflammation and Wound Healing Seminar |
วิชาบังคับก่อน : –
สัมมนาเกี่ยวกับขบวนการอักเสบประเภทต่างๆ การหายของแผล การเปลี่ยนแปลงและผลที่เกิดขึ้นในระดับโมเลกุล เซลล์ เนื้อเยื่อ และทั้งระบบทั่วร่างกาย บทบาทของระบบภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวข้อง ความจำเป็นของขบวนการอักเสบต่อการมีชีวิต ประโยชน์และโทษ การควบคุมขบวนการอักเสบของร่างกาย การใช้สารเคมีและยาที่มีผลต่อการอักเสบ เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในคลินิก ทั้งในแง่ของการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษา โดยใช้กรณีผู้ป่วยต่างๆ
Seminar about types of inflammation and wound healing, pathogenesis of diseases, tissue changes in inflammation and healing, signaling molecules and defense mechanism, pharmacological treatment and clinical relevancy
ทพคร ๔๕๑ | โครงงานวิจัย | ๒ (๐-๖-๒) |
DTID 451 | Research Project |
วิชาบังคับก่อน : ศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพคร ๔๓๑
ฝึกปฏิบัติการวิจัยตามโครงการวิจัยที่ได้รับ โดยใช้กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เก็บข้อมูล ประมวลผลการวิจัย เขียนรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ และนำเสนอผลการวิจัย
Conducting an experiment according to the assigned research topic through the scientific research process; data collection and analysis; scientific report writing and presentation.
ทพคร ๕๓๑ | รอยโรคช่องปากและใบหน้าขากรรไกร ๓ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 531 | Oral and Maxillofacial Lesions III |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวป ๔๓๒ และ ทพคร ๔๓๓
ประชุมกรณีผู้ป่วยที่มีรอยโรคในช่องปาก กระดูกใบหน้าและขากรรไกร โดยศึกษาวิเคราะห์ จากลักษณะอาการทางคลินิกร่วมกับภาพรังสี ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา และอภิปรายถึงสาเหตุ การดำเนินโรค การวินิจฉัยแยกโรค การวางแผนการรักษา การพยากรณ์โรค และการสัมนาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
Case conference of dental patients with lesion in oral cavity, facial bone and jaw bone emphasizing on the investigation of patient’s clinical manifestation, pathological finding, and histopathology, discussion on etiology, pathogenesis, treatment planning and prognosis. seminar on related current topic.
ทพคร ๕๔๒ | กฎหมายและนิติทันตวิทยา | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 542 | Jurisprudence and Forensic Odontology |
วิชาบังคับก่อน : –
ปรัชญาพื้นฐานของกฎหมาย, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป การขึ้นทะเบียนเป็น ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาทันตแพทย์ สิทธิผู้ป่วย กฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพทันตแพทย์ กระบวนการยุติธรรม นิติเวชศาสตร์ขั้นพื้นฐานและทันตนิติเวช
Philosophy of laws and jurisprudences, introduction to Thai legal system, licensure and the practice of dentistry, patient’s bill of rights, laws and acts pertaining to the dental profession, justice system, basic forensic medicine, and forensic dentistry.
ทพคร ๕๔๓ | การจัดการความเจ็บปวด ๒ : การควบคุมความเจ็บปวดและวิตกกังวล ในการบำบัดทางทันตกรรม | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 543 | Pain Management II: Pain and Anxiety Control in Dental Practice |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพภส ๓๔๓
หลักการควบคุมความเจ็บปวด การจัดการความเจ็บปวดด้วยการใช้ยา และไม่ใช้ยา การใช้ยารักษาโรคลมชัก และยารักษาความวิการของกระดูกและกล้ามเนื้อในการจัดการความเจ็บปวดใบหน้า-ช่องปาก การใช้ยาระงับความรู้สึกและยาสงบประสาทเพื่อการบำบัดทางทันตกรรม การประเมินและการเตรียมผู้ป่วยก่อนใช้ยาระงับความรู้สึกและยาสงบประสาท การดูแลหลังใช้ยาระงับความรู้สึกและยาสงบประสาท และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้
Principle of pain control, pharmacological and non-pharmacological pain management, use of anticonvulsant and medications for musculoskeletal disorders in orofacial pain management, general anesthesia and sedation in dentistry, methods, preoperative evaluation and preparation, postoperative care and complications.
ทพคร ๖๓๓ | หลักมูลวิทยาทันตกรรมรากเทียม | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 633 | Fundamental of Dental Implantology |
วิชาบังคับก่อน : –
หลักมูลและประวัติความเป็นมาของทันตกรรมรากเทียม การตรวจผู้ป่วยและการวางแผนการรักษาทันตกรรมรากเทียม ทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดและงานทันตกรรมประดิษฐ์ วิธีการผ่าตัดและงานทันตกรรมประดิษฐ์ในงานทันตกรรมรากเทียม การรักษารากเทียมและการจัดการภาวะแทรกซ้อนฝึกปฏิบัติในแบบจำลองการผ่าตัดและงานทันตกรรมประดิษฐ์
Fundamental and history of dental implantology, patient examination and treatment planning for dental implant. suitable options for implant surgery and prostheses, surgical and prosthodontic procedures in dental implant, maintenance of dental implant and management of complications, laboratory practice of surhical and prosthetic procedures in models.
ทพคร ๖๓๕ | ทันตกรรมผู้สูงอายุ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 635 | Geriatric Dentistry |
วิชาบังคับก่อน : –
ทฤษฎีการเปลี่ยนตามวัย การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและจิตใจ โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การประเมินทางเภสัชวิทยา แผนการรักษาแบบพร้อมมูล การป้องกันโรคในช่องปากและข้อควรพิจารณาในการรักษาทางทันตกรรมที่เหมาะสม
Theory of aging, physiological and mental status changes, common diseases in the elderly, pharmacological assessment, comprehensive treatment plan, prevention of oral disease and appropriate considerations for dental treatment.
ทพคร ๖๓๘ | รอยโรคช่องปากและใบหน้าขากรรไกร ๔ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTID 638 | Oral and Maxillofacial Lesions IV |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวป ๔๓๒ และ ทพคร ๔๓๓
ประชุมกรณีผู้ป่วยที่มีรอยโรคในช่องปาก กระดูกใบหน้าและขากรรไกร โดยศึกษาวิเคราะห์ จากลักษณะอาการทางคลินิกร่วมกับภาพรังสี ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา และอภิปรายถึงสาเหตุ การดำเนินโรค การวินิจฉัยแยกโรค การวางแผนการรักษา การพยากรณ์โรค และการสัมนาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
Case conference of dental patients with complicated oral and maxillofacial lesion requiring advanced treatment, emphasizing on the investigation of patient’s clinical findings, pathology and histopathology, discussion on etiology, pathogenesis, treatment planning and prognosis, seminar on related current topic.
ทพคร ๖๕๒ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : การวินิจฉัยโรคช่องปากและแปลภาพรังสี | ๑ (๐-๓-๑) |
DTID 652 | Comprehensive Dental Practice : Oral Diagnosis and Radiograph Interpretation |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวป ๕๕๖
เพิ่มพูนประสบการณ์การฝึกปฏิบัติในคลินิก ประกอบด้วย การซักประวัติผู้ป่วย การตรวจทางคลินิก การตรวจเพิ่มเติม การถ่ายภาพรังสีบริเวณช่องปากและใบหน้าขากรรไกร การแปลภาพรังสี การวินิจฉัย การวางแผนการรักษา การส่งต่อผู้ป่วย และการบันทึกแฟ้มประวัติ
Experience acquisition in clinica practice : history taking, clinical examination, supplementary examinations, oral and maxillofacial radioguaphy, radioguaph interpretation, diagnosis, treatment planning, patient referral and chart record.
ทพทจ ๔๓๑ | หลักมูลทันตกรรมจัดฟัน | ๑(๑-๐-๒) |
DTOD 431 | Fundamental of Orthodontics |
วิชาบังคับก่อน : –
การสบฟันแบบปกติและผิดปกติ สาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อโครงสร้าง และการทำงานของระบบบดเคี้ยว ซึ่งนำไปสู่การสบฟันที่ผิดปกติรวมทั้งความรู้พื้นฐานทาง กายภาพและชีวภาพของการเคลื่อนฟัน การถอนฟันตามลำดับต่อเนื่อง และหลักยึดทางทันตกรรมจัดฟัน
Normal occlusion and malocclusion, etiology and contributing factors of malocclusion, oral habits, mechanism and biology of tooth movement, serial extraction and anchorages in orthodontic.
ทพทจ ๔๓๒ | การวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน | ๑ (๑-๐-๒) |
DTOD 432 | Diagnosis and Treatment Planning in Orthodontics |
วิชาบังคับก่อน : –
การตรวจ การบันทึกข้อมูลผู้ป่วยจัดฟัน การกำหนดจุดสำคัญในแผ่นภาพรังสีเซฟาโลเมตริก การวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้าง การวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสีข้อมือ, การวิเคราะห์แบบพิมพ์ฟัน เพื่อการวิเคราะห์ วินิจฉัยและวางแผนการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน รวมทั้งการพิจารณาถอนฟันเพื่อการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน
Examination, orthodontic record, cephalometric landmarks, cephalometric analysis, analysis of model, orthodontic consideration in extraction and non extraction case and treatment plan in orthodontic treatment.
ทพทจ ๔๔๒ | การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน | ๑ (๑-๐-๒) |
DTOD 442 | Orthodontic Treatment |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทจ ๔๓๑ และ ทพทจ ๔๓๒
การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ตั้งแต่การป้องกัน การแก้ไขการสบฟันผิดปกติในระยะแรก การรักษาเบื้องต้นด้วยเครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันแบบซับซ้อน เครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น การออกแบบเครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ทั้งชนิดให้แรงและไม่ให้แรง การเคลื่อนฟันแบบง่าย เครื่องมือ ไมโอฟังก์ชั่น การดูแลผู้ป่วยระหว่างการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน จริยธรรม จรรยาบรรณทางทันตกรรมจัดฟัน การคงสภาพฟันภายหลังการจัดฟันตลอดจนการจำแนกผู้ป่วยเพื่อส่งต่อภายใต้การรักษาแบบสหสาขาโดยคำนึงถึงข้อจำกัด และผลข้างเคียงของการจัดฟัน ความวิการของกระโหลกศีรษะและใบหน้า ปากแหว่งเพดานโหว่ การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัด
Preventive, interceptive and introductory orthodontic treatment, corrective orthodontics and fixed appliance, removable appliance design, active plate, passive plate, minor tooth movement, myofunctional appliance, care during orthodontic treatment, ethic and jurisprudence in orthodontics, retention, criteria for case selection and referral under multidisciplinary care, as well as limitation and complication of orthodontic treatment, craniofacial deformities, cleft lip and palate, orthognathic surgery
ทพทจ ๔๔๓ | ปฏิบัติการทางทันตกรรมจัดฟัน | ๑ (๐-๓-๑) |
DTOD 443 | Orthodontic Laboratory |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทจ ๔๓๑ และ ทพทจ ๔๓๒
การฝึกพิมพ์ปากและทำแบบพิมพ์ฟัน เพื่อการศึกษาทางทันตกรรมจัดฟัน วัสดุที่เกี่ยวข้องในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ตะขอทางทันตกรรมจัดฟัน ฝึกดัดลวด และทำเครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟันชนิดถอดได้ทั้งชนิดให้แรงและไม่ให้แรง
Practice of impression taking, fabrication of orthodontic study models, orthodontic material and their properties, orthodontic clasp, wire bending and fabricate simple removable orthodontic appliances (both passive and active plate).
ทพทจ ๕๕๑ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ทันตกรรมจัดฟัน ๑ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTOD 551 | Comprehensive Dental Practice: Orthodontics I |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทจ ๔๔๒
ฝึกปฏิบัติงานรักษาทางทันตกรรมจัดฟันอย่างง่ายในผู้ป่วยฟันชุดผสม ฝึกวิเคราะห์ วินิจฉัย วางแผนการรักษา ออกแบบเครื่องมือถอดได้ ในผู้ป่วยจริงและจากข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาไปแล้ว การช่วยงานข้างเก้าอี้ทางทันตกรรมจัดฟันอื่น ๆ การส่งเสริมความรู้ด้านทันตกรรมจัดฟันแก่ผู้ป่วย ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป
Clinical practice of simple orthodontic treatment in mixed dentition patients or patients qualified for using removable orthodontic appliances, practicing orthodontic diagnosis, treatment planning, and removable appliances design in real patients and former patients’ data, orthodontic chairside assistance especially fixed orthodontic appliance and promote orthodontic knowledge to patients, patients’ parents and general public.
ทพทช ๒๓๑ | สังคมวิทยาทันตแพทย์ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTCM 231 | Dental Sociology |
วิชาบังคับก่อน : –
ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมวิทยาและทันตแพทย์ในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาการเข้าสู่วิชาชีพ กระบวนการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างทันตแพทย์และผู้ป่วย การเจ็บป่วยของผู้ป่วย ปัจจัยทางสังคมต่อปัญหาสุขภาพช่องปาก ตลอดจนการเข้ารับบริการ เพื่อให้ทันตแพทย์สามารถปฏิบัติงานในสังคมและทำให้ประชาชนมีสุขภาพช่องปากที่ดีอย่างยั่งยืน
Relationship between sociology and dentistry in various aspects such as professional development, working process, dentist-patient relationship, patient’s morbidity, effect of social problems on oral health and service utilization, role of dentist in society for life-long oral health.
ทพทช ๔๓๑ | การส่งเสริมทันตสุขภาพและทันตสุขศึกษา | ๒ (๒-๐-๔) |
DTCM 431 | Oral Health Promotion and Oral Health Education |
วิชาบังคับก่อน : –
ทฤษฎีและแนวคิดของสุขภาพ กระบวนการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การให้สุขศึกษา และสื่อสุขศึกษา การคุ้มครองสุขภาพ และโครงการส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ
Theories of health, the social factors impact to oral health, the principles of analysis the social promotion, behavior and the elements of management and planning / evaluation the health promotion program, the provide the oral health program in places and age groups, the audiovisual aids for health education, the health protection.
ทพทช ๕๓๑ | ศึกษาดูงานระบบบริการสาธารณสุข | ๒ (๐-๒*-๑๐) |
DTCM 531 | Study visit in Health Delivery System |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทช ๔๓๑, ทพทห ๕๓๑, ทพวป ๔๔๓ และ ทพทด ๔๔๒
ระบบสุขภาพในระดับชุมชนและดูงานการจัดบริการและการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและสถานบริการสุขภาพระดับต่าง ๆ
Study visit of the provincial health delivery system, practice in district hospitals and various level of health services.
ทพทช ๕๓๒ | วิทยาการระบาด | ๑ (๑-๐-๒) |
DTCM 532 | Epidemiology |
วิชาบังคับก่อน : –
ความรู้พื้นฐานทางวิชาระบาดวิทยามุ่งให้นักศึกษาได้เรียนรู้ แนวคิด หลักการ และวิธีการทางระบาดวิทยาในการศึกษาลักษณะการเกิดการกระจายของปัญหาสุขภาพและปัจจัยที่เป็นสาเหตุหรือมีอิทธิพลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพในประชากรโดยเฉพาะปัญหาทางทันตสุขภาพรวมไปถึงการวิพากษ์งานวิจัยทางทันตสาธารณสุข
Basic principles of epidemiology and epidemiologic methods used in studying health and illness in human populations particularly oral health. Measures of frequency and association, introduce the design and validity of epidemiologic research, and an overview of interpreting epidemiologic literature in dental public health.
ทพทช ๕๓๓ | การบริหารงานทันตสาธารณสุข | ๒ (๒-๐-๔) |
DTCM 533 | Dental Public Health Administration |
วิชาบังคับก่อน : –
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป : เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ระบบการเงินเพื่อสุขภาพ หลักประกันสุขภาพและการประกันสังคม การจัดทำและการบริหารงบประมาณ การวิเคราะห์ต้นทุนการบริการ
หมวดวิชาเฉพาะ : ปัญหาทันตสาธารณสุข การวางแผนงาน การดูแลทันตสุขภาพ และการประเมินผล
General education course: health economics, health care financing system, universal health coverage and social security scheme, budgeting and budget administration, unit cost analysis.
Specific course: Problems in dental public health, dental health care planning and evaluation.
ทพทช ๕๕๒ | ทันตกรรมป้องกันในโรงเรียน | ๑ (๐-๓-๑) |
DTCM 552 | School Oral Health Program |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทช ๔๓๑, ทพทด ๔๔๒, ทพวป ๔๔๒ และ ทพทห ๔๔๒
ฝึกปฏิบัติงานทันตกรรมโรงเรียน โดยครอบคลุมงาน 3 ด้าน คือ การให้บริการทันตกรรมป้องกัน การส่งเสริมทันตสุขภาพ และ การจัดสภาพสิ่งแวดล้อม
Practice conducting a school preventive program that includes 3 aspects, preventive services, education, and school environments.
ทพทช ๖๔๒ | ทันตแพทย์ฝึกหัดนอก : การฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม | ๔ (๐-๔*-๒๐) |
DTCM 642 | Extern : Field Works |
วิชาบังคับก่อน : –
ฝึกปฏิบัติงานทันตกรรมชุมชนในโรงพยาบาลชุมชน
Externship Practice as a Dentist in a District Hospital.
ทพทช ๖๔๓ | การบริหารคลินิกทันตกรรม | ๑ (๑-๐-๒) |
DTCM 643 | Dental Office Administration |
วิชาบังคับก่อน : –
การจัดการคลินิกทันตกรรมให้ทำงานได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ การจัดการบุคลากร ผู้ร่วมงานและผู้ป่วย การออกแบบคลินิกทันตกรรมและเลือกใช้เครื่องมือ การทำงานร่วมกับผู้ช่วยทันตแพทย์ด้วยวิธีการทันตกรรมสี่หัตถ์
Safety and effective dental office management, co-worker personnel and patients management, dental clinic design and selection of dental equipments, working with dental assistants by four-handed dentistry.
ทพทด ๔๓๑ | พัฒนาการและการจัดการพฤติกรรมเด็ก | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPD 431 | Child Development and Behavior Management |
วิชาบังคับก่อน : –
พัฒนาการของเด็กแต่ละวัย ทางร่างกาย สมองและสติปัญญา สังคม อารมณ์และบุคลิกภาพ การเจริญพัฒนาของชุดฟัน ฟันน้ำนมและฟันแท้ การปรับพฤติกรรมผู้ป่วยเด็กปกติและเด็กพิเศษ ด้วยวิธีทางจิตวิทยา การควบคุมทางกายและการใช้ยา
General growth and development in children including physical, intellectual, social, emotional, and personality developments, development of primary, mixed and permanent dentitions, psychological, physical and pharmacological behavior management in normal children and special children.
ทพทด ๔๔๒ | การจัดการทางทันตกรรมในเด็ก | ๒ (๑-๒-๓) |
DTPD 442 | Dental Management in Children |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทด ๔๓๑
การตรวจ วินิจฉัย วางแผนการรักษา และการรักษาโรคในช่องปากของผู้ป่วยเด็กด้วยวิธีทาง ทันตกรรมบูรณะ การรักษาเนื้อเยื่อในฟันน้ำนม ศัลยกรรม การใช้เครื่องมือคงสภาพฟัน การบำบัดฉุกเฉินและรักษาฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ รอยโรคในช่องปากและโรคปริทันต์ในเด็ก
Patient examination, diagnosis, treatment planning and treatment of oral diseases in child patients with restoration, pulp treatment, oral surgery, space maintainer, treatment of dento-facial trauma, oral lesion and periodontal disease in children.
ทพทด ๕๕๒ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ทันตกรรมสำหรับเด็ก ๑ | ๒ (๐-๖-๒) |
DTPD 552 | Comprehensive Dental Practice: Pediatric Dentistry I |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทด ๔๔๒
การฝึกปฏิบัติ การรักษาทันตกรรมขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยเด็ก ประเมินรอยโรคในช่องปาก จัดการพฤติกรรมโดยไม่ใช้ยา วางแผนการรักษา ทันตกรรมป้องกัน สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง และทันตแพทย์ และส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม
Clinical practices including basic dental treatment in children, oral evaluation, non-pharmacological behavior management, treatment planning, and prevention of oral disease, establishment interpersonal relationship among child parents and dentist and proper referral.
ทพทด ๖๕๒ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ทันตกรรมสำหรับเด็ก ๒ | ๒ (๐-๖-๒) |
DTPD 652 | Comprehensive Dental Practice: Pediatric Dentistry II |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทด ๕๕๒
ฝึกปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยเด็กแบบพร้อมมูล ทำการประเมินผู้ป่วย ตรวจ วินิจฉัย วางแผนการรักษา ให้การรักษาและการป้องกันโรค รวมทั้งคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมกับโรค ความเสี่ยงต่อโรคและภาวะผิดปกติต่างๆ ในช่องปากของผู้ป่วยแต่ละราย
Comprehensive pediatric dental practice including patient evaluation, examination, diagnosis, treatment planning, comprehensive dental cares as well as oral disease prevention appropriate for the disease and risk of individual patient.
ทพทป ๓๓๑ | ทันตกรรมประดิษฐ์ถอดได้ ๑ : ฟันเทียมทั้งปาก | ๒ (๒-๐-๔) |
DTPT 331 | Removable Prosthodontics I: Complete Dentures |
วิชาบังคับก่อน : –
วิธีการตรวจวินิจฉัยสภาพช่องปากผู้ป่วยที่มีสันเหงือกไร้ฟัน การวางแผนการรักษา หลักการขั้นพื้นฐานในการทำฟันเทียมทั้งปาก การใส่ฟันเทียมให้ผู้ป่วย การแก้ไขฟันเทียมและให้ข้อแนะนำผู้ป่วยที่ใส่ฟันเทียมทั้งปาก การวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาในการรักษาผู้ป่วยด้วยการใส่ฟันเทียมทั้งปาก การทำฟันเทียมชั่วคราวใส่ทันที การซ่อม เสริมฐาน และเปลี่ยนฐานฟันเทียมทั้งปาก
Oral examination and diagnosis of edentulous patients to establish appropriate treatment plan. Basic knowledge and principles of complete denture construction, delivery of complete denture, instruction to the patient and post – insertion problem including proper management. Diagnosis and solving problems related to the treatment of edentulous patient with complete denture. Types and technique of immediate denture construction, complete denture repair, reline and rebase.
ทพทป ๓๓๒ | ปฏิบัติการทันตกรรมประดิษฐ์ถอดได้ ๑ : ฟันเทียมทั้งปาก | ๒ (๐-๖-๒) |
DTPT 332 | Removable Prosthodontic Laboratory I : Complete Dentures |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพทป ๓๓๑
ฝึกหัดทำฟันเทียมทั้งปากบนแบบจำลอง เริ่มตั้งแต่วาดขอบเขตถาดพิมพ์เฉพาะบุคคล ศึกษาลักษณะของถาดพิมพ์เฉพาะบุคคลจากตัวอย่าง ทำฐานชั่วคราวและแท่นกัด บันทึกความสัมพันธ์ของขากรรไกรในหุ่น เรียงฟัน ปรับการสบฟัน และฟันเทียมออกจากแบบจำลองและขัดแต่ง ฝึกหัดซ่อมฐานฟันเทียมที่แตกหัด
Practice the laboratory procedures in complete denture construction on stone casts staring from drawing outline of individual tray, study and criticize the characters of provided individual trays, constructing record bases and occlusion rims, recording the jaw relationship of the mannequin, teeth set up, waxing of completed set up, selective grinding, removal of dentures from the casts and polishing, repairing of broken denture.
ทพทป ๓๔๑ | ทันตกรรมประดิษฐ์ติดแน่น ๑ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPT 341 | Fixed Prosthodontics I |
วิชาบังคับก่อน : –
ความรู้ขั้นพื้นฐานของฟันเทียมติดแน่น การกรอแต่งฟันหลัก การออกแบบครอบฟัน สะพานฟัน ฟันแขวน ข้อต่อสะพานฟัน ขั้นตอนการทำฟันเทียมติดแน่นชนิดโลหะเต็มซี่ ชนิดโลหะเคลือบพอร์ซเลน ชนิดเซรามิกล้วน การทำครอบฟันรับตะขอสำหรับฟันเทียมบางส่วนถอดได้ ฟันเทียมติดแน่นชั่วคราว การแก้ปัญหาการกรอแต่งฟันหลัก
Basic knowledge of fixed prosthodontics, abutment teeth preparation, restoration design, construction of complete cast restoration, porcelain fused to metal and all-ceramic restoration, crown for clasping, provisional restorations. Problem solving in tooth preparation topic.
ทพทป ๓๔๒ | ปฏิบัติการทันตกรรมประดิษฐ์ติดแน่น ๑ | ๒ (๐-๖-๒) |
DTPT 342 | Fixed Prosthodontic Laboratory I |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพรบ ๒๓๕ และ ทพทป ๓๔๑
ฝึกกรอแต่งฟันหลักสำหรับครอบฟันชนิดต่าง ๆ บนฟันพลาสติก ทำครอบฟันโลหะเต็มซี่ รับตะขอฟันเทียมบางส่วนถอดได้บนแบบจำลอง ทำครอบฟันชั่วคราวบนแบบจำลอง
Preparation of plastic teeth for various types of crown restorations. Fabrication of complete cast crown for clasping. Practice the laboratory procedures of provision crown fabrication on model.
ทพทป ๓๔๕ | ทันตกรรมประดิษฐ์ถอดได้ ๒ : ฟันเทียมบางส่วนถอดได้ | ๒ (๒-๐-๔) |
DTPT 345 | Removable Prosthodontics II: Partial Dentures |
วิชาบังคับก่อน : –
พื้นฐานของฟันเทียมบางส่วนถอดได้ คำนิยามที่เกี่ยวข้อง ส่วนประกอบต่าง ๆ ชนิดและลักษณะของฟันเทียมบางส่วนถอดได้ ชนิด และลักษณะของตะขอ การออกแบบ วิธีทำฟันเทียมบางส่วนถอดได้ฐานโลหะและฐานอะคริลิก เริ่มตั้งแต่เตรียมช่องปากจนถึงการใส่ การแก้ไข ให้ข้อแนะนำผู้ป่วย และติดตามผลภายหลังใส่ รวมทั้งการซ่อมและเสริมฐานฟันเทียม
Basic knowledge of removable partial denture, relevant definition, component parts and features, types and characteristic of clasps, design and fabrication of metal and acrylic resin base removable partial denture. The procedure starts from oral diagnosis to delivery, adjustment, instruction to the patient, recall, repair and reline.
ทพทป ๓๔๖ | ปฏิบัติการทันตกรรมประดิษฐ์ถอดได้ ๒ : ฟันเทียมบางส่วนถอดได้ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTPT 346 | Removable Prosthodontic Laboratory II: Partial Dentures |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพทป ๓๔๓
ฝึกหัดสำรวจแบบจำลองศึกษาและวาดแบบฟันเทียมบางส่วนถอดได้ ศึกษาส่วนประกอบและการออกแบบฟันเทียมบางส่วนถอดได้แบบต่าง ๆ ฝึกหัดเตรียมแอ่งรับแบบต่าง ๆ บนฟันปลาสเตอร์และฟันพลาสติก ฝึกหัดทำฟันเทียมบางส่วนถอดได้ฐานเรซินอะคริลิกที่มีตะขอลวดดัดบนแบบจำลองโดยมีซี่ฟันเทียมชั่วคราวใส่ทันทีที่ฟันหน้า ๑ ซี่
To practice how to survey study cast and draw design of removable partial denture, study various design, rest seat preparation on plaster teeth and on plastic teeth. Laboratory procedures in the construction of an acrylic partial denture with wrought wire clasp, an immediate replacement of one anterior tooth is included.
ทพทป ๔๓๑ | ทันตกรรมประดิษฐ์ติดแน่น ๒ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPT 431 | Fixed Prosthodontics II |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษารายวิชาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพทป ๓๔๑
การวางแผนการรักษาและขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยฟันเทียมติดแน่น การกรอแต่งฟันหลักสำหรับสะพานฟัน การจัดการเนื้อเยื่อและพิมพ์ปาก บันทึกการสบฟันการเลือกสีฟัน การทำไดและแบบทำงาน วิธีลองชิ้นงานในปาก การยึดชิ้นงานกับฟันหลัก และการนัดผู้ป่วยกลับมาตรวจ การบูรณะฟันที่สูญเสียเนื้อฟันไปมาก และฟันที่รักษาคลองรากฟัน การวินิจฉัย และแก้ไขความล้มเหลวที่เกิดจากการใส่ฟันเทียมติดแน่น
Treatment planning and treatment for fixed dental prosthesis cases, bridge abutment teeth preparation, tissue management and impression, interocclusal record, shade selection, die and working cast fabrication, restoration try in, cementation and recall, restoration of extensively damaged teeth and endodontically treated teeth. Diagnosis and treatment of failure in fixed dental prostheses.
ทพทป ๔๓๒ | ปฏิบัติการทันตกรรมประดิษฐ์ติดแน่น ๒ | ๒ (๐-๖-๒) |
DTPT 432 | Fixed Prosthodontic Laboratory II |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพทป ๓๔๒, ทพทป ๔๓๑
และทพวด ๔๓๒
ฝึกกรอแต่งฟันหลักสำหรับสะพานฟัน แต่งกระสวนขี้ผึ้งสำหรับโครงโลหะของสะพานฟันโลหะเคลือบกระเบื้อง ฝึกกรอแต่งฟันและเตรียมคลองรากฟันของฟันที่รักษาราก แต่งกระสวนขี้ผึ้ง เดือยฟันโดยวิธีอ้อมบนแบบจำลอง ฝึกเลือกสีฟัน ฝึกประมวลข้อมูลจากกรณีศึกษา เพื่อวินิจฉัยและวางแผนการรักษาด้วยฟันเทียมติดแน่น เพื่อวินิจฉัยและแก้ไขความล้มเหลวที่เกิดจากการใส่ฟันเทียมติดแน่น
Preparation of plastic teeth for various type of bridge restorations. Waxing substructure of porcelain fused to metal bridge. Tooth and root canal preparation of endodontically treated tooth. Fabrication of wax pattern for cast post and core on medel with indirect technique. Shade selection practices. Case based discussion and data integration to achieve diagnosis and treatment plan for fixed dental prosthesis, diagnosis and treatment plan for a failure case.
ทพทป ๔๔๑ | การจัดการผู้ป่วยทันตกรรมประดิษฐ์แบบพร้อมมูล | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPT 441 | Comprehensive Management for Prosthodontic Patients |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษารายวิชาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพทป ๓๓๑, ทพทป ๓๔๓ และ ทพทป ๔๓๑
การตรวจ การวางแผน การรักษา ขั้นตอนการให้การรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ ทั้งผู้ป่วยปกติ ผู้ป่วยที่ต้องการความสวยงาม ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคทั่วกาย การประยุกต์หลักทางสุนทรียศาสตร์ในการรักษาผู้ป่วยทางทันตกรรมประดิษฐ์ ปัญหาที่พบและวิธีการแก้ไข วิธีนำเสนอรายงานผู้ป่วยทางทันตกรรมประดิษฐ์ การสัมมนาทางทันตกรรมประดิษฐ์
Comprehensive management for prosthodontic patient starting from patient examination, treatment planning and treatment procedure in both normal and complicated case such as esthetic demanding case, geriatric patient, and patient with systemic disease, esthetics in prosthodontic treatment, case presentation and seminar in Prosthodontics.
ทพทป ๕๕๒ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ทันตกรรมประดิษฐ์ ๑ | ๔ (๐-๑๒-๔) |
DTPT 552 | Dental Clinical Practice: Prosthodontics I |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทป ๓๓๑, ทพทป ๓๓๒, ทพทป ๓๔๑, ทพทป ๓๔๒,
ทพทป ๓๔๓, ทพทป ๓๔๔, ทพทป ๔๓๑, ทพทป ๔๓๒ และ เคยศึกษาหรือ
ศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพทป ๔๔๑
ฝึกปฏิบัติงานคลินิกในผู้ป่วยที่มารับการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูล โดยการฟื้นฟูระบบการบดเคี้ยวด้วยการใส่ฟันเทียมทั้งปาก ฟันเทียมบางส่วนถอดได้ ฟันเทียมติดแน่น พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาจากการใส่ฟันเทียม จนกระทั่งใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Clinical practice in comprehensive cases by occlusal rehabilitation with complete dentures, removable partial dentures and fixed dental prostheses, adjustment of the prostheses until they can be used effectively.
ทพทป ๖๓๑ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ทันตกรรมประดิษฐ์ ๒ | ๓ (๐-๙-๓) |
DTPT 631 | Comprehensive Dental Practice: Prosthodontics II |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทป ๓๓๑, ทพทป ๓๓๒, ทพทป ๓๔๑, ทพทป ๓๔๒, ทพทป ๓๔๓, ทพทป ๓๔๔, ทพทป ๔๓๑, ทพทป ๔๓๒ และเคยศึกษาหรือ ศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพทป ๔๔๑
ฝึกปฏิบัติงานคลินิกในผู้ป่วยที่มารับการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูล โดยการฟื้นฟูระบบการบดเคี้ยวด้วยการใส่ฟันเทียมทั้งปาก ฟันเทียมบางส่วนถอดได้ ฟันเทียมติดแน่น พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาจากการใส่ฟันเทียมนั้น จนกระทั่งใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้นักศึกษาต้องรักษาผู้ป่วยที่ค้างจากรายวิชา ทพทป ๕๕๒ ให้เสร็จ
Clinical practice in comprehensive cases by occlusal rehabilitation with complete dentures, removable partial dentures and fixed dental prostheses, adjustment of the dental prostheses until they can be used effectively, the incompleted cases from DTPT 552 course must be continued.
ทพทส ๔๓๑ | การบริบาลทันตกรรมพร้อมมูลขั้นแนะนำ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTAD 431 | Introduction to Comprehensive Dental Care |
วิชาบังคับก่อน : –
หลักการและกระบวนการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูลโดยให้นักศึกษาเข้าใจลำดับขั้นตอนการวางแผนการรักษาและสามารถวางแผนการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูล โดยผสมผสานความรู้สาขาวิชาต่างๆ ทาง ทันตแพทย์ อีกทั้งข้อจำกัดทางการแพทย์ สภาวะจิตใจ ความต้องการ และสภาวะทางเศรษฐกิจของผู้ป่วยแต่ละราย รวมไปถึงการจูงใจ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกัน และการธำรงรักษาสุขภาพช่องปากผู้ป่วยที่เหมาะสมอย่างยั่งยืน
Introduction to principle and process of comprehensive dental care, sequential treatment planning derived from integration of various dental disciplines and patient’s medical limitation, mental status, patients’ needs, and socio-economic status, patient motivation for understanding of prevention and maintenance of oral health.
ทพทส ๔๔๑ | การบริบาลทันตกรรมพร้อมมูล | ๑ (๑-๐-๒) |
DTAD 441 | Comprehensive Dental Care |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษารายวิชา ทพทส ๔๓๑
การนำหลักการและกระบวนทัศน์ในการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูลมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการรักษา และสามารถนำเสนอได้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งเรียนรู้และวิเคราะห์ปัญหา การแก้ไขปัญหา และแนวทางป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูล
Application of principle and paradigm of comprehensive dental care in treatment planning with systematic presentation to patient, learning, analyzing, solving and preventive measures of problems related to comprehensive dental care.
ทพทส ๖๔๑ | การประเมินผลหลังการรักษาและสัมมนา | ๑ (๑-๐-๒) |
DTAD 641 | Post – Treatment Assessment and Seminar |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทส ๔๔๑
ประเมินผลการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูลอย่างเป็นระบบ จากความพึงพอใจของผู้ป่วย และผลการรักษาตามแผนการรักษา การวิเคราะห์ผลสำเร็จ การล้มเหลว และปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานบริบาลทันต
กรรมพร้อมมูล
Systematic evaluation of comprehensive dental treatment outcome based on patient’s satisfaction and treatment outcome according to treatment plan, analysis of success/failure and obstacles in delivery of comprehensive dental treatment.
ทพทส ๖๔๒ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ทันตกรรมทั่วไป | ๓ (๐-๙-๓) |
DTAD 642 | Comprehensive Dental Practice: General Dentistry |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทส ๔๔๑
ปฎิบัติงานบริการทันตกรรมพร้อมมูลในผู้ป่วย ซึ่งมุ่งเน้นมีทักษะในการตรวจวินิจฉัยวางแผน การรักษาที่เหมาะสมซึ่งสามารถอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจและยอมรับแผนการรักษา ตลอดจนการจัดบริการทาง ทันตกรรมที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยแต่ละรายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งขบวนการรักษานั้นจะต้องผสมผสานและสอดคล้องกับข้อจำกัดทางการแพทย์ สภาวะจิตใจ ความต้องการ และสภาวะทางเศรษฐกิจของผู้ป่วยแต่ละราย รวมไปถึงการจูงใจเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและการดูแลรักษาสุขภาพในช่องปากของผู้ป่วยให้คงสภาพที่สมบูรณ์และสามารถป้องกันการกลับมาเป็นโรคใหม่ได้
Comprehensive dental care practice, examining, diagnosing, and formulating a proper treatment plan that complies with the individual patient’s medical and psychological conditions, needs, and economic status, completing a thorough comprehensive dental treatment which demonstrates knowledge and communicate oral care maintenance and oral problem prevention to patients.
ทพทส ๖๕๑ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : การบำบัดรักษาเบื้องต้นและฉุกเฉิน | ๑ (๐-๓-๑) |
DTAD 651 | Comprehensive Dental Practice: Primary and Emergency Treatment |
วิชาบังคับก่อน : –
ปฏิบัติงานคลินิกต่อผู้ป่วยในงานรักษาเบื้องต้นและงานบำบัดฉุกเฉิน โดยประมวลความรู้ทางทฤษฎีจากสาขาวิชาต่างๆ ที่เรียนมา นำมาใช้ปฏิบัติทางคลินิกในการตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยทำนายโรค วางแผนการรักษา และการให้การบำบัดรักษา รวมถึงการให้คำแนะนำในการดูแลรักษาสุขภาพในช่องปากของตนเอง ทั้งนี้โดยมุ่งเน้นการรักษาผู้ป่วยเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดในช่องปาก เป็นการหยุดยั้งการลุกลามของโรค และป้องกันการกลับเป็นโรคใหม่
Clinical practice for primary and emergency treatment to relieve dental emergency problems, apply all relevant theoretical knowledge in providing dental care services including identification of the patient’s chief complaint, examination, diagnosis, planning, proper emergency treatment, and post operative care to prevent diseases progression and recurrence.
ทพทห ๓๔๓ | ทันตกรรมหัตถการ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTOP 343 | Operative Dentistry |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพคร ๒๔๔
การศึกษาเกี่ยวกับขอบเขตของงานทันตกรรมหัตถการ เครื่องมือที่ใช้ทางทันตกรรมหัตถการ การตรวจวินิจฉัยรอยโรคฟันผุ การรักษารอยโรคฟันผุในระยะเริ่มต้นและเมื่อรอยโรคลุกลาม การเลือกวัสดุบูรณะอย่างเหมาะสม การบูรณะโพรงฟันแบบต่างๆ ที่ไม่ซับซ้อนด้วยวัสดุอมัลกัมและวัสดุสีเหมือนฟัน
Scope of Operative dentistry, Instrumentation in Operative dentistry, diagnosis of dental caries, management of initial caries and cavitated carious lesion, selection of appropriate restorative materials and simple restoration with amalgam and tooth-colored materials.
ทพทห ๓๔๔ | ปฏิบัติการทันตกรรมหัตถการ ๑ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTOP 344 | Operative Dentistry Laboratory I |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพทห ๓๔๓
ฝึกปฏิบัติการอุดฟันขั้นพื้นฐานในห้องปฏิบัติการด้วยอมัลกัม ฝึกการผสมวัสดุรองพื้นและวัสดุ
อุดชั่วคราว ฝึกหัดการกรอฟันด้วยหัวกรอความเร็วสูง
The laboratory practice in simple restorations with amalgam, manipulation of liners /bases and temporary restorations, and practice in preparing tooth with aerotor bur.
ทพทห ๔๓๓ | ปฏิบัติการทันตกรรมหัตถการ ๒ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTOP 433 | Operative Dentistry Laboratory II |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทห ๓๔๓ และทพทห ๓๔๔
ฝึกปฏิบัติการอุดฟันขั้นพื้นฐานในห้องปฏิบัติการ วัสดุสีเหมือนฟัน และเตรียมนักศึกษาให้พร้อมสำหรับการอุดฟันในผู้ป่วย
The laboratory practice in simple restorations with tooth-colored materials and providing students with the knowledge and skills necessary for the clinical phase of operative dentistry.
ทพทห ๔๔๒ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ทันตกรรมหัตถการ ๑ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTOP 442 | Comprehensive Dental Practice: Operative Dentistry I |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทห ๓๔๓, ทพทห ๓๔๔ และ ทพทห ๔๓๓
ฝึกปฏิบัติคลินิกบูรณะฟันอย่างง่ายในโพรงฟันขนาดเล็ก ในผู้ป่วยที่มารับการบริบาล ทันตกรรม
พร้อมมูล เพื่อหยุดยั้งการดำเนินของโรคฟันผุ โดยอุดฟันอย่างง่ายด้วยอมัลกัม และวัสดุสีคล้ายฟันในรายที่เหมาะสม
Simple restorations in small cavities with amalgam and tooth colored filling materials in patients.
ทพทห ๕๓๑ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ทันตกรรมหัตถการ ๒ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTOP 531 | Comprehensive Dental Practice: Operative Dentistry II |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพทห ๔๔๒
ฝึกปฏิบัติคลินิกบูรณะฟันอย่างง่ายในโพรงฟันขนาดเล็กและปานกลาง ในผู้ป่วยด้วยอมัลกัม
และวัสดุสีคล้ายฟันในรายที่เหมาะสมเพื่อหยุดยั้งการดำเนินของโรคฟันผุ
Simple restoration in small and medium cavities with amalgam and tooth-colored filling materials in patients for inhibition of dental caries process.
ทพทห ๕๔๑ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ทันตกรรมหัตถการ ๓ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTOP 541 | Comprehensive Dental Practice: Operative Dentistry III |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทห ๔๔๒ และเคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพทห ๕๓๑
ฝึกปฏิบัติคลินิกบูรณะฟันในโพรงฟันขนาดปานกลางและใหญ่ ในผู้ป่วยด้วยอมัลกัม และวัสดุสีคล้ายฟันในรายที่เหมาะสมเพื่อหยุดยั้งการดำเนินของโรคฟันผุ
Restorations in medium and large cavities with amalgam and tooth-colored filling materials in patients for inhibition of dental caries process.
ทพทห ๕๔๒ | ทันตกรรมหัตถการขั้นสูง | ๑ (๑-๐-๒) |
DTOP 542 | Advanced Operative Dentistry |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทห ๓๔๓, ทพทห ๓๔๔ และ ทพทห ๔๓๓
การศึกษาถึงเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางทันตกรรมหัตถการและทันตกรรมบูรณะ การบูรณะฟันที่มีความซับซ้อนด้วยวัสดุบูรณะชนิดต่างๆ การฟอกสีฟัน การวางแผนการรักษาทางทันตกรรม นอกจากนี้ยังรวมถึงการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากปัญหาทางทันตกรรมหัตถการที่กำหนดให้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
Study of technology and advance in operative dentistry and restorative dentistry, complex restorations with various restorative materials, tooth bleaching, operative treatment plan, moreover, including self-study from operative dentistry problems for sustainable knowledge of learners.
ทพทห ๖๓๑ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ทันตกรรมหัตถการ ๔ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTOP 631 | Comprehensive Dental Practice: Operative Dentistry IV |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทห ๕๓๑ และเคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา
ทพทห ๕๔๑ และ ทพทห ๕๔๒
ฝึกปฏิบัติคลินิกบูรณะฟันในโพรงฟันที่ซับซ้อนด้วยอมัลกัม และวัสดุสีคล้ายฟัน
Complex restorations with amalgam and tooth-colored filling materials in patients.
ทพพย ๓๓๑ | พยาธิวิทยาช่องปาก ๑: พยาธิวิทยาเนื้อเยื่ออ่อน | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPA 331 | Oral Pathology I : Soft Tissue Pathology |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพพย ๒๓๑ และ ทพพย ๒๔๓
รอยโรคที่เกิดกับเนื้อเยื่ออ่อนที่เกิดในช่องปาก รอบช่องปาก ใบหน้าและ ลำคอ อันได้แก่เนื้องอกของเนื้อเยื่อบุของผิวหนังและเยื่อเมือก ความผิดปกติของเยื่อเมือกและผิวหนังอื่นๆ รอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง มะเร็งในช่องปาก เมลาโนมาและรอยโรคมีสารสีจับ เนื้องอกของเนื้อเยื่ออ่อนที่มีเซลล์ต้นกำเนิดจากชั้นมีโซเดิร์มและเซลล์นิวรัลเครส และรอยโรคที่คล้ายเนื้องอกของเนื้อเยื่ออ่อน รอยโรคแกรนูโลมาตัส โรคของต่อมน้ำลาย โดยการศึกษาจะครอบคลุมถึงคำจำกัดความ สาเหตุและการดำเนินไปของรอยโรค ลักษณะทางคลินิกโดยย่อ ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาและการวินิจฉัยสุดท้าย
Soft tissue lesions in and around the mouth. These include epithelial tumors, mucocutaneous disorders, precancerous lesions, cancers, melanoma and other pigmented lesions, soft tissue tumor and tumor-like lesions of mesenchymal and neural crest cell origin, granulomatous lesions and salivary gland diseases. The topics include definition, etiology, pathogenesis, brief clinical features, histopathological features, and final diagnosis.
ทพพย ๓๓๒ | พยาธิวิทยาช่องปาก ๒ : รอยโรคของขากรรไกร | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPA 332 | Oral Pathology II : Lesions of Jaws |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพพย ๒๓๑ และ ทพพย ๒๔๓
รอยโรคที่เกิดกับกระดูกขากรรไกร และเนื้อเยื่อข้างเคียงกระดูกขากรรไกร อันได้แก่ รอยโรคเกี่ยวกับการพัฒนาคลี่คลายที่ผิดปกติของฟัน โรคของเนื้อเยื่อในฟันและเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน การอักเสบของกระดูกขากรรไกร ถุงน้ำในขากรรไกร เนื้องอกชนิดต่างๆที่มีต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อของฟัน รอยโรคอื่นๆในกระดูกขากรรไกรที่ไม่ได้มีสาเหตุจากฟัน รอยโรคของข้อต่อขากรรไกร
Lesions in the jaw bone and adjacent tissue. These include developmental disorders of the teeth and related tissues, diseases of pulp and periapical tissue, inflammatory jaw diseases, cysts of jaws, odontogenic tumors, lesions of non-dental origin, fibro- osseous lesions and disorders of the temporomandibular joint.
ทพพย ๓๓๓ | ปฏิบัติการพยาธิวิทยาช่องปาก | ๑ (๐-๓-๑) |
DTPA 333 | Oral Pathology Laboratory |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพพย ๒๓๑ และ ทพพย ๒๔๓ เคยศึกษาหรือศึกษาร่วม
เวลากับรายวิชา ทพพย ๓๓๑ และ ทพพย ๓๓๒
ยาออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาคลายกังวล ยารักษาโรคจิต ยาลดอาการซึมเศร้า ยารักษาโรคลมชัก ยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและการใช้ยาในทางที่ผิด ยาออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ได้แก่ ยากระตุ้น และลดการหลั่งน้ำลายโดยเน้นยาที่ใช้ทาง ทันตกรรมและยาที่มีผลกระทบต่อการรักษาทางทันตกรรม
Drugs acting on the central nervous system including sedatives, hypnotics, anxiolytic, antipsychotics, antidepressants, antiepileptic drugs, CNS stimulants, drug abuse, drugs acting on the autonomic nervous system, especially drugs affecting saliva production and other drugs affecting dental treatment.
ทพพย ๓๔๑ | พยาธิวิทยาช่องปาก ๓ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPA 341 | Oral Pathology III |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพพย ๒๓๑ และ ทพพย ๒๔๓
เนื้องอกบริเวณศีรษะและคอ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งปุ่มน้ำเหลือง โรคทางพันธุกรรมและเมแทบอลิซึมของขากรรไกร ตลอดจนวิธีการที่ทันสมัยที่ใช้ประกอบการวินิจฉัยโรค และการทำสัมมนาหัวข้อเกี่ยวกับพยาธิวิทยาช่องปากที่น่าสนใจ
Tumors of head and neck, leukemia and lymphoma, genetic and metabolic jaw diseases, immunohistochemistry and molecular biology technique for diagnosis and seminar in the field of oral pathology.
ทพภส ๓๓๑ | หลักการทั่วไปทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยา | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPM 331 | General Principles of Pharmacology and Toxicology |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพชค ๒๓๑, ทพสร ๒๔๑ และ ทพสร ๒๔๒
ความรู้พื้นฐานทางเภสัชวิทยา ทั้งทางด้านเภสัชพลศาสตร์ เภสัชจลนศาสตร์ การเรียกชื่อยา แหล่งที่มาของยา การบริหารยา การประเมินและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา และศึกษาความรู้พื้นฐานทางพิษวิทยา สารที่ทำให้เกิดพิษ หลักการป้องกันและรักษาการได้รับสารพิษโดยเน้นสารที่ใช้ทางทันตกรรม
Fundamentals of pharmacology including pharmacodynamics, pharmacokinetics, nomenclature of drugs, sources of medicine, drug administration, evaluation of drug efficacy, basic knowledge of toxicology, hazadous and toxic substances, and principle of treatment and prevention of toxic substances exposure in dental practice.
ทพภส ๓๓๒ | การเขียนใบสั่งยาและการเตรียมยาทางทันตกรรม | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPM 332 | Prescription Writing and Dental Drug Preparation |
วิชาบังคับก่อน : –
ความรู้พื้นฐานทางเภสัชกรรม ส่วนประกอบของตำรับยา การเตรียมยาที่ใช้ทางทันตกรรม รูปแบบยาชนิดต่างๆ น้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟัน สารลดอาการเสียวฟัน ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม วิตามิน กฎหมายยา ประเภทยาตามกฎหมาย ส่วนประกอบของใบสั่งยา คำย่อภาษาลาติน และระบบมาตราชั่งตวงวัดที่ใช้ในทางยา
Basic knowledge in pharmacy, component of drug formula, pharmaceutical preparations in dentistry, pharmaceutical dosage forms, mouthwash, dentifrice, desensitizing agents, dietary supplement, vitamin, drug laws, legal classification of drugs, component of the prescription, latin abbreviations, and system of weight and measurement used in medicine.
ทพภส ๓๓๓ | ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทอัตโนมัติ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPM 333 | Drugs Acting on the Central Nervous System & Autonomic Nervous System |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพสร ๒๔๑ และ ทพสร ๒๔๒
ยาออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาคลายกังวล ยารักษาโรคจิต ยาลดอาการซึมเศร้า ยารักษาโรคลมชัก ยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและการใช้ยาในทางที่ผิด ยาออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ได้แก่ ยากระตุ้นและลดการหลั่งน้ำลาย โดยเน้นยาที่ใช้ทางทันตกรรม และยาที่มีผลกระทบต่อการรักษาทางทันตกรรม
Drugs acting on the central nervous system including sedatives, hypnotics, anxiolytic, antipsychotics, antidepressants, antiepileptic drugs, CNS stimulants, drug abuse, drugs acting on the autonomic nervous system, especially drugs affecting saliva production and other drugs affecting dental treatment.
ทพภส ๓๔๒ | ยาต้านจุลชีพ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPM 342 | Antimicrobial Agents |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพภส ๓๓๑
เภสัชวิทยาของยาต้านจุลชีพทั้งทางด้าน เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ และเภสัชวิทยาคลินิก หลักการเลือกใช้สารต้านจุลชีพสำหรับโรคติดเชื้อในคลองรากฟัน และการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อจุลชีพบนเครื่องมือในคลินิกทันตกรรม
Pharmacology of antimicrobial agents including pharmacokinetics, pharmacodynamics, clinical pharmacology, principle of choosing antimicrobial agents for root canal infection and cross-infection control on instruments in dental clinic.
ทพภส ๓๔๓ | ยาระงับปวดและยาที่มีผลต่อการอักเสบ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPM 343 | Analgesics and Drug Affecting Inflammation |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพภส ๓๓๑
ออตาคอยด์ กระบวนการเกิดการอักเสบ สมบัติทางเภสัชวิทยา เภสัชบำบัดของยาแก้ปวดชนิดโอปิออยด์และไม่ใช่โอปิออยด์ ยาที่ทำให้เกิดการอักเสบและยาต้านการอักเสบชนิดต่างๆ ได้แก่ สเตียรอยด์ ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาแก้แพ้ และโปรติโอไลติกเอนไซม์
Autacoids and inflammatory mechanism, pharmacological properties, pharmacotherapy of opioid and non-opioid analgesics, drug-induced inflammation and anti-inflammatory drugs such as steroid, nonsteroidal anti-inflammatory drugs, antiallergic, and proteolytic enzymes.
ทพภส ๓๔๔ | เภสัชวิทยาการแพทย์ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPM 344 | Medical Pharmacology |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพภส ๓๓๑
เภสัชวิทยาของยาที่ใช้ในการรักษาโรคทางระบบต่างๆในร่างกาย ได้แก่ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และบัญชียาหลักแห่งชาติ
Pharmacology for treatment of systemic diseases including endocrine system, cardiovascular system, digestive system, and national list of essential medicine.
ทพรบ ๒๔๒ | หลักมูลทันตกรรมบดเคี้ยว | ๑ (๑-๐-๒) |
DTMS 242 | Fundamental of Dental Occlusiion |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพรบ ๒๓๓
องค์ประกอบและสรีรวิทยาของระบบบดเคี้ยว นิยามและประเภทของการสบฟัน ตำแหน่งพื้นฐานและขอบเขตการเคลื่อนไหวของขากรรไกร แนวคิดการสบฟัน เสถียรภาพของการสบฟัน ข้อกำหนดของรูปร่างด้านบดเคี้ยว ปฏิกิริยาของอวัยวะปริทันต์ต่อแรงบดเคี้ยวทางสรีรวิทยา กลอุปกรณ์ขากรรไกรจำลองและการใช้งาน การบันทึกความสัมพันธ์ของขากรรไกร
Component and physiology of masticatory system, definition and type of occlusion, basic positions and border movements of mandible, concept of occlusion, occlusal stability, determinant of Occlusion, periodontal reaction to physiologic force, articulators and their use and interocclusal records.
ทพรบ ๒๔๓ | ปฏิบัติการแต่งขี้ผึ้งเชิงทำงาน | ๑ (๐-๓-๑) |
DTMS 243 | Functional Waxing Technique |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพรบ ๒๔๒
ฝึกการนำแบบหล่อยึดเข้าในกลอุปกรณ์ขากรรไกรจำลอง และฝึกหัดแต่งขี้ผึ้งในแบบหล่อเพื่อเรียนรู้ลักษณะพื้นฐานของการสบฟัน จุดที่ฟันบนและล่างสบกันในตำแหน่งศูนย์สบ และความสัมพันธ์ของฟันบนและล่างขณะเคลื่อนขากรรไกร
Laboratory practice in mounting of casts on articulator and waxing practice to develop an understanding of basic occlusion and cusp placement in centric occlusion, and intermaxillary relationship during mandibular movements.
ทพรบ ๕๔๗ | ความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกร | ๑ (๑-๐-๒) |
DTMS 547 | Temporomandibular Disorders (TMD) |
วิชาบังคับก่อน : –
นิยามและระบาดวิทยา สมุฏฐานวิทยา อาการและอาการแสดง การประเมิน รวมถึงการถ่ายภาพรังสีข้อต่อขากรรไกร การวินิจฉัยแยกโรค และการจัดการความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกรทั้งแบบผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือในช่องปากในการจัดการความผิดปกติ
Definition, epidemiology, etiology, sign and symptoms, assessment including TMJ imaging, differential diagnosis, reversible and irreversible management of temporomandibular disorders (TMD), especially use of intra-oral appliance in management of TMD
ทพรบ ๕๔๘ | ปฏิบัติการวิเคราะห์การสบฟันและแต่งขึ้ผึ้งเฝือกสบฟัน | ๑ (๐-๒-๑) |
DTMS 548 | Occlusal Analysis and Occlusal Splint Waxing Laboratory |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพรบ ๕๔๗
ฝึกปฏิบัติทางคลินิกในการตรวจประเมิน วินิจฉัยแยกโรค ตลอดจนวิธีการจัดการความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกร การวิเคราะห์การสบฟัน และฝึกหัดทำเฝือกสบฟันชนิดเสถียร
Clinical practice in assessment, differential diagnosis and management of temporomandibular disorders (TMD), occlusal analysis and practice construction of stabilization splint
ทพรบ ๖๕๒ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ความเจ็บปวดใบหน้า-ช่องปากและ
การทำงานผิดปกติ |
๑ (๐-๓-๑) |
DTMS 652 | Comprehensive Dental Practice: Orofacial Pain and Dysfunction |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพรบ ๕๔๗ และ ทพรบ ๕๔๘
ฝึกปฏิบัติการจัดการเบื้องต้นในผู้ป่วยความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกร และความเจ็บปวดบริเวณใบหน้า-ช่องปาก ที่มารับการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูล
Practice initial management of temporomandibular disorders/ orofacial pain patients as part of comprehensive dental care
ทพรส ๓๓๑ | รังสีวิทยา ๑ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTRD 331 | Radiology I |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพกย ๒๓๒ และ ทพรบ ๒๓๓
บทนำเกี่ยวกับรังสีวิทยาและรังสีเอกซ์เครื่องเอกซเรย์ทางทันตกรรมและหลักการทำงานส่วน ประกอบพื้นฐานของฟิล์มรวมทั้งฟิล์มชนิดต่างๆที่ใช้ในทางทันตกรรม หลักการของกระบวนการล้างฟิล์มและห้องมืด ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของภาพรังสี การถ่ายภาพรังสีในปากด้วยเทคนิครอบปลายรากภาพรังสีด้านประชิด และภาพรังสีกัดสบ ภาพรังสีดิจิทัลในทางทันตกรรม รวมทั้งการป้องกันการติดเชื้อในการถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรม
Introduction to radiology and X-radiation. Dental X-ray machine Dental X-ray films Darkroom and film processing. Factors which control radiographic quality. Intraoral periapical radiography, bite-wing radiography, and occlusal radiography. Digital dental radiography. Infection control of dental radiography.
ทพรส ๓๔๒ | รังสีวิทยา ๒ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTRD 342 | Radiology II |
วิชาบังคับก่อน : ศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพรส ๓๓๑ และ ทพวป ๓๔๒
จุดกำหนดทางกายวิภาคของภาพรังสีในปากทั้งในลักษณะปกติและที่มีการแปรผัน หลักการแปลผลภาพรังสีและการเรียงภาพรังสี การวินิจฉัยทางภาพรังสีของรอยโรคและการอักเสบรอบปลายรากการวินิจฉัยทางภาพรังสีของโรคปริทันต์ ข้อผิดพลาดทั่วไปของภาพรังสีในปาก ภาพรังสีปริทัศน์ ภาพรังสีเซฟฟาโลเมทริก ภาพรังสีนอกปากและการแปลผล รวมทั้งการส่งถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรม
Normal anatomical landmark of teeth and jaws. Mounting radiographs. Principle of radiographic interpretation. Radiographic interpretation of anatomical variation. Radiographic diagnosis of periapical lesions and inflammatory changes. Radiographic diagnosis of periodontal diseases. Common errors of intraoral radiographs. Panoramic radiography and interpretation. Cephalometric radiography and interpretation. Extraoral radiography and interpretation. Dental radiographic prescription.
ทพรส ๔๔๒ | รังสีวิทยา ๓ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTRD 442 | Radiology III |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพรส ๓๔๒ และศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพทด ๔๔๒
ภาพรังสีทันตกรรมสำหรับเด็กและการแปลผล ชีววิทยารังสี การป้องกันอันตรายจากรังสีในทางทันตกรรม ภาพรังสีโคนบีมซีทีและการประยุกต์ใช้ ภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในทางทันตกรรม เอ็มอาร์ไอในทางทันตกรรม เวชศาสตร์นิวเคลียร์ คลื่นเสียงความถี่สูงในทางทันตกรรมการหาตำแหน่งด้วยภาพรังสี ภาพรังสีภาวะวิกลระหว่างพัฒนาฟันและขากรรไกรภาพรังสีพยาธิสภาพของแคลเซียมที่เกาะบริเวณฟันและ เนื้อเยื่ออ่อน ภาพรังสีการบาดเจ็บของฟันและกะโหลกใบหน้า การควบคุมคุณภาพของภาพรังสีทันตกรรม
Pedodontic radiography and interpretation. Radiation biology. Radiation protection in dental practice. Cone-beam computed tomography and its applications. Computed tomography in dentistry. Magnetic resonance imaging in dentistry. Nuclear medicine. Ultrasonography in dentistry. Radiographic identification and localization. Radiographic appearances of developmental anomalies of teeth and jaws. Radiographic appearances of pathological calcification of teeth and soft tissue. Radiographic signs of trauma to the teeth and craniofacial bones. Quality assurance and quality control in dental radiography.
ทพรส ๔๔๓ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : รังสีวิทยา ๑ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTRD 443 | Comprehensive Dental Practice: Radiology I |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพรส ๓๓๑, ทพรส ๓๔๒ และศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพรส ๔๔๒
ฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลองและผู้ป่วยจริงในเรื่องของการถ่ายภาพรังสีในปากเทคนิคต่างๆและการแปลผล การถ่ายภาพรังสีนอกปากและการแปลผล ภาพรังสีดิจิทัลในทางทันตกรรม การป้องกันการติดเชื้อในการถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรม และการป้องกันอันตรายจากรังสีในทางทันตกรรม
Practice in model and patients in the aspects of Intraoral radiography and its interpretation, Extraoral radiography and its interpretation, Digital dental radiography, Infection control in dental radiography and Radiation protection in dental radiography.
ทพรส ๕๕๒ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : รังสีวิทยา ๒ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTRD 552 | Comprehensive Dental Practice: Radiology II |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพรส ๔๔๓
ฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลองและผู้ป่วยจริงในเรื่องของการถ่ายภาพรังสีในปากเทคนิคต่างๆ และการแปลผล การถ่ายภาพรังสีนอกปากและการแปลผล การถ่ายภาพรังสีทันตกรรมสำหรับเด็กและการแปลผล ภาพรังสีดิจิทัลในทางทันตกรรม ภาพรังสีโคนบีมซีทีและการนำไปใช้ การป้องกันการติดเชื้อในการถ่ายภาพรังสีทาง
ทันตกรรม และการป้องกันอันตรายจากรังสีในทางทันตกรรม
Practice in model and patients in the aspects of Intraoral radiography and its interpretation, Extraoral radiography and its interpretation, Dental radiography in children and its interpretation, Digital dental radiography, cone-beam computed tomography and its application,
Infection control in dental radiography and radiation protection in dental radiography.
ทพวด ๔๓๑ | วิทยาเอ็นโดดอนต์ ๑ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTED 431 | Endodontics I |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพรบ ๒๓๓ และ ทพรส ๓๓๑
ทฤษฎีคลองรากฟัน ความรู้พื้นฐานทางชีววิทยาที่สำคัญในวิทยาคลองรากฟัน เหตุผลและขอบข่ายของการรักษาคลองรากฟัน การตรวจวินิจฉัยโรคทางคลินิกของเนื้อเยื่อในโพรงฟันและรอบรากฟัน ระบบของคลองรากฟันที่สัมพันธ์กับการรักษา การใส่แผ่นยางกันน้ำลาย การเปิดทางเข้าสู่คลองรากฟัน การเตรียมคลองรากฟัน น้ำยาที่ใช้ล้างและยาที่ใส่ในคลองรากฟัน การอุดปิดชั่วคราวระหว่างการรักษา และการอุดคลองรากฟัน
Endodontic theory, essential biological basis in endodontics, rational and scope of endodontic treatment. clinical diagnosis of pulp and periapical tissue, root canal system as related to endodontic treatment, rabber dam application, access opening, root canal preparation, irrigation, antibacterial medication, temporary restoration, and root canal fillings.
ทพวด ๔๓๒ | ปฏิบัติการรักษาคลองรากฟัน ๑ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTED 432 | Endodontic Laboratory I |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษารายวิชา ทพทห ๓๔๔ และศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพวด ๔๓๑
ฝึกปฏิบัติรักษาคลองรากฟันในฟันรากเดียว ศึกษาลักษณะของฟันรากเดียวที่สัมพันธ์กับการรักษาคลองราก การเปิดทางเข้าสู่คลองรากฟัน การหาคลองรากฟัน การเตรียมและอุดคลองรากฟัน พร้อมทั้งค้นคว้าเพิ่มเติมแล้วประเมินและนำเสนอผลงานที่สำเร็จ
Endodontic practice in extracted single rooted teeth. Learning about the pulpal and root canal anatomy as related to endodontic treatment. Access opening, mechanical instrumentation and root canal compaction. Additional searching evaluation and groups presentation.
ทพวด ๔๔๑ | ปฏิบัติการรักษาคลองรากฟัน ๒ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTED 441 | Endodontic Laboratory II |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวด ๔๓๑ และ ทพวด ๔๓๒
ฝึกปฏิบัติรักษาคลองรากฟันในฟันหลายราก ศึกษาลักษณะของฟันหลายรากที่สัมพันธ์กับการรักษาคลองราก การเปิดทางเข้าสู่คลองรากฟัน การหาคลองรากฟัน การเตรียมและอุดคลองรากฟัน พร้อมทั้งค้นคว้า
เพิ่มเติมแล้วประเมินและนำเสนอผลงานที่สำเร็จ
Endodontic practice in extracted multi – rooted teeth. Learning about the pulpal and root
canal anatomy concerning the root canal treatment and additional searching evaluation and groups presentation.
ทพวด ๕๓๑ | วิทยาเอ็นโดดอนต์ ๒ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTED 531 | Endodontics II |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวด ๔๔๑
การรักษาคลองรากฟันที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในทางคลินิก ได้แก่ การเลือกผู้ป่วยและวางแผนการรักษา ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในทางคลินิก การแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาคลองรากฟันทั้งไม่ใช้และใช้การทำศัลยกรรมร่วมด้วย การรักษาฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ ปลายรากฟันเจริญไม่เต็มที่ รวมถึงการบูรณะฟันภายหลังการรักษาคลองรากฟัน และการศึกษาการหาย ความสำเร็จและล้มเหลวของการรักษาคลองรากฟัน
Application for clinical practice, case selection and treatment planning, clinical procedures, non-surgical and surgical management of procedural errors, treatment of immature and traumatized permanent teeth, restoration after endodontic treatment, healing and evaluation of success and failure of endodontic treatment.
ทพวด ๕๔๑ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : การรักษาคลองรากฟัน ๑ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTED 541 | Comprehensive Dental Practice: Endodontic Treatment I |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวด ๔๔๑ และ เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมเวลากับรายวิชา ทพวด ๕๓๑
ฝึกปฏิบัติคลินิกรักษาคลองรากฟันในฟันรากเดียวในผู้ป่วยที่มารับการบริบาลทันตกรรมพร้อมข้อมูล เพื่อหยุดยั้งการดำเนินของโรคเนื้อเยื่อในและเนื้อเยื่อรอบรากฟัน
Clinical practice in single-rooted tooth for prevention and treatment of pulpal and periapical diseases.
ทพวด ๖๓๑ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : การรักษาคลองรากฟัน ๒ | ๒ (๐-๖-๒) |
DTED 631 | Comprehensive Dental Practice: Endodontic Treatment II |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวด ๕๔๑
ฝึกปฏิบัติคลินิกรักษาคลองรากฟันในฟันหลายรากในผู้ป่วยที่มารับการบริบาลทันตกรรมพร้อมข้อมูล เพื่อหยุดยั้งการดำเนินของโรคเนื้อเยื่อในและเนื้อเยื่อรอบรากฟัน
Clinical practice in multi-rooted tooth for prevention and treatment of pulpal and periapical diseases.
ทพวป ๓๓๒ | หลักมูลปริทันตวิทยา | ๑ (๑-๐-๒) |
DTMD 332 | Fundamental of Periodontology |
วิชาบังคับก่อน : –
ลักษณะทางคลินิก จุลกายวิภาคและความสามารถในการปรับตัวของอวัยวะปริทันต์ บทบาทของคราบจุลินทรีย์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยดัดแปร และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในโรคปริทันต์ กลไกการเกิด โรคปริทันต์
Clinical characteristics, histology and remodeling of the periodontium, role of dental plaque, contributing factors, modifiers and host immune response in periodontal diseases, pathogenesis of periodontal diseases.
ทพวป ๓๔๑ | ปริทันตวิทยาเบื้องต้น | ๑ (๑-๐-๒) |
DTMD 341 | Preliminary Periodontics |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวป ๓๓๒
ปริทันตวิทยาเบื้องต้น ประกอบด้วย วิธีการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน การใช้อุปกรณ์ช่วยทำความสะอาดช่องปาก วิธีการขูดหินน้ำลาย ขัดฟัน และการลับเครื่องมือขูดหินน้ำลายด้วยมือพร้อมฝึกปฏิบัติรวมถึงฝึกสอนการแปรงฟันและสอนใช้ไหมขัดฟันให้แก่ผู้ป่วย ฝึกขูดหินน้ำลาย ด้วยเครื่องมือ Sickle และ curette รูปแบบต่าง ๆ
Didactic course of fundamental periodontics, brushing and flossing methods, oral hygiene aids, scaling with hand instrument, instrument sharpening practices. Clinical practice in oral hygiene instruction, scaling with hand instruments (sickle and curettes).
ทพวป ๓๔๒ | การวินิจฉัยโรคช่องปาก | ๑ (๑-๐-๒) |
DTMD 342 | Oral Diagnosis |
วิชาบังคับก่อน : –
หลักในการวินิจฉัย ประวัติผู้ป่วย การตรวจในทางคลินิก วิธีการตรวจเพิ่มเติม การวินิจฉัยโรค การวางแผนการรักษา อาการแสดงและอาการลมหายใจเหม็น โรคของฟันและเนื้อเยื่อในฟันและเนื้อเยื่อปลายรากฟัน การบันทึกบัตร การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลากรทางการแพทย์
Principle in diagnosis, patient’s history, clinical examination, adjunctive diagnostic procedures, diagnosis, treatment planning, signs and symptoms, chart records, medicodental relationship, halitosis, dental caries, diseases of pulpal and periapical tissues.
ทพวป ๓๔๔ | เวชศาสตร์ทั่วไป ๑ | ๒ (๒-๐-๔) |
DTMD 344 | General Medicine I |
วิชาบังคับก่อน : –
โรคทั่วกาย ประกอบด้วย โรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินปัสสาวะและโรคไต โรคระบบต่อมไร้ท่อและเมแทโบลิค โรคของระบบประสาทและอาการปวดบริเวณช่องปากและใบหน้า ภาพรังสีปอดและทรวงอก รวมทั้งศึกษากรณีผู้ป่วย
Systemic diseases: diseases of the cardiovascular, respiratory, gastrointestinal and genitourinary system, endocrine and metabolic diseases. Lung and chest x-ray. Clinical neurology and introduction to clinical diagnosis. Diseases of the nervous systems and orofacial pain including practice in neurological examination.
ทพวป ๔๓๑ | การรักษาโรคปริทันต์ขั้นเริ่มแรก | ๑ (๑-๐-๒) |
DTMD 431 | Initial Periodontal Therapy |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวป ๓๔๑
วิธีการตรวจอวัยวะปริทันต์ การจำแนกชนิดของโรคปริทันต์ ร่องลึกปริทันต์และสภาพกระดูก เบ้าฟันที่ถูกทำลายจากโรคปริทันต์อักเสบ การวินิจฉัยโรคปริทันต์ การวางแผนการรักษาโรคปริทันต์ การพยากรณ์โรค ปริทันต์และเหตุผลของการรักษาโรคปริทันต์ วิธีการขูดหินน้ำลาย และการประเมินผลการกระตุ้นให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสภาพช่องปากของตนเองให้ปราศจากโรคปริทันต์ การรักษาฉุกเฉินทางปริทันต์ เครื่องขูดหินน้ำลายไฟฟ้า การตกแต่งตัวฟันในการรักษาโรคปริทันต์และการเข้าเฝือกปริทันต์
Didactic course including periodontal examination, classification of periodontal diseases, classification of periodontal pocket and bone changes in periodontal diseases as well as diagnosis, treatment planning and prognosis of periodontal disease, rationale of periodontal therapy, root planing, motivation the patient for plaque control by themselves, periodontal treatment of emergencies, power-driven scaler, coronoplasty in periodontal therapy and periodontal splint.
ทพวป ๔๓๒ รอยโรคช่องปากและใบหน้าขากรรไกร ๑ ๑ (๑-๐-๒)
DTMD 432 Oral and Maxillofacial Lesions I
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพพย ๓๔๑
ความสัมพันธ์ของโครงสร้างทางกายวิภาคและจุลวิภาคกับลักษณะทางคลินิก โรคของเยื่อเมือกช่องปากและโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย รอยโรคสีต่างๆ รอยโรคที่เป็นรอยแดงและรอยขาว รอยโรคที่เป็นแผลและโรคตุ่มพองในช่องปาก รอยแผนเดี่ยวและรอยแยก รอยโรคที่มีรูเปิดหรือทางระบาย รอยโรคตุ่มนูนในช่องปาก ความผิดปกติของลิ้น และโรคขอต่อมน้ำลาย
Correlation of gross structure and microstructure with clinical features, diseases of oral mucosa and related structures : pigmented lesions, red and white lesions, ulcerative and vesiculobullous lesions, solitary ulcers and fissures, pits, fistulae and draining lesions, peripheral oral exophytic lesions, disorders of tongue, and diseases of salivary gland.
ทพวป ๔๓๓ | เวชศาสตร์ทั่วไป ๒ | ๒ (๒-๐-๔) |
DTMD 433 | General Medicine II |
วิชาบังคับก่อน : –
โรคทั่วกายและความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับทางทันตกรรม ประกอบด้วย ภาวะภูมิไวเกินโรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน โรคผิวหนัง มะเร็ง โรคเลือดและอาการเลือดออกผิดปกติ การปลูกถ่ายอวัยวะและการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ เอดส์ กลุ่มอาการเมแทบอลิก ความผิดปกติทางจิตวิทยา อาหารรู้สึกหมุน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กรณีศึกษาโรคของระบบหัวใจหลอดเลือดและโรคปอด เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาพรังสีของโรคทั่วกาย อาการแสดงในช่องปากของโรคทั่วกายและความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับทางทันตกรรม รวมทั้งการจัดการทางทันตกรรมในผู้ป่วยเหล่านี้
Systemic diseases and dental-related disorders : hypersensitivity, connective tissue diseases, disease of integumentary system, cancer, hematologic diseases and bleeding disorders, organ transplantation and stem cell therapy, AIDS, metabolic syndrome, psychnological disorders, vertigo, sleep apnea, diseases of cardiovascular system and pulmonary diseases; case base, geriatrics, radiography of systemic diseases, oral manifestations of systemic diseases and dental-related disorders, including dental management in these patients.
ทพวป ๔๔๒ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : วินิจฉัยโรคช่องปาก ๑ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTMD 442 | Comprehensive Dental Practice: Oral Diagnosis I |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวป ๓๔๒
ฝึกปฏิบัติในคลินิก ถึงวิธีการซักประวัติผู้ป่วย ตรวจช่องปาก การบันทึกบัตร การให้การวินิจฉัย การส่งถ่ายภาพรังสีเทคนิคต่างๆ การวางแผนการรักษา และการส่งต่อผู้ป่วย
Clinical practice in history taking procedure, examination of oral cavity, dental chart record, diagnosis, panoramic or other radiograph taking, treatment planning and patient referral.
ทพวป ๔๔๓ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ปริทันตวิทยา ๑ | ๒ (๐-๖-๒) |
DTMD 443 | Comprehensive Dental Practice: Periodontics I |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวป ๔๓๑
ฝึกปฏิบัติคลินิกปริทันตวิทยาในผู้ป่วยที่มารับการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคปริทันต์
Periodontal clinical practice in comprehensive patients for health promotion and oral prophylaxis treatment.
ทพวป ๕๓๑ | ศัลยปริทันต์บำบัด | ๑ (๑-๐-๒) |
DTMD 531 | Surgical Periodontal Therapy |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวป ๔๓๑
การแก้ไขรอยโรคที่เกิดจากโรคปริทันต์อักเสบโดยการผ่าตัด เช่น การตัดและตกแต่งเหงือก การตัดแต่งกระดูกเบ้าฟัน การตัดรากฟันบางส่วน การปลูกกระดูก การเหนี่ยวนำให้เกิดเนื้อเยื่อใหม่ รวมถึงศัลยกรรมด้วยไฟฟ้า เลเซอร์ การเย็บแผลและการปิดแผลปริทันต์ การหายของแผลปริทันต์ การรักษาคงสภาพอวัยวะปริทันต์ และการวางแผนการรักษาแบบทันตกรรมสหสาขาที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะปริทันต์
Didactic course of surgical periodontal treatment including correction of periodontal defects, for example, gingivectomy and gingivoplasty, ostectomy and osteoplasty, root amputation, bone graft, guided tissue regeneration, electrosurgery and laser. Suturing and dressings, healing of periodontal wound, supportive periodontal therapy and interdisciplinary treatment planning.
ทพวป ๕๕๖ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : วินิจฉัยโรคช่องปาก ๒ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTMD 556 | Comprehensive Dental Practice: Oral Diagnosis II |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวป ๔๔๒
ฝึกปฏิบัติในคลินิก วิธีการซักประวัติผู้ป่วย ตรวจช่องปาก ใบหน้า การบันทึกบัตร การให้การวินิจฉัย การส่งถ่ายภาพรังสีปริทัศน์และอื่นๆ การวางแผนการรักษา และการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มพูนประสบการณ์
Clinical practice in history taking procedure, orofacial examination, dental chart record, diagnosis, panoramic or other radiograph taking, treatment planning and patient referral. Experience acquisition in all procedures.
ทพวป ๕๕๗ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ปริทันตวิทยา ๒ | ๒ (๐-๖-๒) |
DTMD 557 | Comprehensive Dental Practice: Periodontics II |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวป ๔๔๓
ฝึกปฏิบัติคลินิกปริทันตวิทยาในผู้ป่วยที่มารับการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูลเพื่อ ควบคุมการอักเสบหยุดยั้งการดำเนินของโรคปริทันต์ และป้องกันการกลับเป็นใหม่
Periodontal clinical practice in comprehensive patients to control inflammation, progression and to prevent recurrent of the diseases.
ทพวป ๖๓๑ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ปริทันตวิทยา ๓ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTMD 631 | Comprehensive Dental Practice: Periodontics III |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวป ๕๕๗
การเสริมความชำนาญในการปฏิบัติคลินิกปริทันตวิทยาในผู้ป่วยที่มารับการบริบาลทันตกรรมพร้อมมูล เพื่อควบคุมการอักเสบ หยุดยั้งการดำเนินของโรคปริทันต์ และป้องกันการกลับเป็นใหม่
Periodontal clinical practice enhanced skill in comprehensive patients to control inflammation, progression and to prevent recurrence of the diseases.
ทพวป ๖๔๑ | สัมมนาการจัดการทางทันตกรรมในผู้ป่วยประนอมการรักษา | ๑ (๑-๐-๒) |
DTMD 641 | Seminar in Dental Management in Medically Compromised Patients |
วิชาบังคับก่อน : –
ประชุมปรึกษา และนำเสนอรายงานผู้ป่วยทางทันตกรรมที่มีโรคทั่วกาย เน้นที่การประเมินผู้ป่วย คือการประเมินปัญหาผู้ป่วย การตรวจร่างกายและช่องปาก การบันทึกประวัติผู้ป่วยทางการแพทย์และทางทันตกรรม การตรวจเพิ่มเติมทางกายและทางทันตกรรม การวินิจฉัยโรคและการวางแผนการรักษา ตลอดจนสัมมนาเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาของโรคทั่วกาย สมมติฐาน อาการแสดง การตรวจ การวินิจฉัย การวางแผนการรักษา และการส่งต่อผู้ป่วย รวมทั้งการจัดการผู้ป่วยเหล่านี้ทั้งในภาวะฉุกเฉินและปกติ
Case conference and case presentation of dental patients with systemic diseases emphasizing on patient evaluation, physical and dental examination, medical and dental chart recording, physical and dental supplementary investigation, diagnosis and treatment planning, seminar on pathophysiology of systemic diseases, etiologies, signs, examination, diagnosis, treatment planning and patient referral as well as patient management in emergency and normal conditions.
ทพศศ ๔๓๑ | การจัดการทางทันตกรรมในผู้ป่วยประนอมการรักษา | ๑ (๑-๐-๒) |
DTSU 431 | Dental Management in Medically Compromised Patients |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพพย ๓๔๒ และ ทพวป ๔๓๓
หลักการวางแผนการรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยประนอมการรักษา ความสัมพันธ์ของ โรคทั่วกายที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการรักษาทางศัลยกรรมช่องปาก การประเมินและการเตรียมผู้ป่วยประนอม การรักษาก่อนการรักษาทางทันตกรรม การส่งปรึกษาแพทย์ และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและฉุกเฉินในคลินิก ทันตกรรม
The principle of dental treatment planning for medically compromised patients, relationship between systemic diseases and treatment preparation for oral surgery, evaluation and preparation of medically compromised patients prior to dental treatments, medical consultations and prevention of complications and emergencies in dental clinic.
ทพศศ ๔๓๒ | หลักมูลศัลยศาสตร์ช่องปาก ๑ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTSU 432 | Fundamental of Oral Surgery I |
วิชาบังคับก่อน : –
หลักของศัลยศาสตร์ช่องปากและใบหน้าขากรรไกร การตรวจสภาพร่างกายผู้ป่วยเบื้องต้น การประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนฉีดยาชาและถอนฟัน หลักของการทำให้ปลอดเชื้อหลักการลงมีดผ่าตัด การเปิดแผ่นเนื้อเยื่อ การป้องกันเนื้อเยื่อตายฉีกขาด หรือแผลเปิดหลังจากเย็บ การหายของแผลและชนิดของแผลและการดูแลรักษาแผลทั่วไป ปัจจัยที่มีผลต่อการหายของแผล การดูแลเนื้อเยื่อขณะผ่าตัด การป้องกันการเกิดช่องว่างระหว่างเนื้อเยื่อ การทำความสะอาดแผล หลักการเย็บชนิดของไหม หลักการถอนฟันและเทคนิคเฉพาะที่ใช้ในการถอนฟันธรรมดา เครื่องมือที่ใช้ในการถอนฟันและผ่าตัดในช่องปากอย่างง่าย การรักษาและแนะนำผู้ป่วยหลังการถอนฟัน ยาที่ใช้ในการห้ามเลือด และวิธีป้องกัน การรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หลังถอนฟัน
Principle of oral and maxillofacial surgery, physical examination and history taking for dental treatment, fundamental of sterilization and decontamination, wound and extraction wound healing, principle of simple tooth extraction in the content of evaluation and diagnosis for tooth necessitated for extraction, indication and contraindication, armamentarium of tooth extraction, techniques in simple tooth extraction, pre-operative, intra-operative and post-operative care and complication prevention and correction.
ทพศศ ๔๓๓ | หลักมูลศัลยศาสตร์ช่องปาก ๒ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTSU 433 | Fundamental of Oral Surgery II |
วิชาบังคับก่อน : –
หลักพื้นฐานการเปิดแผ่นเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดในช่องปาก การเย็บบาดแผลและวัสดุที่ใช้ และ การดูแลบาดแผลหลังการผ่าตัด การศึกษาถึงการถอนฟันชนิดยากที่ต้องมีการเปิดแผ่นเหงือกร่วมด้วย การผ่าตัด
ฟันคุดและฟันที่ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร โดยศึกษาถึงข้อบ่งชี้ ข้อห้ามในการผ่าตัด การตรวจวินิจฉัย และ การวางแผนการรักษาวิธีการผ่าตัดในแต่ละตำแหน่ง การป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนภายหลังการถอน ฟันและผ่าตัด รวมถึงการปลูกถ่ายฟันที่เป็นวิธีการบูรณะฟันที่ขาดหายไปโดยใช้ฟันของผู้ป่วยเอง
Basic principle of flap operation for minor oral surgery including the knowledge for suture and suturing materials. Principle of case selection, diagnosis, pre-operative and post-operative patients preparation, indication, techniques, prevention and correction of intraoperative and post-operative complications, methods for complicated tooth extraction, surgical tooth removal, surgical removal of impaction tooth and autogenoust tooth transplantation.
ทพศศ ๔๔๒ | เวชศาสตร์ฉุกเฉินในงานทันตกรรม | ๑ (๑-๐-๒) |
DTSU 442 | Emergency Medicine in Dental Practice |
วิชาบังคับก่อน : –
คำจำกัดความและชนิดของภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ในงานทันตกรรม กลไกและพยาธิสภาพการดำเนินของภาวะฉุกเฉินต่างๆ หลักการป้องกันและการจัดการภาวะฉุกเฉินต่างๆ หลักการปฏิบัติการกู้ชีพขั้น พื้นฐาน การจัดการผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะหมดสติ ได้แก่ การดูแลทางเดินหายใจ การให้ออกซิเจน การให้สารน้ำและเกลือแร่ การให้เลือด ยาที่ใช้แก้ไขสภาวะฉุกเฉิน
Definition and type for medical emergencies in dental practice, mechanism and pathogenesis of medical emergencies, principle of prevention and managements of medical emergency, principle of basic life support (BLS), unconsciousness management including airway management, the application of oxygen, fluid, electrolyte and blood replacement and drugs for emergency treatments.
ทพศศ ๔๔๔ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ศัลยศาสตร์ช่องปาก | ๑ (๐-๓-๑) |
DTSU 444 | Comprehensive Dental Practice: Oral Surgery |
วิชาบังคับก่อน : –
ฝึกปฏิบัติงานคลินิกทางด้านศัลยกรรมช่องปาก การทำงานด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ
การสอบถามประวัติ การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มาทำการถอนฟันหรือผ่าตัดเล็ก การฉีดยาชาเฉพาะที่ การถอนฟันอย่างง่ายและการให้คำแนะนำผู้ป่วยหลังถอนฟัน การช่วยข้างเก้าอี้ในการผ่าตัดในช่องปาก การติดตามผลการรักษาและการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เช่น ล้างแผล ตัดไหม และติดตาม สังเกตการณ์การปฏิบัติงานคลินิกศัลยกรรมช่องปากของอาจารย์ ทันตแพทย์ประจำบ้าน หรือนักศึกษาหลังปริญญา
Clinical practice in oral surgery, sterile technique, history taking and physical examination of extracted or minor surgical patients, local anesthetic injection, simple extraction, post extraction instruction, minor oral surgery chairside assistance, postoperative care and follow-up such as wound cleansing, stitch removal and oral surgery clinical observation of faculties, residents or post graduate students.
ทพศศ ๕๓๕ | ศัลยศาสตร์ช่องปากและใบหน้าขากรรไกร ๑ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTSU 535 | Oral and Maxillofacial Surgery I |
วิชาบังคับก่อน :-
ภาวะการติดเชื้อของช่องปากใบหน้าและขากรรไกรที่มีสาเหตุจากฟัน การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ การแพร่กระจายการติดเชื้อจากฟันเข้าสู่ช่องพังผืดต่างๆ การติดเชื้อของโพรงอากาศ และการติดเชื้อของกระดูก หลักการตรวจวินิจฉัย การประเมินความรุนแรงของการติดเชื้อทางทันตกรรม การส่งต่อผู้ป่วยและการวางแผนการรักษา
Oral and maxillofacial infections of odontogenic origin, immune response to infection, spreading of odontogenic infection to fascial spaces, sinus infection, osseous infection, principle of diagnosis and severity assessment of dental infection, patient referral and treatment planning.
ทพศศ ๕๓๖ | ศัลยศาสตร์ช่องปากและใบหน้าขากรรไกร ๒ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTSU 536 | Oral and Maxillofacial Surgery II |
วิชาบังคับก่อน : –
กลไกการเกิดการบาดเจ็บของศีรษะ ขากรรไกร ใบหน้าและคอ และส่วนต่างๆของร่างกายจากการกระทบกระแทก การแบ่งชนิดของการบาดเจ็บโดยเฉพาะการแตกหักของกระดูกขากรรไกรและใบหน้า หลักการตรวจวินิจฉัยและการรักษา โดยมุ่งเน้นหลักการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น รวมถึงการจัดการในผู้ป่วยอุบัติเหตุหมู่
Oral and maxillofacial injuries: causes, mechanism of fracture, diagnosis and treatment, mass casualties and primary care in these injured patients, additionally, the course introducing other related injury of body parts : chest, abdominal, orthopedics injuries.
ทพศศ ๕๔๑ | ศัลยศาสตร์ช่องปากและใบหน้าขากรรไกร ๓ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTSU 541 | Oral and Maxillofacial Surgery III |
วิชาบังคับก่อน : –
การแก้ไขเนื้อเยื่อและกระดูกในช่องปากให้เหมาะสมต่อการใส่ฟันปลอม การตรวจเนื้อเยื่อและกระดูกขากรรไกรก่อนการใส่ฟัน ได้แก่ การกรอแต่งกระดูก และตกแต่งส่วนของกระดูกขากรรไกรบริเวณกระดูกรองรับฟันและปุ่มกระดูกกลางเพดาน หรือด้านข้างและด้านในของขากรรไกรผ่าตัดเนื้อเยื่อในช่องปาก เช่น การร่นถอยร่องเหงือกเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใส่ฟันปลอม ตลอดจนวิธีการเสริมสันเหงือกให้สูงขึ้น โดยใช้กระดูกหรือวัสดุเทียม ศึกษาถึงความพิการบริเวณใบหน้าที่เป็นมาแต่กำเนิด และเกิดขึ้นภายหลัง การแก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติด้วยวิธีการผ่าตัด การแก้ไขปากแหว่งเพดานโหว่ด้วยวิธีศัลยกรรมร่วมกับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน และทันตกรรมประดิษฐ์
The surgical management for modification soft and hard tissue of the jaws in facilitating the prosthesis insertion including alveoloplasty after teeth extraction, osseous surgery and remodeling of exostosis, tori, soft tissue management in improving vestibular depth facilitating removable denture stability including various techniques in vestibuloplasty with / without grafting, ridge augmentation and tissue engineering in order to create more alveolar proper for prosthesis supports, furthermore, this course also give a basic knowledge in clinical examination, etiology and surgical management and planning in patient with congenital anomalies and dentofacial deformities including cleft lip and palate, facial deformities.
ทพศศ ๕๔๒ | ทันตกรรมโรงพยาบาล | ๑ (๑-๐-๒) |
DTSU 542 | Hospital Dentistry |
วิชาบังคับก่อน : –
ระบบการทำงานในโรงพยาบาล บทบาทของทันตแพทย์ในโรงพยาบาล การรับผู้ป่วยใน การเขียนใบสั่งการต่างๆ ในโรงพยาบาล วิธีการส่งปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัด การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและการแปลผล การกู้ชีพขั้นสูง
Hospital procedures and protocol, role of the dentist in the hospital, admission of in-patient, hospital order writing, patient consultation and referal, pre- and post-operative care, laboratory investigation and interpretation, advance life support.
ทพศศ ๕๕๓ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ศัลยศาสตร์ช่องปากและใบหน้าขากรรไกร ๑ | ๒ (๐-๖-๒) |
DTSU 553 | Comprehensive Dental Practice: Oral and Maxillofacial Surgery I |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพศศ ๔๔๒ และ ทพศศ ๔๔๔
ฝึกปฏิบัติงานทางด้านศัลยกรรมช่องปากในคลินิกศัลยกรรม ได้แก่ การทำงานด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ การสัมภาษณ์ประวัติ การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มาทำการถอนฟัน หรือผ่าตัดเล็ก การฉีดยาชาเฉพาะที่ในช่องปาก การถอนฟันอย่างง่าย การให้คำแนะนำผู้ป่วยหลังถอนฟัน ตรวจ วินิจฉัย และให้การรักษาภาวะแทรกซ้อนอย่างง่ายจากการถอนฟัน ศึกษาดูงานและติดตามการปฏิบัติงานศัลยกรรมช่องปากของอาจารย์ ทันตแพทย์ประจำบ้านหรือนักศึกษาหลังปริญญา ศึกษาดูงานผ่าตัดใหญ่ทางด้านศัลยกรรมช่องปากและใบหน้าขากรรไกรภายใต้การดมยาสลบและการดูแลผู้ป่วยในหออภิบาลผู้ป่วย การเรียนกลุ่มย่อยและนำเสนอหัวข้อทางวิชาการ
Clinical practice in oral surgery, sterile technique, history taking and physical examination of extracted or minor surgical patients, local anesthetic injection, simple extraction and more complicated cases, postextraction instruction, examination, diagnosis and treatment of simple extraction complication residents and staff observation of oral surgery practice, observation in major oral and maxillofacial surgery under general anesthesia and ward round, group learning and presentation of academic topics.
ทพศศ ๕๕๔ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ศัลยศาสตร์ช่องปากและใบหน้าขากรรไกร ๒ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTSU 554 | Comprehensive Dental Practice: Oral and Maxillofacial Surgery II |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพศศ ๔๓๓ และ ทพศศ ๔๔๔
ฝึกปฏิบัติงานทางด้านศัลยกรรมช่องปากในคลินิกศัลยกรรม ได้แก่ การช่วยข้างเก้าอี้ในการผ่าตัดในช่องปาก การผ่าตัดฟันคุดอย่างง่ายและให้คำแนะนำภายหลังการผ่าตัด การติดตามผลการรักษาทางศัลยกรรมช่องปาก เช่น การดูแผล ล้างแผล ตัดไหม การแก้ไขภาวะแทรกซ้อนอย่างง่ายจากการถอนฟัน หรือผ่าตัดฟันคุด การฝึกปฏิบัติการกู้ชีพขั้นพื้นฐานในหุ่นจำลอง
Clinical practice of oral surgery, minor oral surgery assistance, surgical removal of simple impacted teeth, postoperative instruction, postoperative care and follow-up such as wound cleansing, sutures removal, management of minor complications, cardiopulmonary resuscitation practice in model.
ทพศศ ๖๓๓ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ศัลยศาสตร์ช่องปากและใบหน้าขากรรไกร ๓ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTSU 633 | Comprehensive Dental Practice: Oral and Maxillofacial Surgery III |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพศศ ๕๕๓ และ ทพศศ ๕๕๔
ฝึกปฏิบัติงานทางด้านศัลยกรรมช่องปากในคลินิกศัลยกรรม ได้แก่ การถอนฟันชนิดยาก การผ่าตัดฟันคุดอย่างง่าย การให้คำแนะนำภายหลังการผ่าตัด การติดตามผลการรักษาทางศัลยกรรมช่องปาก เช่น การดูแผล ล้างแผล ตัดไหม การแก้ไขภาวะแทรกซ้อนอย่างง่ายจากการถอนฟัน และผ่าตัดฟันคุด การฝึกหัดฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ และหลอดเลือดดำ ศึกษาดูงานและติดตามการปฏิบัติงานศัลยกรรมช่องปากของอาจารย์ทันตแพทย์ประจำบ้านหรือนักศึกษาหลังปริญญา ศึกษาดูงานผ่าตัดใหญ่ทางด้านศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลภายใต้การดมยาสลบและการดูแลผู้ป่วยในหออภิบาลผู้ป่วย และเขียนรายงานผู้ป่วย
Practice in oral surgery in clinic, complicated extraction, surgical removal of simple impacted teeth, postoperative instruction, postoperative care and follow-up such as wound cleansing, stitch removal, management of minor complications, practice in IM and IV technique, observation in major oral and maxillofacial surgery under general anesthesia, ward round and report.
ทพศศ ๖๔๑ | ทันตแพทย์ฝึกหัดนอก : ประสบการณ์ทันตกรรมโรงพยาบาล | ๑ (๐-๓-๑) |
DTSU 641 | Extern: Experience in Hospital Dentistry |
วิชาบังคับก่อน : –
ดูงานทันตกรรมระบบโรงพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาล คณะ แพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เรียนรู้การทำทันตกรรมโรงพยาบาล ศึกษาการทำงานของแผนก หรือกลุ่ม งานต่างๆในโรงพยาบาล การทำงานประสานระหว่างแผนกหรือกลุ่มงาน วิธีการสื่อสารระหว่างแผนกต่างๆ การทำงานร่วมกับบุคลากรอื่นในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาผู้ป่วย ศึกษาการให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยโรคทางระบบการดูแลผู้ป่วยในหออภิบาลผู้ป่วย
Observation of hospital dentistry in hospital setting such as general, regional and university hospital, learning system of hospital dentistry, dental department working system, departments in hospital, inter-department working, communication between departments, working with other personels in the hospital, dental management in medical compromised patients and in-patient cares.
ทพคร ๖๖๒ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : วิทยาทันตกรรมรากเทียม | ๑ (๐-๒-๑) |
DTID 662 | Comprehensive Dental Practice: Dental Implantology |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพคร ๖๓๓
การรักษารากฟันเทียมชนิดไม่ซับซ้อน ประกอบด้วยการตรวจและวินิจฉัย การวางแผน การรักษา และให้การรักษาหรือมีส่วนร่วมเป็นผู้ช่วยในการให้การรักษาผู้ป่วยรากฟันเทียม
Treatment of uncomplicated dental implant consisting of examination and diagnosis, construction of treatment planning, providing or assisting dental implant treatments in patients.
ทพชค ๖๖๑ | การนำเสนอรายงานวิจัย | ๑ (๑-๐-๒) |
DTBC 661 | Research Presentation |
วิชาบังคับก่อน : –
รูปแบบของนำเสนองานวิจัย วิธีการนำเสนอรายงานวิจัย ฝึกการนำเสนอผลงานวิจัยในที่
ประชุม รวมทั้งการวิเคราะห์วิจารณ์ผลงานวิจัยในรูปแบบการตีพิมพ์
Forms of research dissemination, methods for research presentation practice
presentation, analysis and discussion of research paper also included.
ทพชค ๖๖๒ | ชีววิทยาโมเลกุลของเซลล์ขั้นแนะนำ | ๑ (๑-๐-๒) |
DTBC 662 | Introduction to Molecular Biology of Cell |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพชค ๒๓๑ และ ทพชค ๒๓๔
หลักการทำงานเบื้องต้นของเซลล์ การแสดงออกของยีนและการควบคุม การกลายพันธุ์และการซ่อมแซม ดีเอ็นเอการอยู่รอดของเซลล์และเซลล์ตายตามกำหนดการการถ่ายโอนสัญญาณรวมทั้งการประยุกต์
ชีวสาร สนเทศในงานวิจัยทางการแพทย์
Basic functional principle of cell, gene expression and regulation, mutation and DNA repair, cell survival and apoptosis, signal transduction, and application of bioinformatics to medical research.
ทพทจ ๖๖๘ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ทันตกรรมจัดฟัน ๒ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTOD 668 | Comprehensive Dental Practice: Orthodontics II |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทจ ๕๕๑
ฝึกปฏิบัติงานรักษาทางทันตกรรมจัดฟันอย่างง่ายต่อเนื่องจากรายวิชา ทพทจ ๕๕๑ หรือรับผู้ป่วยใหม่ในผู้ป่วยฟันชุดผสมที่เหมาะสมในการให้การรักษาด้วยเครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ ฝึกวิเคราะห์ วินิจฉัย วางแผนการรักษา ออกแบบเครื่องมือถอดได้ในผู้ป่วยจริง และจากข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาไปแล้วเพิ่มเติม การช่วยงานทางทันตกรรมจัดฟันอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยงานทันตกรรมจัดฟันแบบติดแน่น ตลอดจนการให้คำแนะนำผู้ป่วยที่มีความผิดปกติยุ่งยาก ซับซ้อน และส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม การทำสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ด้านทันตกรรมจัดฟันแก่ผู้ป่วย ผู้ปกครองหรือประชาชนทั่วไปโดยเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ
Continue clinical practice of simple orthodontic treatment in mixed dentition patients or patients qualified for using removable orthodontic appliances, practicing orthodontic diagnosis, treatment planning, and removable appliances design in real patients and former patients’ data, miscellaneous orthodontic chair side assistance and media fabrication to promote orthodontic, knowledge to patients, patients’ parents and general public by various means of information technology.
ทพทด ๖๖๑ | สัมมนากรณีผู้ป่วยทันตกรรมเด็ก | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPD 661 | Seminar in Pediatric Dental Patients |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทด ๕๕๒
การนำเสนอและอภิปรายกรณีผู้ป่วยเด็กที่เป็นกรณีศึกษาในด้านต่างๆ เช่น ปัญหาซับซ้อนทาง ทันตกรรมบูรณะ และฟื้นฟูสภาพช่องปาก การรักษาฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ การดูแลผู้ป่วยเด็กเล็ก เด็กที่มีโรคทางระบบและกลุ่มอาการ หรือเด็กพิเศษ การปรับพฤติกรรมเพื่อการรักษาทางทันตกรรม โดยนำความรู้พื้นฐานทางทันตกรรมสำหรับเด็ก มาประยุกต์ใช้ในการอภิปรายการวางแผนการรักษา การเลือกเทคนิค วิธีการรักษา และการติดตามผลที่เหมาะสมปลอดภัย ตลอดจนการป้องกันและการเฝ้าระวังโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
Case presentation and discussion on comprehensive treatment planning, safe and effective techniques and prevention of oral diseases in pediatric dental cases with advanced restorative and dental rehabilitation needs, dento-facial traumatic injuries, infant oral care problems, medical problems, handicapped, syndromes and behavioral problems basing on current concepts in pediatric dentistry.
ทพทด ๖๖๒ | การปรับพฤติกรรมเด็กด้วยยา | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPD 662 | Pharmacological Pediatric Behavior Management |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพทด ๔๔๒
หลักการรักษาทันตกรรมสำหรับเด็กภายใต้การปรับพฤติกรรมโดยการใช้ยารับประทานเพื่อใหเด็กสงบ และการดมยาสลบ ในเรื่องข้อบ่งชี้ ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ ข้อควรระวัง ขั้นตอนการเตรียมผู้ป่วยวิธีการให้การรักษาทางทันตกรรมโดยการใช้ยาและทำให้ชา และการดูแลผู้ป่วยภายหลังการปรับพฤติกรรมโดยการใช้ยา และการอภิปรายบทความงานวิจัยที่ทันสมัยเกี่ยวข้องกับการปรับพฤติกรรมโดยการใช้ยา และการเขียนรายงานผู้ป่วย
Principle of oral sedation and general anesthesia in pediatric patients care, indication, advantage and disadvantage, dental consideration, preparation of patients for dental procedure and care of patient following oral sedation and general anesthesia, experiences in observing dental procedures under oral sedation and general anesthesia and discussion of current articles related to pharmacological approaches in child behavior management, patient report writing.
ทพทส ๖๖๑ | การดูแลผู้ป่วยแบบสหสาขาในทันตกรรมทั่วไป | ๑ (๑-๐-๒) |
DTAD 661 | Interdisciplinary Patient Care in General Dentistry |
วิชาบังคับก่อน : –
สัมมนาเกี่ยวกับฝึกปฏิบัติคลินิกทันตกรรมแบบพร้อมมูล เน้นทักษะทางคลินิกในการสร้างความร่วมมือเชิงสหสาขาวิชา การวางแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้วิธีการรักษาแบบสหสาขาวิชาที่ซับซ้อน ความสำคัญของแต่ละวิธีการรักษา การจัดลำดับการรักษาในกรณีที่ยังมีข้อโต้แย้งทางวิชาการจากต่างสาขาวิชา
Seminar on comprehensive dental clinical practice, emphasize on clinical skills to achieve comprehensive interdisciplinary approach, treatment planning for a patient who needs complicated interdisciplinary approach, importance of each treatment approach and treatment sequencing especially discipline controversy cases.
ทพวด ๖๖๑ | วิทยาเอ็นโดดอนต์ขั้นสูง | ๑ (๐-๓-๑) |
DTED 661 | Advanced Endodontics |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวด ๕๓๑ และ ทพวด ๕๔๑
ฝึกปฏิบัติการรักษาคลองรากฟันด้วยวิธีการและเครื่องมือที่ซับซ้อน มากกว่าการที่ใช้ในการ
รักษาคลองรากฟันระดับพื้นฐาน ได้แก่ การขยายคลองรากฟันด้วยเครื่องมือชนิดที่ใช้กับหัวกรอทดรอบ การรักษาคลองรากฟันในฟันรากโค้ง การอุดคลองรากฟันวิธีต่างๆ การรื้อวัสดุอุดคลองรากฟัน และการแก้ไขหรือจัดการกับปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษาคลองรากฟัน
Practice of root canal treatment with complex instruments and techniques such as rotary instruments, treatment of curved canals, warm vertical compaction technique, retreatment and management of endodontic complication.
ทพทห ๖๖๑ | การบูรณะฟันที่ซับซ้อนและความสวยงามทางทันตกรรมหัตถการ | ๑ (๐-๓-๑) |
DTOP 661 | Complex restorations and esthetics in Operative Dentistry |
วิชาบังคับก่อน : เคยศึกษาหรือศึกษาร่วมรายวิชา ทพทห ๕๔๒
การบูรณะฟันที่ซับซ้อนด้วยเรซินคอมโพสิต การบูรณะฟันวิธีอินเลย์หรือออนเลย์ทองและเรซิน
คอมโพสิตปฏิบัติการ การฟอกสีฟันที่มีชีวิต
Complex resin composite restorations, laboratory practice of gold and resin composite inlays/onlay and vital tooth bleaching.
ทพภส ๖๖๑ | เภสัชวิทยาประยุกต์สำหรับทันตกรรม | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPM 661 | Applied Pharmacology for Dentistry |
วิชาบังคับก่อน : –
ทบทวนยาที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพทันตแพทย์ ความรู้พื้นฐานทางเภสัชวิทยาภูมิคุ้มกันในปัจจุบัน ผลข้างเคียงของยาที่กระทบต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก ยาซึมผ่านเนื้อเยื่อในช่องปาก ข้อควรระวังในการใช้ยาในผู้ป่วยประเภทต่างๆ เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร การสืบค้นข้อมูลที่อิงหลักฐานทางเภสัชวิทยางานทางทันตกรรมและการสัมมนายาใหม่ที่ใช้ทางทันตกรรม
Review of essential medicines in clinical dentistry, an updated overview of immunopharmacology, adverse drug reactions in the oral cavity, drugs penetration to the oral mucosa, warnings and precautions of drug used in special population, searching for the evidence-based medicine for general dental practice and seminar about novel drugs used in dentistry.
ทพภส ๖๖๒ | ปริทัศน์ยาทางทันตกรรม | ๑ (๑-๐-๒) |
DTPM 662 | Review of Drugs in Dentistry |
วิชาบังคับก่อน : –
ทบทวนความรู้เกี่ยวกับยาที่ใช้ทางทันตกรรม ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยาต้านเชื้อรา ยาต้านไวรัส ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบ ยาแก้แพ้ ยาระงับประสาทและยานอนหลับ ยาชา ยาลดอาการเสียวฟัน ผลิตภัณฑ์ควบคุมให้เลือดหยุดไหล ยาฉุกเฉินในทางทันตกรรม การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่ใช้ในทาง ทันตกรรม และหลักการบริหารยาทางทันตกรรม
Review of drugs used in dental practice consist of antibiotics, antifungals, antivirals analgesics, anti-inflammatory drugs, antiallergic drugs, sedatives and hypnotics, local anesthetics, desensitizing agents, products for hemorrhage control, emergency drugs used, drug interaction, and drug administration.
ทพรบ ๖๖๑ | การจัดการความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกรเชิงสหสาขา | ๑ (๐-๓-๑) |
DTMS 661 | Multidisciplinary Management for Temporomandibular Disorders |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพรบ ๕๔๗ และ ทพรบ ๕๔๘
ฝึกปฏิบัติการจัดการเชิงสหสาขาในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกร และความเจ็บปวดบริเวณใบหน้า-ช่องปาก
Clinical practice in multidisciplinary management of temporomandibular disorders and orofacial pain.
ทพรส ๖๖๗ | การวินิจฉัยแยกโรคของรอยโรคช่องปากและใบหน้าขากรรไกร | ๑ (๑-๐-๒) |
DTRD 667 | Differential Diagnosis of Oral and Maxillofacial Lesions |
วิชาบังคับก่อน : –
การวินิจฉัยแยกโรคของรอยโรคที่ช่องปากและกระดูกใบหน้าขากรรไกรจากภาพรังสีซึ่ง แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ คือ รอยโรคที่เป็นเงาโปร่งรังสี รอยโรคที่มีเงาโปร่งรังสีปนเงาทึบรังสี และ รอยโรคที่เป็น เงาทึบรังสี
This course provides the differential diagnosis of oral and maxillofacial lesions based
on radiographic appearances. The radiographic appearances are mainly divided into three groups:
radiolucencies, mixed radiolucent-radiopacities, and radiopacities.
ทพวป ๖๖๔ | ศัลยกรรมเพิ่มความยาวตัวฟัน | ๑ (๑-๐-๒) |
DTMD 664 | Surgical Crown Lengthening |
วิชาบังคับก่อน : สอบผ่านรายวิชา ทพวป ๖๓๑
สาเหตุต่าง ๆ ของการมีตัวฟันทางคลินิกสั้นกว่าปกติ ทั้งที่สัมพันธ์และไม่สัมพันธ์กับความกว้างชีวภาพของฟันนั้น ๆ การตรวจประเมินทางคลินิกเพื่อเลือกวิธีแก้ไข การวางแผนการรักษา การปรึกษาทันตแพทย์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง การแก้ไขโดยเน้นวิธีต่าง ๆ ทางศัลยกรรม หลักการเพิ่มความยาวฟันและเหตุผล การใช้เครื่องมือ การผ่าตัด และการจัดการภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการปฏิบัติทางคลินิกในการวิเคราะห์ผู้ป่วย การช่วยการผ่าตัดและการติดตามผล
Etiologic factors of short clinical crown, either correlated with or without biologic width, clinical evaluation for determining the correction modalities, treatment planning, interdisciplinary consultation, emphasizes surgical crown lengthening technique, rationale, instrumentation, post operative care and healing, complications and management. Including clinical practice in case analysis, surgical assisting and follow up.
ทพศศ ๖๖๒ | ฝึกปฏิบัติทันตกรรมพร้อมมูล : ศัลยกรรมเล็กขั้นสูง | ๑ (๐-๓-๑) |
DTSU 662 | Comprehensive Dental Practice: Advanced Minor Surgery |
วิชาบังคับก่อน : –
ฝึกปฏิบัติการผ่าตัดฟันคุด การผ่าตัดฟันฝัง และการผ่าตัดเล็กในช่องปาก การผ่าตัดเตรียม ช่องปากเพื่อการใส่ฟันเทียม สัมนาหัวข้อร่วมสมัยเกี่ยวกับศัลยกรรมเล็ก
Practic of surgical removal of impacted tooth and embedded tooth, minor oral surgery, preprosthetic surgery, seminar in the related titles or the contemporary topics on minor surgery.
ทพสร ๖๖๑ | การวิจัยทางสรีรวิทยาของเนื้อเยื่อในโพรงฟัน | ๑ (๐-๓-๑) |
DTPS 661 | Research in Dental Pulp Physiology |
วิชาบังคับก่อน : –
วิธีศึกษาวิจัยของสรีรวิทยาเนื้อเยื่อในโพรงฟันและเนื้อฟัน ได้แก่ การวิจัยทางการไหลเวียนเลือดของเนื้อเยื่อในโพรงฟัน การวิจัยทางการไหลของของไหลผ่านเนื้อฟัน การวิจัยเรื่องความเจ็บปวดที่ฟัน ตลอดจน องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทางคลินิก
Research in physiology of dental pulp and dentine e.g. pulpal blood circulation, fluid flow in dentine, clinical knowledge related to dental pain.
ทพคร ๑๖๑ | สังคมสงเคราะห์ | ๓ (๐-๖-๓) |
DTID 161 | Social Welfare |
วิชาบังคับก่อน : –
ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ ประสบการณ์ในปัญหาทางสังคมที่มีลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ผู้ที่มีสถานะด้อยทางสังคม การสร้างพื้นฐานของคุณธรรมในการช่วยเหลือและอยู่ร่วมกับผู้อื่น การคิดในเชิงบวกต่องานสังคมสงเคราะห์ที่นำไปสู่สำนึกสาธารณะและจริยธรรมวิชาชีพ
Practice in social works, experience various social problems in people with lower social privilege, the creation of basic moral foundation for helping and living with others, positive attitude towards the social works leading to public community mind and professional ethics.
ทพคร ๑๖๒ | ทักษะพิสัยสำหรับวิชาชีพ | ๑ (๐-๒-๑) |
DTID 162 | Psychomotor Skills for Profession |
วิชาบังคับก่อน : –
ฝึกฝนทักษะการใช้มือที่เป็นพื้นฐานของงานหัตถการทางทันตกรรม ทักษะในด้านสหสัมพันธ์ของมือและตา ทักษะการใช้มือ กิจกรรมที่มีการปรับระดับเพื่อเพิ่มกำลังและความทนงานของกล้ามเนื้อ กิจกรรมที่ช่วยเพิ่มความทนทานในงาน การฝึกจับและควบคุมเครื่องมือ และการฝึกรับรู้โดยการสัมผัสพื้นผิว
เลขที่ 888 ม.6 ถ.บรมราชชนนี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
เบอร์ตรง 0-2849-6600